วิถีชีวิตของคนในสมัยอยุธยา

วิถีชีวิตของคนในสมัยอยุธยา

ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนบ้านโกรกสิงขร

วิถีชีวิตของคนไทย

อัพเดทวันที่ 5 พฤศจิกายน 2020

วิถีชีวิตของคนไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์

วิถีชีวิตของคนในสมัยอยุธยา

วิถีชีวิตของคนไทย ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่เก่าแก่สามารถสืบทราบย้อยหลังไปได้นานนับพันปี ตั้งแต่ยุคสมัยก่อนอาณาจักรสุโขทัยมาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ มีวิถีชีวิตเป็นสังคมเกษตรกรรมระดับชุมชน เป็นครอบครัว และมีการลำดับญาติหรือบรรพบุรุษออกเป็นหลายรุ่น ได้แก่ รุ่นปู่ยาตายาย รุ่นพ่อแม่ รุ่นลูก รุ่นหลาน และเรื่อยไปตลอดจนถึงบรรดาญาติพี่น้อง ลุง ป้า น้า อาร์ และญาติทางพ่อ ญาติทางแม่อีกมากมาย โดยมีศูนย์กลางของชุมชนอยู่ที่ศาสนา ได้แก่ พระสงฆ์ นักบวชในศาสนาต่าง ๆ วัด มัสยิด สุเหร่า และโบสถ์ในแต่ละศาสนา และมีผู้ใหญ่ในชุมชนเป็นผู้นำ หรือหัวหน้า มีการนับถือกันตามลำดับชั้น เช่น ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้อาวุโสซึ่งได้รับการนับหน้าถือตาให้เป็นผู้ดูแล และตัดสินคดีความเมื่อเกิดความขัดแย้งระหว่างคนในหมู่คณะหรือในชุมชน มี ขนบธรรมเนียมประเพณี เดียวกัน ทั้งการละเล่น การศาสนา และความเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ เทวดา หรือนางไม้

วิถีชีวิตดั่งเดิมของคนไทย

ได้กล่าวแล้วว่าวิถีชีวิตของคนไทยดั่งเดิมก็คือสังคมเกษตรกรรม มีอาชีพหลักได้แก่การทำไร่ไถนา เลี้ยงสัตว์ และมีการพัฒนาไปตามระยะเวลาซึ่งก็มีปัจจัยทั้งภายนอก ภายในเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น จากความคิดของแต่ละครอบครัว ค่านิยมที่เกิดจากคนรุ่นใหม่ อุดมการณ์ รวมถึงการเมืองการปกครอง และสังคม ทั้งหมดนี้มาทำให้สังคมชีวิตของคนไทยต้องเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัย ซึ่งเริ่มตั้งแต่แรกเริ่มการตั้งตัวเป็นแคว้น หรืออาณาจักร จนเป็นรัฐ หรือประเทศในปัจจุบัน

วิถีชีวิตของคนไทยในสมัยสุโขทัย

แบ่งออกเป็นด้านได้ดังนี้

  1. วิถีชีวิตทางด้านการเมืองการปกครอง ในระยะต้นผู้ปกครองจะมีฐานะเหมือนพ่อปกครองลูกมีความใกล้ชิดกันมาก ระหว่างเจ้าและประชาชน ต่อมาได้มีการนำหลักธรรมในพุทธศาสนามาใช้ในการปกครอง ทำให้ผู้ปกครองเปลี่ยนสถานะเป็นธรรมราชา โดยใช้หลักทศพิธราชธรรม
  2. ด้านเศรษฐกิจ ชาวเมืองสุโขทัยมีอิสระในการประกอบสัมมาอาชีพ เช่น การทำเกษตรกรรม กสิกรรม หัตถกรรม ค้าขาย มีการแลกเปลี่ยนกันด้วยเงินพดด้วง และเงินเบี้ย โดยการตีค่าหรือราคาสิ่งของเพื่อแลกเปลี่ยนกันเอง
  3. ทางด้านสังคมและวัฒนธรรม เป็นสังคมเล็ก ๆ ไม่มีความสลับซับซ้อนเนื่องจากจำนวนประฃาขนยังมีน้อย มีการแบ่งชนชั้นกันอยู่พอสมควร ได้แก่ พระมหากษัตริย์ ขุนนาง และประชาชนผู้ถูกปกครอง ซึ่งได้แก่ ราษฎร ทาส ส่วนผู้ถือศีลก็ได้แก่พระสงฆ์ และนักบวชในศาสนาต่าง ๆ คนสุโขทัยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีการฟังธรรมในวันพระ มีการสร้างวัด สร้างพระพุทธรูป และแต่งวรรณกรรมทางพุทธศาสนา ได้แก่ ไตรภูมิพระร่วง

วิถีชีวิตของคนไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ตอนต้น

วิถีชีวิตของคนไทยในยุคสมัยดังกล่าวนี้ จะไม่แตกต่างกันมากนัก และมีความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดได้แก่ การปรับปรุงประเทศในมีความทันสมัยเช่นนานาอารยประเทศ โดยเฉพาะประเทศทางฝั่งตะวันตก โดยมีการพัฒนาปรับปรุงกันมาตั้งแต่สมัย ร.4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังต่อไปนี้

  1. วิถีชีวิตทางด้านการเมืองการปกครอง ในสมัยอยุธยา มีการปกครองแบบสมบุรณาญาสิทธิราช มีกษัตริย์เปรียบเสมือนเป็นสมมิติเทพ ซึ่งเป็นแบบอย่างมาจากเขมร และมีข้อปฏิบัติหรือกฎมณเฑียรบาลของผู้ปกครองให้มีความแตกต่างจากประชาชนธรรมดา เช่น มีการใช้ราชาศัพท์ และต้องถือน้ำพระพิดัฒน์สัตยาของบรรดาข้าราชบริพาล เป็นต้น ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์ และราษฎรห่างเหิรกันออกไป แต่อย่างไรก็ตามผู้ปกครองก็คือผู้ปกครอง สำหรับราษฎรจะได้รับการปกครองในระบบไพร่ มีการเกณฑ์แรงงานเพื่อทำงานให้ทางราชการ
  2. ด้านเศรษฐกิจ เป็นระบบพึ่งตนเองและพออยู่ได้ ราษฎรอาจทำสิ่งของที่ใช้จำเป็นได้เองในครับเรือน การค้ามีไม่มากนักเนื่องจากมีการผูกขาดโดยระบบพระคลังสินค้า มีการนำสินค้าของชาวตะวันตกเข้ามาขายได้บ้างเป็นบางอย่าง เช่น อาวุธปืน และเครื่องกระสุน ส่วนสินค้าฟุ่มเฟือยก็จะมีเฉพาะในราชสำนักเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่พวกเครื่องหอม และแพรพรรณ มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติมากขึ้น ทำให้เกิดการจัดระเบียบการค้าสำหรับหน่วยงานขึ้นอย่างชัดเจน เช่น มีกรมท่า และพระคลังสินค้า ทั้งนี้มีหน้าที่ดูแลการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ การจัดระบบภาษีอากร และประยุคต์เรื่องเงินตราใหม่
  3. ด้านสังคม และวัฒนธรรม จากการติดต่อกับชาวตะวันตก ทั้งการค้า และการสงคราม มีชาวต่างชาติเข้ามารับราชการในราชสำนัก ทำให้สังคมไทยในสมัยอยุธยาเปลี่ยนไปทั้งทางด้านวัฒนธรรมและประเพณี ที่ได้รับมาทั้งจากตะวันตกและตะวันออก เช่น จากเขมร อินเดีย จีน ญี่ปุ่น เปอร์เซีย อาหรับ และจากฝรั่งชาวยุโรป โดยเฉพาะการกำหนดชนชั้นของบุคคล ในสังคม กฎหมาย และพระราชพิธีในราชสำนัก ตลอดจนการดำเนินชีวิตของราษฎรต่าง ๆ เช่น ประเพณีการดื่มน้ำชา การใช้เครื่องถ้วยชามประกอบการรับประทานอาหาร การรับประทานอาหาร การปรุงแต่งรสชาติอาหาร และขนมหวานต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งก็มีทั้งดีและไม่ดี
  4. ทางด้านศาสนา ราษฎรยังคงนับถือศาสนาพุทธอย่างมั่นคง และเหนียวแน่น เช่นเดียวกับสมัยสุโขทัย โดยมีประเพณีเกี่ยวกับศาสนาเช่น การเกิด การอุปสมบท การสมรส และการตาย ส่วนประเพณีทางการอาชีพก็ได้แก่ การทำบุญหรือทำขวัญแม่โพสพ สำหรับศาสนาอื่นก็ไม่เป็นปัญหาสามารถที่จะอยู่ร่วมกันได้ตามปกติในสังคม โดยแบ่งเป็นมัสยิด และโบสถ์ในคริสต์ศาสนา ซึ่งก็ถือปฏิบัติสืมต่อกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ และกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน นอกนั้นก็ยังมีงานสังคมหรืองานเลี้ยงเพื่อการสังสรรค์ มีงานศิลปะ และวรรณกรรมประเพณีต่าง ๆ โดยเฉพาะงานทางศาสนาและความเป็นสมมุติเทพของศาสนาพรามณ์ และพระมหากษัตริย์

วิถีชีวิตของคนไทย สมัยรัตนโกสินทร์ยุคปรับปรุงถึงยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอบ พ.ศ. 2475

นับตั้งแต่สมัย ร.4 ร.5 หรือสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง เป็นต้นมา สังคมไทยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมทีละน้อย ไม่เหมือนสังคมไทยในสมัยรัตรนโกสินทร์ตอนต้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมีการรับวัฒนธรรมมาจากชาวตะวันตก อันเนื่องจากที่ไทยทำสัญญาบาร์วนิ่งกับประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2398 ซึ่งทำให้ประเทศไทยเสียผลประโยชน์เป็นอันมาก รวมทั้งการทำสัญญาต่าง ๆ กับประเทศทางตะวันตกอื่น ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้ทำให้ต่างประเทศโดยเฉพาะทางตะวันตกได้เข้ามาทำการค้ากับไทยมากขึ้น เนื่องจากเห็นว่ามีกฎหมายคุ้มครอง ทำให้ในระยะแรกผู้ปกครอง และชนชั้นสูงได้ประโยชน์ เช่น บรรดาขุนนาง และบรรดาเข้านาย ทำให้ชนชั้นกลางและราษฎรเริ่มทนไม่ได้และมีบทบาทในสังคมมากขึ้นทำให้วิถีชีวิตของคนไทยเปลี่ยนไป

  1. ด้านการเมืองการปกครอง ในสมัย ร.4 ร.5 มีการใกล้ชิดกับราษฎรมากขึ้น เช่น การเสด็จประพาสหัวเมือง อนุญาตให้ราษฎรเข้าเฝ้าได้ และเริ่มมีการให้ราษฎรมองพระพักตร์ และถวายฎีกา มีการปฏิรูประบบการบริหารราชการแผ่นดินใหม่ แบ่งงานออกเป็นกระทรวงทบวงกรม มีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ารับราชการมากขึ้น
  2. ด้านเศรษฐกิจ มีสินค้าออกเพิ่มจากข้าวอีกหลายรายการ มีการจัดที่ดินให้ราษฎรปลูกข้าว ที่แถวรังสิต มีการปรับปรุงระบบชลประทาน และมีชาวจีนมากรับเหมาเปิดโรงสีข้าว มีการส่งออกโดยชาวยุโรป มีสินค้าออกที่สำคัญเพิ่มจากข้าว ได้แก่ แร่ดีบุก ไม้สัก และยางพารา มีการอพยพของชาวจีนเข้ามากันมากขึ้น เพื่อมาเป็นแรงงานและได้อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น ที่ภูเก็ต และพังงา
  3. ด้านสังคมและวัฒนธรรม ประเทศเริ่มมีการปรับปรุงให้ทันสมัยแบบตะวันตก มีการปล่อยให้เป็นไทยไม่ต้องเป็นทาสในสมัย ร.5 มีอิสระในการประกอบอาชีพ มีการแพทย์สมัยใหม่ ราษฎรมีโอกาสได้เล่าเรียนหนังสือจนถึงระดับมหาวิทยาลัย หรือไปศึกษาต่อต่างประเทศ มีระบบคมนาคมขนส่งที่ทันสมัยทั้ง รถยนต์ รถไฟ และไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้าน้ำประปา ถนนหนทางตัดใหม่หลายเส้นทาง เริ่มมีประเพณีรับประทางน้ำชากาแฟ ขนมปัง แทนข้าว มี่การใช้ช้อนส้อม เป็นต้นส่วนทางด้านบุคคลก็มีการเรียกชายว่านาย หญิงว่านาง หรือนางสาว มีการแต่งกายเป็นแบบสากล สวมรองเท้า ใส่หมวก เป็นต้น

วิถีชีวิตคนไทยตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475

  1. ด้านการเมือง การปกครอง มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย เกิดองค์กรทางการเมืองต่าง ๆ มากมาย เช่น พรรคการเมือง คณะรัฐมนตรี รับสภา มีการเลือกตั้ง มีเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมือง แต่ก็มีการจำกัดไว้ด้วยระบบเผด็จการ มีรัฐธรรมนูญ
  2. ทางด้านการอุตสหกรรม มีการพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมากขึ้นโดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2530 ทำให้เกินการล้มละลายของธุรกิจ จนมาระเบิดในปี พ.ศ. 2540 คนตกงานจำนวนมาก รัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนอยู่อย่างพอเพียง ไม่ฟุ้งเฟ้อ ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
  3. ทางด้านศิลปวัฒนธรรม ซึ่งตรงกับสมัยรัฐบาลจอมพล ป. สมัยแรก พ.ศ. 2481-2487 มีการสร้างกระแสชาตินิยมความเป็นไทยมการออกระเบียนหลายฉบับ เช่น เปลี่ยนชื่อประเทศ มีการสร้างสัญชาติ เป็นประเทศไทย ให้ใช้สัญชาติไทย มีการยกเลิกบรรดาศักดิ์ และยศข้าราชการพลเรือน มีการให้สวมรองเท้า สวมหมวก ไม่ให้รับประทานหมากพลูในที่สาธารณะ ต้องใช้สรรพนามแทนตัวเองว่าฉัน และบุรุษที่ 2 ว่า ท่าน เป็นต้น และภายหลังก็ถูกยกเลิกไป
  4. มีการฟื้นฟูพระราชประเพณี ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ พ.ศ. 2501-2506 มีการเปลี่ยนแปลงความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ และฟื้นฟูพระราชพระเพณีต่าง ๆ ได้แก่ เปลี่ยนวันชาติ จาก 24 มิถุนายน มาเป็นวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี ประเพณีเข้าพรรษา ให้มีพระราชพิธีเฉลิมพระชนม์พรรษา จัดงานพระราชพิธีวันฉัตรมงคล และพิธีต่าง ๆ ที่มีความสำคัญอีกมากมาย เพื่อเป็นเกียรติแก่พระมหากษัตริย์ มาจนตราบเท่าทุกวันนี้

วิถีชีวิตของคนในสมัยอยุธยา

นายเจริญชัย วิวัฒน์สกุลไทย

ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโกรกสิงขร

Copyright © 2020 โรงเรียนบ้านโกรกสิงขร All Right Reserved.

การดำรงชีวิตในสมัยอยุธยาเป็นอย่างไร

09.ชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีบางอย่างสมัยอยุธยา.
บ้านเรือนสมัยอยุธยา สร้างเป็นหลังขนาดย่อมๆ.
ผู้หญิงต้องรับผิดชอบต่อครอบครัวมากกว่าผู้ชาย.
ชอบเล่นการพนันกันอย่างกว้างขวาง.
ชอบสูบยาเส้น และสูบกันอย่างกว้างขวาง.
นิยมให้ลูกชายได้ศึกษาเล่าเรียนโดยใช้วัดเป็นสถานศึกษา ... .
ทาสอันได้เลี้ยงมาเมื่อเกิดทุพภิกขภัย.

วิถีชีวิตของคนไทยมีอะไรบ้าง

วิถีชีวิตดั้งเดิมของคนไทย คือ การเป็นสังคมเกษตรกรรมที่ทุกคนอาศัยอยู่รวมกันเป็นชุมชนในระดับครอบครัว เป็นครอบครัวขยายที่มีคนหลายรุ่นอาศัยอยู่รวมกัน คือ รุ่นปู่ย่าตายาย รุ่นพ่อแม่ รุ่นลูก รุ่นหลาน รวมทั้งมีญาติพี่น้องอาศัยอยู่ใกล้ชิดกัน โดยมีศูนย์กลางของชุมชน คือ ศาสนสถาน เช่น วัด มัสยิด ผู้ใหญ่ในชุมชน เช่น พระ ...

วิถีชีวิตของชาวสุโขทัยมีลักษณะอย่างไร

วิถีชีวิตคนสุโขทัยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคําแหงเป็นพระมหากษัตริย์ จะเห็นได้จากหลักศิลาจารึกว่าเป็นชีวิตที่เรียบง่าย มีอิสรเสรีในการดํารงชีวิต เช่น ใครใคร่ค้าช้าง ค้า ค้าม้า ค้า พ่อเมืองบ่เอาจังกอบ ถึงวันโกน วันพระ ก็ทําบุญ ทําทาน ฟังเทศน์ ฟังธรรม บ้านเมืองถึงอยู่ร่มเย็นเป็นสุขมาเป็นเวลาร้อยๆ ปี

ประเพณีในสมัยอยุธยามีอะไรบ้าง

วัฒนธรรมกรุงศรีอยุธยา เป็นลักษณะวัฒนธรรมผสม ระหว่างวัฒนธรรมไทยแท้กับวัฒนธรรมต่างชาติที่สำคัญ ที่สุด คือ วัฒนธรรมอินเดียซึ่งรับมาจากพวกพราหมณ์ วัฒนธรรมและประเพณีสำคัญ เช่น พระราพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา พิธีพืชมงคล พิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พิธีการบวช และการทำบุญ เป็นต้น