ประโยชน์ของกฎหมายลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง

ลิขสิทธิ์ คือ ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่คุ้มครองการสร้างสรรค์ที่ถูกถ่ายทอดออกมา (express) โดยความคุ้มครองจะเกิดขึ้นทันทีเมื่องานนั้นทุกถ่ายทอดออกมาในลักษณะหนึ่ง เช่น เขียนขึ้น วาดขึ้น เป็นต้น โดยจะคุ้มครองอัตโนมัติในทุกประเทศที่อยู่ภายใต้อนุสัญญากรุงเบิร์น ซึ่งงานลิขสิทธิ์มีด้วยกันหลายประเภท ได้แก่ งานวรรณกรรม นาฏกรรม ดนตรีกรรม ศิลปกรรม สิ่งบันทึกเสียง โสตทัศนวัสดุ ภาพยนต์ งนแพร่เสียงแพร่ภาพ เป็นต้น ซึ่งถ้ามีโอกาสเราสามารถไปจดแจ้งงานลิขสิทธิ์ได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเป็นหลักฐานแห่งการสร้างสรรค์งานนี้ขึ้นมาได้

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน

การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง

2. ประเภทของงานที่มีลิขสิทธิ์

กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่

  1. งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์
  2. งานนาฏกรรม เช่น งานที่เกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงประกอบขึ้นเป็นเรื่องราว รวมถึงการแสดงโดยวิธีใบ้ด้วย
  3. งานศิลปกรรม เช่น งานจิตรกรรม งานประติมากรรม ภาพพิมพ์ งานสถาปัตยกรรม ภาพถ่าย ภาพประกอบ หรืองานสร้างสรรค์รูปทรงสามมิติเกี่ยวกับภูมิประเทศ หรือวิทยาศาสตร์ งานศิลปะประยุกต์ ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายและแผนผังของงานดังกล่าวด้วย
  4. งานดนตรีกรรม เช่น คำร้อง ทำนอง การเรียบเรียงเสียงประสานรวมถึงโน้ตเพลงที่แยกและเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว
  5. งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพ็คดิสก์ (ซีดี) ที่บันทึกข้อมูลเสียง ทั้งนี้ไม่รวมถึงเสียงประกอบภาพยนตร์ หรือเสียงประกอบโสตทัศนวัสดุอย่างอื่น
  6. งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป วีซีดี ดีวีดี แผ่นเลเซอร์ดิสก์ที่บันทึกข้อมูลประกอบด้วยลำดับของภาพหรือภาพและเสียงอันสามารถที่จะนำมาเล่นซ้ำได้อีก
  7. งานภาพยนตร์ เช่น ภาพยนตร์ รวมทั้งเสียงประกอบของภาพยนตร์นั้นด้วย (ถ้ามี)
  8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น การกระจายเสียงวิทยุ การแพร่เสียง หรือภาพทางโทรทัศน์
  9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

3. ผลงานที่ไม่ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์

3.1 ข่าวประจำวันและข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร เช่น วัน เวลา สถานที่ ชื่อบุคคล จำนวนคน ปริมาณ เป็นต้น

ทั้งนี้ หากมีการนำข้อมูลดังกล่าวมาเรียบเรียงจนมีลักษณะเป็นงานวรรณกรรม อาทิ การวิเคราะห์ข่าว บทความ ผลงานนั้นอาจจะได้รับความคุ้มครองในลักษณะของงานวรรณกรรม

3.2 รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย

3.3 ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น

3.4 คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ

3.5 คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ 3.1 - 3.4 ซึ่งกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น

3.6 ความคิด ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้หรือทำงาน แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์

4. การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

เอกสารที่ใช้ประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์

  1. สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
  2. สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
  3. ผลงานหรือภาพถ่ายงานลิขสิทธิ์ จำนวน 1 ชุด
  4. หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
  5. หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรฯ รวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ (รับรองสำเนาถูกต้อง)
หลักฐานการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ลำดับหลักฐาน1

แบบฟอร์มใบแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ --- ซึ่งศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้ เน้นสีเหลือง ได้แก่

  • ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์
  • ชื่อผู้สร้างสรรค์ (ทุกท่าน)
  • ชื่อผลงาน
  • ประเภทของงาน
  • ผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ (โดยถ้าข้อมูลมีจำนวนเกิน 20 แผ่น ให้ส่งเป็นซีดีแทนตัวเอกสาร)
  • ลักษณะการสร้างสรรค์
  • ปีที่สร้างสรรค์
  • แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ (เป็นการสรุปข้อมูลที่ยื่นจดแจ้ง)
2ผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ --- (โดยถ้าข้อมูลมีจำนวนเกิน 20 แผ่น ให้ส่งเป็นซีดีแทนตัวเอกสาร)3

หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ --- ซึ่งศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาฯ ได้ เน้นสีเหลือง ส่วนที่ต้องแก้ไข ได้แก่

งานสร้างสรรค์ที่จะได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ต้องเป็นงานในสาขา วรรณกรรม นาฎกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ รวมถึงงานอื่น ๆ ในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ งานเหล่านี้ถือเป็นผลงาน ที่เกิดจากการใช้สติปัญญา ความรู้ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะ ในการสร้างสรรค์งานให้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

งานสร้างสรรค์ที่มีลิขสิทธิ์ ประกอบด้วยงานต่างๆ ดังนี้

            งานวรรณกรรม เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์

            งานนาฎกรรม เช่น งานเกี่ยวกับการรำ การเต้น การทำท่า หรือการแสดงที่ประกอบเป็นเรื่องเป็นราว การแสดงโดยวิธีใบ้

            งานศิลปกรรม เช่น งานด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ภาพพิมพ์ภาพประกอบแผนที่ โครงสร้าง ศิลปประยุกต์ ภาพถ่าย และแผนผัง ของงานดังกล่าว

            งานดนตรีกรรม เช่น เนื้อร้อง ทำนอง โน๊ตเพลงที่ได้แยกแยะเรียบเรียงเสียงประสานแล้ว

            งานโสตทัศนวัสดุ เช่น วีดีโอเทป แผ่นเลเซอร์ดิสก์ เป็นต้น

            งานสิ่งบันทึกเสียง เช่น เทปเพลง แผ่นคอมแพคดิสก

            งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ

      งานดัดแปลง หมายถึง การทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมโดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

      งานรวบรวม หรือประกอบเข้าด้วยกัน โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์

      -  สิ่งที่กฎหมายไม่คุ้มครอง ได้แก่

      -  แนวความคิด หลักการ การค้นพบ หรือ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์

      -  ขั้นตอน กรรมวิธี ระบบ วิธีใช้ หรือการทำงาน  

สิ่งที่ไม่ถือว่าเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์

      -  ผลงานดังต่อไปนี้เป็นผลงานที่ไม่ถือว่ามีลิขสิทธิ์

      -  ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร

      -  ประกาศ คำสั่ง ระเบียบ คำชี้แจง ของหน่วยงานรัฐหรือท้องถิน

      -  คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ

      -  คำแปล และการรวบรวมสิ่งต่างๆ ข้างต้น ที่หน่วยงานของรัฐหรือท้องถิ่นจัดทำขึ้น 

การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
สิทธิในลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันที นับแต่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาโดยไม่ต้องจดทะเบียน หรือผ่านพิธีการใด ๆ

การคุ้มครองลิขสิทธิ์
ผู้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ในการใช้ประโยชน์จากผลงานสร้างสรรค์ของตน ในการทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งสิทธิในการให้เช่า โดยทั่วไปอายุการคุ้มครองสิทธิจะมีผลเกิดขึ้นทันทีที่มีการสร้างสรรค์ผลงาน โดยความคุ้มครองนี้จะมีตลอดอายุของผู้สร้างสรรค์ และคุ้มครองต่อไปอีก 50 ปีนับแต่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต

ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิในผลงานลิขสิทธิ์ มีผลให้เกิดแรงจูงใจแก่ผู้สร้างสรรค์ ผลงานที่จะสร้างสรรค์ผลงานที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางวรรณกรรมและศิลปกรรมออกสู่ตลาด ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความรู้ ความบันเทิง และได้ใช้ผลงานที่มีคุณภาพ

พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
กฎหมายลิขสิทธิ์มีวัตถุประสงค์ให้ความคุ้มครองป้องกันผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและทางศีลธรรม ซึ่งบุคคลพึงได้รับจากผลงานสร้างสรรค์อันเกิดจากความนึกคิดและสติปัญญาของตน นอกจากนี้ยังมุ่งที่จะสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดการสร้างสรรค์ผลงาน กล่าวคือ เมื่อผู้สร้างสรรค์ได้รับผลตอบแทนจากหยาดเหงื่อแรงกายและสติปัญญาของตน ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการลงทุน ก็ย่อมจะเกิดกำลังใจที่จะคิดค้นสร้างสรรค์และเผยแพร่ผลงานให้แพร่หลายออกไปมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี การกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสติปัญญาของคนในชาติ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

ประโยชน์ของกฎหมายลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง
            ประเทศไทยได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้ให้ความหมายของคำว่า "ลิขสิทธิ์" ว่า หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะทำการใดๆตามพระราชบัญญัตินี้" เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น นั่นก็หมายความ ว่า เจ้าของลิขสิทธิ์เพียงผู้เดียวเท่านั้นที่มีสิทธิจะทำอย่างไรก็ได้ กับงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนเอง