ลักษณะของการเขียนรูปทิวทัศน์มีกี่ลักษณะอะไรบ้าง

ความหมายของการวาดเส้นภาพทิวทัศน์

ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง การวาดภาพที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศที่พบเห็นโดยทั่วไป หรือที่เรียกกันว่า ภาพวิว (View) ซึ่งอาจเป็นภูมิประเทศที่มีแต่สิ่งที่เป็นธรรมชาติล้วนๆ หรือมีสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์สร้างขึ้นประกอบด้วยก็ได้ หรือเรียกว่า “ภาพภูมิทัศน์” การวาดเส้นภาพทิวทัศน์นั้น ผู้วาดจะต้องศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจ ในหลักของทัศนมิติ (Perspective) หรือ ทัศนียภาพ ให้ดีก่อนจึงจะสามารถถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างถูกต้อง [28]

 การแบ่งภาพทิวทัศน์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

1. ภาพทิวทัศน์บก (Landscape) เป็นการเขียนภาพภูมิประเทศที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมบนบกเป็นส่วนใหญ่ เช่น ต้นไม้ ภูเขา ท้องนา ป่าไม้ ห้วยหนอง คลองบึง น้าตก ฯลฯ เพื่อถ่ายทอดบรรยากาศแสงเงา และเรื่องราวต่างๆ ในธรรมชาติ โดยการวาดอาจมีภาพคนหรือภาพสัตว์ประกอบ เพราะจะทาให้ภาพดูมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น
2. ภาพทิวทัศน์ทะเล (Seascape) เป็นการเขียนภาพที่มีบรรยากาศเกี่ยวกับทะเล เช่น หาดทราย เรือประมง โขดหิน น้าทะเล และบรรยากาศทางทะเลต่างๆ รวมทั้งภาพคน สัตว์ บ้านเรือน และต้นไม้ที่ประกอบอยู่ด้วย
3. ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง (Structural Landscape) เป็นภาพเขียนที่เกี่ยวกับสิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ตึกอาคาร บ้านเรือน วัด ศาลา โบสถ์ วิหาร รวมทั้งภาพคน ภาพสัตว์ และต้นไม้ที่ประกอบอยู่ในภาพด้วย

 หลักการวาดเส้นภาพทิวทัศน์ โดยอาศัยทัศนมิติหรือทัศนียภาพ (Perspective)

การวาดภาพตามหลักทัศนมิติหรือทัศนียภาพ (Perspective) เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่สาคัญมาก เพราะจะทาให้ภาพมีมิติในเรื่องของความลึก ระยะ ใกล้-ไกล ปรากฏอยู่ในภาพ โดยมีหลักในการวาด คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดใหญ่ สิ่งที่อยู่ไกลตาจะมีขนาดเล็ก โดยการวาดเส้นภาพทิวทัศน์ ตามหลักทัศนมิติหรือทัศนียภาพ (Perspective) นั้น มี 3 แบบคือ
1. แบบจุดรวมสายตา (Vanishing Point) จุดเดียว (One Point Perspective) มีแนวเส้นระดับ ด้านหน้าขนานกับเส้นระดับตา (Horizon Line หรือ Eye Level) ส่วนด้านลึกจะไปรวมกันที่จุดรวมสายตา (VP) ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นระดับตา (HL)
2. แบบจุดรวมสายตา 2 จุด (Two Point Perspective) คือภาพ Perspective) ที่มีเส้นแนวระดับ
ทั้งด้านหน้าและด้านข้างไปรวมตรงจุดรวมสายตา (VP. 1และ VP. 2) ซึ่งอยู่ด้านซ้ายและขวา
3. แบบรวมจุดสายตา 3 จุด (Three Point Perspective) คือ ภาพ Perspective ที่คล้ายกับ
แบบจุดรวมสายตา 2 จุด แต่เพิ่มการมองจุดรวมสายตาจากจุดที่ 3 (VP. 3) ตรงตามแนวดิ่ง จุดรวมสายตาที่ 3 (VP. 3) ดูภาพได้เมื่ออยู่ทั้งด้านบนและด้านล่างของเส้น ระดับตา (HL)

ขั้นตอนการวาดเส้นภาพทิวทัศน์

อันดับแรก คือ ต้องเลือกสถานที่ซึ่งผู้วาดรู้สึกมีความประทับใจในสิ่งที่ตาเห็น ดังนั้นก่อนวาดภาพทิวทัศน์ควรเลือกทัศนียภาพที่ผู้วาดชอบ รู้สึกได้ว่าเมื่อวาดเสร็จออกมาภาพจะสวยงาม เพราะความชอบจะสร้างแรงบันดาลใจเป็นพลังที่ทาให้ผู้วาดมีความสุขและสามารถสร้างสรรค์ผลงานออกมาได้ดี

อันดับสอง คือ ใช้สายตามอง คิด และวิเคราะห์รายละเอียดของภาพทิวทัศน์ที่จะวาด ว่ามีรูปร่าง สัดส่วน ลักษณะผิว แสง สี และช่องว่าง ว่ามีลักษณะเช่นไร ภาพที่เหมาะแก่การวาดควรจะมีรายละเอียดที่ชัดเจน เมื่อวิเคราะห์แล้วจึงฝึกวาดแบบร่างก่อนหลายๆ ครั้ง เพื่อให้เกิดความแม่นยา
อันดับสาม คือ เลือกมุมมองและจัดภาพ การเลือกมุมมองของภาพสาคัญมาก ซึ่งสามารถ หามุมที่ดีได้โดยสร้างกรอบ สนามภาพ ด้วยกระดาษแข็งตัดช่องสี่เหลี่ยมตรงกลาง กว้าง 2 นิ้ว x ยาว 3 นิ้ว เพื่อนาแทนกล้องถ่ายรูป และหลักง่ายๆ ที่ภายในกรอบสนามภาพควรมีคือ จุดสนใจ เอกภาพ และดุลยภาพ
1) จุดสนใจหรือจุดเด่น ที่เป็นจุดที่สร้างความสนใจสะดุดตา และควรมีเพียงจุดเดียวทั้งภาพและ
เนื้อหาที่สื่อออกมา ไม่ควรวางจุดเด่นไว้ตรงกลางเพราะส่งผลทาให้ภาพดูตันๆ เฉยๆ นิ่งๆ ไม่มีชีวิตชีวามากนัก
2) เอกภาพ คือ การจัดภาพให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลมกลืนและสัมพันธ์กัน เพื่อป้องกันความ
สับสน
3) ดุลยภาพหรือสมดุล คือ การจัดภาพให้ถ่วงดุลกันพอดี เช่น - ซ้ายขวาเท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวาเหมือนกัน แต่ภาพจะดูธรรมดา ไม่น่าสนใจมากนัก - ซ้ายขวาไม่เท่ากัน คือ องค์ประกอบในภาพซ้ายขวาไม่เหมือนกัน แต่มองดูแล้วเท่ากัน ซึ่งจะทาให้ภาพดูน่าสนใจมากกว่าแบบแรก
5.5 มุมมองในการวาดเส้นภาพทิวทัศน์ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
1. มุมมองเหนือระดับสายตา หรือตามดมอง หมายถึง มุมที่อยู่สูงกว่าระดับสายตาของผู้วาด
2. มุมมองระดับสายตา หมายถึง มุมที่อยู่ระดับเดียวกับสายตาของผู้วาด
3. มุมระดับต่ากว่าสายตา หมายถึง มุมที่อยู่ต่ากว่าสายตาของผู้วาด
5.6 หลักการแบ่งระยะการวาดเส้นภาพทิวทัศน์ จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
1. ระยะหน้า (Fore Ground) หมายถึง สิ่งที่อยู่ใกล้สุดของภาพ
2. ระยะกลาง (Middle Ground) หมายถึง สิ่งที่อยู่ไกลกว่าระยะหน้า ต้องเขียนขนาดของสิ่งต่างๆ ให้เล็กลง
3. ระยะหลัง (Back Ground) หมายถึง สิ่งที่อยู่ไกลสุดของภาพ ต้องเขียนให้ความเด่นชัดของแสงเงาน้อยลงกว่าระยะกลางอีก [29]



ลักษณะของการเขียนรูปทิวทัศน์มีกี่ลักษณะอะไรบ้าง


ลักษณะของการเขียนรูปทิวทัศน์มีกี่ลักษณะอะไรบ้าง


ลักษณะของการเขียนรูปทิวทัศน์มีกี่ลักษณะอะไรบ้าง


ลักษณะของการเขียนรูปทิวทัศน์มีกี่ลักษณะอะไรบ้าง


ภาพวาดทิวทัศน์ เป็นภาพเขียนประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากผู้รักงานศิลปะ ด้วยเพราะภาพวาดทิวทัศน์แสดงให้เขียนถึงความงดงามของธรรมชาติในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ ทะเล ท้องฟ้า ทุ่งหญ้า ท้องนาและภาพอาคารบ้านเรือน แต่ละภาพล้วนแล้วแต่มีเรื่องราว มีที่มา มีความแตกต่างและทุกภาพมีเสน่ห์ในตัวเอง ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จิตรกร ศิลปิน และนักรับวาดรูปทั้งหลายเลือกที่จะวาดภาพทิวทัศน์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อถ่ายทอดความงดงามของทัศนียภาพเหล่านั้น

ลักษณะของการเขียนรูปทิวทัศน์มีกี่ลักษณะอะไรบ้าง

ประวัติความเป็นมาของการวาดภาพทิวทัศน์
การภาพวาดทิวทัศน์มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน โดยงานศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เป็นภาพ “ภูมิประเทศบริสุทธิ์” ซึ่งมีเพียงเส้นพื้นดิน เส้นภูเขาและต้นไม้ แต่ไม่มีภาพมนุษย์ เป็นภาพเฟรสโก ศิลปะแบบมิโนอัน ที่เขียนขึ้นราว 1,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลังจากนั้นจึงเกิดภาพทิวทัศน์ในรูปแบบต่างๆ มากมาย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาพวาดทิวทัศน์ตะวันตกและภาพวาดทิวทัศน์ศิลปะแบบจีน จนกระทั่งความนิยมในการวาดภาพทิวทัศน์นี้ได้แพร่หลายไปทั่วโลก เราจึงได้เห็นภาพทิวทัศน์ที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามของลักษณะภูมิประเทศและอาคารบ้านเรือนของประเทศต่างๆ จากจิตรกร ศิลปิน และนักรับวาดรูปทั่วโลกในปัจจุบัน

ลักษณะของการเขียนรูปทิวทัศน์มีกี่ลักษณะอะไรบ้าง

ภาพทิวทัศน์มีกี่ประเภท
ปัจจุบันภาพทิวทัศน์ที่จิตรกร ศิลปิน และนักรับวาดรูปทิวทัศน์ได้วาดมีทั้งหมด 6 ประเภท ได้แก่

1.ภาพทิวทัศน์บก เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิประเทศต่างๆ บนบก ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ ดอกไม้ ทุ่งหญ้า ท้องนา ป่าไม้ ภูเขาและแม่น้ำ
2.ภาพทิวทัศน์ทะเล เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในภูมิประเทศต่างๆ ทางทะเล อย่างเช่น หาดทราย โขดหิน คลื่น เรือ ชาวประมง สัตว์ทะเล ฯลฯ
3.ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามของสิ่งก่อสร้างและอาคารบ้านเรือนในรูปแบบต่างๆ
4.การวาดภาพทิวทัศน์แบบเหมือนจริง เป็นภาพวาดทิวทัศน์ที่จิตรกร ศิลปิน และนักรับวาดรูปวาดโดยให้มีสัดส่วน รูปร่าง สี แสงเงาและระยะใกล้ไกลเหมือนจริง
5.การวาดภาพทิวทัศน์แบบตัดทอน เป็นการวาดภาพในลักษณะของจินตนาการ โดยจิตรกร ศิลปิน และนักรับวาดรูปจะใช้สายตา ความคิดและอารมณ์ ลดทอนรูปทรงจากภาพจริง
6.การวาดภาพทิวทัศน์แบบนามธรรม เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความงดงามทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจิตรกร ศิลปิน และนักรับวาดรูปใช้อารมณ์และความรู้สึกแทนรูปทรงและความเหมือนจริง

เรื่องน่ารู้ ลักษณะของเส้นต่างๆ ที่ใช้ในการวาดภาพทิวทัศน์
การวาดภาพทิวทัศน์ให้สวยงาม จิตรกร ศิลปิน และนักรับวาดรูปจำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ หนึ่งในนั้นคือการใช้เส้นต่างๆ และจุดที่สำคัญของภาพ แสดงให้เห็นถึงมิติ ความกว้าง ความยาว ความสูงต่ำและความลึก เพื่อให้ภาพทิวทัศน์มีความเป็นธรรมชาติ เหมือนจริง แม้ภาพทิวทัศน์บางภาพจะเขียนจากจินตนาการก็ตาม ซึ่งเส้นที่สำคัญในการเขียนภาพทิวทัศน์ ได้แก่
1.เส้นขอบฟ้า (HL Horizontal Lline) เป็นเส้นที่สามารถมองเห็นได้ในระดับสายตา สามารถปรับระดับให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ตามต้องการ
2.เส้นพื้น Ground Line (GL) เป็นเส้นพื้นโลกที่มีวัตถุวางอยู่
3.เส้นวางแผ่นภาพ Ground Plane (GP) คือพื้นที่สำหรับวางแผ่นภาพ ซึ่งต้องวางตั้งฉากกับเส้นระนาบพื้นเสมอ
4.มุมมอง Station Point (SP) เป็นจุดยืนในการมองเห็นภาพ ซึ่งควรมีระยะห่างให้เห็นภาพในมุมมองที่เหมาะสม ไม่ไกลหรือใกล้จนเกินไป
5.จุดรวมสายตา Vanishing Point (VP) เป็นจุดที่สำคัญที่สุดในภาพเขียน ตั้งอยู่บนเส้นระดับสายตา อาจมีจุดเดียวหรือสองจุดก็ได้

หัวใจสำคัญของการวาดภาพทิวทัศน์
นอกจากการวาดภาพจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญ การใช้เส้นและการกำหนดสัดส่วนอย่างเหมาะสมแล้ว หัวใจสำคัญของการวาดภาพทิวทัศน์ที่จิตรกร ศิลปิน และนักรับวาดรูปคำนึงถือเสมอและช่วยให้ภาพทิวทัศน์ทุกภาพออกมาสวยงามและมีเสน่ห์ ได้แก่

1.ภาพที่เขียนเป็นภาพที่จิตรกร ศิลปิน และนักรับวาดรูปชื่นชอบและสร้างความประทับใจ
2.วิเคราะห์ภาพทิวทัศน์ที่จะเขียนและใส่ใจในทุกรายละเอียดของภาพ
3.จัดมุมมองของภาพให้เหมาะสม ให้ภายในภาพมีจุดสนใจ เอกภาพ และดุลยภาพครบถ้วน
4.จุดเด่นของภาพควรมีเพียงแค่จุดเดียวและไม่ควรวางไว้ตรงกลางเพราะจะทำให้ภาพดูน่าเบื่อ
5.ภาพเขียนทิวทัศน์ควรมีเอกภาพที่ชัดเจน กลมกลืน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
6.ควรวาดภาพทิวทัศน์ให้มีดุลยภาพที่เหมาะสม ได้สัดส่วน
7.ก่อนวาดภาพทิวทัศน์ ควรร่างภาพด้วยเส้นทัศนียภาพ จะช่วยให้ภาพมีระยะ มีมิติและมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนง่ายๆ การวาดภาพทิวทัศน์ให้สวยงาม
1.ร่างภาพทิวทัศน์โดยรวม โดยจัดภาพให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ จากนั้นร่างรายละเอียดต่างๆ ของภาพ
2.เมื่อร่างภาพทิวทัศน์โดยรวมทั้งหมดเสร็จแล้ว ให้ลงน้ำหนักให้ชัดเจนมากขึ้น
3.หากเป็นภาพลายเส้น ให้เพิ่มน้ำหนักที่องค์ประกอบต่างๆ เพิ่มแสงเงาและตกแต่งรายละเอียด เป็นอันเสร็จ
4.หากเป็นภาพเขียนสี ให้ลงสีภาพด้วยสีประเภทต่างๆ ที่เตรียมไว้ ลงสีทั้งหมด เพิ่มแสงเงาและใส่รายละเอียด เป็นอันเสร็จเช่นกัน

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวน่ารู้เกี่ยวกับภาพทิวทัศน์ที่จิตรกร ศิลปิน และนักรับวาดรูปใช้ในการสร้างสรรค์ภาพทิวทัศน์ให้สวยงาม สำหรับใครที่สนใจภาพเขียนทิวทัศน์ประเภทต่างๆ สามารถให้เรารับวาดรูปทิวทัศน์ที่คุณชื่นชอบได้ตามที่คุณต้องการ นอกจากนี้เรายังรับวาดรูปเหมือน รับวาดรูปการ์ตูนและรับวาดรูปภาพเขียนทุกชนิด รับรองว่าคุณจะต้องประทับใจในทุกงานศิลป์จากเรา

ภาพทิวทัศน์เขียนได้กี่แบบ

1. ภาพทิวทัศน์บก คือ ภาพที่แสดงความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. ภาพทิวทัศน์ทะเล คือ ภาพที่แสดงความงามของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เป็ นทะเลเป็ นหลัก เช่น ชายหาด โขดหิน คลื่น เรือ ชาวประมง ฯลฯ 3. ภาพทิวทัศน์สิ่งก่อสร้าง คือ ภาพที่แสดงความงามของอาคารบ้านเรือน และสิ่งก่อสร้าง รวมทั้งธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบๆอาคาร

ข้อใดคือลักษณะของภาพทิวทัศน์

ภาพบรรยากาศ หรือภาพทิวทัศน์คือ ทัศนียภาพที่เกิดขึ้นจากการมองเห็นสิ่งที่อยู่ ไกลออกไป เช่น ภูเขา ต้นไม้ เป็นต้น ซึ่งอาจดู ไม่ชัดเจน เนื่องจากมีตัวกลาง ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะ กั้นขวางแสงสะท้อนจากวัตถุทาให้แสง สะท้อนถึงนัยน์ตาได้น้อย ส่งผลให้มองเห็น วัตถุไม่ชัดเจน

การเขียนแบบภาพทัศนียวิทยา มีกี่มุมมอง

การวาดภาพตามหลักทัศนียภาพ (Perspective) มี 3 แบบ คือ 1.แบบจุดรวมสายตา (Vanishing Point) จุดเดียว (One Point Perspective) : มีแนวเส้นระดับ ด้านหน้าขนานกับเส้นระดับตา (Horizon Line หรือ Eye Level) ส่วนด้านลึกจะไปรวมกันที่จุดรวมสายตา (VP) ซึ่งตั้งอยู่บนเส้นระดับตา

การจัดภาพตามหลักPerspectiveมีลักษณะอย่างไร

การวาดภาพตามหลักทัศนียภาพ (Perspective) เป็นส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่ทำให้ภาพมีมิติในเรื่องของความลึก ระยะ ใกล้-ไกล ในภาพมีหลักในการวาด คือ สิ่งที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดใหญ่ สิ่งที่อยู่ใกล้ตาจะมีขนาดเล็ก