ภาระหน้าที่ของครูมีอะไรบ้าง

ความหมายของ หน้าที่ความรับผิดชอบ และ หน้าที่และความรับผิดชอบของครู

                Collins cobuild Dictionary English Language (1987 : 442, 1574) ความหมายของหน้าที่ (Duty) ว่าหน้าที่คือ ภารกิจที่ต้องกระทำ เพราะว่า หน้าที่นั้นเป็นส่วนหนึ่งของงานตามตำแหน่งที่ได้รับมอบหมายหรือคาดหวังในสังคม

                ความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นภาวะผูกพันที่มีในแต่ละบุคคลอันเนื่องมาจากงานหรือตำแหน่งหน้าที่

                อาจสรุปความหมายของ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และ หน้าที่และความรับผิดชอบของครูได้ดังนี้

                หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องกระทำหรือกิจที่พึงกระทำ อาจจะเป็นการกระทำตามกฎหมาย จริยธรรม สามัญสำนึก หรือข้อตกลงใดๆก็ได้

                ความรับผิดชอบ หยามถึง ภาระหรือความผูกพันต่อผลที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่หรือการกระทำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นผลดีหรือผลเสียหายก็ตาม ความรับผิดชอบเป็นความผูกพันที่ทำให้บุคคลพยายามปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สำเร็จ ทั้งยังเป็นความผูกพันที่ทำให้บุคคลไม่ประพฤติผิดต่อกฎเกณฑ์หรือระเบียนใดๆ อีกด้วยความรับผิดชอบนั้นแสดงให้เห็นในลักษณะของการปฏิบัติหน้าที่อย่างเสมอ ไม่หลีกเลี่ยงและปฏิบัติภารกิจทันเวลาที่กำหนด

                หน้าที่ความรับผิดชอบของครู หมายถึง กิจที่ครูต้องกระทำให้ได้ผลดีโดยสม่ำเสมอ การกระทำของครูเพื่อให้ผลดีได้นั้นต้องอาศัยพื้นฐานของกฎระเบียน แบบธรรมเนียม จริยธรรม จรรยาบรรณและคุณธรรมเป็นปัจจัยสำคัญด้วย

                อาจกล่าวได้ว่าความรับผิดชอบในหน้าที่ของครูเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของครูที่สังคมคาดหวังเป็นภารกิจที่สังคมมอบหมายให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูกระทำ และเป็นพันธกิจผู้เป็นครูมอบให้กับสังคม

                หน้าที่ของครูในแง่คุณลักษณะที่ประสงค์นั้น รัญจวน อินทรกำแหง (2529:27) สรุปไว้ดังนี้

                1. ครูเป็นผู้ที่สามรถให้ทางแห่งความรอดแก่ศิษย์ ความรอดมีอยู่สองทาง คือ ทางรอดทางกายและทางรอดทางใจ

                2. ครูต้องสามารถดำรงความเป็นครูอยู่ได้ทุกอิริยาบถ

                3. ครูต้องสามารถเป็นตัวอย่างตามกำสอนแก่ศิษย์ สอนอย่างไรทำอย่างนั้น

                การพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบในเชิงของกฎระเบียนข้อบังคับที่ค่อนข้างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือบทบัญญัติต่างๆ เป็นลักษณะที่ค่อนข้างบังคับว่าครูต้องกระทำกิจเหล่านั้น ส่วนการพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบของครูในอีกด้านหนึ่งนั้นก็เป็นการพิจารณาหน้าที่ของครูในเชิงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เป็นไปตามแบบธรรมเนียมปฏิบัติมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมและจารีตประเพณี

ลักษณะของหน้าที่และความรับผิดชอบของครู

                หน้าที่ความรับผิดชอบของครูมี 2 ลักษณะดังนี้

                1.หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติหรือกฎหมายกำหนด

                หน้าที่ความรับผอดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติอาจพิจารณาได้จากระเบียนปฏิบัติทางราชการต่างๆ ที่กำหนดขึ้นและได้ประกาศใช้โดยหน่วยงานของราชการของรัฐ เช่น ระเบียนคุรุสภาว่าด้วย จรรยาบรรณครู พ.ศ. 2539 ประกาศจรรยาบรรณครูของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ หรือระเบียนคุรุสภาว่าด้วยวินัยและการรักษาวินัยต่างๆ

                หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติต่อบุคคลต่างๆ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพครูต้องสัมพันธ์ด้วยนั้น อาจแบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ หน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์ ต่อสถาบันวิชาชีพครูอันได้แก่ เพื่อนครูและสถานศึกษา และหน้าที่ความรับผิดชอบของครูต่อสังคมอันได้แก้ ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน หน้าที่ความรับผิดชอบของครูในเชิงระเบียนปฏิบัติหรือกฎหมายกำหนดมีดังนี้

                    1.1หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อศิษย์เป็นหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญเป็นอันดับแรก อาจสรุปหน้าที่ของครูต่อศิษย์ได้ดังนี้

                                  1.1.1 ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่

                                  1.1.2อุทิศเวลาของตนให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานมิได้

                              1.1.3ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อศิษย์

                              1.1.4สุภาพเรียบร้อย ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์

                              1.1.5รักษาความลับของศิษย์

                              1.1.6ครูต้องรักและเมตตาศิษย์โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลัใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า

                              1.1.7ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

                              1.1.8ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ทั้งทางการ วาจาและจิตใจ

                              1.1.9ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคมของศิษย์

                              1.1.10ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ และไม่ใช้ให้ศิษย์กระทำการใดๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

                     1.2 หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อสถาบันวิชาชีพครูอันได้แก่ ตนเองเพื่อนครูและสถานศึกษา

                ในการประกอบวิชาชีพครู โดยทั่วไปจะเป็นการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาที่จัดตั้งขึ้น ฉะนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของครูจะต้องมีต่อตนเอง และเพื่อนร่วมงานทั้งในระดับผู้บังคับบัญชา และบุคลากรอื่นๆ ในสถานศึกษา ซึ่งอาจจะแยกแยะได้ดังนี้

                                1.2.1ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูด้วยกันในทางสร้างสรรค์ เช่น การแนะนำแหล่งวิทยาการให้กัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางวิชาชีพซึ่งกันและกัน

                                1.2.2รักษาความสามัคคีระหว่างครู และช่วยเหลือซึ่งกันและกันในหน้าที่การงาน ไม่แบ่งพรรคแบ่งพวกคิดทำลายกลั่นแกล้งซึ่งกันและกัน เต็มใจช่วยเหลือเมื่อเพื่อนครูขอความช่วยเหลือ เช่น เป็นวิทยากรให้แก่กัน ช่วยงานเวรหรืองานพิเศษซึ่งกันและกัน

                                1.2.3ไม่แอบอ้างหรือนำผลงานทางวิชาการของเพื่อนครูมาเป็นของตนทั้งยังต้องช่วยเหลือให้เพื่อนครูอื่นๆ ได้สร้างสรรค์งานวิชาการอย่างเต็มความสามารถด้วย

                                1.2.4ประพฤติตนด้วยความสุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน และให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่ว่าจะสังกัดหน่วยงานใด

                                1.2.5ปฏิบัติตามระเบียบ และแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา

                                1.2.6รักษาชื่อเสียงของตนไม่ให้ขึ้นชื่อว่าประพฤติชั่ว ไม่กระทำการใดๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์และชื่อเสียงของครู

                                1.2.7ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม ไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่นโดยมิชอบ

                                1.2.8ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิชาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

                                1.2.9ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

                    1.3 หน้าที่และความรับผิดชอบของครูต่อสังคมอันได้แก่ ผูปกครองนักเรียนและชุมชน

                หน้าที่ความรับผิดชอบของครูนั้นย่อมอยู่ที่ศิษย์เป็นเป้าหมายสำคัญ แต่การสร้างเสริมศิษย์นั้นยังมีปัจจัยที่เกี่ยวอย่างอื่นด้วยคือผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน ครูจึงต้องมีหน้าที่และรับผิดชอบต่อสถาบันทั้งสองนั้นด้วยซึ่งอาจแยกแยะ ได้ดังนี้

                                1.3.1ครูต้องเลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ

                                1.3.2ครูต้องยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือและไม่ดูหมิ่นศาสนาอื่น

                                1.3.3ครูต้องให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองในการอบรมสั่งสอนศิษย์อย่างใกล้ชิดตลอดจนการร่วมแก้ปัญหาของศิษย์ทุกๆด้าน ทั้งด้านการศึกษาเล่าเรียน ความประพฤติ สุภาพพลานามัย ปัญหาทางจิตใจ ฯลฯ

                                1.3.4ครูต้องให้คำปรึกษาหารือและแนะนำผู้ปกครองในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในปกครองอย่างใกล้ชิด ตลอดจนแนะแนวการศึกษาต่อและการเลือกอาชีพของศิษย์

                                1.3.5ครูต้องรายงานข้อมูลต่างๆ ของศิษย์ให้ผู้ปกครองทราบสม่ำเสมอและถูกต้องไม่บิดเบือน

                                1.3.6ครูพึงให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ปกครองและชุมชนในทางสร้างสรรค์ตามความเหมาะสม

                                1.3.7ครูพึงประพฤติเป็นผู้นำในการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมและศิลปวัฒนธรรมของชุมชน

                                1.3.8ครูพึงร่วมพัฒนาชุมชนทุกๆด้าน ช่วยให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ ในการดำเนินชีวิตแก่สมาชิกทุกคนในชุมชน

                2. หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียม

                หน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมนี้ เป็นหน้าที่ที่สังคมคาดหวังให้ครูปฏิบัติ เป็นสำนึกที่สืบทอดกันมาในสังคมไทย ดังจะศึกษาได้จาก ความเป็นครูสถิตในหทัยราช ซึ่งเป็นผลงานการศึกษาค้นคว้าของ เรืองวิทย์ ลิมปนาท (2538 : 23-38) ในบทที่ว่าด้วย แนวพระราชดำริด้านการศึกษาและความเป็นครู ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลนเดช จะเห็นได้ว่าพระบรมราโชวาทในวาระและในโอกาสต่างๆนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถึงบทบาทหน้าที่ของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมสอดแทรกไว้ด้วยเสมอๆ

                นอกจากพิจารณาจากพระบรมราโชวาทต่างๆแล้ว อาจพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมได้จากคำสอนในหมวดธรรมเรื่อง การอนุเคราะห์ศิษย์ 5 ประการ ซึ่งวงการครูไทยยึดเป็นแบบปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านานดังนี้

                         2.1 แนะนำสั่งสอนดี ครูย่อมมีหน้าที่ในการแบะนะสั่งสอนวิทยาการต่างๆ โดยต้องรับผิดชอบด้วยการสั่งสอนดี ได้แก่ สอนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ สอนได้ชัดเจนหรือให้เป็นรูปธรรม สอนให้เกิดความกระตือรือร้นที่จะเล่าเรียนโดยมีกำลังใจและมั่นใจที่จะเรียนและสอนให้สนุกให้ศิษย์เรียนได้อย่างไม่เบื่อหน่ายหรือสรุปสั้นๆว่า ชี่ให้ชัด ชวนปฏิบัติลงมือกระตือรือร้น แจ่มใสสนุก

                         2.2 ให้การศึกษาเล่าเรียนดี ครูต้องเป็นผู้จัดสถานการณ์ เพื่อให้ศิษย์ได้ศึกษาเล่าเรียนได้ดี ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ด้านต่างๆ ให้ศิษย์ ตลอกจนการใช้สื่อการเรียนการสอนที่ช่วยให้ศิษย์ศึกษาเล่าเรียนได้ดี

                         2.3 บอกศิลปะให้สิ้นเชิงไม่ปิดบังอำพราง ครูต้องรับผิดชอบในศิลปะวิทยาการที่ตนสอน ต้องสอนในสิ่งที่ถูกต้อง มีความบริสุทธิ์ใจในการอบรมสั่งสอนไม่บิดเบือนวิชาการ

                         2.4 ยกย่องให้ปรากฎในหมู่เพื่อน ครูต้องช่วยเร้าหรือเสริมกำลังใจให้แก่ศิษย์ในการศึกษาเล่าเรียน ศิษย์แต่ละคนย่อมมีความสามารถและความถนัดในบางด้าน ครูต้องช่วยส่งเสริมความสามารถพิเศษนั้นให้โดดเด่นยิ่งขึ้น ครูต้องไม่ทำลายความภาคภูมิใจในตนเองของศิษย์

                          2.5 ป้องกันภัยในทิศทั้งหลาย ครูมีหน้าที่ป้องกันศิษย์โดยการแนะนำสั่งสอนให้รู้จักคุณและโทษทางสิ่งต่างๆในชีวิต ป้องกันศิษย์ไม่ให้ตกไปในทางอุบายทุกอย่าง ซึ่งอาจทำได้ทั้งการประพฤติตนเป็นแบบอย่าง ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อม คอยดูและให้ห่างไกลจากภัยทั้งหลาย

หน้าที่และความรับผิดชอบของครู

                หน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงประสงค์ของครู

                อาจวิเคราะห์หน้าที่ของครูจากระเบียนปฏิบัติราชการ การศึกษาสัมมนา และการวิจัยเกี่ยวกับหน้าที่และความรับผิดชอบของครูตามลักษณะงานครู หน้าที่ความรับผิดชอบของครุจากงานวิจัยต่างๆ ดังเช่น เฉลียว บุรีภักดีและคณะ (2520 : 235-240) วิจัยเรื่องลักษณะของครูที่ดีและสรุปได้ว่า ครูที่ดีจะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังต่อไปนี้

1.             หมั่นอบรมเด็กอยู่เสมอ

2.             ตั้งใจสอน รักการสอน

3.             จัดการปกครองให้เป็นที่เรียบร้อย

4.             เตรียมการสอน และทำการบันทึกการสอน

5.             หมั่นวัดผลและติดตามผลการเรียน

6.             รับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

7.             ช่วยให้คะแนะนำแก่เด็กด้วยความเต็มใจ

8.             สอนให้เด็กเป็นประชาธิปไตย

9.             ทำบัญชีรายชื่อ และสมุดประจำชั้น

10.      ดูแลบำรุงรักษาห้องเรียนและอาคารสถานที่

11.      เกี่ยวกับการสอน การอบรม การวัดผล

12.      เกี่ยวกับธรุการและระเบียนวินัย

13.      ค้นคว้าเพิ่มเติมและหาความรู้ใหม่ๆมาสอน

14.      สอนให้เด็กเป็นคนดี

15.      หมั่นหาความรู้และวิธีการหาความรู้

16.      เป็นตัวอย่างแก่เด็ก

17.      จัดการแนะแนวที่ดีแก่เด็ก

18.      ช่วยงานสารบรรณและธุรการโรงเรียน

19.      เอาใจใส่เด็ก

20.      บริการโรงเรียน

21.      เป็นครูประจำชั้น

22.      ทำระเบียนและสมุดรายงานนักเรียน

23.      มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี

24.      ร่วมกิจกรรมชุมชน

25.      สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง

26.      เอวใจใส่และพยายามเข้าใจปัญหาและความต้องการของเด็ก

27.      ช่วยประชาสัมพันธ์กิจการของโรงเรียนได้ดี

                จากหน้าที่และความรับผิดชอบของครูดังกล่าวแล้วนั่น อาจสรุปเป็นข้อสำคัญ โดยเทียบกับพยัญชนะ จากคำว่า TEACHERS ซึ่งในที่นี่ สรุปได้ดังนี้

                T = Teaching and Training             การสั่งสอนและการฝึกฝนวิทยาการ

                E = Ethics Instruction                      การอบรมคุณธรรมและจริยธรรม

                A = Action Research                         การวิจัยและการศึกษาค้นคว้า

                C = Cultural Heritage                       การถ่ายทอดวัฒนธรรม

                H = Human Relationship                 การสร้างมนุษย์สัมพันธ์

                E = Extra Jobs                                    การปฏิบัติงานที่พิเศษต่างๆ

                R = Reporting and Counselling     การรายงานผลนักเรียนและการแนะแนว

                S = Student Activities                      การจัดกิจกรรมนักเรียน

                หน้าที่ในการสั่งสอนและฝึกฝนวิทยาการ (Teaching and Training) ภารกิจประการแรกสุดและสำคัญที่สุดของผู้ประกอบวิชาชีพครูคือการสั่งสอนวิชาความรู้และการฝึกฝนวิทยาการให้กับศิษย์ ไม่ว่าหลักสูตรหรือปรัชญาการศึกษาจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรผู้เป็นครูก็จะต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาเล่าเรียน คุณภาพที่เด่นที่สุดของครูก็คือการสอนครูที่สอนดีคือครูที่รู้วิธีฝึกฝนศิษย์ให้มีความรู้ความเข้าใจวิชาที่เรียน การสอนของครูในยุคโลกาภิวัตน์ รุ่ง แก้งแดง (2541 : 140-146) เสนอกระบวนการสอนไว้ 10 ขั้นตอน ดังนี้

                1.ศึกษารวบรวมข้อมูลของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ครูต้องศึกษาวิเคราะห์วิจัยเพื่อทำความรู้จักกับผู้เรียนเป็นรายบุคคล ดูพัฒนาการของเด็ก ดูข้อมูลภูมิหลังพื้นความรู้ความสามารถทางการเรียน และความต้องการของผู้เรียน

                2.วิเคราะห์เพื่อค้นหาศักยภาพของผู้เรียน โดยใช้จิตวิทยาการเรียนรู้หรือเทคนิคพหุปัญญา (Multiple Intelligence) เพื่อดูว่าผู้เรียนมีศักยภาพทางปัญญาด้านไหนมากน้อยเท่าใด ครูก็จะสามารถช่วยเหลือแนะนำเพื่อจัดการศึกษาให้เสอดคล้องกับศักยภาพและความสามารถของผู้เรียนได้ การวิเคราะห์เช่นนี้ครูจะสามารถช่วยทั้งผู้เรียนที่มีสติปัญญาสูงโดยส่วนรวม หรือมีความพิการเบื้องต้น ด้านใดด้านหนึ่งก็สามารถที่จะพัฒนาไปได้เต็มตามศักยภาพ

                3.รวมกับผู้เรียนในการสร้างวิสัยทัศน์ ครูกระตุ้นความต้องการของผู้เรียนได้โดยการช่วยเด็กสร้างวิสัยทัศน์หรือความฝันที่จะไปให้ไกลที่สุด เพื่อที่จะสร้างพลังและแรงจูงใจ

                4.ร่วมวางแผนการเรียน การเรียนเป็นสิทธิความรับผิดชอบของผู้เรียนหน้าที่ของครูก็คือเป็นผู้ร่วมวางแผน เป็นผู้ให้คำแนะนำในฐานะผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญมีประสบการณ์มากกว่า แต่การวางแผนการเรียนจริงๆ นั้นต้องเป็นเรื่องของผู้เรียน เพื่อปลูกฝังให้เด็กรู้จักการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วย

                5.แนะนำช่วยเหลือเรื่องการเรียน เป็นขั้นตอนที่จะเข้ามาทดแทนขั้นตอนการสอนเดิม คือแทนที่ครูจะบอกเนื้อหาให้แบบเดิม ครูก็เพียงแต่แนะนำเนื้อหาบางส่วนและวิธีการเรียนให้ผู้เรียน

                6.สรรหาและสนับสนุนสื่ออุปกรณ์ ครูเป็นผู้สนับสนุนสรรหาสื่อและอุปกรณ์ต่างๆ จัดหาเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ใช้ประกอบการเรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนด้วยตนเองได้

                7.ให้ผู้เรียนสร้างความรู้เอง เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง ขั้นตอนนี้อาจเป็นเรื่องยากและเรื่องใหม่สำหรับครู เพราะครูที่คุ้นอยู่กับการสอนแบบเดิมจะไม่อดทนที่จะปล่อยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และจะหันกลับไปใช้วิธีบอกให้จำอย่างเดิม

                8.เสริมพลังและสร้างกำลังใจ หน้าที่ของครูอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้องเสริม พลังแก่ผู้เรียน อธิบายหรือแนะนำเพื่อให้ ผู้เรียนมีความตั้งใจที่จะเรียนต่อไป ครูต้องใช้ทุกวิธีที่จะกระตุ้นเพื่อสร้างความสนใจให้เรียนต่อไปได้

                9.ร่วมการประเมินผล หน้าที่ของครูในขั้นประเมินผลคือ จะไม่วัดผลฝ่ายเดียวแบบเดิม แต่ให้คำแนะนำเรื่องการวัดและประเมินผล โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ประเมินผลการเรียนด้วยตนเอง เพื่อดูว่าสามารถเรียนได้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ในแผนมากน้อยเพียงใด ถ้าผู้เรียนยังไม่บรรลุผลตามที่วางไว้ก็จำเป็นที่จะต้องกลับไปวางแผนและแก้ไขใหม่

                10.เก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะเป็นข้อมูลย้อนกลับ เพื่อให้ผู้เรียนนำไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขการเรียนต่อไป

                ระบบการเรียนการสอนอย่างนี้ใช้มากในต่างประเทศที่ได้ปฏิวัติให้ครูทำหน้าที่ผู้อำนวยความสะดวก และประสบความสำเร็จมาแล้ว ในวงการแพทย์ก็ใช้วิธีนี้ คือเป็นระบบให้คนไข้ดูแลตัวเองและพบว่าคนคนไข้ดูแลตัวเองได้ดีกว่าที่แพทย์ทำให้ เพราะชีวิตเป็นคนไข้แพทย์เป็นเพียงผู้ให้คำแนะนำเรื่องการรักษา

                ครูที่สอนตามกระบวนการดังกล่าวมานี้จะมีภาพลักษณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ภาพที่ครูยืนอยู่หน้าชั้นใช้เพียงชอล์กกับกระดานและบอกให้เด็กท่องจำ จะกลายเป็นอดีตไปอย่างสิ้นเชิง ครูยุคใหม่จะมีบทบาทเป็น”ผู้อำนวยความสะดวก” (Facilitator) ผู้ให้คำแนะนำและเสริมพลังแก่นักเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง

                การสอนเป็นศาสตร์ที่มีกฎเกณฑ์ลำดับและระบบ ศาสตร์แห่งการสอนเป็นวิทยาการที่ศึกษาเล่าเรียนและฝึกฝนให้แกร่งกล้าได้

                สำหรับศิลปะแห่งการสอนของครูไทยนั้นพระเทพวิสุทธิ (พุทธทาสภิกขุ 2529:139-143) อธิบายไว้ในหัวข้อเรื่อง องค์ประกอบเกี่ยวกับการสอน ดังนี้

                1.สอนเท่าที่ควรสอน การสอนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามหลักสูตรนั้น ครูสามารถกำหนดเนื้อหาสาระได้มากมาย ฉะนั้นในการสอนแต่ละครั้งครูต้องกำหนดเนื้อหาให้เหมาะสมกับวัย ความสนใจ ระยะเวลาในการสอนดังที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสว่า “สิ่งที่ตถาคตตรัสรู้ เท่ากับใบไม้ทั้งป่า เอามาสอนพวกเธอนี้เท่ากับใบไม้กำมือเดียว” ตามนัยแห่งความหมายก็คือ ให้เรียนเท่าที่ควรเรียน นั่นเอง

                2.สอนอย่างชัดเจน ครูจะสอนเรื่องอะไร ก็ต้องสอนอย่างชัดเจน บอกให้หมดว่าสิ่งนั่นคืออะไร สิ่งนั้นเป็นอย่างไร เปรียบเทียบได้กับสิ่งใด มีกี่อย่าง กี่ประเภท กี่ลักษณะ ไม่สอนให้ออกนอกเรื่อง

                3.สอนอย่างมีเหตุผลอยู่ในตัว หมายความว่าคำสอoนั้นมีเหตุผลชัดเจน มีหลักเกณฑ์ มีคำอธิบายให้พอใจ

                4.สอนชนะน้ำใจผู้เรียน หมายความว่าต้องสอนให้ผู้เรียนหมดปัญหาหมดข้อสงสัย มีคำอธิบายที่ทำให้หมดแง่ที่จะคัคค้านหรือโต้เถียง ผู้เรียนยอมรับ หรือยอมปฏิบัติตามครู

                5.สอนให้เกิดความร่าเริง หมายความว่าทั้งผู้สอนและผู้เรียน สนุกสนานในการศึกษาเล่าเรียน ไม่หงอยเหงาหรือไม่ใช่ทนฟัง ทนจำ ทนท่อง ต้องสอนให้เกิดความพอใจ

                6.สอนให้ผู้ฟังเกิดความกล้าในการที่จะปฏิบัติตาม การสอนให้เกิดความกล้า ยิ่งเรียนยิ่งกล้าอยากที่จะปฏิบัติตาม การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนปฏิบัติจะส่งเสริมให้เกิดความรู้สึกได้ด้วยตนเอง

                หน้าที่อบรมคุณธรรมและจริยธรรม (Ethics Instruction) ภารกิจสำคัญอีกประการที่สังคมคาดหวังไว้ก็คือการอบรมจริยธรรมให้แก่ศิษย์ จริยธรรมเป็นสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมต่างจากสัตว์ ครูเป็นผู้อบรมกติกาสังคมกฎเกณฑ์ของสังคม ตลอดจนกิริยามารยาทที่สังคมพึงประสงค์ให้ศิษย์ โดยทั่วไปการอบรมจริยธรรมนั้นมีหลักการสำคัญคือ ครูต้องสั่งสอนสิ่งที่ควรกระทำ สิ่งที่ควรปฏิบัติให้ก่อน ให้เข้าใจวิธีการกระทำสิ่งต่างๆ ที่ถูกที่ควร แล้วให้ศิษย์ได้ปฏิบัติได้ฝึกฝนจนได้รับรู้ผลจากการปฏิบัติดีตามนั้น ให้มีประสบการณ์ตรงว่าการประพฤติดีนั้นทำให้มีความสุขได้

                หน้าที่วิจัยและศึกษาค้นคว้า(Action Research) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการพัฒนาตัวศิษย์ ครูจึงมีหน้าที่ต้องแสวงหาคำตอบในสภาพการทางการศึกษาทุกๆ ด้านของนักเรียน ครูจึงตองศึกษาค้นคว้าและวิจัย งานทุกด้านที่เกี่ยวกับห้องเรียน โรงเรียนและตัวนักเรียนตลอดจนการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอโดยการลงมือ กระทำ

                หน้าที่ในการถ่ายทอดวัฒนธรรม (Cultural Heritage) สังคมคาดหวัง ให้ครูเป็นผู้ถ่ายทอดวัฒนธรรมของสังคมให้กับเยาวชน ซึ่งเป็นสมาชิกใหม่ของสังคมต่อจากพ่อแม่และครอบครัว หน้าที่ในการถ่ายทอดมรดกของสังคมนี้ครอบคลุมทั้งการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ดี การส่งเสริมวัฒนธรรมที่ดี และ การพัฒนาวัฒนธรรม เช่น การสัมมาคารวะ ความมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การใช้ภาษา กิริยามารยาททางสังคม ฯลฯ นอกจากนี้ยังรวมถึงการรณรงค์สร้างสรรค์วัฒนธรรมที่ดีแก่สังคม เช่น วัฒนธรรมทางการเมือง วัฒนธรรมทางการจราจร การมีวินัยต่างๆ หน้าที่ในการถ่ายทอดวัฒนธรรมนี้เป็นงานสร้างสังคมหรือสร้างชาติของครูนั่นเอง เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับบุคคลในสังคมมากมายตั้งแต่นักเรียน ผู้ปกครอง เพื่อนครู ผู้บังคับบัญชา บุคลากรในหน่วยงาน บุคลากรในชุมชน และเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องด้วย ครูต้องสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มบุคคลดังกล่าวแต่ละกลุ่มเพื่อประโยชน์ของนักเรียนและสถานศึกษา

                หน้าที่การปฏิบัติงานพิเศษต่างๆ ขององค์กร (Extra Jobs) หน้าที่ของครูที่นอกเหนือจากการสอน การอบรมและพัฒนาลูกศิษย์แล้ว ครูจำนวนมากต้องมีงานบางอย่างที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย  เป็นงานสนับสนุนการศึกษา เช่น งานธุรการโรงเรียน งานบรรณารักษ์ งานปกครอง งานอาหารกลางวัน งานตามระเบียบราชการ การตรวจเวรยาม การทำงานนอกสถานที่ ฯลฯ ซึ่งงานต่างๆ เหล่านี้บางลักษณะงานก็จำเป็นต้องใช้ความสามารถพิเศษบางประการของครู ครูจึงจำเป็นต้องศึกษา ฝึกฝน ความสามารถพิเศษบางอย่างไว้ด้วย เช่น งานคอมพิวเตอร์ ดนตรี ศิลปะ

                หน้าที่ในการรายงานผลนักเรียนและการแนะแนว (Reporting and Counselling) ครูต้องรายงานผลการพัฒนาของศิษย์ทุกๆ ด้านต่อผู้ปกครองและผู้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอครูต้องมีความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการวัดผลและประเมินผลทั้งสามารถรายงานผลได้อย่างถูกต้องทั้งทางด้านการศึกษาเล่าเรียน ความประพฤติ สุขภาพอนามัย และลักษณะนิสัยของนักเรียน นอกจากการรายงานผลซึ่งเป็นระเบียบปฏิบัติแล้ว ครูยังต้องเป็นผู้ช่วยร่วมแก้ไขและป้องกันไม่ให้ศิษย์ล้มเหลวในการศึกษาและพัฒนาการด้านต่างๆ โดยการเป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำช่วยเหลือทั้งกับตัวศิษย์และผู้ปกครองด้วย ทั้งการรายงานผลและแนะแนวต้องทำสม่ำเสมอและตรงเวลา

                หน้าที่จัดกิจกรรมนักเรียน (Student Activities) ครูต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ ของศิษย์ การจะพัฒนาให้ศิษย์มีประสบการณ์ที่เหมาะสมนั้น ครูต้องเป็นผู้จัดสภาพการณ์หรือกิจกรรมให้เหมาะสมนั่นเอง กิจกรรมนักเรียนที่ครูต้องการจัดมีตั้งแต่กิจกรรมในชั้นเรียนที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อให้ศิษย์มีโอกาสนำสิ่งที่เรียนในห้องเรียนไปใช้ และกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์ โลกทัศน์และวิสัยทัศน์ที่กว้างขวางซึ่งจะช่วยให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสำเร็จในชีวิต

หน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงประสงค์ของครู

                หน้าที่และความรับผิดชอบของครู ดังกล่าวแล้วทั้งหมดนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของศิษย์ ของตัวผู้ประกอบวิชาชีพครูและสังคมซึ่งได้แก่หน่วยงานทางการศึกษาที่ครูสังกัดตลอดจนประเทศชาติ ครูที่รับผิดชอบต่อหน้าที่ครู งานครู และมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติภารกิจให้บรรลุวัตถุประสงค์ย่อมเป็นครูที่มีความเป็นครูโดยแท้จริง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ครูเป็นไปอย่างมีคุณภาพสมกับเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่สังคมประสงค์ คุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรที่มีกฎหมายรองรับได้ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู 11 ข้อ เรียกว่า เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.. 2537 และได้ประสานงานกับสำนักงานข้าราชการครู (ก.ค) ให้ใช้เกณฑ์นี้ในการนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมงานบุคคล โดยใช้เป็นมาตรฐานในการคัดเลือกข้าราชการครูเพื่อบรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ในปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของกระทรวง

เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูของคุรุสภา พ.. 2537

                มาตรฐานที่1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ

                หมายถึง การศึกษาค้นคว้าเพื่อพัฒนาตนเอง การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ และการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิชาการ ที่องค์กรหรือหน่วยงานหรือสมาคมจัดขึ้น เช่น การประชุม การอบรม การสัมมนา และการประชุมปฏิบัติการ

                มาตรฐานที่2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ โดย คำนึงถึงผลที่จะเกิดกับผู้เรียน

                หมายถึง การเลือกแนวทางปฏิบัติอย่างชาญฉลาด ด้วยความรัก และความหวังดีต่อผู้เรียน ดังนั้นในการเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนและกิจกรรมอื่นๆ ครูต้องคำนึงถึงประโยชน์ ที่จะเกิดแก่ผู้เรียนเป็นหลัก

                มาตรฐานที่3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ

                หมายถึง การใช้ความพยายามอย่างเต็มความสามารถของครู ที่จะให้ผู้เรียนให้มากที่สุด ตามความถนัด ความสนใจ ความต้องการ โดยวิเคราะห์ วินิจฉัยปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนปรับเปลี่ยนวิธีการสอนที่จะให้ได้ผลดีกว่าเดิม รวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาการ ด้านต่างๆ ตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนอย่างเป็นระบบ

                มาตรฐานที่4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติได้เกิดผลจริง

                หมายถึง การเลือกใช้ปรับปรุง หรือสร้างแผนการสอนบันทึกการสอน หรือ เตรียมการสอนใน ลักษณะอื่นๆ ที่สามารถนำไปใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนบรรลุ ประสงค์ของการเรียนรู้

                มาตรฐานที่5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอน ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

                หมายถึง การประดิษฐ์ คิดค้น ผลิต เลือกใช้ ปรับปรุง เครื่องมืออุปกรณ์ เอกสารสิ่งพิมพ์ เทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ของการเรียนรู้

                มาตรฐานที่6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน

                หมายถึง การจัดการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการแสวงหาความรู้ตามสภาพความแตกต่างของบุคคล ด้วยการปฏิบัติจริง และสรุปความรู้ทั้งหลายได้ด้วยตนเอง ก่อให้เกิดค่านิยมและนิสัยในการปฏิบัติจนเป็นบุคลิกภาพติดต่อผู้เรียนตลอดไป

                มาตรฐานที่7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ

                หมายถึง การรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนที่เกิดจากการปฏิบัติการเรียนการสอนได้ครอบคลุมสาเหตุปัจจัย และการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง โดยครูนำเสนอรายงานการปฏิบัติในรายละเอียด ดังนี้

1.             ปัญหาความต้องการของผู้เรียนที่ต้องการได้รับการพัฒนา และเป้าหมายของการพัฒนาผู้เรียน

2.             เทคนิค วิธีการ หรือนวัตกรรมการเรียนการสอนที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน และขั้นตอนวิธีการใช้เทคนิควิธีการหรือนวัตกรรมนั้นๆ

3.             ผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามวิธีการกำหนด ที่เกิดกับผู้เรียน

4.             ขอเสนอแนะแนวทางใหม่ๆ ในการปรับปรุงและพัฒนาผู้เรียนให้ได้ผลดียิ่งขึ้น

                มาตาฐานที่8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน

                หมายถึง การแสดงออก การประพฤติและปฏิบัติ ในด้านบุคลิกภาพทั่วไปการแต่งกาย กิริยา วาจา และจริยธรรมที่เหมาะสมกับความเป็นครูอย่างสม่ำเสมอ ที่ทำให้ผู้เรียนเลื่อมใสศรัทธา และถือเป็นแบบอย่าง

                มาตรฐานที่9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์

                หมายถึง การตระหนักถึงความสำคัญ รับฟังความคิดเห็น ยอมรับความรู้ความสามารถ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ของเพื่อนร่วมงานด้วยความเต็มใจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของสถานศึกษาและร่วมรับผลที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น

                มาตรฐานที่10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน

                หมายถึง การตระหนักใน ความสำคัญรับฟังความคิดเห็น ยอมรับในความรู้ความสามารถของบุคคลอื่นใน ชุมชน และร่วมมือปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนางานของสถานศึกษา ให้ชุมชนและสถานศึกษามีการยอมรับซึ่งกันและกัน และปฏิบัติงานร่วมกันด้วยความเต็มใจ

                มาตรฐานที่11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสาร ในการพัฒนา

                หมายถึง การค้นหา สังเกต จดจำ และรวบรวมข้อมูลข่าวสารตามสถานการณ์ของสังคมทุกด้าน โดยเฉพาะ สารสนเทศเกี่ยวกับวิชาชีพครู สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างมีเหตุผล และใช้ข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาพัฒนาตนเอง พัฒนางาน และพัฒนาสังคมได้อย่างเหมาะสม

                คุรุสภาได้จัดทำชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาตนเองของครู สำหรับใช้พัฒนาครูให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานนี้  และได้ทดลองใช้กับครูจำนวน 750 คน ใน 5 จังหวัด ปรากฏว่าครูที่เข้าร่วมโครงการทดลองได้รับความพึงพอใจ และเชื่อว่าการฝึกอบรมนี้เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพครูอย่างแท้จริง

                สำหรับหน้าที่และความรับผิดชอบของครูในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมนั้น การประพฤติปฏิบัติของครู อาจพิจารณาตามแนวพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงให้ ความหมายของ ความเป็นครู ไว้ในพระบรมราโชวาทที่พระราชทานในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 25ตุลาคม 2522 ว่า

                “ความเป็นครู หมายถึง การมีความรู้ดีประกอบด้วยวิชาที่ถูกต้องแน่นแฟ้นและแจ่มแจ้งแก่ใจ รวมทั้งคุณความดีและความเอื้ออารี ปรารถนาที่จะถ่ายทอดเผื่อแผ่ให้ผู้อื่นได้มีความรู้ความเข้าใจที่ดีด้วย ความแจ่มแจ้งแน่ชัดในใจย่อมทำให้สามารถส่องแสดงความรู้ออกมาให้เข้าใจตามได้โดยง่ายทั้งในการปฏิบัติงานก็ย่อมทำให้ผู้ร่วมงานได้เข้างานโดยแจ่มชัด ส่วนความหวังดีโดยบริสุทธิ์ใจนั้น จะน้อมนำให้เกิดศรัทธาแจ่มใสมีใจพร้อมที่จะรับความรู้ด้วยความเบิกบาน ทั้งพร้อมที่ร่วมกับผู้อื่นที่มีคุณสมบัติของครูโดยเต็มใจและมั่นใจ ดังนี้ ก็จะทำให้กิจการใดๆที่กระทำอยู่ดำเนินไปโดยสะดวกราบรื่นและสำเร็จประโยชน์ที่มั่งหมายโดยสมบูรณ์”

สรุปเรื่องหน้าที่ของครู

                โดยวัฒนธรรมไทยนั้นสังคมจะยกย่องครูให้อยู่ในฐานะที่สูงอยู่แล้ว เพราะสังคมไทยเคารพว่าผู้เป็นครูย่อมเป็นผู้มีวิชาแกร่งกล้าสามารถสอบผู้อื่นได้ ทั้งต้องเป็นผู้มีจิตใจเอื้ออารีมีเมตตาและปรารถนาดีต่อผู้อื่น จึงยอมถ่ายทอดวิชาความรู้ต่างๆ ให้ ฉะนั้นในเชิงจารีตและแบบธรรมเนียมไทย ครูต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อศิษย์ โดยสั่งสอนให้ศิษย์มีความรู้ เข้าใจสิ่งที่เรียน ให้สามารถนำวิชาที่เรียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตได้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่อวิชาของครูด้วย คือต้องมีความรู้จริง รู้สึกซึ้งแจ่มแจ้งจนสามารถสอนให้ศิษย์เข้าใจตามได้โดยง่าย ประการสุดท้ายครูต้องมีหน้าที่และรับผิดชอบต่องานและผู้ร่วมงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดี ทั้งยังช่วยให้ผู้ร่วมงานทำงานอย่างสมบูรณ์ด้วยนั่นเอง

                หน้าที่และความรับผิดชอบของครูมีมากมายหลายด้าน แต่อาจกำหนดภารกิจเป็นลักษณะงานได้ 8 ด้าน คือ งานสั่งสอนและฝึกฝนวิทยาการ งานอบรมคุณธรรมและจริยธรรม งานวิจัยและการศึกษาค้นคว้า งานถ่ายทอดวัฒนธรรม งานมนุษย์สัมพันธ์ งานหน้าที่พิเศษต่างๆ งานรายงานผลนักเรียนและการแนะแนว และงานกิจกรรมนักเรียน ซึ่งหากว่าผู้ประกอบวิชาชีพครูสามารถปฏิบัติได้ครบถ้วน ให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ได้ทุกงานดังกล่าวก็ได้ชื่อว่าเป็นครูผู้มีความรับผิดชอบ และหากว่าผู้ประกอบวิชาชีพครูปฏิบัติด้วยใจ มุ่งมั่น และมีสำนึกก็ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความเป็นครูที่ประสบความสำเร็จในอาชีพครู อย่างไรก็ตามสำหรับครูในยุคโลกาภิวัตน์นี้ ได้มีกรอบหรือกฎเกณฑ์สำหรับกำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู เป็นวิธีการตรวจสอบที่เป็นรูปธรรมโดยคุรุสภาซึ่งเป็นองค์วิชาชีพครู เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูดังกล่าวมี 11 มาตรฐาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นที่การจักกระบวนการในการเรียนการสอนให้กับศิษย์เป็นสำคัญ ทั้งนี้เพราะหน้าที่หลักของครูนั้นย่อมอยู่ที่ศิษย์ ความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของครูก็เป็นความรับผิดชอบที่มีต่อศิษย์นั่นเอง