นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลมีหน้าที่อะไรบ้าง

Facebook

邮箱或手机号 密码

忘记帐户?

注册

无法处理你的请求

此请求遇到了问题。我们会尽快将它修复。

  • 返回首页

  • 中文(简体)
  • English (US)
  • 日本語
  • 한국어
  • Français (France)
  • Bahasa Indonesia
  • Polski
  • Español
  • Português (Brasil)
  • Deutsch
  • Italiano

  • 注册
  • 登录
  • Messenger
  • Facebook Lite
  • Watch
  • 地点
  • 游戏
  • Marketplace
  • Meta Pay
  • Oculus
  • Portal
  • Instagram
  • Bulletin
  • 本地
  • 筹款活动
  • 服务
  • 选民信息中心
  • 小组
  • 关于
  • 创建广告
  • 创建公共主页
  • 开发者
  • 招聘信息
  • 隐私权政策
  • Cookie
  • Ad Choices
  • 条款
  • 帮助中心
  • 联系人上传和非用户
  • 设置
  • 动态记录

Meta © 2022

ทุกวันนี้มีหลายอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากนวัตกรรมสุดล้ำที่เข้ามาอำนวยความสะดวกในการทำงาน ขณะเดียวกันก็ส่งผลให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ถ้าจะพูดถึงงานที่น่าจับตามองและมาแรงแห่งยุคต้องมีอาชีพ Data Scientist ติดอันดับแน่นอน จากข้อมูลของเว็บไซต์ Glassdoor ได้สำรวจอาชีพที่มีรายได้สูงสุดในสหรัฐอเมริกา ปี 2019 ที่ผ่านมา พบว่า Data Scientist มีรายได้สูงถึง $97,027 ต่อปี หรือคิดเป็นเงินไทยราวๆ 3,059,261 บาท อาชีพนี้จึงเป็นที่ต้องการขององค์กรยักษ์ใหญ่ทั่วโลกที่พร้อมจะอัดฉีดเงินเดือนสูงๆ ให้สมกับความรู้ความสามารถที่เป็นกำลังสำคัญให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลมีหน้าที่อะไรบ้าง

Data Scientist คืออะไร

Data Scientist หรือนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ฟังชื่อแล้วหลายคนอาจจะสงสัยว่าตกลงอาชีพ Data Scientist คืออะไรกันแน่? ทำหน้าที่เหมือนนักวิทยาศาสตร์หรือนักวิเคราะห์ข้อมูลหรือเปล่า จริงๆ แล้วชื่อเรียกก็มาจากลักษณะงานของอาชีพนี้โดยตรง ที่ทำงานวิเคราะห์ Big Data หรือข้อมูลจำนวนมหาศาลในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ สร้างสรรค์โปรโมชั่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ และยังช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคมากขึ้น  แต่ก่อนจะนำข้อมูลไปใช้ ก็ต้องผ่านขั้นตอนการตั้งสมมติฐาน ทดลอง และหาผลลัพธ์ ซึ่งถือเป็นกระบวนการหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์ (Scientist) โดยรวมแล้วบทบาทความรับผิดชอบของอาชีพ Data Scientist นั้นค่อนข้างกว้าง ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละองค์กร บางคนอาจจะทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลเพียงอย่างเดียว ขณะที่บางองค์กรต้องการคนที่สามารถนำข้อมูลมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้ 

กระบวนการทำงานของอาชีพ Data Scientist คือ

ตั้งสมมติฐาน → ค้นคว้าหาข้อมูล → วิเคราะห์ข้อมูล → สร้างแบบจำลอง → สื่อสารผลลัพธ์

ทักษะที่จำเป็น

  Data Scientist คืออาชีพที่บูรณาการองค์ความรู้หลายด้าน ทั้งทักษะทางตรง (Hard skill) และ ทักษะทางอ้อม (Soft skill) ประกอบไปด้วย

  • ความรู้ด้านคณิตศาสตร์และสถิติ

  Data Scientist คือบุคคลที่มีความรู้คณิตศาสตร์เชิงลึกและสถิติ เพื่อนำมากลั่นกรองและตีความผลลัพท์ของข้อมูล เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเองของโปรแกรมต่างๆ (Machine Learning) การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) หรือพีชคณิต (Algebra) 

  • การเขียนโปรแกรม

มีความชำนาญการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการเขียนโค้ด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ และสร้างแบบจำลองในการพัฒนาระบบหรือผลิตภัณฑ์ รวมถึงทักษะการนำเสนอข้อมูลเชิงภาพ (Visualization) สื่อสารข้อมูลออกเป็นกราฟหรือภาพที่เข้าใจได้ง่าย

  • ความรู้ด้านธุรกิจและการตลาด

ทักษะนี้สามารถศึกษาเพิ่มเติมนอกเหนือจากสาขาที่เรียนได้ อาจอาศัยประสบการณ์การทำงานร่วมด้วย ความรู้ด้านธุรกิจและทักษะการตลาดเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่แพ้ความรู้เฉพาะทางเลย เพราะจะช่วยให้ Data Scientist เข้าใจกลไกทางธุรกิจและคาดการณ์เทรนด์การตลาดได้  โดยพื้นฐานแล้วต้องเป็นผู้ที่สนใจโซเชียลมีเดียและสนใจเรื่องในกระแสสังคม เพื่อนำมาเชื่อมโยงกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาธุรกิจ

  • ทักษะการสื่อสาร

การสื่อสารอาจเป็นทักษะที่ถูกมองข้าม ทั้งที่จริงแล้วเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะ Data Scientist 

คือคนที่ต้องสื่อสารกับเพื่อนร่วมงานฝ่ายอื่นๆ เช่น ฝ่ายการตลาด ธุรกิจ เซลส์ ที่อาจไม่มีความรู้ด้าน Data โดยตรง พูดง่ายๆ ก็คือสามารถอธิบายเรื่องยากให้คนทั่วไปเข้าใจได้ โดยการเลือกวิธีนำเสนอที่เหมาะสมกับข้อมูลแต่ละประเภท ข้อมูลบางอย่างอาจจะเหมาะทำเป็นกราฟ แผนภูมิ หรือ Infographics 

เรียน Data Scentist ได้ที่ไหน

โดยทั่วไปแล้วผู้ที่ทำงานด้าน Data Scientist ในไทย จะจบการศึกษาปริญญาโทจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ สารสนเทศข้อมูล และวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพราะเป็นคณะที่สอนคณิตศาสตร์ขั้นสูงและการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมหาวิทยาลัยไทยที่เปิดสอนมีดังต่อไปนี้

1. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล

2. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ
3.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
4. มหาวิทยาลัยศิลปากร คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการข้อมูล มหาวิทยาลัยศิลปากร
5. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการข้อมูล 

ถึงแม้ Data Sceintist จะเป็นอาชีพที่องค์กรต้องการตัวและพร้อมยื่นข้อเสนอค่าตอบแทนสูงลิ่ว แต่ในไทยกลับมีผู้ประกอบอาชีพนี้ในหลักร้อยเท่านั้น ถือว่ายังเป็นที่ขาดแคลนของตลาดแรงงาน ซึ่งสำหรับใครที่สนใจเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูล และจบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์หรือไอทีอยู่แล้ว ถ้าอยากจะผันตัวมาเป็น Data Scientist ก็ควรศึกษาต่อเฉพาะทางเพื่อเพิ่มพูนความรู้ เพราะในโลกธุรกิจอาชีพนี้ยังคงเป็นที่ต้องการตัวสูงอีกหลายปีเลย คลิกสมัครงาน Data Scientist ที่นี่

#ให้ก้าวแรกของการหางานกำหนดเส้นทางชีวิตคุณ
#่jobsDB

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลมีหน้าที่อะไรบ้าง

หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจาก jobsDB ทั้ง iOS และ Android โหลดเลย

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจากcampus-star.com , brandbuffet.in.th

นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ทำงานอะไร

Data Scientist คือบุคคลที่มีความรู้คณิตศาสตร์เชิงลึกและสถิติ เพื่อนำมากลั่นกรองและตีความผลลัพท์ของข้อมูล เช่น การเรียนรู้ด้วยตนเองของโปรแกรมต่างๆ (Machine Learning) การทำเหมืองข้อมูล (Data Mining) หรือพีชคณิต (Algebra) การเขียนโปรแกรม

ข้อใดคือหน้าที่ที่สำคัญของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล

คนทำงานด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล จะนำข้อมูลที่กระจัดกระจายจากแหล่งต่างๆ มาจัดการและวิเคราะห์ เพื่อใช้ประโยชน์ตามโจทย์หรือวัตถุประสงค์การใช้งาน เช่น สร้าง Predictive Model หรือระบบอัลกอริทึมขึ้นมาประมวลผล เพื่อค้นหาอินไซต์เกี่ยวกับผู้ใช้งาน (user) หรือเก็บข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจขององค์กรบริษัท เป็นต้น และนี่คือ ...

Data Scientist ทํางานอะไร

Data Scientist” หากแปลตรงตัวคือ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ทำหน้าที่นำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิคขั้นสูง เช่น Machine Learning , OPTIMIZATION เพื่อนำข้อมูลที่วิเคราะห์ไปใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ที่ต้องการ เช่น มีข้อมูลบริษัท หนังสือพิมพ์ มีข้อมูลคนซื้อ สิ่งที่ Data Scientist จะทำ คือ เอาข้อมูลที่รู้ว่าแต่ละสาขาสั่ง ...

คุณสมบัติ ของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล มี อะไร บาง

ทักษะที่จำเป็นของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลจึงประกอบไปด้วย ทักษะด้านความรู้ (Hard Skill) คือ มีความรู้เชิงลึกในด้านคณิตศาสตร์และสถิติ (Math & Statistics) เข้าใจการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ทักษะด้านสังคม (Soft Skill) โดยเฉพาะการเข้าใจธุรกิจ ทักษะด้านการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ สื่อสารให้เห็นภาพและเข้าใจง่าย รวมถึง ...