สารเคมีทาง การเกษตร มี อะไร บาง

"คําจํากัดความ"

        สารเคมีทางการเกษตร  ในบทความนี้ยึดถือตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร และอาหารแห่งชาติที่ได้ให้นิยามคําว่า “วัตถุอันตรายทางการเกษตร”

หมายถึง สารที่มีจุดมุ่งหมาย ใช้เพื่อป้องกัน ทําลาย ดึงดูด ขับไล่ หรือควบคุมศัตรูพืชและสัตว์หรือพืชและสัตว์ที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ระหว่างการเพาะปลูก

การเก็บรักษา การขนส่ง การจําหน่าย หรือระหว่างกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร หรือเป็นสารที่อาจใช้กับสัตว์เพื่อควบคุมปรสิตภายนอก และให้หมายความรวมถึง 

สารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช สารทําให้ใบร่วง สารทําให้ผลร่วง สารยับยั้ง การแตกยอดอ่อน และสารที่ใช้กับพืชผลก่อนหรือหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อป้องกันการเสื่อมเสียระหว่าง การเก็บรักษาและการขนส่ง แต่ไม่รวมถึงปุ๋ย สารอาหารของพืชและสัตว์วัตถุเจือปนอาหาร และยาสําหรับสัตว์ 

(ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 123 ตอนพิเศษ 7 ง หน้า 29 19 มกราคม 2549,ออนไลน์) 

      ความหมาย ของคํานิยามดังกล่าวข้างต้นสอดคล้องกับนิยามของคําว่า Pesticide ของ คณะกรรมาธิการมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ 

(Codex Alimentarius Commission : CAC ) และ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nation : FAO)

 ที่ระบุว่า Pesticide หมายถึง สารหรือส่วนผสมของสารที่ใช้เพื่อการป้องกัน หรือทําลาย หรือควบคุมศัตรูพืช รวมถึงพาหะของโรคในมนุษย์หรือสัตว์ ชนิดของพืชหรือสัตว์

ที่ไม่ต้องการและ ก่อให้เกิดความเสียหายกับผลผลิต กระบวนการผลิต การจัดเก็บ การขนส่งหรือการตลาดของอาหาร สินค้าการเกษตร ไม้ผลิตภัณฑ์จากไม้หรืออาหารสัตว์

หรือหมายถึงสารที่ใช้กับสัตว์เพื่อที่จะควบคุมแมลง แมง หรือศัตรูที่อยู่บนหรืออยู่ในร่างกาย นอกจากนี้ยังหมายถึงสารที่ใช้ควบคุมการเจริญเติบโต สารทําให้ ใบร่วง สารดูดความชื้นหรือสารที่ใช้ในผลไม้เพื่อป้องกันการร่วงก่อนกําหนด และหมายถึงสารที่ใช้กับ ผลผลิตก่อนหรือหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อป้องกันผลผลิตจากการเสื่อมสภาพระหว่างการจัดเก็บและ การขนส่ง โดยในที่นี้ไม่รวมถึงปุ๋ยหรือสารแอนตีไบโอติกหรือสารเคมีอื่นๆ ที่ใช้ในสัตว์เพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น การเร่งการเจริญเติบโตหรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

การเจริญพันธุ์ (เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกําจัด ศัตรูพืช, ออนไลน์)

กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง

          ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงเรื่องแมลงดื้อ หรือความต้านทานต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ก็เลยทำให้อยากอธิบายเพิ่มเกี่ยวกับการจำแนกกลุ่มหรือประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพื่อเป็นแนวทางในการรับมือเกี่ยวกับปัญหาแมลงดื้อยาสารเคมีอีกทางหนึ่งด้วย

สารเคมีทาง การเกษตร มี อะไร บาง

ภาพ การใช้สารเคมีกำจัดแมลง
ที่มา https://pixabay.com/th , wuzefe

      สารเคมีในทางการเกษตรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการจำกัดศัตรูพืช สามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท

     แบ่งกลุ่มของสารเคมีตามกลุ่มของสิ่งมีชีวิต

  1. สารเคมีกำจัดแมลง
  2. สารป้องกันกำจัดวัชพืช
  3. สารป้องกันกำจัดเชื้อรา
  4. สารกำจัดหนูและสัตว์แทะ

     แบ่งกลุ่มของสารเคมีตามกลุ่มตามลักษณะทางเคมี

                ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

     1. กลุ่มสารอินทรีย์

                สารสังเคราะห์ที่มีส่วนผสมของธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน คลอรีน ออกซิเจน กำมะถัน ฟอสฟอรัส และไนโตรเจน เป็นต้น ตัวอย่างสารเคมีชนิดนี้ เช่น

                สารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต

                      เป็นสารที่มีธาตุฟอสฟอรัสเป็นส่วนประกอบ ออกฤทธิ์ทำให้แมลงตายโดยการสัมผัสและดูดซึมเข้าสู่ตัวแมลง สารในกลุ่มนี้ เช่น ไดคลอร์วอส หรือดีดีวีพี ไดอะซินอน มาลาไทออน คลอร์ไพริฟอส เทเมฟอส เป็นต้น

                สารเคมีกลุ่มออร์กาโนคลอรีน

                      เป็นสารสังเคราะห์ เรียกอีกอย่างว่า คลอริเนเตตไฮโดรคาร์บอน  มีธาตุไฮโดรเจน คาร์บอน และคลอรีนเป็นส่วนประกอบ มีคุณสมบัติดูดซึมผิวหนังได้ดี ออกฤทธิ์ต่อการทำงานของระบบประสาทของแมลง สารเคมีกลุ่มนี้มีความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำแต่เกิดพิษเรื้อรังในระยะยาว คือตกค้างในธรรมชาติอยู่นานซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่น ลักษณะเป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น

                สารเคมีกลุ่มคาร์บาเมต

                      เป็นสารที่มีธาตุไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบ มีคุณสมบัติเป็นพิษต่อระบบประสาทอย่างรุนแรง มีฤทธิ์ตกค้างนานและมีพิษคล้าย สารกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต สารในกลุ่มนี้ เช่น คาร์โบฟูราน โพรพอกเซอร์ คาร์บาริล เบนไดโอคาร์บ เป็นต้น

                สารเคมีกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์

                      เป็นสารสังเคราะห์ที่มีการสังเคราะห์แทนสารไพรีทรินส์ที่สกัดจากพืชในกลุ่มเดียวกับต้นเก็กฮวย และดอกเบญจมาศ ที่มีคุณสมบัติที่ไม่ทนต่อแสง สารในกลุ่มนี้ เช่น อัลเลทริน ไบโออัลเลทริน ไบโอเรสเมทริน ไซเพอร์เมทริน เพอร์เมทริน ไซฟลูทริน เป็นต้น สารไซฟูทริน หรือไซเพอร์เมทรินที่ใช้ในการกำจัดแมลงสาบและมด สารเคมีชนิดนี้ส่วนใหญ่เป็นพิษสูงต่อสัตว์น้ำ ผึ้ง และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด

                สารเคมีกลุ่มคลอโรนิโคตินิล

                      เป็นสารที่ออกฤทธิ์คล้ายนิโคติน มีคุณสมบัติดูดซึม มีพิษในแบบสัมผัสและการกัดกิน ไม่ขับไล่แมลง ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท กำจัดแมลงได้ทั้งการ สารในกลุ่มนี้ เช่น อิมิดาโคลพริด เป็นต้น

                สารเคมีกลุ่มเฟนนีลไพราโซล

                      เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติดูดซึม มีพิษในแบบสัมผัสและการกัดกิน กิน สารในกลุ่มนี้ เช่น ฟิโพรนิล  เป็นต้นใช้ในการแก้ไขแมลงที่มีความต้านทานต่อสารเคมีกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต คาร์บาเมต และไพรีทรอยด์สังเคราะห์

                สารกำจัดหนู

                      ประเภทที่ออกฤทธิ์เร็ว เป็นสารพิษเฉียบพลันทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ตับ ไต และหัวใจ มีลักษณะเป็นผงสีดำเทา และมัน ไม่ละลายน้ำ ตัวอย่างสารเคมีชนิดนี้ เช่น ซิงค์ฟอสไฟด์ เป็นต้น

                      ประเภทที่ออกฤทธิ์ช้า เป็นสารต้านการแข็งตัวของเลือด แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

                      กลุ่มแรกคือ First-generation anticoaggulant เป็นสารพิษที่หนูจะต้องได้รับพิษหลายครั้งจนพิษเข้าไปสะสมในร่างกายจนเกิดอาการเลือดไม่แข็งตัวและตกเลือดที่อวัยวะภายใน ตัวอย่างสารเคมีชนิดนี้ เช่น วอร์ฟาริน

                      กลุ่มที่สองคือ Second-generation anticoagulant เป็นสารพิษที่พัฒนาขึ้นมาใช้แทนแมลงที่มีการต้านทานสารในกลุ่มแรก เป็นสารที่ออกฤทธิ์เร็วตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้รับสาร ตัวอย่างสารเคมีชนิดนี้ เช่น โบรดิฟาคูม โบรมาไดโอโลน โฟลคูมาเฟน ไดเฟนาคูม เป็นต้น

                2. กลุ่มสารอนินทรีย์

                สารประกอบแร่ธาตุที่ไม่มีคาร์บอนในโมเลกุล มีความเสถียรมาก ไม่ระเหย ละลายน้ำได้ดี ซึ่งถือว่าเป็นสารประกอบชนิดรุนแรงมีผลต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอย่างมาก ตัวอย่างสารเคมีชนิดนี้ เช่น สารประกอบของสารหนู ไซยาไนด์ ปรอท และแทลเลียม เป็นต้น

               3. กลุ่มสารสกัดจากธรรมชาติ

                เป็นสารที่สกัดจากธรรมชาติโดยตรง ตัวอย่างสารเคมีชนิดนี้ สารสกัดจาก ต้นตะไคร้หอม  โล่ติ๊น สะเดา เป็นต้น

              สารเคมีทั้งหมดขั้นต้นต่างก็เป็นสารเคมีมีพิษทีมีอันตรายไม่ใช่แต่ศัตรูพืชอย่างแมลงเท่านั้น ยังมีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น เช่น คน สัตว์เลี้ยง พืชบางชนิด ทั้งนี้ก็ควรศึกษาการใช้งาน ตลอดจนอันตรายจากสารพิษ เช่น การได้รับพิษ กลไกการออกฤทธิ์ การแก้พิษ และการป้องกันอันตรายจากสารพิษไว้ด้วย

แหล่งที่มา

Dr.Chaiwat Chanpitak.   วิธีปราบแมลงที่เรียกกันติดปากว่า "แมลงดื้อยา" หรือถ้าให้เป็นวิชาการหน่อยก็คือ แมลงที่สร้างความต้านทานต่อสารเคมี.  สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2561, จาก
         http://dr-chaiwat-chanpitak.blogspot.com/2016/08/1.html

รู้จักสารเคมีกำจัดแมลง (Chemical knowledge).  สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2561, จาก
         https://www.greenbestproduct.com/15469210/รู้จักสารเคมีกำจัดแมลง-chemical-knowledge

ทำไมแมลงจึงดื้อยา.  สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2561, จาก
          http://www.thaipan.org/node/30

นานาสาระสารเคมีกำจัดศัตูพืช.  สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2561, จาก
          http://www.thaipan.org/node/324

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสิ่งเป็นพิษ.  สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2561, จาก
          http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=307

สารเคมีกำจัดหนู.  สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2561, จาก
          http://www.fda.moph.go.th/sites/Hazardous/KM_Factsheet/13. สารเคมีกำจัดหนู.pdf

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

กลุ่มของสารเคมีกำจัดแมลง

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันอังคาร, 27 มีนาคม 2561

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

เคมี

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

สารเคมีในการเกษตร มีกี่ประเภท

พิษภัยสารเคมีเกษตร.
1. สารเคมีกำจัดแมลง สารเคมีกำจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกำจัดแมลงแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ ... .
2. สารป้องกันกำจัดวัชพืช ... .
3. สารกำจัดเชื้อรา ... .
4. สารกำจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides).

เกษตรเคมีคืออะไร

เกษตรเคมี (Chemical Agriculture) หมายถึง ระบบเกษตรหลังยุคปฏิวัติเขียว ทีÁ เน้นการใช้ เครืÁ องจักร ปุ๋ยเคมี สารเคมีเพืÁอเพิÁมผลผลิตทางเกษตรให้มีผลผลิตสูงขึËน

สารกําจัดแมลง มีอะไรบ้าง

1. สารเคมีที่ใช้ในการกาจัดแมลง (Insecticides) 1.1 Organophosphate และ carbamate 1.2 Organochlorine 1.3 Pyrethrinและ pyrethroid 1.4 Amitraz 1.5 Fipronil 1.6 Macrocyclic lactones 1.7 Neonicotinoids. ส

มีสารเคมีอะไรบ้าง

รู้จักสารเคมีในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น.
1. คาร์บอนมอนอกไซด์ คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon Monoxide: CO) เป็นก๊าซไม่มีสีและไม่มีกลิ่น คนมักได้รับก๊าซชนิดนี้จากการเผาไหม้ของน้ำมันหรือเชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ไอเสียรถยนต์ เครื่องยนต์ และเครื่องจักรอุตสาหกรรมต่าง ๆ ... .
2. แอมโมเนีย ... .
3. คลอรีน ... .
4. กรดไฮโดรคลอริก ... .
5. กรดกำมะถัน.