การกระทําผิดทางอาญา มีอะไรบ้าง

ความผิดทางอาญา

    

การกระทําผิดทางอาญา มีอะไรบ้าง


    
ความผิดทางอาญา คือ การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ   เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญา จะต้องได้รับโทษตามกฎหมายมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการกระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการกระทำ และสังคมมีความรู้สึกต่อการกระทำนั้นๆ ว่า อะไรเป็นปัญหาสำคัญมากน้อยเพียงใด ซึ่งอาจจะแบ่งการกระทำความผิดอาญาออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

                    1. ความผิดต่อแผ่นดิน หมายถึง ความผิดในทางอาญา ซึ่งนอกจากเรื่องนั้นจะมีผลต่อตัวผู้รับผลร้ายแล้ว ยังมีผลกระทบที่เสียหายต่อสังคมอีกด้วย และรัฐจำเป็นต้องป้องกันสังคมเอาไว้ด้วยการยื่นมือเข้ามาเป็นผู้เสียหายเอง ดังนั้นแม้ผู้รับผลร้ายจากการกระทำโดยตรงจะไม่ติดใจเอาความ แต่ก็ยังต้องเข้าไปดำเนินคดีฟ้องร้องเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษให้ได้

                    กรณีตัวอย่างที่ 1

นายมังคุดทะเลาะกับนายทุเรียน นายมังคุดบันดาลโทสะใช้ไม้ตีศีรษะนายทุเรียนแตก นายทุเรียนไปแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ดำเนินคดีกับนายมังคุดในข้อหาทำร้ายร่างกายผู้อื่น ต่อมานายทุเรียนหายโกรธนายมังคุดก็ไม่ติดใจเอาเรื่องกับนายมังคุด แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายทุเรียนต่อไปเพราะเป็นความผิดต่อแผ่นดิน

                    กรณีตัวอย่างที่ 2

นายแตงโมขับรถยนต์ด้วยความประมาทไปชนเด็กชายแตงไทยถึงแก่ความตายเป็นความผิดอาญาฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต่อมานายแตงกวาและนางแต่งอ่อนบิดามารดาของเด็กชายแตงไทย ได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายแตงโมเป็นเงิน 200,000 บาทแล้ว จึงไม่ติดใจเอาความกับนายแตงโม แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องดำเนินคดีกับนายแตงโมต่อไป เพราะความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเป็นความผิดต่อแผ่นดิน
               
    2. ความผิดอันยอมความกันได้ หมายถึง ความผิดในทางอาญาซึ่งไม่ได้มีผลร้ายกระทบต่อสังคมโดยตรง หากตัวผู้รับผลร้ายไม่ติดใจเอาความแล้ว รัฐก็ไม่อาจยื่นมือเข้าไปดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ และถึงแม้จะดำเนินคดีไปแล้ว เมื่อตัวผู้เสียหายพอใจยุติคดีเพียงใดก็ย่อมทำได้ด้วยการถอนคำร้องทุกข์ ถอนฟ้อง หรือยอมความ เช่น ความผิดฐานหมิ่นประมาท ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ เป็นต้น

               
    กรณีตัวอย่างที่ 1
นายโก๋และนางกี๋ลักลอบได้เสียกัน นายแฉแอบเห็นเข้า จึงได้นำความไปเล่าให้นายเชยผู้เป็นเพื่อนฟัง การกระทำของนายแฉมีความผิดฐานหมิ่นประมาท เมื่อนายโก๋และนางกี๋รู้เข้าจึงไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ นายแฉไปหานายโก๋และนางกี๋  เพื่อขอขมานายโก๋และนางกี๋จึงถอนคำร้องทุกข์ดังนั้น เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงไม่มีอำนาจดำเนินคดีกับนายแฉอีกต่อไป ถือว่าเป็นความผิดอันยอมความกันได้

                    กรณีตัวอย่างที่ 2

นายตำลึงล่ามโซ่ใส่กุญแจประตูใหญ่บ้านของนายมะกรูด ทำให้นายมะกรูดออกจากบริเวณบ้านไม่ได้ นายมะกรูดต้องปีนกำแพงรั้งกระโดลงมา การกระทำของนายตำลึงเป็นความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังทำให้ปราศจากเสรีภาพ นายมะกรูดจึงไปแจ้งความยังสถานีตำรวจ นายตำลึงได้ไปหานายมะกรูดยอมรับความผิด และขอร้องไม่ให้นายตำลึงเอาความกับตนเอง นายตำลึงเห็นใจจึงไปถอนคำร้องทุกข์ ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจก็จะดำเนินคดีต่อไปอีกไม่ได้เพราะเป็นความผิดอันยอมความกันได้


โทษทางอาญา


1. ประหารชีวิต คือ นำตัวไปยิงด้วยปืนให้ตาย

2. จำคุก คือ นำตัวไปขังไว้ที่เรือนจำ
3. กักขัง คือนำตัวไปขังไว้ ณ ที่อื่น ที่ไม่ใช่เรือนจำ เช่น นำไปขังไว้ที่สถานีตำรวจ
4. ปรับ คือ นำค่าปรับซึ่งเป็นเงินไปชำระให้แก่เจ้าพนักงาน
5. ริบทรัพย์สิน คือ ริบเอาทรัพย์สินนั้นเป็นของหลวง เช่น ปืนเถื่อน ให้ริบ ฯลฯ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การกระทําผิดทางอาญา มีอะไรบ้าง

บทความนี้ได้รับแจ้งให้ปรับปรุงหลายข้อ กรุณาช่วยปรับปรุงบทความ หรืออภิปรายปัญหาที่หน้าอภิปราย

  • บทความนี้ต้องการพิสูจน์อักษร อาจเป็นด้านการใช้ภาษา การสะกด ไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน หรือการแปลจากภาษาอื่น
  • บทความนี้ยังขาดแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง

กฎหมายอาญา เป็นประชุมกฎหมายที่สัมพันธ์กับอาชญากรรม โดยห้ามความประพฤติที่รัฐมองว่าคุกคาม หรือเป็นภัยต่อทรัพย์สิน สุขภาพ ความปลอดภัยและศีลธรรมของประชาชน กฎหมายอาญาส่วนใหญ่สร้างขึ้นเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษร ซึ่งตราขึ้นโดยสภานิติบัญญัติ กฎหมายอาญามีบทลงโทษและการทำให้กลับคืนดีซึ่งประชาชนผู้ฝ่าฝืนกฎหมายดังกล่าว

กฎหมายอาญาต่างจากกฎหมายแพ่ง ซึ่งเน้นการระงับข้อพิพาทและการใช้ค่าสินไหมทดแทน มากกว่าการลงโทษหรือการทำให้กลับคืนดี

วัตถุประสงค์[แก้]

กฎหมายอาญามีความพิเศษจากผลลัพธ์ที่อาจรุนแรงหรือบทลงโทษที่ละเว้นการปฏิบัติตามหลักกฎหมายอาญา[1] อาชญากรรมทุกประเภทมีองค์ประกอบแห่งความผิดอาญา โทษทางอาญามีทั้งโทษประหารชีวิต ซึ่งบางเขตอำนาจศาลใช้บังคับสำหรับอาชญากรรมที่ร้ายแรงที่สุด, การลงโทษทางกาย เช่น การเฆี่ยน แม้ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของโลกห้ามการลงโทษลักษณะนี้แล้ว, การกักขังในเรือนจำหรือคุกในสภาพต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการแยกขังเดี่ยว ส่วนระยะเวลานั้นอาจมีตั้งแต่ 1 วันไปจนถึงตลอดชีวิต, การคุมความประพฤติ เช่น การกักให้อยู่แต่ในบ้าน (house arrest) และผู้ต้องโทษอาจถูกบังคับให้ปฏิบัติตามแนวทางอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยตัวโดยมีการคุมประพฤติหรือการคุมประพฤติ, ปรับ, และริบทรัพย์เป็นเงินหรือทรัพย์สิน

มีการยอมรับวัตถุประสงค์ 5 ประการสำหรับการบังคับใช้กฎหมายอาญาโดยการลงโทษ ได้แก่ การตอบแทน การป้องปราม การหมดความสามารถ การทำให้กลับคืนดีและการคืนสภาพ เขตอำนาจศาลต่าง ๆ ให้น้ำหนักแก่คุณค่าต่างกันไป

  • การตอบแทน (retribution): มองว่าอาชญากรสมควรถูกลงโทษในทางใดทางหนึ่ง เป็นเป้าหมายที่มองกันแพร่หลายมากที่สุด อาชญากรใช้ข้อได้เปรียบอย่างไม่เหมาะสม หรือก่อความเสียหายอย่างอยุติธรรมต่อผู้อื่น ดังนั้นกฎหมายอาญาจึงต้องทำให้อาชญากรได้รับผลเสียอันไม่น่าพึงประสงค์เพื่อให้ "สมดุลกัน" ในทำนองเดียวกัน ประชาชนยอมรับต่อกฎหมายเพื่อให้ได้รับสิทธิในการไม่ถูกฆ่า และหากมีประชาชนฝ่าฝืนกฎหมายข้อนี้ ถือว่าพวกเขายอมสละสิทธิที่กฎหมายมอบให้ ดังนั้นบุคคลที่ฆ่าผู้อื่นจึงอาจถูกประหารชีวิตด้วย ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมี "การรักษาสมดุล"
  • การป้องปราม (deterrence): การป้องปรามปัจเจกมุ่งต่อผู้กระทำความผิดคนใดคนหนึ่ง เป้าหมายคือการกำหนดบทลงโทษให้หนักเพียงพอเพื่อให้ประชาชนไม่คิดกระทำความผิด การป้องปรามทั่วไปมุ่งต่อสังคมทั้งหมด
  • การหมดความสามารถ (incapacitation): ออกแบบมาเพื่อกันอาชญากรจากสังคมเพื่อให้ปลอดภัยจากการกระทำความผิด โทษอาจมีทั้งจำคุก ประหารชีวิตหรือเนรเทศ
  • การทำให้กลับคืนดี (rehabilitation): มุ่งแปลงสภาพผู้กระทำความผิดให้กลับเป็นสมาชิกของสังคมที่มีคุณค่า เป้าหมายหลักคือป้องกันการกระทำความผิดซ้ำโดยการจูงใจผู้กระทำความผิดว่าการกระทำของเขาผิด
  • การคืนสภาพ (restoration): ตามทฤษฎีการลงโทษที่เน้นผู้เสียหาย เป้าหมายคือการใช้อำนาจรัฐแก้ไขความเสียหายใด ๆ ที่ผู้กระทำความผิดกระทำต่อผู้เสียหาย

ประเภทของความผิด[แก้]

ความผิดทางอาญามี 2 ประเภทคือ

  1. ความผิดในตัวเอง (ละติน: mala in se) คือความผิดที่คนทั่วไปเห็นชัดเจนว่าเป็นความผิดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน
  2. ความผิดเพราะกฎหมายห้าม (ละติน: mala prohibita) คือความผิดที่เกิดจากการที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นความผิด โดยอาจมิได้เกี่ยวกับศีลธรรมเลย ซึ่งหากกล่าวถึงทฤษฎีกฎหมายสามยุค ความผิดเพราะกฎหมายห้ามอยู่ในยุคกฎหมายเทคนิค

ลักษณะของการทำความผิดทางอาญา[แก้]

กฎหมายอาญากระทำความผิดไว้ 3 ประเภทคือ

  1. ความผิดโดยการกระทำ
  2. ความผิดโดยการงดเว้นการกระทำ
  3. ความผิดโดยการละเว้นการกระทำ

สภาพบังคับของกฎหมายอาญา[แก้]

โทษทางอาญา เป็นสภาพบังคับหลักทางอาญาที่สามารถใช้ได้กับการกระทำที่เป็นความผิดทางอาญาตามกฎหมายอื่นด้วย ดุลยพินิจในการลงโทษ ที่ศาลจะลงโทษผู้กระทำความผิดหนักเบาเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับทฤษฎีซึ่งเกี่ยวกับจุดประสงค์ในการลงโทษ ซึ่งแยกได้ 2 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีเด็ดขาด การลงโทษ คือ การตอบแทนแก้แค้นการกระทำผิด การลงโทษหนักเบาย่อมเป็นไปตามความร้ายแรงของความผิด และทฤษฎีสัมพันธ์ การลงโทษมีประโยชน์คือ เพื่อให้สังคมปลอดภัย โทษจึงทำหน้าที่ห้ามไม่ให้คนกระทำความผิด และในกรณีกระทำความผิดไปแล้ว โทษมีความจำเป็นเพื่อปรับปรุงให้ผู้กระทำความผิดนั้นกลับตัวกลับใจแก้ไขการกระทำผิดที่เคยเกิดขึ้นและสามารถกลับเข้าสู่สังคมอย่างเดิม

กฎหมายอาญาบางส่วน[แก้]

องค์ประกอบแห่งความผิดอาญา[แก้]

กฎหมายอาญาโดยทั่วไปห้ามการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการพิสูจน์ความผิดอาญาจึงอาศัยการพิสูจน์การกระทำบางอย่าง นักวิชาการระบุว่าเป็นข้อกำหนดการกระทำอันจะเป็นความผิดอาญา (actus reus) ความผิดอาญาบางอย่าง โดยเฉพาะความผิดในข้อบังคับสมัยใหม่ไม่ต้องมีการพิสูจน์การกระทำ เรียก ความผิดความรับผิดโดยสิ้นเชิง (strict liability) เช่น การขับขี่ยานพานหะโดยมีแอลกอฮอลในเลือดเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด อย่างไรก็ดี เนื่องจากโทษอาญาอาจรุนแรง ผู้พิพากษาในระบบคอมมอนลอว์จึงมองหาการพิสูจน์เจตนาร้าย (mens rea) ด้วย สำหรับความผิดอาญาที่กำหนดทั้งการกระทำอันจะเป็นความผิดอาญาและเจตนาร้ายนั้น ผู้พิพากษาสรุปว่าองค์ประกอบทั้งสองจะต้องเกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน ไม่ใช่เกิดขึ้นติดต่อกันตามวาระกัน[2]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • ศาลอาญา

อ้างอิง[แก้]

  1. Dennis J. Baker (2011). "The Right Not to be Criminalized: Demarcating Criminal Law's Authority". Ashgate. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-13. สืบค้นเมื่อ 2011-11-11.
  2. This is demonstrated by R v. Church [1966] 1 QB 59. Mr. Church had a fight with a woman which rendered her unconscious. He attempted to revive her, but gave up, believing her to be dead. He threw her, still alive, in a nearby river, where she drowned. The court held that Mr. Church was not guilty of murder (because he did not ever desire to kill her), but was guilty of manslaughter. The "chain of events," his act of throwing her into the water and his desire to hit her, coincided. In this manner, it does not matter when a guilty mind and act coincide, as long as at some point they do. See also, Fagan v. Metropolitan Police Commissioner [1968] 3 All ER 442, where angry Mr Fagan would not take his car off a policeman's foot

การกระทําความผิดในทางอาญาหมายความว่าอย่างไร

ความผิดอาญา หมายถึง การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคม หรือคนส่วนใหญ่ อันเป็นสาธารณชน เมื่อบุคคลใดกระทำความผิดทางอาญาจะต้องรับโทษทางกฎหมายมากบ้าง น้อยบ้างเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของการกระทำความผิด กฎหมายมิได้ถือว่าการ กระทำความผิดทุกอย่างร้ายแรงเท่าเทียมกัน การลงโทษผู้กระทำความผิดจึงขึ้นอยู่กับการ กระทำและ ...

ขั้นตอนการกระทําความผิดทางอาญามีกี่ขั้นตอน

(1) #คิด : เพียงคิดหรือไตร่ตรองที่จะกระทำความผิด ก็ยังไม่เป็นความผิด (2) #ตระเตรียม : เพียงตระเตรียมการวางแผนกระทำความผิด ก็ยังไม่เป็นความผิด (3) #ลงมือ : แต่ถ้าลงมือกระทำความผิดแล้ว แม้ผลของการ กระทำความผิดนั้นไม่เกิดก็ตาม ผู้กระทำก็ยังต้องรับผิดฐานพยายามกระทำความผิด

การกระทําผิดกฎหมาย มีอะไรบ้าง

8 สิ่งผิดกฎหมาย หากใครเจอคนทำผิด ผู้แจ้งได้ส่วนแบ่ง 50% ของค่า....
ปล่อยสัตว์อุจจาระในสถานที่สาธารณะ แล้วไม่เก็บ ถูกปรับ 500 บาท.
พ่นสี หรือ ขีดเขียนกำแพง ในที่สาธารณะ ถูกปรับ 5,000 บาท.
รถบรรทุก ทำหิน ทราย หรือ ดิน ร่วงหล่นบนถนน ถูกปรับ 3,000 บาท.
แต่งรถ หรือ เปลี่ยนแบตเตอรี่บนถนน ถูกปรับ 5,000 บาท.

การกระทำผิดตามกฎหมายอาญาในลักษณะใดที่มีโทษรุนแรงมากที่สุด

๑. โทษตามกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๘ ได้กำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไว้ ๕ สถาน ตามลำดับความร้ายแรงของการกระทำความผิด คือ (๑) ประหารชีวิต (๒) จำคุก (๓) กักขัง (๔) ปรับ (๕) ริบทรัพย์สิน