กิจกรรม ใด ของ ห้องสมุด ที่ ต่าง ประเภท ออก ไป

-เป็นงานที่ห้องสมุดจัดขึ้นเป็นครั้งคราวหรือในโอกาสต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ห้องสมุด และส่งเสริมการอ่าน ซึ่งมีความสอดคล้องกับการส่งเสริมให้มีการอ่านตลอดชีวิต จึงทำให้มีความแตกต่างกับงานบริการที่จัดขึ้นในห้องสมุด ซึ่งจะเป็นงานที่จะคงอยู่ภายในห้องสมุดตลอดไป และมีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เป็นงานประจำที่บรรณารักษ์ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการวางแผนว่าจะจัดทำเป็นระยะเวลานานเท่าใด เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด ก่อให้เกิดการปรับปรุงในการให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

-บรรณารักษ์จึงต้องเป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการจัดกิจกรรมที่มีความน่าสนใจขึ้นมาเพื่อดึงดูดให้ผู้ใช้เข้ามาใช้บริการของห้องสมุดมากขึ้น โดยมีความคิดที่แปลกใหม่แตกต่างไปจากเดิม ดังนั้น บรรณารักษ์จึงต้องไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ ต้องตามติดความทันสมัย เพื่อให้สามารถจัดบริการที่ทันสมัยให้กับผู้ใช้ได้ นอกจากนี้ยังต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเพื่อให้สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงศักยภาพของบรรณารักษ์เองในการติดต่อสื่อสารกับผู้ใช้ เพื่อให้ทราบความต้องการที่แท้จริงของผู้ใช้ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้เกิดความพึงพอใจและเกิดความรู้สึกที่ดี มีความประทับใจในบริการและกลับมาใช้ห้องสมุดในภายหลัง 

Information Literacy หมายถึง การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศเพื่อให้สามารถคัดเลือกและประเมินคุณค่าของสารสนเทศเหล่านั้นได้ ทำให้ได้รับสารสนเทศตรงตามความต้องการในการนำไปใช้งาน

  • ความสำคัญของกิจกรรมห้องสมุด

    การจัดกิจกรรมของห้องสมุดนั้นเป็นสิ่งที่ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ห้องสมุดเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ทำให้คนทั่วไปทราบถึงวิธีการดำเนินงานภายในห้องสมุดว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร รวมทั้งทรัพยากรสารสนเทศที่จัดไว้ในห้องสมุดมีอะไรบ้าง และครอบคลุมถึงสิ่งที่ห้องสมุดจัดทำว่ามีอะไรบ้าง

    ข้อสังเกต จะเห็นได้ว่าการประชาสัมพันธ์ของห้องสมุดมีการนำหลักการตลาดมาใช้เพื่อให้เกิดการโน้มน้าวจูงใจให้คนทั่วไปหันมาใช้บริการจากห้องสมุดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเอื้อต่อการกระตุ้นให้คนเข้ามาใช้บริการห้องสมุด โดยในการจัดกิจกรรมของห้องสมุดจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมการอ่านหนังสือมากยิ่งขึ้น และทำให้คนเกิดนิสัยรักการอ่าน มองเห็นความสำคัญในการอ่านหนังสือ เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะช่วยในการเปิดมุมมองทางความคิดให้กว้างไกล มีความรอบรู้และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ 

  • วัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมห้องสมุด มีดังนี้

    (1)เพื่อประชาสัมพันธ์งานและบริการต่างๆ ของห้องสมุด

    (2)เพื่อรณรงค์ให้มีการอ่านหนังสือ

    (3)เพื่อสร้างแรงจูงใจให้อยากอ่านหนังสือประเภทต่างๆมากขึ้น

    (4)เพื่อเป็นก้าวแรกของการรู้จักศึกษาค้นคว้าสารสนเทศมาใช้จัดกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลต่อผู้เข้าชมกิจกรรมแต่ละครั้ง

  • ประเภทของกิจกรรมของห้องสมุด สามารถจัดแบ่ตามประเภทวัตถุประสงค์ที่จัดได้ดังนี้

    (1)กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

    (2)กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด

    (3)กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน

    (4)กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป สำหรับบุคคลทั่วไป

    (5)กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

    1. กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

      เป็นกิจกรรมที่สร้างแรงจูงใจให้สมาชิกสนใจในการอ่านและเกิดนิสัยรักการอ่าน มีดังต่อไปนี้

      -การเล่านิทาน

      -การเล่าเรื่องหนังสือ

      -การตอบปัญหาจากหนังสือ

      -การอภิปราย

      -การออกร้านหนังสือ (ในงานนิทรรศการ)

      -การแสดงละครหุ่นมือ (วรรณกรรมสำหรับเด็ก)

      -การโต้วาที (การคิดหัวข้อการโต้วาทีที่เป็นการส่งเสริมการอ่าน ซึ่งจะต้องมีการเตรียมตัวในการศึกษาหาข้อมูลมาใช้ในการโต้วาที เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ)

      -การประกวด (วาดภาพ แต่งกลอน ถ่ายภาพ เป็นต้น)

      -การแข่งขัน

      -การจัดแสดงหนังสือใหม่

      -การวาดภาพโดยใช้จินตนาการจากการฟังนิทาน

    2. กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องห้องสมุด

      เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้รู้จักใช้ห้องสมุดในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ซึ่งมีดังต่อไปนี้

      -การแนะนำการใช้ห้องสมุด

      -การปฐมนิเทศการใช้ห้องสมุด

      -การนำชมห้องสมุด

      -การอบรมนักเรียนให้รู้จักช่วยงานห้องสมุด หรือที่เรียกว่า ยุวบรรณารักษ์

    3. กิจกรรมส่งเสริมการเรียนการสอน

      เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งมีดังต่อไปนี้

      -การจัดนิทรรศการ

      -การประกวดคำขวัญ

      -การประกวดเรียงความ

      -การตอบปัญหา

      -การประกวดวาดภาพ

      -การให้ความร่วมมือกับผู้สอนในการจัดให้มีการศึกษาค้นคว้าในชั่วโมงเรียน

    4. กิจกรรมส่งเสริมความรู้ทั่วไป

      เป็นกิจกรรมที่ห้องสมุดจัดขึ้น เพื่อเสริมความรู้ให้แก่ผู้ใช้บริการ ได้แก่

      -การจัดสัปดาห์ห้องสมุด

      -การจัดนิทรรศการ

      -การสาธิตภูมิปัญญา

      -การจัดป้ายนิเทศเสริมความรู้

      -การฉายสื่อมัลติมีเดีย

      -การตอบปัญหาสารานุกรมไทยและหนังสือความรู้รอบตัว

      ข้อสังเกต ในการจัดนิทรรศการนั้นจะเป็นการเลือกใช้วัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่างๆ ที่นำมาจัดแสดง ส่วนป้ายนิเทศนั้นเป็นป้ายที่ใช้เสริมความรู้ เป็นการสื่อความรู้โดยไม่มีการใช้ข้อความที่มาก จึงเป็นองค์ความรู้แบบสั้นๆ   โดยใช้ข้อความสั้นๆ เพื่อบอกกล่าวถึงสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนั้น ใช้ในการติดตามข้อมูลข่าวสาร

    5. กิจกรรมส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ 

      เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จากการอ่าน ซึ่งมีดังต่อไปนี้

      -การจัดมุมรักการอ่าน

      -การจัดมุมหนังสือในห้องเรียน

      -การจัดห้องสมุดเคลื่อนที่

    • การเล่านิทาน (Story telling)*การเล่านิทานมีจุดเริ่มต้นในการบอกเล่าสืบต่อกันมา เรียกว่า "มุขปาฐะ" มีการปรับเปลี่ยนเรื่องเล่าให้เหมาะสมกับยุคสมัยใหม่ แต่ยังคงรักษาเค้าโครงเดิม

      การเล่านิทานเป็นกิจกรรมส่งเสริมการอ่านประเภทหนึ่งที่ช่วยให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน เพราะนิทานให้ทั้งความสนุกสนาน เพลิดเพลิน เพิ่มพูนความรู้ทางภาษา เสริมสร้างจินตนาการ ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ไม่ดีของตนเอง เนื่องจากเกิดความคล้อยตามจากการเรียนรู้จากการฟังนิทาน นอกจากนี้ผู้เล่านิทานต้องมีการใช้จิตวิทยาในการศึกษาความสนใจของผู้ฟังว่าให้ความสนใจในเรื่องใดบ้างก่อนทำการเล่า เนื่องจาก ในการเล่านิทานย่อมมีทั้งผู้ฟังที่เป็นเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง ดังนั้นผู้เล่าจึงต้องพิจารณาเรื่องที่จะนำมาเล่าให้สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่จะมาฟังด้วย ซึ่งจะมีความสนใจเหมือนกัในระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ผู้เล่าต้องพยายามสื่อไปให้ถึงนิทานที่เป็นตัวเล่มให้ได้ เนื่องจากเราใช้นิทานเป็นสื่อนำไปสู่การอ่าน ถ้าผู้เล่าสามารถเล่าเรื่องให้สนุก เด็กก็จะเกิดความสงสัยและซักถามผู้เล่าหลังจากฟังเรื่องเล่าจบ และผู้เล่าทิ้งท้ายไว้ให้ติดตามต่อไป นักเรียนจะอยากรู้จนต้องหาหนังสือมาอ่านเอง จึงเห็นได้ว่าการเล่านิทานนั้นมีบทบาทช่วยสั่งสอนด้านศีลธรรมจรรยา ซึ่งเป็นการปลูกฝังให้เด็กเป็นผู้ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม

    • ประเภทของนิทานที่มีในไทย

      (1)นิทานก่อนมีประวัติศาสตร์

      (2)นิทานประเภทชาดกในนิบาตชาดก

      -นิทานที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ซึ่งกล่าวอ้างมาจากพุทธวัจนะ มีอยู่ในคำเทศน์ เช่น เทศน์มหาชาติ พระเวสสันดรชาดก

      (3)นิทานประเภทคำกลอน

      (4)นิทานชาดกนอกนิบาตชาดก

      -นิทานที่ไม่ได้มาจากคัมภีร์ในศาสนาพุทธ เป็นนิทานพื้นเมืองของประเทศต่างๆ เป็นเรื่องที่ไม่ได้อ้างมาจากพุทธวัจนะ

      (5)นิทานพื้นเมือง

      -เช่น เกาะหนูเกาะแมว ตายายปลูกถั่วปลูกงา

      (6)นิทานประเภทจักร ๆ วงศ์ ๆ

      (7)นิทานสุภาษิต

      (8)นิทานยอพระเกียรติ

      -เป็นนิทานที่เชิดชูพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ไทย หรือผู้นำบางประเทศ

    • การเลือกนิทานสำหรับเล่า

      วรรณกรรมที่เลือกมาเล่าให้เด็กฟังควรเป็น

      (1)นิทานปรัมปรา

      (2)ร้อยกรอง

      (3)สารคดี

      (4)ประวัติบุคคลสำคัญ

      -เด็กสามารถใช้ในการเรียนรู้เพื่อนำมาเป็นแบบอย่างในการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

    • การเตรียมตัวก่อนเล่านิทาน

      การเล่านิทานเป็นศิลปะอันจะฝึกฝนได้ ดังนั้น ผู้เล่าต้องอ่านเรื่องที่เล่าซ้ำจนจำขึ้นใจ บางครั้งอาจใช้หนังสือประกอบในการเล่าได้ ไม่ควรก้มหน้าก้มาในการเล่า โดยไม่สนใจผู้ฟัง อีกทั้งยังต้องมีทักษะในการเล่าเรื่องด้วยคำพูดที่ไพเราะ มีความดึงดูดใจ ใช้ภาษาที่ถูกต้องและเหมาะสมในการเล่าเรื่อง และเลือกนิทานที่มีเนื้อหาชวนให้ติดตาม

    • นิทานที่เหมาะสำหรับการเล่า

      (1)มีความเคลื่อนไหวอยู่ในเรื่อง

      (2)มีเนื้อเรื่องเร้าใจ ชวนให้ติดตามว่าจะมีอะไรเกิดขึ้นต่อไป

      (3)มีพรรณนาโวหาร ในการใช้ภาษาที่ถูกต้องให้เด็กฟัง

      (4)มีการใช้คำซ้ำๆ ข้อความซ้ำๆ และคล้องจองกัน

      (5)ตัวละครมีปฏิภาณไหวพริบ

      (6)เนื้อเรื่องมีความรู้สึกสะเทือนใจ

      (7)ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเกินไป

      (8)เรื่องเกี่ยวกับสัตว์เล็กๆ

      (9)นิทานสุภาษิตและนิทานอีสป

      (10)เรื่องขำขัน

      (11)ตำนาน นิทานพื้นเมือง เทพนิยาย เทพปกิรณัม

    • วิธีการเล่านิทาน

      (1)มีการจัดให้เด็กนั่งเตรียมพร้อมสำหรับการฟัง

      (2)มีการสร้างบรรยากาศในการเล่า

      (3)สามารถเล่าได้อย่างมั่นใจ

      (4)การใช้ภาษาสำนวนที่ง่ายๆ

      (5)จิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องเล่า

      (6)ผู้เล่าต้องพยายามสร้างมโนภาพในเรื่องที่จะเล่า

      (7)ควรแสดงท่าทางประกอบตามความสมควรเพื่อให้เกิดความเหมาะสม

      ในการเล่านิทานผู้เล่าควรหลีกเลี่ยงในการก้มหน้าก้มตาเพื่อเล่าเพียงอย่างเดียว โดยไม่สบตากับผู้ฟังเลย ผู้เล่าจึงควรพยายามมองผู้ฟังในขณะที่เล่าให้ทั่วถึง

      กิจกรรมของห้องสมุดมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

      กิจกรรมห้องสมุดที่นิยมจัดคือ การจัดนิทรรศการ การเล่านิทาน การพูดเรื่องหนังสือ การจัดหุ่นกระบอก การทายปัญหาเกี่ยวกับหนังสือ เป็นต้น บรรณรักษณ์บางคนอาจจัดกิจกรรมบ่อยครั้ง แต่บางคนไม่ค่อยมีโอกาส การจัดกิจกรรมมักจะต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ประกอบด้วยเช่น เงิน เวลา และอื่น ๆ

      ห้องสมุดแบ่งออกเป็น 5 ประเภทมีอะไรบ้าง

      4. ห้องสมุดมีกี่ประเภท อะไรบ้าง 5 ประเภท คือ 1. หอสมุดแห่งชาติ 2. ห้องสมุดประชาชน 3. ห้องสมุดวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย 4. ห้องสมุดโรงเรียน 5. ห้องสมุดเฉพาะ

      กิจกรรมส่งเสริมการอ่านของห้องสมุดมีกี่ประเภท

      การจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ของครูบรรณารักษ์ 1. การเล่านิทาน 2. การเล่าเรื่องจากหนังสือ 3. การแนะนาหนังสือ 4. การสนทนาเกี่ยวกับหนังสือ 5. การโต้วาทีเกี่ยวกับหนังสือ 6. การจัดนิทรรศการ 7. การจัดทารายชื่อหนังสือที่ น่าสนใจ 8. การอ่านหนังสือให้ฟัง 9. เกมแข่งขันเกี่ยวกับหนังสือ 10. การแสดงละครจากเรื่องใน หนังสือ

      หัวใจสำคัญของห้องสมุดคืออะไร

      งานบริการเป็นหัวใจสำคัญของห้องสมุด เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับผู้ใช้ทุกระดับ สำหรับงานบริการของห้องสมุดโรงเรียน มีส่วนสำคัญที่ทำให้นักเรียน ผู้ปกครองและชุมชน มาใช้ห้องสมุดมากขึ้น งานบริการเป็นงานที่ห้องสมุดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอน ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ รู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ใช้ประโยชน์จากการ ...