ปรากฏการณ์จากอุทกภาคที่สําคัญ มีอะไรบ้าง

1) ปรากฏการณ์จากอุทกภาคในประเทศไทย ที่สำคัญ มีดังนี้

                1.1) ฝนตกหนัก หรือฝนตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีสาเหตุ ดังนี้

 (1) ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ลมมรสุมเริ่มพัดเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม และมีกำลังแรงเป็นระยะๆ หลังจากเดือนกรกฎาคมไปแล้ว เนื่องจากลมมรสุมนี้พัดผ่านแหล่งน้ำขนดใหญ่ คือ ทะเลอันดามันและอ่าวไทยเข้าสู่แผ่นดิน จึงนำความชื้นเข้าไปยังแผ่นดิน และหากลมมรสุมมีกำลังแรงจะทำให้เกิดฝนตกหนักในทุกภาค โดนเฉพาะจังหวัดตามชายฝั่งทะเลที่มีภูเขาหันเข้ารับลมที่พัดนำความชุ่มชื้นและฝนมาตก หรือที่เรียกว่า “ด้านต้นลม” (windward)

 (2) ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ลมมรสุมเริ่มพัดเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม โดยเป็นลมที่พัดมาจากไซบีเรียและประเทศจีน ลักษณะทั่วไปจะทำให้ทั่วทุกภูมิภาคมีอากาศหนาวเย็นและแห้ง แต่เมื่อมีกำลังแรงขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนและพัดผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ภาใต้ฝั่งอ่าวไทย จะทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกหรือฝั่งอ่าวไทยมีฝนตกหนักมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตกหรือฝั่งอันดามัน ซึ่งในบริเวณนี้เป็นด้านปลายลม (leeward) ของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

  (3) พายุหมุนเขตร้อน ระยะที่พายุหมุนมีอิทธิพลต่อปริมาณน้ำฝนในประเทศไทยมี 2 ระยะ คือ ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม จะมีพายุหมุนก่อตัวขึ้นในอ่าวเบงกอล เรียกว่า “ไซโคลน” แล้วเคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศบังกาลาเทศและสหภาพพม่า ทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบในช่วงก่อนเข้าสู่ฤดูฝนบ้าง ส่วนช่วงปลายเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน จะมีพายุหมุนก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกของประเทศฟิลิปปินส์ แล้วพายุหมุนจะเคลื่อนตัวสู่ทะเลจีนใต้เข้าสู่ประเทศเวียดนาม ลาว กัมพูชา ไทย และมาเลเซีย หรืออาจเคลื่อนตัวจากประเทศฟิลิปปินส์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่ประเทศจีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น พายุหมุนจะทำให้เกิดลมแรง ฝนตกหนัก และน้ำท่วมฉับพลันในบริเวณที่รัศมีของพายุหมุนพัดผ่าน

1.2) น้ำหลากจากภูเขา บริเวณเชิงเขาและที่ราบเชิงเขาที่มีชุมชนตั้งอยู่ จะได้รับกระแสน้ำที่หลากไหลจากภูเขาสูงลงมาอย่างวดเร็ว เนื่องจากการตัดไม้ในบริเวณต้นน้ำลำธาร การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่เพาะปลูกและฝนที่ตกอย่างหนักต่อเนื่องยาวนานจนลำห้วยไม่สามารถรับปริมาณน้ำได้ เช่น การเกิดแผ่นดินถล่มและอุทกภัยที่อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ 2544 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 32 ราย สูญหาย 5 ราย บ้านเรือนพังทั้งหลัง 193 หลังและเสียหายบางส่วน 1,458 หลัง

               1.3) น้ำทะเลหนุน บริเวณที่ราบใกล้ปากแม่น้ำ เมื่อแม่น้ำไหลออกทะเลจะเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลหนุนทำให้เกิดน้ำท่วมได้ เช่น พื้นที่เขตพระโขนง เขตบางนาของกรุงเทพมหานคร และตำบลสำโรง อำเภอพระระแดง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยวันที่มีปรากฏการณ์น้ำเกิดขึ้นนั้นระดับน้ำทะเลจึงขึ้นสูงที่สุด น้ำทะเลจะหนุนทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำสูงขึ้นไหลช้าลงจนเกิดภาวะน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดในพื้นที่ที่มีระดับการทรุดต่ำลงของแผ่นดินก็จะทำให้เกิดน้ำท่วมขังพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำได้

นอกจากนี้การปล่อยน้ำของเขื่อน เขื่อนพัง และการสร้างถนนกีดขวางทางน้ำ ทำให้ไม่สามารถระบายน้ำได้ทัน ก็เป็นสาตุที่ทำเกิดปรากฏการณ์อุทกภัยในประเทศไทยได้เช่นเดียวกัน

 2) ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับแหล่งน้ำในประเทศไทย แหล่งน้ำในประเทศไทยมีทั้งแหล่งน้ำเค็ม และแหล่งน้ำจืด ที่สำคัญ ดังนี้

              2.1) แหล่งน้ำเค็ม ประเทศไทยมีอาณาเขตที่ติดต่อกับทะเลและมหาสมุทรอยู่ 2 แห่ง ประกอบด้วย

(1) อ่าวไทย เป็นส่วนหนึ่งของทะเลจีนใต้ในมหาสมุทรแปซิฟิก ดินแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับแหล่งน้ำเค็มส่วนนี้ คือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก ปฏิสัมพันธ์ของประชาชนกับพื้นที่อ่าวไทย ที่สำคัญ มีดังนี้

1. การประมง ประชาชนทุกจังหวัดที่มีชายทะเลจะประกอบอาชีพกรประมง ทั้งกรประมงชายฝั่งที่ใช้เรือขนาดเล็กและการประมงน้ำลึกที่มีเรือขนาดใหญ่ออกไปจับสัตว์น้ำในระยะทางไกลและใช้เวลาหลายวัน โดยจะจับสัตว์น้ำประเภทปลา กุ้ง หมึก และหอยชนิดต่างๆ

2. การทำนาเกลือสมุทร โดยใช้น้ำทะเลจากอ่าวไทย จะมีในบางจังหวัดเท่านั้น ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรสงคราม และเพชรบุรี

3. การคมนาคมขนส่ง บริเวณอ่าวไทยมีเรือขนส่งสินค้าจากต่างประเทศใช้เป็นเส้นทางเดินเรือและเข้าจอดขนถ่ายสินค้าในท่าเรือสำคัญ คือ ท่าเรือกรุงเทพ (คลองเตย) ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี และท่าเรือมาบตาพุด จังหวัดระยอง

(2) ทะเลอันดามัน เป็นส่วนหนึ่งของมหาสมุทรอินเดีย โดยมีดินแดนภาคใต้ฝั่งตะวันตกเท่านั้นที่มีอาณาเขตติดต่อ ใช้ประโยชน์ในด้านการประมงและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ มีท่าเรือสำคัญ เช่น ท่าเรือสงขลา ท่าเรือกระบี่ เป็นต้น

2.2) แหล่งน้ำจืด ประเทศไทยมีพื้นที่แหล่งน้ำจืดทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดิน ดังนี้

                     (1) น้ำผิวดิน แหล่งน้ำผิวดินที่สำคัญอยู่บริเวณลุ่มน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ โดยพื้นที่ลุ่มน้ำหลักของประเทศที่สำคัญ เช่น แม่น้ำโขง ชี มูล ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ในภาคเหนือ แม่น้ำตาปี แม่น้ำปัตตานี ในภาคใต้ เป็นต้น

ปฏิสัมพันธ์ของประชากรกับแหล่งน้ำผิวดินในประเทศไทยที่เห็นชัดเจนกล่าวคือ ในปัจจุบันน้ำผิวดินมีแนวโน้มลดลงทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพ จากสาเหตุต่างๆ เช่น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีลดลง จากอุณหภูมิของโลกที่สูงขึ้นและความชื้นในบรรยากาศลดลงจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ และพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนที่ผ่านบริเวณประเทศไทยลดน้อยลง แต่ประชากรกลับมีความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น โดยในภาคเหนือประชาชนมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ตอนต้นของลำน้ำ แต่เนื่องจากบริเวณต้นลำน้ำมีการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้ที่ดินในการปลูกผลไม้ชนิดต่างๆ จึงทำให้ปริมาณน้ำฝนที่ตกลดน้อยลงและเมื่อฝนตกลงมาชาวสวนผลไม้บริเวณต้นลำน้ำจะกักเก็บน้ำเอาไว้ ทำให้น้ำที่จะไหลลงสู่กลางและปลายลำน้ำนั้นไม่เพียงพอ ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกพืชในภาคกลางเป็นอย่างมากและเมื่อใดที่เกิดฝนตกหนัก น้ำจากบริเวณภูเขาสูงจะไหลลงพื้นล่างอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำวังในฤดูฝนน้ำจะเอ่อล้นฝั่งทำลายพื้นที่การเกษตรและที่อยู่อาศัยของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และพิจิตรอยู่เสมอ แต่เมื่อหมดฤดูฝน น้ำในแม่น้ำก็จะแห้งอย่างรวดเร็วในเวลาเพียงหนึ่งเดือน ทำให้ประชาชนต้องกลับมาขาดแคลนน้ำ ดังนั้น การสร้างเขื่อนจึงอาจเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถบรรเทาปัญหานี้ได้

สำหรับลำน้ำสายหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก็ระสบปัญหาเกี่ยวกับปริมาณน้ำเช่นกัน คือ ในช่วงปลายฤดูฝนจะมีพายุนำฝนมาตกทำให้เกิดน้ำท่วม แต่เมื่อย่างเข้าฤดูหนาวแม่น้ำสายต่างๆ จะมีปริมาณน้ำลดลง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของคนในบริเวณลุ่มน้ำชี-มูล เนื่องจากสภาพดินทราย ดินเค็ม และไม่มีแหล่งน้ำที่เหมาะสม ดังนั้น จึงควรพัฒนาแหล่งน้ำผิวดินขนาดเล็กในภาคตะวันออกเยงเหนือให้มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรได้ตลอดปีหรือนำน้ำจากแม่น้ำโขงมาเก็บในอ่างที่มีอยู่ โดยการนำน้ำเข้ามาในช่วงฤดูฝนที่ระดับน้ำในแม่น้ำโขงสูง เพื่อใช้ในฤดูแล้ง รวมถึงในอนาคตอาจต้องใช้ระบบท่อส่งน้ำให้ทั่วถึงทั้งภูมิภาค เพื่อลดการสูญเสียจากการซึมลงใต้ดินและการระเย เพื่อสามารถทำการเกษตรและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของประเทศได้

(2) น้ำใต้ดินและน้ำบาดาล ภูมิภาคที่นำน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลมาใช้มากได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีแหล่งน้ำจืดบนพื้นที่ลุ่มหลายบริเวณ แต่แหล่งน้ำใต้ดินหลายแห่งมีคุณภาพน้ำต่ำ รองลงไปคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันตกตามลำดับ โดยในภาคตะวันออกและภาคใต้มีแหล่งน้ำใต้ดินน้อย และมีการใช้น้อย ซึ่งปฏิสัมพันธ์ของประชาชนกับการนำน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลในประเทศไทยมาใช้ ดังนี้

1. น้ำใช้ในด้านเกษตรกรรม เนื่องจากการขาดแคลนน้ำผิวดินตามแหล่งน้ำต่างๆ และฝนที่ไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้ต้องขุดเจาะน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ เช่น การปลูกผักในช่วงฤดูแล้งของเกษตรกรของจังวัดเพชรบูรณ์ สุโขทัย นครปฐม เพชรบุรี เป็นต้น

2. น้ำใช้ภายในครัวเรือน กาที่ต้องนำน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในครัวเรือน เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ระบบการส่งน้ำประปายังไม่ถึง และน้ำฝนที่เคยนำมาใช้มีการปนเปื้อนสารพิษ อีกทั้งผลจากการขยายตัวของที่อยู่อาศัยบริเวณปริมณฑลของกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่ต่างๆ ทำให้การบริการน้ำประปาไม่สามารถให้บริการได้ทันและทั่วถึงกับการเพิ่มอย่างรวดเร็วของหมู่บ้าน จึงทำให้ต้องนำน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลมาใช้

3. น้ำใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม การนำน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม มีเหตุผลคล้ายกับการนำมาใช้ในครัวเรือน แต่เหตุผลสำคัญที่โรงงานอุตสาหกรรมนิยมนำน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลมาใช้ เนื่องจากเป็นน้ำที่สะอาดและราคาถูก

ผลจากการนำน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลมาใช้ในพื้นที่ปริมณฑลและเมืองใหญ่ทำให้เกิดแผ่นดินทรุดและส่งผลกระทบต่อสภาพพื้นที่หลายประการ เช่น ถนนและพื้นอาคารบ้านเรือนทรุด น้ำท่วม น้ำขัง เป็นต้น โดยเขตพื้นที่ที่มีปัญหาวิกฤตการณ์แผ่นดินทรุดจากการใช้น้ำใต้ดินและน้ำบาดาล จำแนกได้ 3 เขตวิกฤต ดังนี้

1. เขตวิกฤตระดับรุนแรง หมายถึง บริเวณที่แผ่นดินมีการทรุดตัวมากกว่า 3 เซนติเมตรต่อปี และมีระดับน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลลดมากกว่า 3 เมตรต่อปี ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตมีนบุรี บางเขน ดอนเมือง ลาดพร้าว บึงกุ่ม ห้วยขวาง คลองเตย ประเวศ พระโขนง และลาดกระบัง จังวัดปทุมธานี ในพื้นที่อำเภอธัญบุรี และลำลูกกา จังหวัดสมุทรปราการในพื้นที่อำเภอเมืองบางพลี และพระประแดง

2. เขตวิกฤตระดับปานกลาง หมายถึง บริเวณที่แผ่นดินมีการทรุดตัวระหว่าง 1-3 เซนติเมตรต่อปี และมีระดับน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลลดลงระหว่าง 2-3 เมตรต่อปี ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ในเขตพื้นที่บางขุนเทียน หนองแขม หนองจอก และบางซื่อ จังหวัดนนทบุรี ในพื้นที่อำเภอเมืองและปากเกร็ด จังหวัดสมุทรสาครในพื้นที่อำเภอเมือง บ้านแพ้ว และกระทุ่มแบน จังหวัดปทุมธานีในพื้นที่อำเภอเมือง สามโคก หนองเสือ และคลองหลวง จังหวัดนครปฐมในพื้นที่อำเภอสามพราน และนครชัยศรี

3. เขตวิกฤตระดับน้อย หมายถึง บริเวณที่แผ่นดินมีการทรุดตัวน้อยกว่า 1 เซนติเมตรต่อปี และมีระดับน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลลดลงน้อยกว่า 2 เมตรต่อปี ได้แก่ บริเวณจังหวัดอื่นที่อยู่โดยรอบสองเขตวิกฤตข้างต้น และพบในที่ราบดินตะกอนของเมืองใหญ่

3.3 ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับลักษณะชีวภาคในประเทศไทย

           1) ความหลากหลายของชนิดพรรณพืชในประเทศไทย ป่าไม้ที่เกิดขึ้นตมธรรมชาติ จำแนกตามลักษณะวงจรชีวิตได้ 2 ประเภท คือ ป่าไม่ผลัดใบ และป่าผลัดใบ ดังนี้

          1.1) ป่าไม้ผลัดใบ เป็นป่าที่มีเรือนยอดเขียวชอุ่มตลอดทั้งปี เนื่องจากมีฝนตกไม่ต่ำกว่า 2,000 มิลลิเมตรต่อปี และมีช่วงแล้งฝนน้อยกว่า 3 เดือน ป่าไม่ผลัดใบกระจายอยู่ทั้งในบริเวณหุบเขาที่มีความชื่นสูงและริมฝั่งทะเลตามภูมิภาคต่างๆ จำแนกได้ 6 ชนิดดังนี้

             (1) ป่าดิบชื้น พบในภาคใต้และภาคตะวันออกในพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับทะเลปานกลางจนถึง 1,000 เมตร มีภูมิอากาศแบบป่าฝนเมืองร้อน ซึ่งมีฝนตกเกือบตลอดทั้งปี และมีปริมาณมากว่า 2,500 มิลลิเมตรต่อปี มีช่วงเวลาความแห้งแล้งสั้นมาก คือ ไม่เกิน 2 เดือน อากาศมีความชื้นสูงตลอดทั้งปี พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น ยางขาว ยางแดง ตะเคียน มะเดื่อ หมาก หวาย เฟิน เป็นต้น

             (2) ป่าดิบแล้ง พบตามภูมิภาคต่างๆ ในพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับทะเลปานกลางจนถึง 700 เมตร มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,500-2,000 มิลลิเมตรต่อปี ระยะความแห้งแล้ง 2-3 เดือน พันธุ์ไม้ที่พบ เช่น ยางชนิดต่างๆ ตะเคียน มะค่า ไผ่ หวาย กระวาน เป็นต้น

             (3) ป่าดิบเขา พบในพื้นที่ภูเขาที่มีความสูงตั้งแต่ 1,000 เมตร มีความชื้นสูงตลอดปีจากไอน้ำและฝน มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 1,500 มิลลิเมตรต่อปี พันธุ์ไม้สำคัญ เช่น ก่อชนิดต่างๆ มะขามป้อมดง สนใบเล็ก พญาไม้ สนแผง เป็นต้น โดยตามลำต้นของต้นไม้จะมีพืชเกาะอาศัยอยู่ เช่น เฟิน มอสส์ เป็นต้น

            (4) ป่าสน พบในบางพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันตกและภาคกลางตอนบน พบในพื้นที่ความสูงตั้งแต่ 200-1,600 เมตร พื้นดินเป็นดินที่ระบายน้ำได้ดี เช่น ดินทราย พันธุ์ไม้สำคัญ เช่น สนสองใบ สนสามใบ และไม้ที่ขึ้นปะปนอยู่ เช่น เหียง พลวง กำยาน ก่อต่างๆ สารภีดอย เป็นต้น

             (5) ป่าพรุ ป่าไม้ที่เกิดในพื้นที่ลุ่มต่ำมีน้ำท่วมขังชั่วคราว พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ ชุมแสง กก กันเกรา ปรงทะเล เสม็ด ลำพู ประสัก เหงือกปลาหมอ โกงกาง และจาก

              (6) ป่าชายหาด พบบริเวณชายฝั่งทะเลและสันทรายชายฝั่งทะเล พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ เตยทะเล จิกทะเล และผักบุ้งทะเล

     1.2) ป่าผลัดใบ เป็นป่าที่ต้นไม้มีการทิ้งใบเป็นระยะเวลายาวนานในช่วงฤดูแล้ง พบในพื้นที่ที่มีช่วงแล้งฝนมากกว่า 5 เดือน โดยป่าผลัดใบกระจายอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ป่าผลัดใบมี 3 ชนิด ได้แก่

               (1) ป่าเบญจพรรณ พบในพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับทะเลปานกลางจนถึง1,000 เมตร และมีฝนตกปริมาณเฉลี่ย 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ สัก ยาง แดง ประดู่ มะค่าโมง งิ้วป่า พืชชั้นล่าง ได้แก่ ไผ่ และรวก

               (2) ป่าเต็งรัง หรือเรียกว่า ป่าแดง ป่าโคก ป่าแพะ เป็นป่าที่ขึ้นได้ในพื้นที่ดินลูกรังสีแดง อยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางไม่เกิน 1,000 เมตร พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ พลวง เต็ง รัง พะยอม รกฟ้า กระบก มะขามป้อม ส่วนพืชชั้นล่าง ได้แก่ ปรง และหญ้าเพ็ก

               (3) ป่าหญ้าหรือป่าละเมาะ เป็นป่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติภายหลังจากป่าดั้งเดิมถูกทำลายหมด พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ กระโถน สีเสียด หญ้าคา หญ้าพง และแฝก

มนุษย์ใช้ประโยชน์จากป่าไม้และทุ่งหญ้า เช่น เพื่อการก่อสร้าง ใช้ฟืนเป็นพลังงาน เป็นแหล่งอาหารและยารักษาโรค เป็นแหล่งท่องเที่ยว แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ในประเทศไทยได้ลดลงอย่างมากจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสียสมดุลและเกิดปรากฏการณ์หลายประการ ได้แก่

1.การเกิดน้ำท่วมฉับพลันเมื่อฝนตกต่อเนื่องหลายวัน ทั้งนี้เพราะป่าไม้บนภูเขาถูกทำลาย น้ำฝนจึงไหลบ่าลงจากภูเขาสู่พื้นราบอย่างรวดเร็ว

2. การขาดแคลนน้ำบริเวณแหล่งต้นน้ำลำธารเนื่องจากน้ำฝนจะไหลลงห้วย ลำธาร โดยไม่มีป่าไม้ชะลอการไหล จึงปรากฏเสมอว่า น้ำตกที่เคยมีน้ำไหลตลอดปีกลับแห้ง ไม่มีน้ำในช่วงหมดฤดูฝน

3. การเกิดแผ่นดินถล่ม เมื่อมีฝนตกต่อเนื่องหลายวันดินที่ชุ่มน้ำมากและขาดพืชช่วยยึดเหนี่ยวจะเคลื่อนไถลลงมาตามความลาดของภูเขา

4. การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของตะกอนท้องน้ำ เนื่องจากขาดพืชปกคลุมดินน้ำจึงชะล้างดินสู่ท้องน้ำ ทำให้ลำน้ำตื้นเขินและสามารถรับปริมาณน้ำได้น้อยลง เมื่อฝนตกน้ำจึงล้นฝั่ง เกิดภาวะน้ำท่วมพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำ

5. น้ำทะเลหนุนเข้าไปในลำน้ำในระยะทางไกลขึ้น เพราะการตัดไม้ทำลายป่าทำให้ฝนตกน้อยลง ปริมาณน้ำจืดในลำน้ำที่จะผลักดันน้ำเค็มจากทะเลลดน้อยลง โดยน้ำเค็มจากทะเลจะส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์น้ำในเขตน้ำจืด

                2) ความหลากหลายของชนิดพันธุ์สัตว์ในประเทศไทย ในประเทศไทยพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 283 ชนิด โดยเป็นค้างคาวถึง 108 ชนิด (ค้างคาวกินผลไม้ 18 ชนิด ค้างคาวกินแมลง 89 ชนิด และค้างคาวกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร 1 ชนิด) ส่วนสัตว์อื่นๆ ได้แก่ นกชนิดต่างๆ พบมากถึง 917 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 298 ชนิด โดยเป็นงูถึงร้อยละ 54 กิ้งก่า จิ้งเหลน ตุ๊กแกร้อยละ 35 นอกจากนั้นเป็นจระเข้และเต่า สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำพบ 107 ชนิด เช่น กบ เขียด อึ่งอ่าง คางคก เป็นต้น

  1.                  นอกจากนี้ ยังมีความหลากหลายในทะเลไทยที่สำคัญ คือ ปะการังที่สวยงามหลายสายพันธุ์ เป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำ ชมความสวยงามของปะการังและปลาสวยงาม
  2.                  สัตว์ประเภทปลาและสัตว์น้ำพบ 917 ชนิด ปลาน้ำจืดที่พบมาก เช่น ปลาตะเพียน ปลาหมู ปลาดุก ปลาเสือ ปลาสวาย ปลาเนื้ออ่อน ปลากัด ส่วนปลาทะเล และปลาน้ำกร่อยที่พบมาก เช่น ปลากะพงขาว ปลากระบอก ปลาตีน ปลาไส้ตัน ปลากระเบน และสัตว์ทะเลอื่นๆ เช่น ปู แมงดา หอย หมึก เป็นต้น
  3.                  สัตว์ประเภทแมลงที่พบและมีการตั้งชื่อแล้ว 7,000 ชนิด คิดเป็นร้อยละ 10 ของแมลงทั้งหมดในประเทศ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 90 ยังไม่ได้วินิจฉัยหรือวินิจฉัยไม่ได้
  4.                  ปัจจุบันสัตว์ป่าในประเทศไทยมีจำนวนลดลง สาเหตุจากการลดลงของพื้นที่ป่าไม้ที่เป็นที่อยู่อาศัยและแหล่งอาหารของสัตว์ป่ารวมถึงจากการล่าของมนุษย์ ผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ สัตว์เข้าไปหาอาหารในเขตเกษตรกรรม พืชผักผลไม้จึงถูกทำลาย นอกจากนี้ยังเกิดภาวะขาดสมดุลโดยแมลงชนิดที่ทำลายพืชผลทางการเกษตรมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น                                                                                                                                                                                                                  กล่าวโดยสรุป ระบบของธรรมชาติบนพื้นผิวโลกที่ประกอบไปด้วยบรรยากาศ ธรณีภาค อุทกภาค และชีวภาค ล้วนแล้วแต่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะการปรับหรือมีพลวัตเพื่อความสมดุลเชิงระบบ นิเวศวิทยา ดังนั้น มนุษย์จึงควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ เพื่อการปรับตัวหรือาศัยอยู่ร่วมกันกับธรรมชาติด้วยการพึ่งพาซึ่งกันและกันมากกว่าการตักตวงผลประโยชน์จากธรรมชาติแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยไม่มีการฟื้นฟูสภาพธรรมชาติที่เสียหายไปให้กลับดีดังเดิม อันจะส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เอง

ปรากฏการณ์จากอุทกภาคที่สำคัญ มีอะไร

กระแสน้ำมหาสมุทร ความแตกต่างของระดับน้ำทะเล ความหนาแน่นและอุณหภูมิที่แตกต่างกันของน้ำทะเลในแต่ละแห่ง แรงผลักของลมที่กระทำต่อผิวหน้าน้ำ ปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลง

อุทกภาค มีอะไรบ้าง

อุทกภาค.
ทะเลสาบ.
ธารน้ำแข็ง.
มหาสมุทร.
วัฏจักรน้ำ.
หิมะภาค.

การเปลี่ยนแปลงทางอุทกภาค มีอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงทางอุทกภาค - Coggle Diagram.
1.เกิดจากความแตกต่างของระดับน้ำทะเล.
2.เกิดจากความหนาแน่นและอุณหภูมิที่แตกต่างกันของทะเลในแต่ละแห่ง.
3.เกิดจากแรงผลักของลมประจำฤดูและลมประจำถิ่นที่กระทำต่อผิวหน้าน้ำ.
4.เกิดจากการลดระดับและการเพิ่มระดับน้ำทะเลจากปรากฏการณ์น้ำขึ้น-น้ำลง.

อุทกภาคและธรณีภาคหมายถึงส่วนใดตามลำดับ

ธรณีภาค (Lithosphere) เปลือกโลกในส่วนที่เป็นของแข็ง อุทกภาค (Hydrosphere) น้ำที่ห่อหุ้มโลก อากาศ​ภาค (Atmoshere) บรรยากาศที่ห้อหุ้มโลก ชีวภาค (Biosphere) สิ่งมีชีวิตบนพื้นผิวโลกทั้งบนบกและในมหาสมุทร