ปัญหาความขัดแย้ง มีอะไรบ้าง

“ร้อยพ่อ พันแม่” ถือเป็นสำนวนไทยที่ไม่ล้าสมัยเลย  เมื่อต่างคนต่างที่มา ความคิดเห็นย่อมต่างกัน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเกิดความขัดแย้งขึ้น แม้ว่านายจ้างจะพยายามคัดสรรบุคคลมาแล้วจากการสัมภาษณ์งานก็ตาม

ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวเสียทีเดียว เพราะบางความขัดแย้งอาจก่อให้เกิดผลดี คือ เกิดการแข่งขัน  สร้างความท้าทายให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ทำให้องค์กรอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดในปัจจุบัน แต่บางความขัดแย้งอาจฉุดความก้าวหน้าขององค์กร  ซึ่งในกรณีนี้จะต้องหาสาเหตุที่เกิดขึ้น  ตลอดจนผลกระทบเพื่อหาเทคนิคและรูปแบบที่จะนำมาแก้ไขให้ปัญหาให้เหมาะสมโดยยึดหลักความถูกต้อง  ยุติธรรม และการยอมรับเหตุผลด้วยกันทุกฝ่าย

และนี่คือ 6 กลยุทธ์ที่จะช่วยแก้ไขความขัดแย้งในที่ทำงาน

ปัญหาความขัดแย้ง มีอะไรบ้าง

1.อ้าแขนรับปัญหา | เจรจาด้วยเหตุผล

เมื่อเกิดปัญหาขึ้น “อย่าหนีปัญหา” หรือทำเฉยเพื่อให้เรื่องจบๆ ไป เพราะจะทำให้เหตุการณ์เลวร้ายลงไปกว่าเดิม การไม่สะสางปัญหาอาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นของความรู้สึกแย่ๆ ระหว่างคู่กรณี รวมไปถึงสร้างความตึงเครียดให้กับผู้ร่วมงานคนอื่นด้วย

การเผชิญหน้ากันในช่วงเวลาที่เกิดปัญหาขึ้นนี่แหละคือเวลาที่เหมาะ เพียงแต่ต้องเลือกช่วงเวลาที่ควร ที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะเจรจาเพื่อหาข้อยุติด้วยเหตุผลไม่ใช่อารมณ์

ปัญหาความขัดแย้ง มีอะไรบ้าง

2.หันหน้าคุยกัน | เลี่ยงคำพูดรุนแรง

เจรจาเพื่อหาสาเหตุของความขัดแย้งให้เจอ เช่น มาจากความแตกต่างของเป้าหมาย หรือเป็นเพราะข้อมูลที่แต่ละคนได้รับมานั้นต่างกัน  เมื่อถึงเวลาคุยกันก็จงสื่อสารในสิ่งที่เกิดขึ้นให้มากๆ จนได้รับคำตอบและข้อสรุปจากสิ่งที่เกิด

เปลี่ยนวิธีพูด วิธีถาม และหลีกเลี่ยงคำพูดรุนแรงที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์จนนำไปสู่การโต้แย้ง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการเจรจารวมไปถึงลองนั่งลงคุยกันดีๆ เพราะการนั่งคุยกันจะช่วยลดการใช้ภาษากาย หรืออารมณ์โกรธจากการโต้แย้งได้

ปัญหาความขัดแย้ง มีอะไรบ้าง

3.ฟังอย่างตั้งใจ | ป้องกันตีความผิด

สาเหตุสำคัญที่ทำให้ปัญหาความขัดแย้งลุกลาม คือ การไม่รับฟังกันอย่างจริงใจ ลองฟังคำตอบจากอีกฝ่ายบ้างเพราะอาจจะทำให้ค้นพบสาเหตุของความขัดแย้งว่าอาจมาจากการตีความที่ผิดพลาดหรือการรับรู้ข้อมูลที่ต่างกันมาก็ได้

ตระหนักให้ดีว่าในการทำงานกับคนส่วนรวมนั้นต้องอาศัยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันจึงจะทำให้งานสำเร็จไปได้ และจงลดความยุ่งเหยิง ความมั่นใจ  ความเครียด ความไม่มีเวลาพอที่จะรับฟังลง เพราะนั่นคืออุปสรรคสำคัญที่ทำให้สูญเสียสมรรถะในการฟัง

ปัญหาความขัดแย้ง มีอะไรบ้าง

4.หาข้อตกลง | ยึดงานเป็นที่ตั้ง

กำหนดประเด็นที่เห็นด้วยและบอกสาเหตุที่ไม่เห็นด้วยให้อีกฝ่ายได้รับรู้อย่างชัดเจน  เพื่อหาทางออกร่วมกันโดยยึดเป้าหมายหลักของการทำงานเป็นที่ตั้ง และเมื่อร่วมมือกันแล้วก็พยายามผ่อนปรนเงื่อนไขข้อเรียกร้องระหว่างกันเพื่อหาข้อยุติที่ทุกฝ่ายยอมรับได้

เมื่อได้ข้อตกลงร่วมกันแล้วอาจทำข้อตกลงออกมาในรูปของสัญญา แล้วให้แต่ละฝ่ายนำข้อตกลงไปปฏิบัติเพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปตามที่ระบุไว้หรือไม่ อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือหารือร่วมกันแก้ปัญหาใหม่อีกครั้งเพื่อปรับปรุงข้อตกลงให้เป็นที่พอใจของทุกฝ่าย

ปัญหาความขัดแย้ง มีอะไรบ้าง

5.หาคนกลาง | ไกล่เกลี่ยปัญหา

การมีคนกลางเข้ามาช่วยไกล่เกลี่ยความขัดแย้งนับเป็นทางออกอีกวิธีที่น่าสนใจไม่น้อย ซึ่งผู้ไกล่เกลี่ยจะทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกให้ทั้งสองฝ่าย ช่วยกำหนด วิเคราะห์และสร้างความเข้าใจในความจริงที่เกิดขึ้นทั้งหมด โดยรับฟังเงื่อนไขของปัญหาเพื่อนำไปสู่การสร้างความปรองดองโดยไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ปัญหาความขัดแย้ง มีอะไรบ้าง

6.ขอโทษให้เป็น | อภัยให้เร็ว

คงต้องยอมรับว่า “ข้อตกลงร่วม” นั้นคงไม่ใช่วิธีการที่ถูกใจใครไปเสียทั้งหมด แต่ก็ต้องยอมรับอีกด้วยว่านั่นคือวิธีที่ดีที่สุดในขณะนั้นที่จะทำให้ปัญหาต่างๆคลี่คลายลง และทำให้ทุกอย่างเดินหน้าต่อไปได้

คำแนะนำที่จะช่วยทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งเข้าสู่ภาวะปกติได้เร็ว คือ

“ขอโทษ” ความผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับคนทุกคน หากรู้ตัวแล้วก็จงกล่าวคำขอโทษให้เป็นด้วยความจริงใจ เพราะการกล่าวคำขอโทษไม่ใช่เรื่องที่น่าละอาย แต่เป็นการแสดงความกล้าหาญที่น่ายกย่องต่างหาก

“ให้อภัย” การแสดงน้ำใจที่น่านับถือที่สุด คือ การรู้จักให้อภัยผู้อื่น เปิดโอกาสให้อีกฝ่ายได้แก้ไขสิ่งที่ผิดพลาด เพื่อที่ทั้งสองฝ่ายที่เคยเกิดปัญหาจะได้กลับมาทำงานร่วมกันได้อย่างสบายใจและพร้อมเดินไปข้างหน้าด้วยกัน

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ปัญหาความขัดแย้งคืออะไร

ความขัดแย้ง เป็นสภาพการณ์หรือสถานการณ์ที่เป็นความแตกต่างที่บุคคล 2 คน หรือ มากกว่า แสดงพฤติกรรมเปิดเผยออกมาอย่างแตกต่างกัน สภาพการณ์เหล่านี้คือ ความขัดแย้ง ซึ่ง อาจเกิดจากมีการรับรู้ในเป้าหมายที่แตกต่างกัน มีความเข้าใจผิดหรือไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ มี ความต้องการที่แตกต่างกันหรือแย่งชิงในสิ่งเดียวกัน หรือต้องการความ ...

ชนิดของความขัดแย้งมีกี่ประเภท

เมื่อพิจารณาจากประเภทของความขัดแย้งข้างต้น อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือความขัดแย้งภายใน ได้แก่ ความขัดแย้งในแง่ความคิด ความรู้สึก ความเชื่อ พฤติกรรม เป้าหมายและ ทัศนคติที่แตกต่างกัน และความขัดแย้งภายนอก ได้แก่ ความขัดแย้งที่เกิดจาก ผลประโยชน์ ข้อมูล ความสัมพันธ์ค่านิยม ...

อะไรที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง

สาเหตุของความขัดแย้ง 1. การแข่งขันอันเนื่องจากทรัพยากรมีจำกัด (Scarce Resource) 2. ความขัดแย้งที่สร้างขึ้นภายในองค์การ 3. จุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน 4. จุดมุ่งหมายเหมือนกัน แต่อาจใช้วิธีการที่จะให้บรรลุจุดมุ่งหมายต่างกัน

ความขัดแย้งระหว่างบุคคล มีอะไรบ้าง

Beebe Beebe, & Redmond (1996) เสนอว่า อาจจัดแบ่งประเภทความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้เป็น 3 ประเภทคือ ความขัดแย้งแบบเทียม ความขัดแย้งพื้นฐานทั่วไป และความขัดแย้งที่เกิดจากการถือตนเองเป็นใหญ่ และ ภายใต้บริบทการสื่อสารที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน งานวิจัยเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างบุคคลผ่านสื่อออนไลน์ ประเภทต่างๆ ยังพบ ...