การศึกษาหลักธรรมมีประโยชน์อย่างไร *

หมายถึง ความซื่อสัตย์ซื่อตรง การตั้งมั่นในความสัตย์ ปฏิบัติอย่างซื่อตรงย่อมทำให้ผู้น้อมนำหลักธรรมสู่ชีวิตจะกลายเป็นผู้ที่ได้รับความนับถือ ได้รับความไว้วางใจทั้งจากเพื่อนร่วมงาน ตลอดจนถึงผู้คนที่อยู่รอบตัวอีกทั้งความซื่อสัตย์ไม่คดโกงนั้นยังช่วยคุ้มครองให้พ้นจากข้อติคำครหาอันเป็นเหตุแห่งความล้มเหลวในหน้าที่การงานได้

หมายถึง การข่มจิตข่มใจ การรู้จักระงับอารมณ์เมื่อมีความไม่พอใจเกิดขึ้น เป็นหลักธรรมที่สำคัญยิ่งโดยเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นหรือทำงานเป็นทีม การระงับข่มอารมณ์เกรี้ยวกราดก้าวร้าวนี้จะช่วยไม่เกิดความขุ่นของหมองใจต่อกัน ทำให้สามารถอยู่ร่วมกันหรือทำงานร่วมกันได้โดยราบรื่นและประสบความสำเร็จได้

หมายถึง ความอดทนอดกลั้น เป็นหลักธรรมสำคัญต่อทุกความสำเร็จ เพราะไม่ว่าจะเป็นเรื่องหน้าที่การงาน การศึกษาเล่าเรียน หรือการประกอบกิจประการใดก็ล้วนจะต้องพบเจอกับปัญหาและความยากลำบาก การฝึกตนให้เป็นผู้มีขันติจึงช่วยให้สามารถฝ่าฟันผ่านพ้นอุปสรรคต่าง ๆ และก้าวสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด

หมายถึง ความเสียสละ ความเสียสละนี้เป็นธรรมข้อสำคัญในการทำงาน โดยเฉพาะงานที่จำเป็นต้องทำร่วมกับผู้อื่นหากผู้ร่วมงานทุกคนต่างปราศจากความเสียสละ ไม่ลงทุนลงแรง ไม่ยอมปิดทองหลังพระเสียบ้าง การงานนั้นก็ย่อมบกพร่อง และคงประสบความสำเร็จโดยสมบูรณ์ไม่ได้

อิทธิบาท 4

อิทธิบาท คือ หลักธรรมแห่งความสำเร็จอันประกอบไปด้วยธรรม 4 ประการ ได้แก่

หมายถึง ความฝักใฝ่ ตั้งมั่น และมีกำลังใจในสิ่งที่ทำโดยไม่ทะเยอทะยานจนเกินเหตุ การน้อมนำหลักธรรมนี้มาใช้ย่อมจะทำให้เป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้น มีเรี่ยวกายแรงใจในการทำหน้าที่การงานอันจะนำมาซึ่งความสำเร็จได้

หมายถึง ความขยันหมั่นเพียร เป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะทำกิจการใดก็ตามหากตั้งมั่นอยู่ในความขยันหมั่นเพียรด้วยจิตใจอันไม่ย่อท้อ ก็สามารถจะทำให้สิ่งที่ทำอยู่นั้นดำเนินไปได้อย่างราบรื่น แม้จะมีอุปสรรคผ่านเข้ามา ความเป็นผู้เพียบพร้อมในธรรมแห่งวิริยะนี้ก็จะช่วยให้สามารถฝ่าฟันจนผ่านพ้นไปได้

หมายถึง สมาธิ การมีสมาธิทำให้จิตใจจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำหรือสิ่งที่คิด โดยไม่วอกแวกไปกลุ้มกังวลอยู่กับเรื่องอื่น การจดจ่อในสิ่งที่ทำย่อมทำให้ผลงานที่เกิดขึ้นมีคุณภาพ เพราะเกิดมาจากการพิจารณาไตร่ตรองโดยถี่ถ้วนอย่างแท้จริง นอกจากนี้ จิตตะยังหมายถึงการไม่ละทิ้งต่อหน้าที่ ซึ่งก็สามารถอธิบายได้ในความหมายที่คล้ายคลึงกับสมาธินั่นเอง

หมายถึง ความมีปัญญาและเหตุผลธรรมข้อนี้เป็นหลักสำคัญในการกระทำสิ่งทั้งปวง เพราะหากตั้งมั่นอยู่ในสติปัญญาและความมีเหตุมีผลแล้วก็ทำไม่เกิดความผิดพลาด แม้จะต้องเผชิญกับปัญหา ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยความสุขุม ตรงจุด จนปัญหานั้นบรรเทาเบาบางลง และสามารถมุ่งเดินไปสู่เป้าหมายได้โดยราบรื่น

สังคหวัตถุ 4

สังคหวัตถุ คือ หลักธรรมอันเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่นอันประกอบไปด้วยธรรม 4 ประการ ได้แก่

หมายถึง การให้ด้วยจิตใจอันพร้อมเสียสละ การให้นี้เป็นสิ่งสำคัญผูกใจผู้อื่นได้ เพราะจะช่วยให้ผู้รับได้ตระหนักถึงความเอื้อเฟื้อ ความไม่ตระหนี่ถี่เหนียวหรือเป็นผู้เห็นแก่ได้ และเกิดความนับถือในจิตใจอันเสียสละของผู้ให้

หมายถึง การพูดจาด้วยถ้อยคำอันไพเราะอ่อนหวาน การพูดจาด้วยถ้อยคำอันไพเราะอ่อนหวานย่อมทำให้ผู้ฟังรู้ไม่รู้สึกขุ่นข้องหมองใจ และนำมาสู่ความรู้สึกที่เป็นมิตรได้ นอกจากนี้ปิยวาจายังหมายถึงถ้อยคำที่ซื่อสัตย์ซื่อตรง มีความตรงไปตรงมาแต่ไม่ก้าวร้าวหยาบคาย การตั้งมั่นในคำสัตย์นี้ย่อมทำให้ผู้พูดได้รับความไว้วางใจและเป็นที่นับถือ

หมายถึง การสงเคราะห์หรือประพฤติตนในทางที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นเป็นธรรมช่วยให้ผู้อื่นรับรู้และซาบซึ้งในความมีน้ำจิตน้ำใจ ทั้งยังพร้อมกลับมาเกื้อกูลต่อกันและกันเมื่อโอกาสมาถึง จึงจะช่วยให้ผู้ที่น้อมนำไปปฏิบัตินั้นประสบสามารถความสำเร็จได้โดยง่ายเพราะมีหมู่มิตรที่คอยเกื้อหนุนจุนเจือซึ่งกันและกันโดยไม่ขาด

หมายถึง การเป็นผู้มีความเสมอต้นเสมอปลาย มีจิตใจอันหนักแน่นไม่โลเล การตั้งมั่นในธรรมข้อนี้ย่อมจะทำให้ผู้อื่นมีความไว้วางใจ และพร้อมยกให้ผู้ปฏิบัตินั้นเป็นผู้นำได้โดยไม่รู้สึกขัดข้องกังขาจึงนับเป็นธรรมที่สำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่เป็นผู้นำ เป็นเจ้านาย หรือเป็นหัวหน้า ไม่ว่าจะในหน้าที่การงานใดก็ตาม

                   เด็กนักเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษานี้  สิ่งที่จะทำให้เขาเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ และเป็นมนุษย์ที่มีคุณค่าต่อสังคมในอนาคตนั้น  ต้องมีการฉีดวัคซีนทางจิต เพื่อที่จะให้นักเรียนไม่หลงทางโลก   และหลงผิดไปตามยุคโลกาภิวัฒน์ที่ไร้พรมแดน ถ้าผู้จะปฏิรูปการศึกษาให้เต็มรูปแบบให้ครบทุกกระบวนการต้องไม่ให้นักเรียนเรียนขาดวัคซีนทางจิต ถ้ามิได้ฉีดเชื้อหรือภูมิต้านทานไว้ก่อน  ดังคำที่เขากล่าวไว้ว่า “ถ้าสติมาปัญญาจะเกิด ถ้าสติเตลิดจะเกิดปัญหา”  นักเรียนก็จะเห็นผิดเป็นชอบ   ซึ่งโดยธรรมชาติของมนุษย์ไม่มีดีมีเลว  นักเรียนดุจผ้าขาวที่บริสุทธิ์สะอาด แต่ถ้าผ้าขาวต้องเศร้าหมอง  ก็เพราะธุลีมาบดบัง    นักเรียนก็จะถูกความชั่ว คือ ตัวกิเลสมันจับใจ  การที่จะทำให้นักเรียนเป็นคนดีต้องทำลายความชั่ว (กิเลส) ให้หมดไป  สิ่งต่างๆ    ที่เป็นความชั่วก็จะค่อยละลายหายไปในที่สุด  นักเรียนก็เติบโตขึ้นเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะเขาเหล่านั้น ได้ฝึกฝน อบรม ทั้งทางร่ายกายและจิตใจ   ดังคำพระที่กล่าวไว้ว่า  “ทนฺโต  เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ”   ผู้ที่ฝึกตนดีแล้ว  ถือว่าเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ 

๘. พระพุทธศาสนานั้นมีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งที่ต่างจากศาสนาทั่วไป จนบางทีผู้ที่มองความหมายจากแง่ของศาสนาอื่นๆ ไม่ถือว่าเป็นศาสนา หรือมิฉะนั้นก็ถือกันว่า เป็นศาสนาแห่งปัญญา เพราะไม่บังคับศรัทธา แต่ถือปัญญาเป็นสำคัญ กล่าวคือ ให้เสรีภาพทางความคิด ไม่เรียกร้องและไม่บังคับความเชื่อ ไม่กำหนดข้อปฏิบัติที่บังคับแก่ศาสนิกชน แต่ให้พิจารณาเลือกตัดสินใจด้วยตนเอง

การปฏิบัติตามหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จึงต้องอาศัยการศึกษา เพราะในเมื่อไม่กำหนดข้อบังคับในสิ่งที่ต้องเชื่อและต้องปฏิบัติอย่างตายตัวแล้ว ถ้าไม่ศึกษาให้รู้เข้าใจอย่างถูกต้องแท้จริง ก็มีโอกาสอย่างมากที่จะเกิดความเคลื่อนคลาดผิดเพี้ยนในความเชื่อและการปฏิบัติ เมื่อเชื่อผิดพลาดและปฏิบัติคลาดเคลื่อนไป นอกจากจะเป็นผลเสียหายในทางศาสนาแล้ว ก็ทำให้เกิดโทษแก่ชีวิตและสังคมไปด้วย

ด้วยเหตุนี้ การศึกษาหรือสิกขาจึงเป็นเนื้อตัวของชีวิตในทางพระพุทธศาสนา ที่จะทำให้ระบบจริยธรรมดำเนินไปได้ ผู้นำหรือผู้บริหารกิจการพระพุทธศาสนาจึงต้องเอาใจใส่ ถือเป็นหน้าที่หลักสำคัญที่สุด ที่จะต้องเอื้ออำนวยจัดให้มีการศึกษาแก่พุทธบริษัททั้งปวง

ด้วยเหตุที่พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งปัญญา และความเชื่อถือปฏิบัติที่ถูกต้องขึ้นต่อการศึกษาเช่นนี้ ไม่ว่าสถาบันพุทธศาสนาจะเอาใจใส่จัดการศึกษาให้แก่ศาสนิกชนของตนหรือไม่ก็ตาม ในกรณีที่พลเมืองส่วนใหญ่เป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา รัฐที่เป็นประชาธิปไตย และมีความรับผิดชอบต่อประโยชน์สุขของประชาชน และต่อความเสื่อม ความเจริญของสังคม จะต้องเอาใจใส่ขวนขวายเอื้ออำนวยให้ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นพุทธศาสนิกชนนั้นได้มีโอกาสศึกษาพระพุทธศาสนาให้ดีที่สุด ทั้งนี้เพราะว่า ความเป็นพุทธศาสนิกชนของประชากรส่วนใหญ่เหล่านั้น อยู่ในตัวบุคคลผู้เดียวกันกับที่เป็นพลเมืองของประเทศไทย แยกจากกันไม่ออก

ถ้าพลเมืองผู้นั้นในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในพระพุทธศาสนา มีความเชื่อถือและปฏิบัติผิดพลาดคลาดเคลื่อน เช่น เชื่อถือสิ่งเหลวไหล มีความหลงงมงาย มีพฤติกรรมที่ไม่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ผลร้ายก็ย่อมตกแก่สังคมไทยนั่นเอง การให้การศึกษาเพื่อให้พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี ก็คือการพัฒนาคุณภาพประชากรของประเทศไทย

เพราะฉะนั้น ผู้บริหารรัฐที่มีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ถึงแม้จะไม่ห่วงใยเลยว่า พระพุทธศาสนาจะเจริญหรือเสื่อมไปอย่างไร แต่ก็จำเป็นต้องจัดให้ประชาชนศึกษาพระพุทธศาสนาให้ถูกต้อง ทั้งนี้เพื่อเห็นแก่ผลประโยชน์ของสังคมไทย

อนึ่ง ในกรณีที่นำเอาระบบจริยธรรมอย่างอื่นเข้ามาสอนในระบบการศึกษาของชาติ นอกจากความแปลกแยกขัดแย้งไม่กลมกลืนจะเกิดขึ้นแล้ว ผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนต่างๆ ที่มีอยู่โดยอาศัยชื่อว่าเป็นพุทธศาสนา ก็จะลอยตัวออกไปอยู่นอกเขตความรับผิดชอบของการศึกษา จะเคว้งคว้างหาผู้รับผิดชอบจัดการไม่ได้ เพราะไม่มีข้อกำหนดบังคับศรัทธา หรือข้อกำหนดการปฏิบัติใดๆ ที่องค์กรพุทธศาสนาจะยกไปอ้างบังคับเขาอย่างในศาสนาอื่นได้ และความเชื่อถือปฏิบัติผิดพลาดเสียหายเหล่านั้น ก็จะถูกปล่อยให้ถ่ายทอดสืบต่อขยายตัวออกไปได้โดยเสรี ก่อพิษก่อภัยแก่สังคมไทยกว้างขวางออกไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด

(ประสบการณ์ทางการศึกษาในประเทศไทยเองก็ดี ในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ดี ได้ชี้บอกว่า การศึกษาวิทยาศาสตร์ เท่าที่จัดกันมาแล้ว ไม่มีกำลังพอที่จะแก้ปัญหาทำนองนี้ได้ ดังที่เห็นกันอยู่ว่า คนในสังคมสมัยใหม่เอาแต่วัตถุเทคโนโลยีที่เป็นผลผลิตจากวิทยาศาสตร์ แต่ความคิดจิตใจไม่เป็นวิทยาศาสตร์ หรือไม่ก็ขาดความมั่นใจไม่ซึมซาบในวิทยาศาสตร์ ความเชื่อถือและการปฏิบัติที่เหลวไหลสวนทางกับวิทยาศาสตร์ก็ยังคงดาษดื่น และยังแถมเอาเทคโนโลยีไปรับใช้ความเชื่อถือและการปฏิบัติเหล่านั้นด้วย ยิ่งในยุคต่อไปนี้ ที่วิทยาศาสตร์ได้เสื่อมเสียฐานะนิยมลงไปมาก การแก้ปัญหาด้วยการมุ่งส่งเสริมการศึกษาวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียวจะยิ่งไม่มีทางแก้ปัญหานี้ได้สำเร็จ)