เจตคติมีองค์ประกอบกี่ด้าน อะไรบ้าง

เจตคติมีองค์ประกอบกี่ด้าน อะไรบ้าง

ความหมายของเจตคติ
เจตคติมาจากคำในภาษาอังกฤษว่า Attitude เดิมทีเรามักใช้คำว่าทัศนคติแต่ปัจจุบันเราใช้คำว่าเจตคติแทนมีผู้ให้ความหมายของคำว่าเจตคติหลายท่านดังสรุปคือ
เจตคติ หมายถึง ความรู้สึกที่คนเรามีต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดหรือหลายสิ่ง ในลักษณะที่เป็นอัตวิสัย (Subjective) อันเป็นพื้นฐานเบื้องต้น หรือการแสดงออกที่เรียกว่า พฤติกรรม
เจตคติ หมายถึง ความรู้สึก หรือท่าทีของบุคคลที่มีต่อบุคคล วัตถุสิ่งของ หรือสถานการณ์ต่างๆ ความรู้สึก หรือท่าทีจะเป็นไปในทำนองที่พึงพอใจ หรือไม่พอใจ เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้
เจตคติ  หมายถึง สภาพความคิด  ความเข้าใจและความรู้สึกเชิงประเมินที่มีต่อสิ่งต่างๆเช่น วัตถุ  สถานการณ์ ความคิด  ผู้คน เป็นต้น  ซึ่งเจตคติทำให้บุคคลมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมต่อสิ่งนั้น  ในลักษณะเฉพาะตัวตามทิศทางของทัศนคติที่มีอยู่
“เจตคติ” คือ สภาพความรู้สึกทางด้านจิตใจที่เกิดจากประสบการณ์และการเรียนรู้ของบุคคลอันเป็นผลทำให้เกิดมีท่าทีหรือมีความคิด เห็นรู้สึกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งในลักษณะที่ชอบหรือไม่ชอบ เห็นหรือไม่เห็นด้วย   เจตคติมี   ๒ ประเภทคือ เจตคติทั่วไป เจตคติเฉพาะอย่าง

องค์ประกอบของเจตคติ
องค์ประกอบของเจตคติที่สำคัญ ๓ ประการ คือ
๑.การรู้ (Cognition)  ประกอบด้วยความเชื่อของบุคคลที่มีต่อเป้าหมาย  เจตคติ  เช่น  ทัศนคติต่อลัทธิคอมมิวนิสต์  สิ่งสำคัญขององค์ประกอบนี้ก็คือ  จะประกอบด้วยความเชื่อที่ได้ประเมินค่าแล้วว่าน่าเชื่อถือหรือไม่น่าเชื่อถือ  ดีหรือไม่ดี  และยังรวมไปถึง  ความเชื่อในใจว่าควรจะมีปฏิกิริยาตอบโต้อย่างไรต่อเป้าหมายทัศนคตินั้นจึงจะเหมาะสมที่สุด  ดังนั้น  การรู้และแนวโน้มพฤติกรรมจึงมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์อย่างใกล้ชิด
๒.ความรู้สึก (Feeling)  หมายถึง  อารมณ์ที่มีต่อเป้าหมาย  เจตคติ  นั้น  เป้าหมายจะถูกมองด้วยอารมณ์ชอบหรือไม่ชอบ  ถูกใจหรือไม่ถูกใจ  ส่วนประกอบด้านอารมณ์  ความรู้สึกนี้เองที่ทำให้บุคคลเกิดความดื้อดึงยึดมั่น  ซึ่งอาจกระตุ้นให้มีปฏิกิริยาตอบโต้ได้  หากมีสิ่งที่ขัดกับความรู้สึกมากระทบ
๓.แนวโน้มพฤติกรรม (Action tendency )   หมายถึง  ความพร้อมที่จะมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับเจตคติ  ถ้าบุคคลมีเจตคติที่ดีต่อเป้าหมาย  เขาจะมีความพร้อมที่จะมีพฤติกรรมช่วยเหลือหรือสนับสนุนเป้าหมายนั้น  ถ้าบุคคลมีเจตคติในทางลบต่อเป้าหมาย  เขาก็จะมีความพร้อมที่จะมีพฤติกรรมทำลาย หรือทำร้าย  เป้าหมายนั้นเช่นกัน

เจตคติเกิดจากอะไร
เจตคติเกิดจากการเรียนรู้ของบุคคล ไม่ใช่เป็นสิ่งมีติดตัวมาแต่กำเนิด หากแต่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบสิ่งใดต้องภายหลัง เมื่อตนเองได้มีประสบการณ์ในสิ่งนั้น ๆ แล้ว ดังนั้น จึงพอสรุปได้ว่า เจตคติเกิดขึ้นจากเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
๑.การรวบรวมความคิดอันเกิดจากประสบการณ์หลาย ๆ อย่าง
๒.เกิดจากความรู้สึกที่รอยพิมพ์ใจ
๓.เกิดจากการเห็นตามคนอื่น

คุณลักษณะของเจตคติ
           เจตคติมีคุณลักษณะที่สำคัญดังนี้
1.เจตคติเกิดจากประสบการณ์ สิ่งเร้าต่าง ๆ รอบตัวบุคคล การอบรมเลี้ยงดู การเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดเจตคติ แม้ว่าจะมีประสบการณ์ที่เหมือนกันก็เป็นเจตคติที่แตกต่างกันได้ ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น สติปัญญา อายุ เป็นต้น
2.เจตคติเป็นการเตรียม หรือความพร้อมในการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เป็นการเตรียมความพร้อมภายในของจิตใจมากกว่าภายนอกที่สังเกตได้ สภาวะความพร้อมที่จะตอบสนอง มีลักษณะที่ซับซ้อนของบุคคลว่า ชอบหรือ ไม่ชอบ ยอมรับหรือไม่ยอมรับ เกี่ยวข้องกับอารมณ์ด้วย
3.เจตคติมีทิศทางของการประเมิน ทิศทางของการประเมินคือลักษณะความรู้สึกหรืออารมณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นความรู้สึกหรือประเมินว่าชอบ พอใจ เห็นด้วย ก็คือเป็นทิศทางในทางที่ดี เรียกว่าเป็นทิศทางในทางบวก และถ้าประเมินออกมาในทางไม่ดี เช่น ไม่ชอบ ไม่พอใจ ก็มีทิศทางในทางลบ เจตคติทางลบไม่ได้หมายความว่าไม่ควรมีเจตคตินั้นเป็นเพียงความรู้สึกที่ไม่ดีต่อสิ่งนั้น
4.เจตคติมีความเข้ม คือมีปริมาณมากน้อยของความรู้สึก ถ้าชอบมากหรือไม่เห็นด้วยอย่างมากก็แสดงว่ามี ความเข้มสูง ถ้าไม่ชอบเลยหรือเกลียดที่สุดก็แสดงว่ามีความเข้มสูงไปอีกทางหนึ่ง
5.เจตคติมีความคงทน เจตคติเป็นสิ่งที่บุคคลยึดมั่นถือมั่น และมีส่วนในการกำหนดพฤติกรรมของคนนั้น การยึดมั่นในเจตคติต่อสิ่งใด ทำให้การเปลี่ยนแปลงเจตคติเกิดขึ้นได้ยาก
6.เจตคติมีทั้งพฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอก พฤติกรรมภายในเป็นสภาวะทางจิตใจ ซึ่งหากไม่ได้แสดงออก ก็ไม่สามารถรู้ได้ว่าบุคคลนั้นมีเจตคติอย่างไรในเรื่องนั้น เจตคติเป็นพฤติกรรมภายนอกแสดงออกเนื่องจากถูกกระตุ้น และการกระตุ้นยังมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมอยู่ด้วย
7.เจตคติต้องมีสิ่งเร้าจึงมีการตอบสนองขึ้น ไม่จำเป็นว่าเจตคติที่แสดงออกจากพฤติกรรมภายในและพฤติกรรมภายนอกจะต้องตรงกัน เพราะก่อนแสดงออกนั้นก็จะปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพของสังคม แล้วจึงแสดงออกเป็นพฤติกรรมภายนอก

การเปลี่ยนแปลงเจตคติ
การเปลี่ยนแปลงเจตคติมี 2 ทาง
1.การเปลี่ยนแปลงในทางเดียวกัน (Congruent Change) หมายถึง เจตคติเดิมของบุคคลที่เป็นไปในทางบวกจะเพิ่มมากขึ้นในทางบวก แต่ถ้าเจตคติเป็นไปทางลบก็เพิ่มมากขึ้นในทางลบด้วย
2.การเปลี่ยนแปลงไปคนละทาง (Incongruent Change) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงเจตคติเดิมของบุคคลที่เป็นไปในทางบวกจะลดลงและไปเพิ่มทางลบ

หลักการของการเปลี่ยนแปลงเจตคติ
หลักการของการเปลี่ยนแปลงเจตคติ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกัน หรือการเปลี่ยนแปลงไป คนละทางนั้น มีหลักการว่า เจตคติที่เปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกันเปลี่ยนได้ง่ายกว่าเจตคติที่เปลี่ยนแปลงไปคนละทาง เพราะการเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกันมีความมั่นคง ความคงที่มากกว่าการเปลี่ยนแปลงไปคนละทางการเปลี่ยนแปลงเจตคติเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่อไปนี้
1.ความสุดขีด (Extremeness) เจตคติที่อยู่ปลายสุดเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าเจตคติที่ไม่รุนแรงนัก เช่น ความรักที่สุดและความเกลียดที่สุดเปลี่ยนแปลงยากกว่าความรักและความเกลียดที่ไม่มากนัก
2.ความซับซ้อน (Multicomplexity) เจตคติที่เกิดจากสาเหตุเดียวกันเปลี่ยนได้ง่ายกว่าเกิดจากหลาย ๆ สาเหตุ
3.ความคงที่ (Consistency) เจตคติที่มีลักษณะคงที่มาก หมายถึงเจตคติที่เป็นความเชื่อฝังใจ เปลี่ยนแปลงยากกว่าเจตคติทั่วไป
4.ความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่อง (Interconnectedness) เจตคติที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะที่เป็นไปในทางเดียวกันเปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าเจตคติที่มีความสัมพันธ์ไปในทางตรงกันข้าม
5ความแข็งแกร่งและจำนวนความต้องการ (Strong and Number of Wants Served) หมายถึง เจตคติที่มีความจำเป็นและความต้องการในระดับสูง เปลี่ยนแปลงได้ยากกว่าเจตคติที่ไม่แข็งแกร่งและไม่อยู่ในความต้องการ
6.ความเกี่ยวเนื่องกับค่านิยม (Centrality of Related Values) เจตคติหลายเรื่องเกี่ยวเนื่องจากค่านิยมความเชื่อว่าค่านิยมนั้นดีน่าปรารถนา และเจตคติสืบเนื่องจากค่านิยม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมนั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ยาก

เจตคติมีองค์ประกอบกี่ด้าน อะไรบ้าง

       http://www.br.ac.th/E-learning/lesson4_2.html

เจตคติมีองค์ประกอบกี่ด้าน อะไรบ้าง

เจตคติมีกี่ตัว

โดยทั่วไป เจตคติประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ประการ คือ 1. องค์ประกอบด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Component) 2. องค์ประกอบด้านความรู้สึกและอารมณ์ (Affective Component) 3. องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (Behavioural Component)

ทัศนคติคืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

1. ทัศนคติมี3 องค์ประกอบ แนวคิดนี้จะระบุว่า ทัศนคติมี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านปัญญา(Cognitive Component) ประกอบด้วยความเชื่อ ความรู้ ความคิดและ ความคิดเห็น 2) องค์ประกอบด้านอารมณ์ ความรู้สึก (Affective Component) หมายถึงความรู้สึก ชอบ - ไม่ชอบ หรือท่าทางที่ดี – ไม่ดี 3) องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (Behavioral ...

ลักษณะทั่วไปของเจตคติมีอะไรบ้าง

ลักษณะของเจตคติ 1. เจตคติไม่ใช่พฤติกรรมแต่เป็นสภาวะของจิตใจซึ่งเป็นแนวโน้มของการแสดงพฤติกรรมว่าจะ เป็นเชิงบวก หรือเชิงลบ 2. เจตคติเกิดจากการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์เมื่อบุคคลเรียนรู้ว่าสิ่งใดทำให้เกิด ความพึงพอใจ เกิดผลดีก็จะเกิดเจตคติเชิงบวก หากเป็นไปในทางตรงข้ามมักจะเกิดเจตคติเชิงลบต่อสิ่ง นั้น

เจตคติเกิดสาเหตุใดบ้าง

1. เจตคติเกิดจากประสบการณ์ สิ่งเร้าต่าง ๆ รอบตัวบุคคล การอบรมเลี้ยงดู การเรียนรู้ ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดเจตคติ แม้ว่าจะมีประสบการณ์ที่ เหมือนกันก็เป็นเจตคติที่แตกต่างกันได้ ด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น สติปัญญา อายุ เป็นต้น