วิศวกรรมศาสตร์ สอบอะไรบ้าง 66

วิศวกรรมศาสตร์ สอบอะไรบ้าง 66
วิศวกรรมศาสตร์ สอบอะไรบ้าง 66

Show

สมัครแล้ว

อัปเดต 24 พ.ย. 2565 เวลา 08.15 น.

มธุริน สมบูรณ์เลิศศิริ

โรงเรียน สามเสนวิทยาลัย

24 พฤษจิกายน 2565 เวลา 08.15 น.

ผู้สมัครสอบใหม่

(สอบออนไลน์ผ่านระแบบคอมพิวเตอร์)

Pre-Order

หนังสือรวมแนวข้อสอบ TCAS’66

โรงเรียนสมัครสอบ

TCAS’66 ให้นักเรียนฟรี !

เข้าสอบ

เข้าสอบห้องสอบ TCAS’66 !

Report

ประกาศผลสอบ PRETCAS

เนื้อหาอืนๆ

คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะยอดฮิตของน้อง ๆ เป็นคณะที่ใครหลาย ๆ คนอยากจะสอบติด และถือเป็นอีกหนึ่งคณะที่มีการแข่งขันสูงในทุก ๆ ปี การเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการสอบจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ที่จะพาเราไปยังเป้าหมาย และประสบความสำเร็จสอบติดคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้อย่างที่ตั้งใจ วันนี้พี่วีวี่จะมาสรุปให้น้อง ๆ ทุกคนได้รู้ว่าการสอบเข้าคณะวิศวะ ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง และเทคนิคการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการพิชิตเป้าหมายในครั้งนี้ต้องทำอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลยค่ะ

อยากเรียนวิศวะ ต้องสอบวิชาอะไรบ้าง

วิศวกรรมศาสตร์ สอบอะไรบ้าง 66

วิศวกรรมศาสตร์ สอบอะไรบ้าง 66

จากเกณฑ์น้ำหนักคะแนนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่พี่วีวี่ได้ยกตัวอย่างมาน้อง ๆ จะเห็นว่าหลาย ๆ มหาลัยจะใช้คะแนนของวิชา ความถนัดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือ TPAT3 เป็นหลัก

ซึ่งสำหรับ TPAT3 จะมีความแตกต่างจาก PAT3 เดิมที่น้อง ๆ เคยได้ยินมา PAT3 จะเป็นการวัดความสามารถเชิงวิชาการที่น้องได้เรียนมา ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์ ความถนัดทางวิศวกรรม ความรู้ทั่วไปเชิงวิศวกรรม และการเขียนแบบทางวิศวกรรม แต่สำหรับ TPAT3 จะเป็นการวัดความถนัดที่ไม่ได้เน้นในเชิงวิชาการหนัก ๆ เหมือน PAT3 (อ้างอิงจากตัวอย่างข้อสอบที่ทาง ทปอ. ได้ประกาศมา) 

เตรียมตัวยังไงให้ทัน ?

มีน้อง ๆ หลายคนถามพี่วีวี่เข้ามาว่า ถ้าเตรียมตัวตอนนี้ยังทันมั้ย พี่วีวี่ขอตอบเลยว่า ทัน !!! เตรียมตัวสอบวันนี้ ดีกว่าเริ่มเตรียมตัวพรุ่งนี้แน่ ๆ เพราะถ้าเริ่มพรุ่งนี้เราก็จะเสียเวลาวันนี้ไป 1 วันสำหรับการเตรียมตัวสอบ ดังนั้นเริ่มเตรียมตั้งแต่วันนี้ดีที่สุดนะน้อง ๆ ในช่วงเวลาที่เหลือเราต้องเตรียมอะไรบ้าง พี่วีวี่ขอเสนอแผนการเตรียมตัวสำหรับสอบเข้าคณะวิศวะให้น้อง ๆ ได้นำไปปรับใช้กันนะคะ

วิศวกรรมศาสตร์ สอบอะไรบ้าง 66

ช่วงเดือน พ.ย. จะเป็นช่วงเวลาที่น้อง ๆ ควรฝึกฝนทำโจทย์ TGAT และ TPAT3 แบบจริงจัง 

ควรจะหาข้อสอบมาทำเป็นชุด จำลองเหมือนสนามสอบจริง และหาเทคนิคในการทำโจทย์ที่ช่วยลดเวลาการทำโจทย์ในห้องสอบของเราลงได้มาฝึกให้คล่อง ถ้าอยากหาตัวช่วยในการเตรียมตัวสอบในช่วงนี้

น้องก็สามารถลงเรียนคอร์สตะลุยโจทย์ที่กระชับ ใช้เวลาไม่เยอะในการติว แต่ตรงประเด็น ตรงตาม Test Blueprint มีเทคนิคที่ใช้ได้จริงในห้องสอบ ซึ่ง We By The Brain ก็มีคอร์ส TPAT3 Battle field

ที่เป็นลักษณะติวเข้ม + ตะลุยโจทย์ แบบนี้เช่นกัน น้อง ๆ ที่สนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดคอร์ส TPAT3 Battle field ได้

ในช่วงเดือน ธ.ค. TGAT และ TPAT3 จะสอบในวันเดียวกัน คือ วันที่ 10 ธันวาคม 2565 ดังนั้นในช่วงโค้งสุดท้ายนี้ เราต้องทำให้เต็มที่ที่สุดนะน้อง ก่อนวันสอบอย่าหักโหมอ่านหนังสือจนไม่ได้นอนนะ วันที่ 9 ควรจะเป็นวันพักผ่อนเคลียร์สมองก่อนสอบในวันรุ่งขึ้นนะ เตรียมตัวให้ดี อะไรที่ต้องเอาไปในวันสอบเตรียมให้พร้อมตั้งแต่วันที่ 9 นะน้อง ๆ 

วันที่ 10 ธันวาคม 2565 ขอให้เป็นวันที่ดีของเรา ขอให้น้อง ๆ ทำได้ ได้คะแนนอย่างที่เราต้องการ และใช้ยื่นเพื่อเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่น้อง ๆ ต้องการ ได้อย่างที่หวังกันทุกคนนะคะ หลังจากสอบเสร็จวันนี้เราต้องมาเก็บในส่วนของ A-Level วิชาที่เหลือที่เราต้องสอบแล้วนะ

5 เทคนิคเตรียมตัวติดวิศวะ

หาข้อมูลมหาลัยที่อยากเข้า และวางแผนการอ่านหนังสือให้ดี

ว่าที่เด็กวิศวะทุกคนจะมีสกิลแฝงบางอย่างที่ติดตัวเรามา นั่นคือการเป็นนักวิเคราะห์ หาข้อมูล และวางแผน ดังนั้นใช้มันให้เกิดประโยชน์ตั้งแต่ยังไม่เข้าเรียนในคณะเลยค่ะน้อง ๆ เราต้องเก็บข้อมูล ภาคและมหาลัยที่เราอยากเข้าว่าเค้าให้สัดส่วนน้ำหนักคะแนนเน้นไปที่วิชาไหน จุดไหนที่ต้องเน้นแล้ววางแผนการอ่านหนังสือในวิชานั้นแบบเน้น ๆ ไปเลย เช่น ถ้าเราอยากเข้าคณะวิศว จุฬาฯ ภาคทั่วไป เราจะเห็นแล้วว่านอกจากคะแนน TGAT และ TPAT3 เรายังต้องใช้คะแนนอีก 3 วิชา นั่นคือ A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 (พื้นฐาน+เพิ่มเติม) (20%) A-Level ฟิสิกส์ (20%) และ A-Level เคมี (15%) เราจะสามารถวางแผนได้แล้วว่าวิชาที่ต้องเน้น หลังจากสอบ TGAT TPAT3 ไปแล้วนั่นคือ วิชาคณิตศาสตร์ วิชาฟิสิกส์ ( 2 วิชานี้สำคัญพอ ๆ กันหากดูจากน้ำหนักคะแนน ) และวิชาเคมี ( อันนี้ลำดับความสำคัญจะรองลงมา ) นั่นเอง

ทุกครั้งที่ทำโจทย์ ต้องวิเคราะห์จุดผิดพลาดของตัวเองเสมอ

อย่ากลัวการทำโจทย์แล้วผิด การทำแล้วผิด ทำแล้วไม่ตรงกับเฉลยในวันนี้ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว จงกลัวการทำผิดในห้องสอบจะดีกว่า การทำผิดขณะเรากำลังฝึกนั่นคือจุดดีด้วยซ้ำ เพราะมันจะทำให้เราไม่ประมาท รอบคอบมากยิ่งขึ้นในห้องสอบ และทำให้เราอุดจุดอ่อนได้ทันเวลาก่อนวันสอบจริง เพราะฉะนั้นทำแล้วผิดต้องวิเคราะห์จุดผิดพลาดนั้นเสมอแล้ว Short Note เอาไว้ ตรงไหนไม่แม่น ตรงไหนที่ลืม ตรงไหนที่ยังไม่เข้าใจ ต้องกลับมาทบทวนซ้ำบ่อย ๆ นะน้อง

การจับเวลาเสมือนสอบจริง คือเรื่องที่ต้องทำ

คู่แข่งที่สำคัญในการสอบ ไม่ใช่เพื่อนเราที่นั่งอยู่โต๊ะข้าง ๆ แต่ คือ “เวลา” เราควรฝึกบริหารจัดการเวลาตั้งแต่ที่บ้าน ไม่ควรไปฝึกในห้องสอบเด็ดขาด การฝึกจับเวลาทำข้อสอบจะช่วยลดความประหม่าในวันสอบจริง และจะทำให้เราสามารถประเมินตัวเองได้ว่าเรากำลังทำได้ตามเป้าหรือเปล่า หรือเรากำลังช้ากว่าที่ควรจะเป็น เช่น สำหรับสนามสอบ A-Level คณิตศาสตร์ น้องจะมีเวลา 90 นาที กับโจทย์ 30 ข้อ แสดงว่าทุก ๆ 30 นาที เราต้องทำได้ 10 ข้อ ถ้าได้น้อยกว่านี้แสดงว่าเรากำลังช้าเกินไป แต่ถ้าได้มากกว่า 10 ข้อ แสดงว่าเราทำเวลาได้ดีนั่นเอง

การพักผ่อนให้เพียงพอก่อนวันสอบคือเรื่องสำคัญ

การโหมอ่านหนังสือ หรือทำโจทย์แบบอดหลับอดนอนก่อนสอบ(One Night Miracle) ไม่ใช่เรื่องที่ดี เพราะจะทำให้สมองของเราไม่ปลอดโปร่ง ไม่พร้อมที่จะเผชิญกับข้อสอบในวันรุ่งขึ้น ขาดความคิดสร้างสรรค์ ยิ่งเพิ่มความกดดันและความเครียดต่อตัวเราในวันสอบ ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่ดีอย่างที่เราต้องการ ดังนั้นพักผ่อนให้เพียงพอก่อนวันสอบด้วยนะน้อง ๆ 

การเรียน การสอบที่โรงเรียน ไม่ควรละเลย

น้องหลาย ๆ คนอาจเข้าใจว่าเกรดไม่ใช่สิ่งที่จำเป็นสำหรับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ( เกรดก็แค่ตัวเลขพี่! ) ซึ่งจริง ๆ แล้วในปัจจุบัน บางคณะ บางมหาวิทยาลัย เราจะต้องใช้เกรดในการยื่นสอบเข้าด้วย เช่น คณะวิศวะ โยธา ของ ม.บูรพา ในรอบที่ 3 เราจะต้องใช้เกรดในการยื่นสอบเข้าด้วย หรือบางมหาวิทยาลัยเกรดจะใช้เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำในการยื่นสอบเข้าคณะนั้น ๆ ด้วย เช่น คณะวิศวะ จุฬาฯ ผู้ที่จะได้รับคัดเลือกจะต้องมี GPAX ขั้นต่ำ 2.00 ดังนั้นเกรดในโรงเรียนก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น้อง ๆ ห้ามทิ้งโดยเด็ดขาด

เดี๋ยวก่อนนนนน….ขอแถมอีก 1 เทคนิค เรียนพิเศษ ติวเพิ่ม เพื่อเก็บเทคนิคและเสริมความมั่นใจ

ในบางครั้งการที่มีอาจารย์มาบอก หรือมาสอนเทคนิคให้เรา ก็เป็นตัวช่วยหนึ่งที่จะพาเราไปสู่ความสำเร็จได้เช่นกัน ดังนั้นเพื่อเพิ่มความเข้าใจในการเรียนของเรา และเสริมเทคนิคที่จะช่วยในการทำข้อสอบของเราได้ การเรียนพิเศษเพิ่มก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่มีประโยชน์กับการเตรียมตัวสอบของเราด้วยนั่นเอง หวังว่าบทความของพี่วีวี่จะมีประโยชน์กับน้อง ๆ ทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านนะคะสุดท้ายนี้ ขอให้น้อง ๆ ทุกคนที่ได้เปิดเข้ามาอ่านบทความ อ่านมาจนถึงบรรทัดสุดท้าย ประสบความสำเร็จ สอบติดในคณะที่น้องใฝ่ฝัน ในมหาลัยที่น้องต้องการ ขอให้ความพยายาม ความอดทนทุก ๆ อย่างที่น้องได้ทำมา ส่งผลให้น้องเป็นเด็กที่สำเร็จ ติดวิศวะ ดังหวังกันทุกคนนะคะ

วิศวกรรมศาสตร์ สอบอะไรบ้าง 66

เข้าวิศวะ สอบอะไรบ้าง 66

วิชาที่ต้องสอบสำหรับน้องๆ ที่อยากสอบเข้าวิศวะ.
O-NET..
9 วิชาสามัญ.
GAT ความถนัดทั่วไป.
PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์.
PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์.
PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์.

วิศวะ ใช้ 9 วิชาสามัญ อะไรบ้าง 66

GAT/PAT.
GAT 1 : การอ่าน การเขียน การคิดการวิเคราะห์ และการแก้ปัญหา.
GAT 2 : การสื่อสารภาษาอังกฤษ (Expressions, Vocabulary, Reading Comprehension, Structure and Writing).
PAT 1 : คณิตศาสตร์.
PAT 2 : วิทยาศาสตร์.
PAT 3 : วิศวกรรมศาสตร์.
PAT 4 : สถาปัตยกรรมศาสตร์.
PAT 5 : วิชาชีพครู.
PAT 6 : ศิลปกรรมศาสตร์.

เข้ามหาลัยต้องสอบอะไรบ้าง 66

แบ่งการสอบเป็น 3 ส่วน 1. การสื่อสารภาษาอังกฤษ (English Communication) 2. การคิดอย่างมีเหตุผล (Critical and Logical Thinking) 3. สมรรถนะการทำงานในอนาคต (Future Workforce Competencies).
ความถนัดทั่วไป : TGAT (Thai General Apititude Test) ... .
วัดความถนัดทางวิชาชีพ : TPAT (Thai Professional Aptitude Test).

โลจิสติกส์ สอบอะไรบ้าง 66

โลจิสติกส์.
วิชาสามัญ คณิตศาสตร์ประยุกต์ ประกอบด้วย 2 ส่วน – คณิตศาสตร์พื้นฐาน – คณิตศาสตร์เพิ่มเติม.
วิชาสามัญ วิทยาศาสตร์ประยุกต์.
วิชาสามัญ ฟิสิกส์.
วิชาสามัญ เคมี.
วิชาสามัญ ชีววิทยา.
วิชาสามัญ ภาษาไทย.
วิชาสามัญ สังคมศึกษา.
วิชาสามัญ ภาษาอังกฤษ.