จริยธรรมการวิจัยมีอะไรบ้าง

หลักการเคารพในบุคคล
แสดงโดยการเคารพในศักดิ์ศรีของคนหรือกลุ่มชน จาก

  • การขอคำยินยอมโดยบอกกล่าวและให้อิสระในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการวิจัย (Respect for free and informed consent)
  • การไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัว (Respect for privacy) เช่น ไม่รุกล้ำร่างกาย หรือไม่ถามเรื่องส่วนตัวโดยไม่จำเป็นต่อการวิจัย หรือไม่ขอคำยินยอม
  • การเก็บรักษาความลับผู้ป่วย/อาสาสมัคร (Respect for confidentiality)
  • การดูแลกลุ่มศึกษาที่เปราะบางอย่างเหมาะสมและดำเนินการด้วยความระมัดระวัง (Respect for vulnerable person) เช่น เด็กและผู้เยาว์ กลุ่มผู้ต้องขัง ผู้ป่วยวิกฤติ
  • ไม่มีส่วนลบหลู่ความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมใด ๆ ในโครงการวิจัย

หลักการให้คุณประโยชน์
แสดงโดยการปรับโครงการวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดและความเสี่ยงหรือภยันตรายน้อยที่สุด (Balancing risk and benefit: Minimizing risk, Maximizing benefit)

  • หลักการและเหตุผลที่ต้องทำวิจัย การออกแบบวิจัย ได้มาซึ่งคำตอบต่อคำถามการวิจัยได้อย่างถูกต้อง (Scientific merit)
  • ประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับโดยตรงการรักษาหรือวิจัย ทั้งนี้ ไม่นับเงินตอบแทน รางวัล (remuneration) ที่ให้กับผู้ป่วย/อาสาสมัคร
  • ประโยชน์ที่ผู้ป่วยคนอื่น ๆ จะได้รับจากผลการศึกษา
  • ประโยชน์ที่วงการวิทยาศาสตร์ได้รับ
  • ประโยชน์เหนือว่าภยันตรายที่เกิดขึ้นต่อตัวผู้ป่วย/อาสาสมัคร และชุมชน
  • ผลเสียทางกาย (Physical harm) เช่น
    • เจ็บเล็กน้อยจากเข็มฉีดยา
    • อันตรายจากผลข้างเคียงของยา,
    • การบาดเจ็บจากการผ่าตัด, หรือ
    • ความไม่สะดวกสบาย (discomfort) จากการต้องลืมตาโดยไม่กระพริบนาน 10 นาที เป็นต้น
  • ผลเสียทางใจ (Psychological harm) ได้แก่
    • ความเครียด อารมณ์เปลี่ยนแปลง เกิดภาพหลอน ฯลฯ ซึ่งเป็นผลของยา
    • ความอับอาย เช่น การถามผู้ป่วย/อาสาสมัครเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด
    • การวิจัยที่ทำให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคร้ายแรง โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดถึงบุตรหลาน เป็นต้น
  • ผลเสียต่อฐานะทางการเงินและสถานะทางสังคมของผู้ป่วย/อาสาสมัคร (Social and Economic harms) เช่น
    • การเข้าร่วมโครงการวิจัยทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นมากเกินจำเป็น
    • เสียเวลาโดยไม่มีค่าชดเชย เป็นต้น
  • ผลเสียต่อสถานะสังคม, การจ้างงาน ของผู้ป่วย/อาสาสมัคร, การรับโทษทางกฎหมาย การสูญเสียสิทธิด้านประกันชีวิต ฯลฯ
  • ผลการวิจัยไม่ทำลายความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

หลักความยุติธรรม
แสดงโดย

  • ไม่แบ่งแยกกลุ่มตัวอย่างตามเพศ ฐานะ เชื้อชาติ สีผิว เพื่อให้การกระจายประโยชน์และความเสี่ยงเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม (Distributive justice)
  • การให้ยารักษาฟรีแก่กลุ่มตัวอย่างต่อไปอีกระยะหนึ่งหลังเสร็จสิ้นการวิจัยไปแล้ว
  • กระบวนการพิจารณาเชิงจริยธรรมที่มีมาตรฐานและโปร่งใส เช่น การแสดงผลประโยชน์ขัดกัน (conflict of interest) ขั้นตอนการพิจารณาที่เที่ยงธรรม 

Skip to content

จริยธรรมการวิจัย

การเสริมสร้างการวิจัยและพัฒนา เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) การวิจัยและพัฒนาอย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามแนวทางจริยธรรมการวิจัยและกฏหมายที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่พึงตระหนัก สวทช. ได้จัดตั้งฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (The Office of Research Integrity, ORI) เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมการวิจัยให้ถูกต้อง สอดคล้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งรับผิดชอบในการรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนทางด้านพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัย (Research Misconduct) เพื่อนำเรื่องร้องเรียนเข้าสู่กระบวนการสืบสวนและพิจารณาต่อไป

Research integrity หมายถึง ความซื่อสัตย์สุจริตในการวิจัย โดยการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ แนวทาง มาตรฐานวิชาชีพ และหลักจริยธรรมการวิจัย ซึ่งในทางปฏิบัติ คือ การทำวิจัยในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นมีความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในวิธีการทดลองที่ใช้และผลการวิจัยที่เกิดขึ้น โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่

  • ความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ในการนำเสนองานวิจัย การทำวิจัย และการรายงานผลวิจัย
  • การแจ้งหรือประกาศการขัดกันของผลประโยชน์ (Conflicts of Interest)
  • ความถูกต้องและเป็นธรรม ในการมีส่วนร่วมต่อข้อเสนอโครงการวิจัยและการรายงานผล
  • การปกป้องคุ้มครองอาสาสมัครตามหลักจรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์
  • การประชุม World Conference on Research Integrity (WCRI) ครั้งที่ 6
    • เอกสารแนบ
    • รับชมย้อนหลัง
  • การดูแลและปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมตามหลักจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
  • การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มวิจัยในเชิงวิชาการ การสื่อสาร และการแบ่งปันข้อมูลหรือทรัพยากร
  • ความยึดมั่นต่อการรับผิดชอบร่วมกันระหว่างที่นักวิจัยที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงและผู้ฝึกปฏิบัติงาน
  • ความเชี่ยวชาญและเป็นธรรมในการตรวจทานงานวิจัย

แจ้งเบาะแสและร้องเรียนพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สวทช.

เพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของ สวทช. ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และเชื่อถือได้สอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ในกรณีที่มีข้อสงสัย หรือพบเห็นการกระทำ/พฤติกรรมที่อาจมิชอบทางการวิจัย (Research misconduct) ที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. ได้แก่

1. Fabrication การสร้างข้อมูลเท็จหรือการปั้นแต่งข้อมูลวิจัย
2. Falsification การปลอมแปลงข้อมูลหรือผลการวิจัย
3. Plagiarism การคัดลอกงานวิจัยของตนเองและผู้อื่น โดยไม่มีการอ้างถึง แหล่งข้อมูลที่ได้มา
4. อื่นๆ

ท่านสามารถแจ้งเบาะแสและร้องเรียนพฤติกรรมที่อาจมิชอบทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. ผ่านทางช่องทางที่ให้ไว้ด้านล่าง

ทั้งนี้:

1. สวทช. จะรักษาข้อมูลที่ได้รับเป็นความลับ จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลและตัวตนของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน และผู้ถูกร้องเรียนต่อสาธารณชน
2. ข้อมูลการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนที่ระบุต้องเป็นความจริง
3. หากข้อมูลไม่เพียงพอที่จะดำเนินการตรวจสอบและสืบหาข้อเท็จจริงได้ สวทช. จะยุติเรื่อง และเก็บบันทึกเป็นข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
4. ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนสามารถเลือกเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ระบุชื่อ-สกุล หรือ อีเมล์ของท่าน อย่างไรก็ตาม การให้ชื่อและอีเมล์จะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลและการสืบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล

ข้อมูลสำหรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน

1. รายละเอียดเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบทางจริยธรรมการวิจัย (โปรดแนบหลักฐานเพิ่มเติม)*
2. อีเมล์
3. ชื่อ-สกุล

หมายเหตุ: ข้อมูลสำหรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน ข้อ 2) อีเมล์ และ 3) ชื่อ-สกุล ผู้แจ้งเบาะแสสามารถละเว้นไว้หรือใช้อีเมล์แฝง/นามแฝงได้ อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลในการติดต่อกลับ จะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลและการสืบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล

ท่านสามารถส่งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนของท่านมาที่อีเมล์: [email protected]
หรือแจ้งเบาะแสผ่านทางระบบออนไลน์ คลิก

ติดต่อ-สอบถาม

ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.)

Email: [email protected]
โทรศัพท์: 0-2564-7000 ต่อ 71842

จริยธรรมทางการวิจัยคืออะไร

จริยธรรมการวิจัย (research ethics) หมายถึง หลักเกณฑ์ที่ควรประพฤติปฏิบัติของ นักวิจัยเพื่อให้การด าเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้น ฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม (ส านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2541 อ้างใน สินธะวา คามดิษฐ์, 2550: 262)

ทำไมต้องมีจริยธรรมในการทำวิจัย

เหตุที่ต้องมีการพิจารณาจริยธรรมในงานวิจัย มีกรอบแนวคิดว่าโดยปกติคนต้องอยู่ในกรอบของศีลธรรม นักวิจัยเองก็ต้องมีศีลธรรมเป็นพื้นฐาน นอกจากนั้นนักวิจัยเป็นผู้สรรหาความรู้ใหม่ และความรู้นี้ต้องถูกเผยแพร่ไปสู่บุคคลอื่นด้วย ดังนั้นนักวิจัยจึงจำเป็นต้องมีจรรยาบรรณนักวิจัยเพิ่มเติมจากศีลธรรมด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยในคน ...
แบบฟอร์มการให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูล (Informed Consent Form หรือ ICF) ที่สมบูรณ์ต้อง ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) เอกสารข้อมูลค าอธิบายสาหรับผู้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในการวิจัย (participant information sheet) 2) เอกสารแสดงความยินยอมเข้าร่วมการวิจัย (consent form)

ข้อใด คือ กฎเกณฑ์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ฉบับแรก

ในปีค.ศ. 1964 แพทยสมาคมโลก (World Medical Association) ออกประกาศ Declaration of Helsinki (ปฏิญญาเฮลซิงกิ) ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานจริยธรรมอันแรกของการวิจัยทางชีวเวชศาสตร์สาหรับ แพทย์ ในประกาศนี้ให้การวิจัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หมายรวมถึงการศึกษาตัวอย่างหรือข้อมูลที่ สามารถบ่งชี้ตัวผู้ป่วยด้วย และยังกาหนดว่า ...