การคิดค่าไฟฟ้ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง

Summary
  • ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือค่าเอฟที (Ft) งวดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 ถูกปรับเพิ่มขึ้นเป็น 24.77 สตางค์ต่อหน่วย จากงวดปัจจุบัน มกราคม-เมษายน 2565 อยู่ที่ 1.39 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าจะแพงขึ้นประมาณ 23.38 สตางค์ต่อหน่วย
  • ไทยรัฐพลัสชวนทำความเข้าใจเรื่องโครงสร้างค่าไฟฟ้าว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ค่าเอฟทีคืออะไร อยู่ตรงไหนในโครงสร้าง และแต่ละองค์ประกอบส่งผลต่อค่าไฟอย่างไร นอกจากเข้าใจโครงสร้างค่าไฟแล้ว สิ่งที่ต้องเข้าใจไปควบคู่กันคือ ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าที่เราต้องจ่าย
  • เพราะปัจจัยต่างๆ ทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มหรือลดได้ ดังนั้น เราสามารถลดค่าไฟฟ้าลงได้อย่างเห็นผลชัดเจน โดยการเปลี่ยนปัจจัยบางตัว

การคิดค่าไฟฟ้ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง

Author

รุ่งนภา พิมมะศรี

กองบรรณาธิการสายเศรษฐกิจ ไทยรัฐพลัส

  • TAG
  • #ค่าไฟฟ้า
  • #โครงสร้างค่าไฟฟ้า
  • #ค่าเอฟที
  • #ค่า Ft
  • #ค่าไฟฟ้าผันแปร
  • #ค่าไฟฟ้าฐาน
  • #การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
  • #ประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า
  • #ปัจจัยกำหนดค่าไฟฟ้า
  • #การคำนวณค่าไฟฟ้า

“ค่าไฟฟ้า” ถือเป็นรายจ่ายประจำของผู้ใช้ไฟฟ้า หรือผู้ที่เป็นเจ้าของมิเตอร์ไฟฟ้า ซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระค่าไฟฟ้าให้กับ 2 การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย คือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เป็นรายเดือน จึงต้องมีความเข้าใจใน การคำนวณค่าไฟฟ้า

ค่าไฟฟ้าของไทย กำหนดให้มีการพิจารณาปรับอัตรา ‘ค่า Ft’ หรือ ‘ค่าไฟฟ้าผันแปร’ ในทุก ๆ 4 เดือน หรือใน 1 ปี จะแบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 งวด คือ

งวดที่ 1 กำหนดเดือนมกราคม-เมษายน
งวดที่ 2 กำหนดเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม
งวดที่ 3 กำหนดเดือนกันยายน-ธันวาคม

ทั้งนี้เพื่อให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลา สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง ภายใต้การกำกับดูแลอัตราค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญของ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)

การคิดค่าไฟฟ้ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง

สูตร การคำนวณค่าไฟฟ้า บ้านพักอยู่อาศัย

การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) คิดอัตราค่าบริการต่อหน่วยเท่ากัน โดยคิดเป็นอัตราก้าวหน้า ดังนั้นหากใช้ไฟฟ้ามากเท่าไร ก็จะต้องจ่ายค่าไฟมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งกลุ่มบ้านเรือนที่อยู่อาศัยส่วนใหญ่ จะติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้า หรือมิเตอร์ขนาดไม่เกิน 5 แอมป์ 220 โวลต์ 1 เฟส 2 สาย หรือ ถูกจัดเข้าประเภทที่ 1.1.1

การคำนวณค่าไฟฟ้า ตามสูตรโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ประกอบด้วย 4 ส่วนรวมกัน คือ

1. ค่าไฟฟ้าฐาน
2. ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft)
3. ค่าบริการรายเดือน
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat)

ในสูตรคำนวณนี้ ค่าไฟฟ้าฐาน คือ ค่าการใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะคิดจากต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า โดยวิธีการคำนวณก็จะแบ่งตามประเภทผู้ใช้งาน ได้แก่

  1. ประเภทที่ 1 บ้านอยู่อาศัย
  2. ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก
  3. ประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง
  4. ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่
  5. ประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง
  6. ประเภทที่ 6 องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
  7. ประเภทที่ 7 กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร
  8. ประเภทที่ 8 ไฟฟ้าชั่วคราว

สูตร (ค่าไฟฟ้าฐาน = จำนวนยูนิต X อัตราค่ากระแสไฟฟ้าต่อหน่วย)

อัตราปกติ สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทที่ 1.1.1 (บ้านอยู่อาศัย) ดังนี้

15 หน่วยแรก : หน่วยที่ 0-15 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 2.34 บาทต่อหน่วย
10 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 16-25 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 2.98 บาทต่อหน่วย
10 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 26-35 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 3.24 บาทต่อหน่วย
65 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 36-100 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 3.62 บาทต่อหน่วย
50 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 101-150 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 3.71 บาทต่อหน่วย
250 หน่วยต่อไป : หน่วยที่ 151-400 อัตราค่าไฟฟ้า อยู่ที่ 4.22 บาทต่อหน่วย

การคิดค่าไฟฟ้ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่า Ft = จำนวนหน่วยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ x อัตราค่า Ft โดย ค่า Ft เป็นไปตามมติ กกพ. ที่จะพิจารณาในทุก ๆ 4 เดือน

ภาษีมูลค่าเพิ่ม = (ค่าไฟฟ้าฐาน + ค่า Ft + ค่าบริการรายเดือน) x 7%

ทั้งนี้อัตราค่าไฟฟ้าฐานดังกล่าว เป็นตัวอย่างอัตราที่กำหนดไว้สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย โดยในแต่ละประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า ก็จะแบ่งหน่วยการคิดค่าไฟฟ้า แยกย่อยตามแต่ละหน่วยคือ ยิ่งใช้ไฟมากก็ยิ่งจ่ายค่าไฟแพงขึ้นเท่านั้น

การคิดค่าไฟฟ้ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง

รู้แบบนี้แล้วหากต้องการจ่ายค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนไม่แพงจนเกินไป สิ่งที่ผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละประเภททำได้ด้วยตัวเอง ก็คือการประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า เพื่อลดหน่วยค่าไฟฟ้าฐาน ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของการคำนวณค่าไฟฟ้าให้ใช้น้อยที่สุด ส่วนค่า Ft และภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) นั้นเป็นองค์ประกอบที่อยู่เหนือการควบคุมของผู้ใช้ไฟฟ้าในแต่ละประเภท

อ่านข่าวเพิ่มเติม

  • กำเนิด ‘ค่า Ft’ กลไกสะท้อนต้นทุนค่าไฟฟ้า
  • ‘กกพ.’ กับ ‘แผนยุทธศาสตร์การกำกับกิจการพลังงาน’ ภารกิจที่ยิ่งใหญ่มาตลอด 13 ปี
  • ‘กกพ.’ ผู้กำกับดูแลกิจการ ‘ไฟฟ้า’ และ ‘ก๊าซธรรมชาติ’ ให้เพียงพอและมั่นคง

องค์ประกอบของค่าไฟฟ้าคืออะไร

1.องค์ประกอบของค่าไฟฟ้าประกอบด้วยอะไรบ้าง? : ค่าไฟที่เราจ่ายกันทุกเดือนประกอบด้วย 4 ส่วนหลัก คือ ค่าพลังงานไฟฟ้า (ค่าไฟฐาน) ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) ค่าบริการ และภาษีมูลค่าเพิ่ม

ข้อใดคือองค์ประกอบของค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ

ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บ ประกอบด้วย ค่าพลังงานไฟฟ้า คือ ต้นทุน และค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ระบบส่ง และจำหน่ายไฟฟ้า รวมทั้งค่าเชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ค่าบริการ คือ ต้นทุนในการอ่าน และจดหน่วย การจัดทำและส่งบิลค่าไฟฟ้า ระบบรับชำระค่าไฟฟ้า

ค่าไฟฟ้าคิดจากอะไร

กำลังไฟฟ้า (วัตต์ ) x จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า ÷ 1000 x จำนวนชั่วโมงที่ใช้ใน 1 วัน = จำนวนหน่วยต่อวัน (ยูนิต) ยกตัวอย่างการ คำนวณค่าไฟฟ้า ของบ้านพัก A ซึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 9 ชนิดดังนี้ · หลอดไฟขนาด 50 วัตต์จำนวน 10 ดวงเปิดใช้งานวันละประมาณ 6 ชั่วโมง วิธีคำนวณ

ค่าไฟฟ้าแบ่งออกเป็น2ส่วนอะไรบ้าง

7.3.2 อัตราค่าไฟฟ้า 2 ส่วน เป็นอัตราค่าไฟฟ้าที่แยกค่าความต้องการพลังไฟฟ้าและค่าพลังงานไฟฟ้าออกจากการแปลอัตราค่าความต้องการไฟฟ้าและอัตราค่าพลังงานไฟฟ้ายังเป็นแบบอัตราคงที่ประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าที่ต้องใช้อัตรานี้คือ ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3.1 กิจการขนาดกลาง