นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มีอะไรบ้าง

         �����Թ��ԵԺؤ�� �ӹdz�ҡ�Թ����������ѡ�ҹ㹡�äӹdz���դٳ�����ѵ�����շ���˹� �ѧ��� �Թ�����ͧ���������Թ��ԵԺؤ�����Ͱҹ�����Թ��ԵԺؤ�Ź�� �·������������ط�Է��ӹdz��� ���͹䢷���˹� �����ͤ����繸�������ش��ͧ��ҧ㹡�èѴ�������Թ�� �֧���� ��úѭ�ѵԨѴ�������Թ�� �ԵԺؤ�� �ҡ�Թ�����Ͱҹ���� ���ᵡ��ҧ�ѹ �ѧ���

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

36,469 views

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล คือ บุคคลประเภทหนึ่งที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายซึ่งไม่ได้เป็น บุคคลธรรมดา (ส่วนมากมักอยู่ในรูปบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนจำกัด) แต่กฎหมายให้ถือว่ามีสถานะเป็นเสมือนบุคคลทั่วไปและสามารถทำกิจกรรมหลายอย่างได้เหมือนบุคคลทั่วไป เช่น ทำสัญญาซื้อขายได้ มีเจ้าของทรัพย์สินได้ แต่จะไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างเหมือนบุคคลธรรมดาได้ เช่น ใช้สิทธิเลือกตั้ง บวชเป็นพระภิกษุ จดทะเบียนสมรส รับบุตรบุญธรรม เป็นต้น

โดยปกติ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีรายได้จะมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้นิติบุคคล ด้วย ไม่ว่าจะตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยหรือตามกฎหมายต่างประเทศ1

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายไทย

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายไทยมักอยู่ในรูปแบบ

  • บริษัทจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว
  • บริษัทมหาชน

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ

ถ้าบริษัทหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ เข้ามาทำกิจกรรมบางอย่างในไทยแล้วมีรายได้ก็มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย

อื่นๆ ที่ถือว่าเป็นผู้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

นอกจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะหมายถึงนิติบุคคลข้างต้นแล้ว กฎหมายยังหมายความรวมถึงกิจการรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลด้วย ได้แก่

มูลนิธิและสมาคมที่ยังไม่เป็นองค์กรการกุศลสาธารณะ

มูลนิธิและสมาคม หากยังไม่ได้รับการประกาศให้เป็นองค์กรการกุศลสาธารณะแล้วมีรายได้เกิดขึ้นจะไม่ได้รับยกเว้นภาษี ทำให้มูลนิธิและสมาคมที่ยังไม่เป็นองค์กรการกุศลสาธารณะมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย

กิจการร่วมค้า (Joint Venture)

กิจการร่วมค้า (Joint Venture) ไม่ว่าจะเป็นการกิจการทางการค้าร่วมกันระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่เป็นนิติบุคคลด้วยกัน หรือแม้แต่ระหว่างบริษัท/ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา หากกิจการร่วมค้านั้นมีรายได้ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย

กิจการทางการค้าหรือหากำไรของรัฐบาลต่างประเทศและองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ

ถ้ากิจการทางการค้าหรือหากำไรของรัฐบาลต่างประเทศและองค์การของรัฐบาลต่างประเทศนั้นเข้ามาในไทยแล้วมีรายได้ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทยด้วย

กิจการทางการค้าหรือหากำไรของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ

กิจการทางการค้าหรือหากำไรของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศนั้น ถ้าเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศจะถือเป็นบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรซึ่งอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลทันที แม้ว่าในประเทศที่ตั้งขึ้นนั้นจะไม่มีสถานะเป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วน มูลนิธิ หรือสมาคมก็ตาม เช่น กองทุนรวมต่างประเทศ ดังนั้น ถ้านิติบุคคลนั้นเข้ามาในไทยแล้วมีรายได้ก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในประเทศไทย

นิติบุคคลที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี และประกาศในราชกิจจานุเบกษา

  • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย2

นิติบุคคลที่ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

เป็นที่น่าสังเกตว่านิติบุคคลไทยบางประเภทก็ยังที่ไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษี ซึ่งมักจะเป็นนิติบุคคลอื่นตามกฎหมายไทยที่ไม่ใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนฯ และไม่ใช่ส่วนราชการโดยตรง เช่น เนติบัณฑิตไทย สภาทนายความ สหกรณ์ สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย นิติบุคคลอาคารชุด เป็นต้น จะไม่มีสถานะเป็นผู้เสียภาษีที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เพราะแม้จะมีสถานะเป็นนิติบุคคลแต่ก็ไม่ใช่บริษัท ห้างหุ้นส่วน มูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

นอกจากนี้หน่วยงานส่วนราชการที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลก็ไม่มีสถานะต้องเสียภาษีเงินได้ เช่นกัน เช่น กระทรวง จังหวัด อบต. เป็นต้น

ทั้งนี้นิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ยังรวมถึงรัฐวิสาหกิจที่เป็น “องค์การของรัฐบาล” เช่น ธนาคารออมสิน ธอส. ธกส. ซึ่งตั้งขึ้นตามกฎหมายพิเศษ (แต่ถ้ารัฐวิสาหกิจนั้นไม่ใช่ “องค์การของรัฐบาล” แต่เป็นบริษัท/ห้างหุ้นส่วน ซึ่งโดยมากจะเป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐมีทุนอยู่เกิน 50% เช่น การบินไทย บขส. TOT ธ.กรุงไทย เป็นต้น แบบนี้ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพราะเป็นบริษัท)

ส่วนองค์การมหาชน (ซึ่งมักไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรเหมือนรัฐวิสาหกิจ) จะไม่อยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แม้จะระบบการบริหารจะไม่อยู่รูปแบบราชการก็ตาม

            กระนั้นก็ตาม โดยมากแล้วการจัดชั้นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมักจะเป็นระบบชั้นเดียวหรือสองชั้น แต่ในบางประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา หน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นเรียกว่า เขตพิเศษ ซึ่งเป็นหน่วยการปกครองท้องถิ่นที่ตั้งขึ้นเพื่อให้มีภารกิจเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจเกิดจากการจัดตั้งโดยหน่วยการปกครองท้องถิ่นหน่วยใดหน่วยหนึ่งหรืออาจเกิดจากการจัดตั้งร่วมกันของหลายท้องถิ่น

เงินได้ประเภทที่ 4 คือ เงินได้พึงประเมิน ในรูปของ ดอกเบี้ย และเงินปันผล รวมถึงรายได้ลักษณะเดียวกัน ที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(4)1

ทั้งนี้ เงินได้ประเภทที่ 4 ไม่สามารถหักค่าใช้จ่ายได้เลย

อย่างไรก็ดี ถ้าคุณมีคู่สมรสที่จะแยกยื่นภาษีเองอยู่แล้ว คุณสามารถเลือกให้คู่สมรสนำเงินได้ประเภทนี้ของคุณไปยื่นเป็นรายได้ของเขาแทนก็ได้2

เงินได้ประเภทที่ 4 เป็นอะไรได้บ้าง?

1. ดอกเบี้ย

ดอกเบี้ยที่นับเป็นเงินได้ประเภทที่ 4 ได้แก่

  • ดอกเบี้ยพันธบัตร
  • ดอกเบี้ยเงินฝาก
  • ดอกเบี้ยหุ้นกู้
  • ดอกเบี้ยตั๋วเงิน
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
  • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ต้องถูกหักภาษีไว้ ณ ที่ จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียมเฉพาะส่วนที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย
  • ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือตราสารหนี้ซึ่งบริษัทเงินทุนเป็นผู้ออกและจำหน่ายครั้งแรกในราคาต่ำกว่าราคาไถ่ถอน (Original Issue Discount bond: OID)
  • เงินได้ทำนองเดียวกับดอกเบี้ย รวมถึงผลประโยชน์จากการให้กู้ยืมหรือสิทธิเรียกร้องในหนี้ทุกชนิด
(ข้อยกเว้น) ดอกเบี้ยที่ไม่ต้องยื่นภาษี

ดอกเบี้ยต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องยื่นภาษีก็ได้

  • ดอกเบี้ยสลากออมสิน หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมสินของรัฐบาลเฉพาะประเภทฝากเผื่อเรียก เช่น ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารออมสิน3 ดอกเบี้ยเงินฝาก ธ.ก.ส.4 ดอกเบี้ยสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส.5 เป็นต้น
  • ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ออมทรัพย์6
  • ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในไทยทั่วไปประเภทออมทรัพย์ที่รวมกันแล้วตลอดปีไม่เกิน ฿20,000 (หากเกิน ฿20,000 ต้องนำดอกเบี้ยนั้นมาคำนวณภาษีทั้งจำนวนตั้งแต่บาทแรกเลย)7 ทั้งนี้ เจ้าของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์นี้จะต้องไม่คัดค้านการส่งข้อมูลดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารให้กรมสรรพากร8
  • ดอกเบี้ยเงินฝากประจำธนาคารในประเทศไทยและจากสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศเป็นรายเดือนติดต่อกันไม่น้อยกว่า 24 เดือน นับแต่วันที่ฝาก โดยมียอดเงินฝากทุกครั้งเท่ากันแต่ไม่เกิน ฿25,000 ต่อเดือนและรวมทั้งหมดแล้วต้องไม่เกิน ฿600,000 (ในทางปฏิบัติมักเรียกว่า เงินฝากประจำปลอดภาษี)9
  • ดอกเบี้ยเงินฝากประจำธนาคารในไทยสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 55 ปี ที่ฝากประจำตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป โดยดอกเบี้ยเงินฝากประจำทุกประเภทรวมกันแล้วตลอดปีไม่เกิน ฿30,000 (หากเกิน ฿30,000 ต้องนำดอกเบี้ยนั้นมาคำนวณภาษีทั้งจำนวนตั้งแต่บาทแรกเลย)10
  • ดอกเบี้ยที่คุณยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ไปแล้วและต้องการให้ภาษี ณ ที่จ่ายนั้นเป็นภาษีสุดท้ายไปเลย

2. เงินปันผล

โดยปกติ เงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทไทยหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทย เป็นเงินได้ที่ต้องยื่นภาษี แต่กฎหมายก็เปิดโอกาสให้คุณเลือกไม่ยื่นภาษีก็ได้ถ้าคุณยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ไปเลย และไม่ใช้สิทธิขอคืน เครดิตภาษีเงินปันผล

แม้เงินปันผลจะหักค่าใช้จ่ายไม่ได้แต่ก็สามารถใช้เครดิตภาษีเงินปันผลได้ ซึ่งจะช่วยประหยัดภาษีมากกว่าถ้าบริษัทที่จ่ายเงินปันผลนั้นเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าคุณ เช่น บริษัทเสียภาษีในอัตรา 20% แต่คุณน่าจะเสียภาษีในอัตรา 15%

นอกจากนี้ ยังมีเงินปันผลบางประเภทที่ได้รับยกเว้นภาษี เช่น เงินปันผลจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ไม่ต้องนำไปยื่นภาษีด้วย

ทั้งนี้ ถ้าเลือกยื่นเงินปันผลแล้วต้องยื่นเงินปันผลทุกก้อนด้วย ทั้งเงินปันผลหุ้นและเงินปันผลกองทุนรวม11

2.1 เงินปันผลจากกองทุนรวมทั่วไปตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์

เงินปันผลจากกองทุนรวม RMF/LTF หรือกองทุนรวมทั่วไป (รวมถึงกำไรจากการขายกองทุนรวม RMF/LTF) ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562 เป็นต้นมา เป็นเงินได้ที่ต้องเสียภาษีในฐานะเงินได้ประเภทที่ 4 แล้ว ดังนั้น ถ้าเลือกเงินปันผลจากกองทุนรวมนี้ไปยื่นภาษีแล้วต้องยื่นเงินปันผลทุกก้อน รวมทั้งเงินปันผลจากหุ้นด้วย

แต่ถ้าคุณได้รับเงินปันผลจากกองทุนรวมประเภทอื่น เช่น กองทุน RMF/LTF หรือกองทุนรวมทั่วไป ที่ได้รับก่อนวันที่ 20 สิงหาคม 2562 จะถือเป็น เงินได้ประเภทที่ 8

2.2 เงินปันผลรูปแบบอื่น

นอกจากเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทไทยหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทย ยังมีเงินปันผลรูปแบบอื่น ได้แก่ เงินปันผลจากบริษัทต่างประเทศ และเงินปันผลจากกองทุนรวมที่ไม่ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งปัจจุบันแทบไม่มีเหลือแล้ว

2.3 เงินได้ทางอื่นจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

ในบางกรณีแม้จะไม่ได้รับเป็นเงินปันผลหรือส่วนแบ่งกำไรมาตรงๆ แต่ถ้าคุณได้รับเงินหรือผลประโยชน์ในลักษณะต่อไปนี้จากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลก็ให้ถือว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 4 ด้วย

  • เงินโบนัสที่คุณได้รับในฐานะผู้ถือหุ้นหรือหุ้นส่วน
  • เงินลดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เฉพาะส่วนที่จ่ายไม่เกินกว่ากำไรและเงินที่กันไว้รวมกัน
  • เงินเพิ่มทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งจากกำไรที่ได้มาหรือเงินที่กันไว้รวมกัน
  • ผลประโยชน์ที่ได้จากการที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากันหรือรับช่วงกัน หรือเลิกกัน ซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าเงินทุน และไม่ได้รับยกเว้นภาษี
  • ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือ ตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะส่วนที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน (Capital gain)

Cryptocurrency และ Digital Token

ดูเพิ่ม การคำนวณภาษีคริปโท (ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)

ทั้งคริปโทเคอร์เรนซี่เช่น Bitcoin (BTC), Litecoin (LTC) หรือ Ethereum (ETH) และ โทเคนดิจิทัล ที่เกิดขึ้นจากการระดมทุนผ่านการทำ ICO (Initial Coin Offering) ก็เป็นเงินได้ประเภทที่ 4 ด้วยเช่นกัน12 หากมีกำไรจากการขายหรือได้รับผลประโยชน์หรือส่วนแบ่งกำไรจากการถือครองก็จะต้องเสียภาษีด้วยเช่นกัน โดยจะถูก หักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15%13

เรื่องที่มักเข้าใจผิดบ่อย

  • การรวมคำนวณภาษี

หลายคนเข้าใจผิดว่าถ้าเป็นเงินได้ประเภทที่ 4 แล้ว ถ้าเลือกนำมารวมคำนวณภาษีแล้วต้องนำมารวมทั้งประเภท แต่ความจริงแล้วคุณสามารถเลือกนำบางตัวที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายไปแล้วมาคำนวณได้ เพียงแต่ว่าถ้าเลือกหมวดใดมาคำนวณแล้วต้องนำมารวมคำนวณทั้งหมวดเลย

เช่น ในกรณีที่มีเงินได้จากเงินปันผล และผลตอบแทนจากหุ้นกู้ คุณสามารถเลือกนำเงินปันผลมารวมคำนวณแต่เพียงอย่างเดียว แล้วปล่อยให้ผลตอบแทนจากหุ้นกู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นภาษีสุดท้ายก็ได้ เพียงแต่ว่าถ้าคุณตัดสินใจเลือกนำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษีแล้ว จะต้องนำทั้งเงินปันผลหุ้น และเงินปันผลจากกองทุนรวมที่ได้รับ “ทุกตัว” มารวมคำนวณภาษีด้วยทั้งหมด จะเลือกเฉพาะเงินปันผลหุ้นหรือกองทุนรวมเพียงบางตัวมารวมคำนวณภาษีไม่ได้

  • กรณีที่เงินปันผลหุ้นที่ได้รับ เป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษี

เงินปันผลจากหุ้นที่ได้รับนั้นหากเป็นส่วนที่ได้รับยกเว้นภาษี (ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย 10%) จะเป็นเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษี ทำให้เงินได้ส่วนนี้ไม่สามารถนำไปใช้เป็นฐานเพื่อคำนวณเพดานสิทธิลดหย่อน SSF/ RMF ได้ เนื่องจากการคำนวณเพดานสิทธิลดหย่อนนี้จะต้องคำนวณจากเงินได้ที่ต้องเสียภาษีเท่านั้น

  • ใครเป็นผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ได้ถือเป็นรายได้ของบุคคลนั้น

โดยปกติใครเป็นผู้ถือหุ้น เงินปันผลที่ได้รับก็ต้องเป็นรายได้ของคนนั้น แต่ในกรณีที่ผู้ถือหุ้นยังอายุไม่บรรลุนิติภาวะ (อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส) เงินปันผลกลับไม่นับว่าเป็นรายได้ของเด็ก แต่ให้ถือเป็นเงินได้ของผู้ปกครอง (หรือถือว่าเป็นของพ่อไปเลยถ้าพ่อแม่จดทะเบียนสมรสกันและอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี)

ดังนั้น เด็กจะไม่สามารถใช้สิทธิขอเครดิตภาษีเงินปันผลได้ เพราะเงินปันผลนั้นเป็นของผู้ปกครอง การขอเครดิตภาษีเงินปันผลจึงเป็นสิทธิ์ของผู้ปกครองด้วย14

หากในปีภาษีนี้ คุณเป็นหนึ่งคนที่มีเงินได้ประเภทที่ 4 ไม่ว่าจะเป็น เงินได้ที่มาจากดอกเบี้ย หรือเงินปันผลที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี (ไม่ต้องยื่นภาษี) คุณจะต้องเอาเงินได้ในส่วนนั้นมาคำนวณภาษีประจำปีด้วย และไม่ต้องกลัวว่าคุณจะปวดหัวและใช้เวลาไปกับการคำนวณภาษีมากกว่าเดิม เพราะคุณสามารถใช้โปรแกรมจาก iTAX เพื่อคำนวณภาษี และวางแผนภาษี พร้อมหา ตัวช่วยลดหย่อนภาษี ได้เช่นเคย


อ้างอิง

  1. ^

    มาตรา 40(4) ประมวลรัษฎากร

  2. ^

    ข้อ 2.2 หน้า 2-3 คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีและภริยา (ฉบับที่ 2), www.rd.go.th

  3. ^

    มาตรา 42(8)(ก) ประมวลรัษฎากร

  4. ^

    มาตรา 42(17) ประมวลรัษฎากร, ข้อ 2(69) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509), ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 137)

    นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศได้แก่นิติบุคคลประเภทใด

    กิจการทางการค้าหรือหากำไรของนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศนั้น ถ้าเป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศจะถือเป็นบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรซึ่งอยู่ในข่ายต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลทันที แม้ว่าในประเทศที่ตั้งขึ้นนั้นจะไม่มีสถานะเป็นบริษัท ห้างหุ้นส่วน มูลนิธิ หรือสมาคมก็ตาม เช่น กองทุน ...

    บริษัท นิติบุคคล มีอะไรบ้าง

    นิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นั้นมีบัญญัติเอาไว้หลายประเภท เช่น ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด มูลนิธิ สมาคม เป็นต้น ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ : ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

    กิจการร่วมค้าใช้กฎหมายใด

    1. กิจการร่วมค้าตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ กิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไร ระหว่างบริษัทกับบริษัท บริษัทกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือระหว่างบริษัทและหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลกับบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือนิติบุคคลอื่น ...

    บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยต้องเสียภาษีในกรณีใด

    1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน ในกรณีที่บริษัทห้างห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยมีสาขาไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอก ประเทศไทย จะต้องนำกำไรสุทธิของสาขามารวมกำไรสุทธิของสำนักงานใหญ่เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลใน ประเทศไทย

นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศได้แก่นิติบุคคลประเภทใด บริษัท นิติบุคคล มีอะไรบ้าง กิจการร่วมค้าใช้กฎหมายใด บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยต้องเสียภาษีในกรณีใด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจใน ประเทศไทย นิติบุคคลต่างประเทศ ประกอบกิจการในไทย บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ มีอะไรบ้าง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย มีอะไรบ้าง นิติบุคคลต่างประเทศ คืออะไร บริษัทต่างประเทศ ตั้งสาขาในไทย ภาษี ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีอะไรบ้าง นิติบุคคลที่ต้องเสียภาษีเงินได้