การละเมิดสิทธิเด็กส่งผลเสียอย่างไร

ข้อมูลจาก 662 รพ. ปี 2560 มีเด็กเกือบ 9,000 คน ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากถูกทำร้ายร่างกายและถูกล่วงละเมิดทางเพศ ส่วนผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยปี 2558-2559 มีเด็กอายุระหว่าง 1-14 ปี ประมาณ 470,000 คน เคยถูกลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรงมากที่บ้าน แต่ละปีกลับมีผู้แจ้งเหตุรุนแรงต่อเด็กผ่านสายด่วน 1300 เพียงแค่ 3,266 ราย เท่านั้น ที่มาภาพประกอบ: Pixabay

เด็กไทยถูกครอบครัวลงโทษทางร่างกายรุนแรงปีละ 4.7 แสนคน

จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2560 ซึ่งเก็บข้อมูลจากโรงพยาบาล 622 แห่งในประเทศไทย พบว่ามีเด็กเกือบ 9,000 คน ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากถูกทำร้ายร่างกายและถูกล่วงละเมิดทางเพศ ขณะเดียวกัน ผลสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทยปี 2558-2559 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า มีเด็กอายุระหว่าง 1-14 ปี จำนวนร้อยละ 4 หรือคิดเป็นประมาณ 470,000 คน เคยถูกลงโทษทางร่างกายอย่างรุนแรงมากที่บ้าน ในขณะที่แต่ละปีกลับมีผู้แจ้งเหตุรุนแรงต่อเด็กผ่านสายด่วน 1300 เพียงแค่ 3,266 ราย เท่านั้น [1]

เด็กถูกทำร้ายร่างกาย มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อสมอง-พัฒนาการ

การละเมิดสิทธิเด็กส่งผลเสียอย่างไร

มีงานวิจัยเกี่ยวกับเด็กที่ถูกทารุณกรรม พบว่าการกระทำความรุนแรงต่อเด็กมีผลต่อสมองทุกส่วน งานวิจัยในหลายๆ ประเทศระบุว่าผลของ Trauma (อาการทุกข์ทรมานใจ) จะรบกวนการทำงานของสมองอย่างมาก ที่มาภาพประกอบ: Nebeep.com

ข้อมูลจากศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็กระบุว่าเด็กที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงของครอบครัว มีอาการที่หลากหลาย ตั้งแต่ หวาดกลัวที่จะถูกทำร้าย เหม่อลอย ซึมเศร้า เก็บกด ขาดความไว้วางใจ สูญเสียสัมพันธภาพกับผู้อื่น มีปัญหาการปรับอารมณ์ มีอาการผิดปกติทางเพศ กระบวนการรู้คิดผิดปกติ ขาดแรงจูงใจพัฒนาชีวิต มีพฤติกรรมก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น สิ้นหวัง ทำร้ายตนเอง บางรายอาจรุนแรงถึงฆ่าตัวตาย ที่กล่าวมานี้เป็นผลจากบาดแผลทางใจ เป็นความเสียหายในส่วนของสมอง อาการที่พบบ่อยคือ ไม่สามารถปรับอารมณ์ มีความทนทานต่อความเครียดได้น้อย รู้สึกขาดคุณค่าในตนเอง ขาดความมั่นคงทางใจ เมื่อเผชิญความเครียดเพียงเล็กน้อยจะทำให้พบอาการต่างๆ ตามมา และไม่ใช่แต่เด็กที่ถูกทำร้ายที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น ครอบครัวของเด็กก็ถูกกระทบและมีบาดแผลที่ต้องการเยียวยาเช่นกัน

งานวิจัยเกี่ยวกับเด็กที่ถูกทารุณกรรม พบว่าการกระทำความรุนแรงต่อเด็กมีผลต่อสมองทุกส่วน งานวิจัยในหลายๆ ประเทศระบุว่าผลของ Trauma (อาการทุกข์ทรมานใจ) จะรบกวนการทำงานของสมองอย่างมาก เด็กจะมีภาวะอาการต่างๆ เหล่านี้เป็นเพราะว่าสมองไปจดจำ อย่างเช่นเด็กมีอาการกลัว เด็กมีอาการไม่มั่นคงต่างๆ เป็นเพราะสมองจำอย่างฝังแน่นในเรื่องที่ถูกกระทำ

งานวิจัยจำนวนมากยืนยันว่าถ้าเด็กถูกทารุณกรรมในช่วงอายุตั้งแต่แรกเกิดถึงไม่เกิน 2 ปี จะมีผลต่อสมองอย่างร้ายแรงเพราะจะไปทำลายโครงสร้างของการพัฒนาสมองอย่างทั่วด้าน ทำให้เกิดผลกระทบตามมานานัปการ เช่น กระบวนการเรียนรู้หรือความสามารถในการเรียนรู้มีปัญหา, ภาวะความไม่มั่นคงทางด้านจิตใจซึ่งเป็นผลมาจากถูกปล่อยปละละเลยทอดทิ้ง จนเกิดความไม่มั่นคงทางจิตใจว่าหากมีปัญหาหรือมีภัยจะมีใครมาปกป้องคุ้มครองดูแลหรือไม่ โดยเขาไม่อาจยึดถือผู้ดูแลเป็นที่พึ่งได้นั่นเอง และความสามารถในการฟื้นตัว (Resilience) ต่ำ เมื่อมีภัยหรือภาวะวิกฤติหรือปัญหาที่เข้ามาซึ่งเป็นผลโดยตรงจากถูกปล่อยปละละเลยทอดทิ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถูกปล่อยปละละเลยทางจิตใจ จนเกิดความไม่มั่นคงทางจิตใจแล้วเกิดความอ่อนแอทางจิตใจ ขาดความหวังที่จะผ่านพ้นวิกฤต เป็นต้น [2] [3]

ผู้แทน UNICEF ย้ำหากเห็นเด็กถูกทำร้าย ต้องขัดขวางหรือโทรแจ้งเหตุ

เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2562 ที่ผ่านมา ยูนิเซฟ (UNICEF) จับมือกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดตัวแคมเปญ #หนึ่งเสียงเปลี่ยนชีวิต สร้างการมีส่วนร่วมของสังคมในการหยุดยั้งความรุนแรงต่อเด็ก โดยขอให้ประชาชนตื่นตัวและรีบแจ้ง ศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 ซึ่งเป็นสายด่วนของรัฐ เมื่อพบเห็นเด็กถูกกระทำรุนแรงทุกรูปแบบ

นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวทิ้งท้ายว่า “เด็กทุกคนต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองเพื่อให้มีวัยเด็กที่ปลอดภัยและเป็นสุข  โดยไม่ควรมีเด็กคนใดต้องใช้ชีวิตอยู่กับความหวาดกลัว เราอยากเรียกร้องให้ทุกคนตื่นตัวในการปกป้องคุ้มครองเด็กก่อนที่จะสายเกินไป เพราะทุกคนต่างมีส่วนสำคัญในการยุติความรุนแรงต่อเด็กในสังคม”

            นอกจากนี้ ภาครัฐควรมีนโยบายหรือมาตรการพิเศษที่จะช่วยเอื้อให้เกิดการคุ้มครองสิทธิสตรีอย่างจริงจรัง เช่น การจัดตั้งหน่วยงาน หรือองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิสตรีและป้องกันการละเมิดสตรีขึ้นมาโดยเฉพาะ เป็นต้น

 

ผลกระทบต่อเด็ก

            1.เด็กจะเกิดปัญหาการไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง ติดยาเสพติด การติดเชื้อเอดส์ และพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม มีครอบครัวตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งยังไม่มีความพร้อมด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ และ ความสามารถในการเลี้ยงดูลูก การทำแท้ง การทอดทิ้งเด็ก อีกทั้งการใช้ความรุนแรงในครอบครัวตามมา กลายเป็นวงจรของปัญหาที่ไม่สิ้นสุด

            2.เด็กที่ถูกทอดทิ้งเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระในครอบครัวจึงต้องออกทำงาน นำมาซึ่งปัญหาการใช้แรงงานเด็กอย่างไม่เป็นธรรมและผิดกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ถูกละเมิดสิทธิและทำทารุณกรรม อีกทั้งเกิดกระบวนการล่อลวงและค้าเด็กเพื่อค้าประเวณีที่มีรูปแบบซับซ้อนมากขึ้น หรือเด็กขายบริการทางเพศด้วยความสมัครใจมีอายุน้อยลง คือ 13-15 ปีมากขึ้น (ศูนย์การศึกษาเพื่อเด็กด้อยโอกาส คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

            3.เด็กไม่สามารถเข้าถึงบริการของรัฐและสิทธิที่ควรจะได้รับ โดยเริ่มตั้งแต่คลอด เมื่อพ่อแม่ของเด็กพาเด็กมาให้ตายายเลี้ยงดูที่ต่างจังหวัด ปัญหาที่เราพบเสมอคือเด็กไม่มีหลักฐานการเกิด เนื่องจากแม่เด็กไม่ได้ทิ้งเอกสารไว้ให้หรือบางคนไม่ได้แจ้งเกิดให้กับลูก ทำให้เด็กหลายคนไม่สามารถเข้าถึงบริการของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาพยาบาล หรือการศึกษา

            4.ปัญหาต่อมาจะเกิดขึ้นกับเด็กในช่วงวัยก่อนเรียน เด็กจำนวนมากยังอยู่ในภาวะทุพโภชนาการ เนื่องจากตายายขาดความรู้ในการเลี้ยงดูเด็กและความยากจนทำให้ไม่มีเงินที่จะซื้อนมให้เด็ก บางครั้งต้องกินน้ำข้าวแทนนม เด็กจึงขาดสารอาหาร ทำให้เด็กหลายคนมีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย เป็นโรคแทรกซ้อนต่างๆ รวมทั้งมีผลต่อระดับสติปัญญาและพิการได้

ผลกระทบต่อสังคม   

1.สถิติเด็กและเยาวชนทำผิดสูงขึ้น จากรายงานคดีเกี่ยวกับเด็กที่ถูกจับเข้าสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พบว่า ความผิดฐานลักทรัพย์ ( ในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ) ทำร้ายร่างกาย ( ในความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย ) ข่มขืนกระทำชำเรา ( ในความผิดเกี่ยวกับเพศ ) ซ่องโจร อั้งยี่ ( ในความผิดเกี่ยวกับความสงบสุข ) และยาเสพติด ( ความผิดอื่น ) เป็นฐานความผิดที่มีสถิติสูงสุด จากที่เด็กเคยตกเป็นเหยื่ออันเนื่องมาจากปัญหาการทอดทิ้งเด็ก

2.ปัญหาเด็กถูกทอดทิ้งเป็นปัญหาที่สร้างภาระให้กับสังคมที่จะต้องดูแล โดยเฉพาะหน่วยที่เข้ามามีบทบาทการรับดูแลเด็กที่ถูกทอดทิ้ง