มะเขือเทศมีประโยชน์อย่างไร

มะเขือเทศ ( Tomato ) คือ พืชล้มลุกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ Lycopersicon Esculentum Mill. จัดอยู่ในวงศ์มะเขือ ( SOLANACEAE ) ซึ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไม่ได้รับความสนใจมากนัก จนต่อมาได้มีการพัฒนาสายพันธุ์ตามธรรมชาติ มนุษย์จึงได้เริ่มนำมาเพาะปลูกเป็นอาหาร โดยชนพื้นเมืองที่นำมะเขือเทศมาปลูกอย่างแพร่หลายเป็นครั้งแรก ก็คือชาวพื้นเมืองเอซเท็ค ( Aztecs ) ในประเทศเม็กซิโกนั่นเอง ซึ่งมะเขือเทศจัดเป็นแหล่งวิตามินซีที่ดีก็ว่าได้ โดยผลขนาดกลางให้แคลอรี่เพียง 22 แคลอรี่ มีหลายสายพันธุ์ เช่น มะเขือเทศสีดา มะเขือเทศเชอรี่ มะเขือเทศราชินี มีสารต้านอนุมูลอิสระที่เรียกว่า ไลโคปีน และวิตามินซีอย่างที่ทราบกันดีมะเขือเทศลูกเดียวให้วิตามินซีได้สูงถึง 40 เปอร์เซ็นต์และวิตามินเอที่ช่วยในการมองเห็น ระบบภูมิคุ้มกันที่ดี และบำรุงผิวพรรณให้กระจ่างใส วิตามินเคดีต่อกระดูก โพแทสเซียมเป็นสารอาหารสำคัญสำหรับการทำงานของหัวใจ การหดตัวของกล้ามเนื้อ และการรักษาความดันโลหิต นิยมนำมาใส่ลงไปในอาหาร ทำเป็นเครื่องดื่ม หรือรับประทานสดก็ได้

Show

>> โภชนาการเพื่อสุขภาพผิวสวยเป็นอย่างไร มาดูกันค่ะ

>> แสงแดดมีประโยชน์มากกว่าที่คุณคิด อยากรู้มาดูกันค่ะ

มะเขือเทศ เป็นผักหรือผลไม้

หลายๆคนอาจเกิดความสงสัยว่าจริงๆแล้วมะเขือเทศนั้นเป็นผักหรือผลไม้กันแน่ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว มะเขือเทศคือผลไม้ เพราะตามหลักพฤกษาศาสตร์ผลมะเขือเทศเป็นส่วนของรังไข่ที่เจริญเติมโตเต็มที่

คุณค่าทางโภชนาการของมะเขือเทศแดงสด 1 ส่วนต่อ 100 กรัม

สารอาหารในมะเขือเทศ (Nutrient)

หน่วย

1 ส่วนต่อ 100 กรัม

น้ำ ( Water )กรัม94.34พลังงาน ( Energy )กิโลแคลอรี18โปรตีน ( Protein )กรัม0.95ไขมันรวม Total lipid ( Fat )กรัม0.11คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrate )กรัม4.01ไฟเบอร์ ( Fiber )กรัม0.7น้ำตาล ( Sugars )กรัม2.49แคลเซียม ( Calcium )มิลลิกรัม11ธาตุเหล็ก ( Iron )มิลลิกรัม0.68แมกนีเซียม ( Magnesium )มิลลิกรัม9ฟอสฟอรัส ( Phosphorus )มิลลิกรัม28โปแตสเซียม ( Potassium )มิลลิกรัม218โซเดียม ( Sodium )มิลลิกรัม11สังกะสี ( Zinc )มิลลิกรัม0.14วิตามินซี ( Vitamin C )มิลลิกรัม22.8ไทอามิน ( Thiamin )มิลลิกรัม0.036ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)มิลลิกรัม0.022ไนอาซิน ( Niacin )มิลลิกรัม0.532วิตามินบี 6 ( Vitamin B-6 )มิลลิกรัม0.079โฟเลท ( Folate )มิลลิกรัม13มะเขือเทศมี วิตามินเอ ( Vitamin A )IU489วิตามินอี ( Vitamin E )มิลลิกรัม0.56วิตามินเค ( Vitamin K )มิลลิกรัม2.8กรดไขมันชนิดอิ่มตัว ( Fatty Acids, Total Saturated )กรัม0.015กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว ( Fatty Acids, Total Monounsaturated )กรัม0.016กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ( Fatty Acids, Total Polyunsaturated )กรัม0.044

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

มะเขือเทศมีประโยชน์อย่างไร

มะเขือเทศ ประโยชน์สรรพคุณ

มะเขือเทศทั่วโลกมีมากกว่า 20,000 สายพันธุ์ ดังที่เห็นบ่อยๆจะมีทั้งแบบลูกเล็ก ลูกใหญ่ แต่ส่วนใหญ่ก็จะล้วนเป็นสีแดงทั้งสิ้น แต่ก็ใช่ว่าจะมีมะเขือเทศเพียงสีเดียวเท่านั้น เพราะในปัจจุบันก็มีมะเขือเทศสีดำ มะเขือเทศสีขาว มะเขือเทศสีม่วง เช่นกัน ซึ่งก็มีประโยชน์และเป็นที่นิยมไม่แพ้มะเขือเทศสีแดงเลย ประเภทของมะเขือเทศในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น มะเขือเทศท้อ มะเขือเทศสีดา มะเขือเทศราชินี มะเขือเทศสีเหลือง ประโยชน์ของมะเขือเทศโดยทั่วไปคือ

  • มะเขือเทศอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารมากมายหลายชนิด และที่โดดเด่นที่สุด ก็คือวิตามินซีและวิตามินเอที่พบได้มากในมะเขือเทศ แถมยังเป็นวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย
  • มะเขือเทศมีสารจำพวกไลโคปีน ที่จะช่วยต้านอนุมูลอิสระและลดความเสี่ยงโรคร้ายต่างๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อการเสื่อมของร่างกายได้ดี เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ ข้อเสื่อม โรคหลอดเลือด และโรคตาต้อกระจก เป็นต้น
  • มะเขือเทศมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง แก้แผลร้อนในช่องปาก เป็นยาช่วยดับร้อนถอนพิษ และสามารถบรรเทาอาการของโรคหัวใจได้อย่างดีเยี่ยม
  • ผลของมะเขือเทศเป็นยาระบายอ่อนๆ แก้กระหายน้ำและเบื่ออาหาร
  • ต้นมะเขือเทศมีสารสำคัญ คือโทมาทีน ( tomatine ) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดที่เป็นต้นเหตุของโรคในพืชและคน
  • รากและใบแก่ต้มกินแก้ปวดฟัน ใบบดเป็นผงละเอียด เป็นยาเย็น ใช้ทาผิวถูกแดดเผา
  • ใบชงกับน้ำร้อนใช้เป็นยาพ่นกำจัดหนอนที่มากินผักได้

เพียงแค่ทานมะเขือเทศวันละประมาณ 1-2 ผลเท่านั้น และยิ่งทานมะเขือเทศไปพร้อมกับการรักษาด้วยแล้ว ก็จะยิ่ง เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้มากขึ้นไปอีก ทั้งนี้มะเขือเทศป้องกันโรคสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ทั้งยังช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด เลือดออกตามไรฟัน ป้องกันการแข็งตัวของหลอดเลือด ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้านช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย มะเขือเทศยังช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดภาวะเส้นเลือดตีบ การเกิดโรคหัวใจวาย โรคหัวใจขาดเลือด ช่วยในระบบย่อยในกระเพาะอาหารและช่วยในการขับถ่ายอุจจาระได้สะดวกได้อีกด้วย

วิธีทานมะเขือเทศให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

คือต้องทำให้มะเขือเทศสุกเสียก่อน ปรุงเป็นอาหารเพราะจะทำให้ไลโคปีนกับเนื้อเยื่อของมะเขือเทศหลุดออกจากกันได้ง่าย ร่างกายจึงสามารถนำไปใช้ได้ดีกว่ากินแบบไม่ผ่านความร้อน อีกทั้งไลโคปีนนั้นสามารถละลายได้ดีในน้ำมัน ดังนั้นหากเราใช้น้ำมันในการปรุงมะเขือเทศ จะยิ่งทำให้ร่างกายดูดซึมไลโคปีนดียิ่งขึ้น

มะเขือเทศมีประโยชน์อย่างไร

ตัวอย่างงานวิจัยกี่ยวกับมะเขือเทศและการรักษาโรค ( การรักษาทางเลือกจากธรรมชาติ )

โรคหอบหืด สารต้านอนุมูลอิสระอาจจะช่วยกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะการป้องกันและขจัดการอักเสบในระบบทางเดินหายใจ แต่การศึกษาความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหอบหืดยังมีอยู่จำกัด มีงานวิจัยผู้ป่วยโรคหอบหืดและการอักเสบของทางเดินลมหายใจ โดยให้ลองรับประทานอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระต่ำเป็นเวลา 10 วัน จากนั้นให้รับประทานยาหลอก 7 วัน ตามด้วยสารสกัดจากมะเขือเทศที่มีปริมาณไลโคปีน 45 มิลลิกรัมต่อวันอีก 7 วัน และต่อด้วยน้ำมะเขือเทศที่มีปริมาณไลโคปีน 45 มิลลิกรัมต่อวันอีก 7 วัน ผลพบว่า การบริโภคไลโคปีนอาจช่วยลดการอักเสบของปอดในโรคหืด ทั้งนี้ ไลโคปีนในรูปแบบอาหารเสริมควรได้รับการศึกษาเพิ่มเติม และระยะเวลาในการศึกษาค่อนข้างสั้น การระบุประสิทธิภาพของมะเขือเทศต่อการบรรเทาอาการโรคหอบหืดยังคงต้องมีการค้นคว้าเพิ่มขึ้น

โรคหัวใจและหลอดเลือด การศึกษาปริมาณไลโคปีน แอลฟาแคโรทีน เบตาแคโรทีน แอลฟาโทโคฟีรอล ( α-Tocopherol ) เรตินอยด์ ( Retinoid ) กับความเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ชายชาวฟินแลนด์ อายุ 46-65 ปี จำนวน 1,031 คน โดยติดตามผลในช่วงประมาณ 12 ปี ผลพบว่าไลโคปีนในปริมาณสูงจากการรับประทานผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศอาจช่วยลดความความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและสมองขาดเลือดลง ซึ่งระดับไลโคปีนที่ตรวจพบจากการเจาะเลือด อาจเป็นผลมาจากการรับประทานมะเขือเทศนั่นเอง และนอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยที่วิเคราะห์อาหารที่ทำจากมะเขือเทศ หรือมีสารไลโคปีนเยอะมีผลต่อความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้หญิงวัยกลางคนและสูงอายุด้วยเช่นกัน โดยมี จำนวน 39,876 คน ในช่วงระยะเวลา 7 ปี กลับพบว่าสารไลโคปีนในอาหารไม่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด แต่การรับประทานไลโคปีนหรือสารพฤกษเคมี (Phytochemicals) อื่น ๆ ที่มีน้ำมันเป็นองค์ประกอบอาจส่งผลดีในการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

โรคความดันโลหิตสูง ( Hypertension )การศึกษาเกี่ยวกับสารต้านอนุมูลอิสระจากสารสกัดจากมะเขือเทศในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงระดับที่ 1 โดยให้อาสาสมัครรับประทานสารสกัดจากมะเขือเทศสด 250 กรัม เปรียบเทียบกับยาหลอก ผลพบว่าการรักษาด้วยสารสกัดจากมะเขือเทศระยะสั้น ซึ่งอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้

โรคมะเร็ง ( Cancer )สารไลโคปีนเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพและพบมากในมะเขือเทศ โดยเฉพาะมะเขือเทศที่ผ่านการแปรรูปหรือผ่านความร้อน เช่น ผลิตภัณฑ์มะเขือเทศเข้มข้น น้ำมะเขือเทศ ซอสมะเขือเทศ เป็นต้น สารไลโคปีนอาจไปกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอาจช่วยขัดขวางและหยุดการเติบโตของเซลล์มะเร็งบางประเภทเพื่อป้องกันเซลล์ได้รับความเสียหายจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ด้วยเหตุนี้การวิจัยหลายชิ้นจึงให้ความสนใจบทบาทของไลโคปีนต่อการป้องกันโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น

  • โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระและวิตามินในมะเขือเทศที่เชื่อกันว่ามีฤทธิ์ต้านมะเร็ง จึงมีการศึกษาระดับแคโรทีนอยด์และวิตามินต่อการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร จากการวิจัยเชิงสังเกตและติดตามผลชายชาวจีนวัยกลางคนและวัยชราจำนวน 18,244 คน ในระยะเวลา 12 ปี โดยเปรียบเทียบกลุ่มคนที่มีระดับความเข้มข้นของแคโรทีนอยด์และวิตามินหลายตัวในเลือดสูงกับกลุ่มทดลอง ปรากฏว่าแคโรทีนอยด์อย่างแคโรทีน ไลโคปีน และวิตามินซี อาจเป็นสารต้านมะเร็งที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการรับประทานแคโรทีนอยด์ในปริมาณสูงก็อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคกระเพาะอาหารให้น้อยลง แต่ก็คล้ายคลึงกับการวิจัยโรคมะเร็งชนิดอื่นในด้านที่เป็นการศึกษาเฉพาะสารแคโรทีนอยด์และวิตามินทั่วไป ซึ่งร่างกายอาจได้รับจากการรับประทานอาหารประเภทอื่น ไม่ใช่เฉพาะแค่เพียงมะเขือเทศ จึงต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับประทานมะเขือเทศโดยตรง 

    มะเขือเทศมีประโยชน์อย่างไร

  • โรคมะเร็งตับอ่อน แม้ว่าผักและผลไม้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสาเหตุของโรคมะเร็งตับอ่อน แต่บทบาทของสารพฤกษเคมีในกลุ่มอาหารเหล่านี้ยังได้รับความสนใจอยู่น้อย จากการศึกษาความสัมพันธ์ของแคโรทีนอยด์ในอาหารกับความเสี่ยงโรคมะเร็งตับอ่อนในผู้ป่วยโรคมะเร็งตับอ่อน จำนวน 462 คน เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ซึ่งเป็นประชากรชาวแคนาดา จำนวน 4,721 คนจาก 8 รัฐ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการบริโภคอาหารที่มีมะเขือเทศเป็นส่วนประกอบมากหรือรับประทานผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศที่มีปริมาณไลโคปีนสูงอาจช่วยให้ความเสี่ยงของโรคมะเร็งตับอ่อนลดลง แต่อย่างไรก็ตามยังคงต้องรอการค้นคว้าต่อในอนาคตเพื่อการยืนยันผลที่แน่ชัด
  • โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเขือเทศอุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงที่เรียกว่าไลโคปีน ซึ่งอาจช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากและลดการเติบโตของเนื้องอกในผู้ชายที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของอาหารกับความเสี่ยงโรคมะเร็งต่อมลูกหมากที่จัดทำโดยสมาคมการวิจัยเพื่อการป้องกันโรคมะเร็ง (American Institute for Cancer Research: AICR) ประเทศสหรัฐอเมริกา และกองทุนวิจัยโรคมะเร็งโลก (World Cancer Research Fund: WCRF) ได้ศึกษากับผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากจำนวน 1,806 คน และกลุ่มคนปกติ 12,005 คน ผลการวิเคราะห์พบว่าการรับประทานมะเขือเทศ ผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ หรือผักชนิดอื่นก็อาจช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้ ตรงกันข้ามกับการวิจัยอีกชิ้นที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแคโรทีนอยด์ในเลือดกับความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากในการตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวน 692 ราย ในช่วง 1-8 ปี ผลการศึกษาพบว่ามีเฉพาะเบตาแคโรทีนในปริมาณสูงที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากแต่ไคโลปีนและแคโรทีนอยด์ตัวอื่นไม่พบความเกี่ยวข้องกันกับโรค

จากข้อมูลเกี่ยวกับการแพทย์ทางธรรมชาติ (Natural Medicines Comprehensive Database) ได้แบ่งระดับความน่าเชื่อถือของการใช้การรักษาทางเลือกจากธรรมชาติเป็น 7 ระดับ

มะเขือเทศ เป็นสุดยอดสารอาหารผิวที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ด้านความงาม ยังมีคุณสมบัติต้านโรค มะเร็ง อุดมไปด้วยสารอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ

ทำความรู้จักกับสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์

สารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ส่วนใหญ่ จะเป็นสารประกอบอินทรีย์ท่สามารถพบได้มากในพืชและแบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์แสงได้ ซึ่งสารในกลุ่มนี้จะทำให้เกิดสีส้ม แดงและสีเหลือง จึงดูได้ไม่ยากว่าผักผลไม้ชนิดใดที่มีแคโรทีนอยด์สูงนั่นเอง ส่วนคุณสมบัติของสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ก็มีประโยชน์ในการช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและฟื้นฟูเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเซลล์ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าสารในกลุ่มนี้มีสูงมากถึง 600 ชนิด แต่ที่ได้รับความนิยมและมีการยอมรับมากที่สุด ก็มีเพียง 6 ชนิดได้แก่

1. อัลฟาแคโรทีน ( Alpha Carotene ) เป็นสาระสำคัญที่ร่างกายจะนำไปใช้ในการสังเคราะห์วิตามินเอ โดยจะพบมากในผักโขม มะเขือเทศ และแครอท

2. เบต้าแคโรทีน ( Beta Carotene ) เป็นสารที่จะช่วยสังเคราะห์วิตามินเอเช่นกัน แต่หากมีมากเกินความจำเป็น ก็จะทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระและเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ซึ่งก็จะพบได้มากใน มะม่วง มันเทศ แครอท แคนตาลูปและลูกพีช

3. คริปโตแซนทีน ( Cryptoxanthin ) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ และมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดโดยตรง ซึ่งมักจะพบได้มากในพริกหยวก ฟักทอง ส้มเขียวหวานและลูกพลัม

4. ไลโคปีน ( Lycopene ) มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเกิดมะเร็งได้หลากหลายชนิด เช่น มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม เป็นต้น และสามารถลดระดับไขมัน น้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้อีกด้วย 

มะเขือเทศมีประโยชน์อย่างไร

5. ลูทีน ( Lutein ) มีส่วนช่วยในการปกป้องและบำรุงสายตา พร้อมกับลดการเสื่อมสภาพของจอประสาทตา โดยเฉพาะในคนที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ จ้องแสงหน้าจอตลอดเวลา โดยสามารถพบลูทีนได้มากในดอกดาวเรือง และผักเคลหรือผักคะน้า

6. ซีแซนทิน ( Zeaxanthin ) มีส่วนช่วยในการบำรุงสายตาและป้องกันภาวะต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาเช่นกัน โดยจะพบได้มากในผักขม บร็อคโคลี และมะเขือเทศที่ปรุงผ่านความร้อนแล้ว

ไลโคปีนที่อยู่ในมะเขือเทศ

จากการวิจัยพบว่าในมะเขือเทศจะอุดมไปด้วยสารไลโคปีน ( Lycopene ) จำนวนมากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูงมาก และยังช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ได้ดีอีกด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมสุขภาพให้แข็งแรงยิ่งขึ้นแม้จะอายุมากแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ไลโคปีนก็สามารถป้องกันโรคไม่ติดต่อได้หลายชนิดเช่นกัน อย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคเส้นเลือดตีบในสมอง เป็นต้น ต้องมีการปรุงมะเขือเทศด้วยความร้อน เพราะจะทำให้เกิดชีวประสิทธิผลที่ดีขึ้นและเพิ่มปริมาณของไลโคปีนให้สูงขึ้นไปอีก นั่นก็ เพราะเมื่อไลโคปีนสัมผัสกับความร้อน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงพันธะเคมีแบบทรานส์ ทำให้ไลโคปีนกลายเป็นพันธุแบบซิสที่เป็นเส้นโค้งงอ โดยจะสามารถละลายในไขมันได้ดีกว่า จึงทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากกว่าด้วยนั่นเอง จากกรณีของมะเขือเทศจะเห็นได้ว่า ผักผลไม้ทุกชนิดไม่ได้มีประโยชน์มากที่สุดเมื่อทานสดๆ เท่านั้น โดยเฉพาะมะเขือเทศที่จะยิ่งมีคุณค่าสูงขึ้นเมื่อได้ผ่านการปรุงด้วยความร้อนนั่นเอง เพราะฉะนั้นมาทานมะเขือเทศที่ปรุงด้วยความร้อนกันบ่อยๆ ดีกว่าไลโคปีนและสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ในมะเขือเทศ

ไลโคปีนและสารกลุ่มแคโรทีนอยด์ในมะเขือเทศ

ไลโคปีน ( Lycopene ) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระสูงมาก และยังช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ได้ดีอีกด้วย ซึ่งจะช่วยเสริมสุขภาพให้แข็งแรงยิ่งขึ้นแม้จะอายุมากแล้วก็ตาม นอกจากนี้ ไลโคปีนก็สามารถป้องกันโรคไม่ติดต่อได้หลายชนิดเช่นกัน อย่างเช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง ไขมันอุดตันในเส้นเลือดและโรคเส้นเลือดตีบในสมอง เป็นต้น ไลโคปีน เป็นสารที่พบได้มากในผักผลไม้สีแดง เหลืองและสีส้ม โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ( Carotenoid ) ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมเรียกสารในกลุ่มนี้ว่าสารเบต้าแคโรทีนนั่นเอง แต่ทั้งนี้ไลโคปีนจะมีโครงสร้างโมเลกุลที่แตกต่างจากสารในกลุ่มนี้อีกด้วย

มะเขือเทศเมนูอาหาร เพื่อสุขภาพที่ง่าย และอร่อย

  • มะเขือเทศผัดไข่
  • ซุปมะเขือเทศ
  • มะเขือเทศอบแห้ง
  • สปาเก็ตตี้ซอสมะเขือเทศ
  • พาสต้าซอสมะเขือเทศหมูสับ
  • ยำวุ้นเส้นใส่มะเขือเทศ
  • ส้มตำใส่มะเขือเทศ
  • สลัดมะเขือเทศ   

    มะเขือเทศมีประโยชน์อย่างไร

  • มะเขือเทศอบชีส
  • มะเขือเทศดอง
  • มะเขือเทศอบแห้ง
  • มะเขือเทศเชื่อม
  • มะเขือเทศแช่อิ่ม
  • มะเขือเทศกวน

เมนูเครื่องดื่มจากมะเขือเทศ เพื่อสุขภาพทที่ง่ายและอร่อย

  • น้ำมะเขือเทศคั้นสด
  • ม็อกเทลน้ำมะเขือเทศ
  • น้ำมะเขือเทศผสมน้ำส้มและน้ำมะนาว
  • น้ำมะเขือเทศสดผสมแครอทและสับปะรด
  • สมูทตี้มะเขือเทศ

ไลโคปีนในมะเขือเทศ เป็นสารที่พบได้มากในผักผลไม้สีแดง เหลืองและสีส้ม โดยถูกจัดอยู่ในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ( Carotenoid ) ซึ่งส่วนใหญ่จะนิยมเรียกสารในกลุ่มนี้ว่าสารเบต้าแคโรทีนนั่นเอง แต่ทั้งนี้ไลโคปีนจะมีโครงสร้างโมเลกุลที่แตกต่างจากสารในกลุ่มนี้อีกด้วย

การรับประทานมะเขือเทศมีประโยชน์อย่างไร *

ประโยชน์ของมะเขือเทศ.
ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื่นสดใส ไม่แห้งกร้าน.
มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วรัยแห่งวัย.
น้ำมะเขือเทศช่วยเพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย.
ช่วยเสริมคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง.
มีวิตามินเอซึ่งมีส่วนชวยบำรุงสายตา.
มะเขือเทศมีเบตาแคโรทีนและฟอสฟอรัสในปริมาณมาก.

มะเขือเทศอะไรมีประโยชน์ที่สุด

มาสรุปย้ำอีกครั้งนะคะว่า รับประทานมะเขือเทศอย่างไรถึงได้ประโยชน์สูงสุด * ควรรับประทานมะเขือเทศแบบสุก เพื่อให้ได้รับสารไลโคปีนมากขึ้น * ผู้ชายยิ่งควรเน้นรับประทานมะเขือเทศสุก เพราะไลโคปีน ช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้ * ส่วนผู้หญิงอาจรับประทานแบบสดบ้าง เพื่อให้ได้รับวิตามินซี มาบำรุงผิวพรรณ

มะเขือเทศมีประโยชน์และโทษอย่างไร

ประโยชน์ของมะเขือเทศคือมีโพแทสเซียมสูง ผู้ที่มีโพแทสเซียมในเลือดสูงและผู้ป่วยโรคไตจึงไม่ควรทาน เพราะร่างกายจะขับโพแทสเซียมออกมาไม่หมด คนที่ลมในท้องมาก หรือลำไส้อ่อนแอ ไม่ควรทานมะเขือเทศ คนที่เป็นกรดไหลย้อนไม่ควรทานมะเขือเทศเช่นกัน เพราะจะทำให้มีอาการแสบร้อนกลางอก

ในมะเขือเทศมีอะไร

ประโยชน์ของมะเขือเทศยังมีอยู่มากมาย เพราะอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุอยู่หลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่น วิตามินซี วิตามิเอ วิตามินเค วิตามินพี วิตามินบี1 วิตามินบี2 ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส และ ธาตุเหล็ก โดยมะเขือเทศขนาดปานกลางนั้นจะมีปริมาณของวิตามินซีครึ่งหนึ่งของส้มโอทั้งลูก และมะเขือเทศหนึ่งผลมีปริมาณวิตามินเอ ...