ประโยชน์ของดาวเทียมไทยโชต มีอะไรบ้าง

สยามรัฐออนไลน์ 1 ตุลาคม 2564 11:53 น. อวกาศ

ประโยชน์ของดาวเทียมไทยโชต มีอะไรบ้าง

GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุ 13 ปีไทยโชต 1 ตุลาคม 2551 ดาวเทียม THEOS หรือไทยโชต ขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศ นับเป็นดาวเทียมสำรวจโลกระดับปฏิบัติการดวงแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดเล็ก สามารถถ่ายพื้นโลกได้ครอบคลุม (เกือบ) ทั้งโลก ปัจจุบันมีการนำข้อมูลจากดาวเทียมดวงนี้ไปใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งภารกิจด้านน้ำ การเกษตร ภัยพิบัติ และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

ดาวเทียมธีออส ถูกออกแบบให้เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี ทำงานโดยอาศัย แหล่งพลังงาน จากดวงอาทิตย์ สามารถบันทึกภาพได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบ ออฟติคคอล (Optical Imagery) ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลภาพ ในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น (Visible band) จนถึงช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (Near Infrared) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบช่วงคลื่นของดาวเทียมธีออสกับดาวเทียม อื่นๆ พบว่า 3 ช่วงคลื่นของดาวเทียมธีออส มีความคล้ายคลึงกับช่วงคลื่นของดาวเทียม SPOT ยกเว้นช่วงคลื่น สีน้ำเงิน ที่มีเพิ่มมากกว่าของดาวเทียม SPOT และมีความคล้ายคลึงกันกับช่วงคลื่นของดาวเทียม Landsat ระบบ TM

รายละเอียดเชิงเทคนิค

น้ำหนัก  เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก (Small Satellite) น้ำหนัก ประมาณ 750 กิโลกรัม (น้ำหนักรวมกล้องถ่ายภาพ และเชื้อเพลิงขับดัน)

รูปทรง  รูปกล่องหกเหลี่ยมสูงประมาณ 2.4 เมตร กว้างประมาณ 2 เมตร (เมื่อพับแผงเซลแสงอาทิตย์)

วงโคจร  สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ที่ความสูง 822 กิโลเมตร , มีทิศทางการโคจรจากเหนือลงใต้ ทำมุมเอียง 98 องศา กับระนาบเส้นศูนย์สูตร และจะผ่านเส้นศูนย์สูตร ที่ เวลาประมาณ 10:00 น.

รอบการโคจร  โคจรครบ 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 101.4 นาที ซึ่งใน 1 วันจะดาวเทียมจะมีรอบการโคจรทั้งสิ้น 14 +5/26 รอบ

Payload  กล้องบันทึกภาพขาว-ดำ (Panchromatic : PAN), และกล้องถ่ายภาพสีหลายช่วงคลื่น (Multispectral : MS) ซึ่งสามารถถ่ายภาพในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น (Blue, Green, Red) และช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (NIR)

รายละเอียดภาพ  ที่มุมเอียงไม่เกิน 30องศาจากแนวดิ่ง PAN ( ขาวดำ) 2 เมตร , MS ( สี) 15 เมตร

ความกว้างแนวบันทึกภาพ (Swath Width)  PAN 22 กิโลเมตร, MS 90 กิโลเมตร

พิกัดในการเอียงตัวของดาวเทียมเพื่อการบันทึกภาพ  ก้ม/เงย 45° ; ซ้าย/ขวา 50°

อายุการใช้งาน  อย่างน้อย 5 ปี

ดาวเทียมธีออสสามารถบันทึกภาพต่อเนื่อง มีความยาวแนวบันทึกภาพสูงสุดถึง 4,000 กม.

เมื่อบันทึกภาพในแนวดิ่ง ดาวเทียมธีออสจะบันทึกภาพขาว-ดำ ที่รายละเอียดภาพ 2 เมตร ที่ความกว้างแนวบันทึกภาพ 22 กิโลเมตร และภาพสีหลายช่วงคลื่น ที่รายละเอียดภาพ 15 เมตร ที่ความกว้างแนวบันทึกภาพ 90 กิโลเมตร

เพื่อให้สามารถบันทึกภาพซ้ำในตำแหน่งเดิมได้ในเวลาอันสั้น ดาวเทียมธีออสจะเอียงตัวบันทึกภาพได้ในแนวซ้าย-ขวา และ ก้ม-เงย โดยมีมุมเอียงปกติที่ 30° และมุมเอียงสูงสุด 50°

ความสามารถในการเอียงตัวบันทึกภาพ ทำให้เราสามารถสร้างภาพ 3 มิติได้ โดยการบันทึกภาพพื้นที่เดียวกัน 2 ภาพ จากแนวการโคจรเดียวกัน หรือจากแนวการโคจรต่างกัน

แนวการโคจรของดาวเทียมธีออส

ในช่วงกลางวัน ดาวเทียมจะโคจรจากมุมขวาบนโค้งลงมายังมุมซ้ายล่าง ส่วนในช่วงกลางคืน จะโคจรจากมุมซ้ายบนโค้งลงมายังมุมขวาล่าง

เผยแพร่: 27 มี.ค. 2557 23:27   โดย: MGR Online


ปฏิบัติหน้าที่มาเกือบ 6 ปี แต่หลายคนอาจยังไม่รู้จักดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกและดวงเดียวของชาติที่ชื่อ “ไทยโชต” ที่เพิ่งพบวัตถุต้องสงสัยลอยในมหาสมุทรอินเดีย ท่ามกลางการตามเที่ยวบิน MH370 ของมาเลเซียที่หายไป

ดาวเทียมไทยโชตเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกและดวงเดียวของไทย โดยอยู่ในการดูแลของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เดิมดาวเทียมไทยโชตมีชื่อว่า “ธีออส” (THEOS) ย่อมาจาก Thailand Earth Observation System เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) น้ำหนัก 750 กก.ที่ออกแบบให้มีอายุการใช้งาน 5 ปี และทะยานขึ้นสู่วงโคจรจากฐานปล่อยจรวดยัสนี ประเทศรัสเซีย เมื่อ 1 ต.ค.51

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.54 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อดาวเทียมธีออสว่า “ดาวเทียมไทยโชต” มีความหมายว่า ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง

ในการสร้างดาวเทียมดวงนี้ ไทยโดย สทอภ.ได้ว่าจ้าง บริษัท อีเอดีเอส แอสเทรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ดำเนินการสร้างและส่งดาวเทียม ภายใต้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศระหกว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อ 19 ก.ค.47

ไทยโชตสามารถบันทึกภาพขาวดำ (Panchromatic) ได้ที่รายละเอียด 2 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 22 กม. และบันทึกภาพสีหลายช่วงคลื่น (Multispectral) ได้ที่รายละเอียด 15 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 90 กม.ซึ่งบันทึกได้ 4 ช่วงคลื่นหรือแบนด์ ได้แก่

แบนด์ 1, 0.45-0.52 ไมครอน (น้ำเงิน)
แบนด์ 2, 0.53-0.62 ไมครอน (เขียว)
แบนด์ 3, 0.62-0.69 ไมครอน (แดง)
แบนด์ 4, 0.77-0.90 ไมครอน (อินฟาเรดใกล้)

การบันทึกภาพของดาวเทียมธีออสใช้ระบบถ่ายภาพเช่นเดียวกับกล้อง (Optical system) โดยใช้ “ซีซีดี” (Charge Coupled Devices: CCD) เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพ ณ ระนาบรวมแสงของระบบ ซึ่งจะแปลงข้อมูลจากแสงที่สะท้อนจากพื้นโลกให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และตัวเลนส์ของกล้องผลิตจากซิลิกอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide)

ดาวเทียมธีออสมีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 820 กม.จะโคจรมาที่จุดเดิมทุกๆ 26 วัน และโคจรรอบโลกทั้งสิ้น 369 วงโคจร ซึ่งระยะทางระหว่างวงโคจรแต่ละวงเท่ากับ 105 กม.สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทั่วโลกภายใน 35 เมื่อใช้ระบบถ่ายภาพสี และใช้เวลา 130 วันถ่ายได้ครอบคลุมทั่วโลกเมื่อใช้ระบบถ่ายภาพขาว-ดำ

ทั้งนี้ ภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชตถูกนำไปใช้งานในภารกิจด้านภัยพิบัติหลายครั้ง เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมภาคกลางเมื่อปี 2553 เหตุการณ์น้ำมันรั่วในอ่าวไทยเมื่อปี 2556 และเหตุการณ์ไฟไหม้บ่อขยะแพรกษา จ.สมุทรปราการเมื่อ 17 มี.ค.57 เป็นต้น

นอกจากนี้เมื่อต้นปี 2555 ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สทอภ.ยังเชิญชวนให้ผู้สนใจทั่วไปขอใช่งานภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชตระหว่างปี 2552-2554 โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายภายใต้โครงการ “7 ปี 70,000 ภาพธีออสดาวเทียมไทยรับใช้สังคม”

ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มี.ค.57 สทอภ.ได้โปรแกรมรับภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชตเพื่อติดตามเที่ยวบิน MH370 ของมาเลเซีย แอร์ไลน์ส และได้พบวัตถุต้องสงสัยลอยน้ำในมหาสมุทรอินเดียเป็นพื้นที่กว่า 450 ตารางกิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย 2,700 กิโลเมตร แต่ระบุไม่ได้ว่าเป็นชิ้นส่วนเครื่องบินที่หายไปหรือไม่

ประโยชน์ของดาวเทียมไทยโชต มีอะไรบ้าง


ดาวเทียมไทยโชตมีประโยชน์ทางด้านใด

ใช้สำรวจทรัพยากรทั้งภายในประเทศ ซึ่งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน แสดงความประสงค์นำข้อมูลดาวเทียมธีออสไปใช้ประโยชน์ในการสำรวจหาข้อมูล และใช้ทำแผนที่ในภารกิจที่รับผิดชอบ เช่น เช่น การสำรวจหาชนิดของพืชผลการเกษตร, การประเมินหาผลผลิตการเกษตร, การสำรวจหาพื้นที่ป่าไม้, การสำรวจหาพื้นที่ป่าถูกบุกรุกทำลาย, การสำรวจหาพื้นที่ป่า ...

ดาวเทียมธีออสมีประโยชน์ในด้านใด

ดาวเทียมธีออส (THEOS : Thailand Earth Observation Satellite) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินงานโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ทอภ. หรือ GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท ...

ดาวเทียม Theos มีความสำคัญในด้านใดมากที่สุด

ประโยชน์ของดาวเทียมธีออส 1. ภาพจากดาวเทียมสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน้ำ และสามารถนำไปใช้ในการติดตามและประเมินความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ใช้ในการสำรวจศึกษาหาพื้นที่ป่าไม้ หาพื้นที่ป่าถูกบุกรุกทำลาย ถูกไฟไหม้ การสำรวจหาพื้นที่สวนป่าและหาชนิดป่า

ใครเป็นผู้ตั้งชื่อดาวเทียมไทยโชต

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อดาวเทียมสำรวจทรัพยากร THEOS ว่า “ดาวเทียมไทยโชตชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thaichote” ซึ่งแปลว่า ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผู้บริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ตลอดจนเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง สทอภ. ล้วนปลาบปลื้ม ...