ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็กมีอะไรบ้าง

จากการที่ได้มีโอกาสไปประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัย พบว่าเด็กแต่ละคนมีการพัฒนาการที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะที่เห็นได้ชัดเจน คือ อารมณ์ การพัฒนาการทางอารมณ์ในวัยเด็กเป็นเรื่องสำคัญที่อาจมีผลถึงความเป็นผู้ใหญ่ต่อไป การพัฒนาการทางอารมณ์ เด็กวัย 2-5 ขวบ ส่วนใหญ่อารมณ์จะเปลี่ยนแปลงง่าย และจะแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ออกมาอย่างเปิดเผย ดังนั้นการอบรมเลี้ยงดูจากพ่อแม่และสภาพแวดล้อมทางสังคม จะมีผลต่อการพัฒนาการทางอารมณ์อย่างมาก เช่น เด็กที่เติบโตขึ้นจากสภาพแวดล้อมสงบเงียบได้รับความรักเอาใจใส่ และการตอบสนองความต้องการสม่ำเสมอพ่อแม่มีอารมณ์คงเส้นคงวา จะเติบโตขึ้นเป็นคนที่มีอารมณ์มั่นคงกว่า เด็กที่มีสภาพแวดล้อมที่ตรงกันข้าม จะเป็นคนที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย(สมพร สุทัศนีย์,2547) ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาการทางอารมณ์มีหลากหลายด้วยกัน เช่น พันธุกรรม การเจ็บป่วย การเจริญเติบโตของสมอง สังคม และสิ่งแวดล้อม ในที่นี้จะกล่าวถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นปัจจัยที่สามารถแก้ไขได้ง่าย

ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการพัฒนาการทางอารมณ์ได้ดังนี้

  1. ระดับวุฒิภาวะ(Maturity)ของผู้เลี้ยงดู ผู้เลี้ยงดูที่อารมณ์เปลี่ยนปลงบ่อย เด็กจะปรับตัวตามไม่ทันจึง

เกิดการแสดงอารมณ์อิสระของตนเองออกมา หรือ อารมณ์กลัวเพราะปฏิบัติไม่ถูก ขาดความกล้าในการแสดงออก  การเรียนรู้(Learning) ของเด็กปฐมวัย เป็นผลจากประสบการณ์ที่ได้รับรู้ ได้สัมผัส จากการปฏิบัติ อบรมสั่งสอน และการปฏิสัมพันธ์

  1. รูปแบบการอบรมเลี้ยงดู แบบแผนของครอบครัว บางครอบครัวจะกำหนดข้อปฏิบัติต่างๆ ไว้

มากมาย และการปฏิบัติถูกกำหนดขึ้นที่ละน้อยๆ แต่แรกเริ่ม จนเป็นลักษณะนิสัย เช่นการกำหนดข้อปฏิบัติทำให้เด็กต้องปฏิบัติตามรูปแบบที่กำหนด จนขาดความเป็นผู้นำ ขาดความมั่นใจเมื่อโตขึ้นการเลี้ยงดูแบบเอื้ออาทร ให้ความรัก ความอบอุ่น เด็กจะเกิดความเห็นใจ เข้าใจสังคม การเลี้ยงดูแบบตามใจ ให้อิสระทุกอย่าง เด็กจะเป็นผู้ใหญ่ที่ชอบสบายๆ ไม่ชอบระเบียบ วินัย เป็นต้น ดังนั้นการอบรมเลี้ยงดูที่ดี จะทำให้เด็กวัยนี้มีพัฒนาการทางอารมณ์ที่เหมาะสมกับวัย และเป็นผู้ใหญ่ที่มารมณ์ที่มั่นคงในสังคมได้ เด็กที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวมักมีสาเหตุมาจากการขาดความรัก ความเอาใจใส่ การอบรมสั่งสอน ความอบอุ่นในครอบครัว ซึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการตามวัยของเด็กหยุดชะงักหรือล้มเหลวได้

  1. สถานภาพของครอบครัว ครอบครัวจุดเริ่มต้นของชีวิตเด็กทุกคน ลักษณะครอบครัว โครงสร้าง

ขนาดจำนวนสมาชิกในครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว ฐานะเศรษฐกิจและสังคม เด็กที่มาจากครอบครัวขยาย จะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างอบอุ่น มีความเข้าใจผู้อื่น รู้จักแบ่งปัน มีโอกาสได้เห็น ได้รับรู้ที่หลากหลาย กว่าครอบครัวเดี่ยวแม้จะมีขนาดเล็กก็มีความเป็น ตัวของตัวเองใน การอบรมดูแลเด็กไปในทิศทางเดียวกัน ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับบทบาทของพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ในการให้เวลาที่เหมาะสม ให้รูปแบบการดูแล และให้ความสัมพันธ์อันดีในครอบครัว ทำให้เด็กเกิดความมั่นคงทางจิตใจและมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดีได้

  1. สื่อ เทคโนโยยีต่างๆ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้การติดต่อ สื่อสารเป็นไปได้

อย่างรวดเร็วทำให้เด็กปฐมวัยได้รับข้อมูลเร็ว ประกอบกับเด็กวัยนี้มีการเลียนแบบได้เร็ว เมื่อเด็กได้รับการถ่ายทอดสิ่งใดและเป็นสิ่งที่เร้าความสนใจ เด็กมักจดจำและทำตามทันที โดยสะท้อนออกมาในคำพูดและการกระทำอย่างเด่นชัด เนื่องจากวัยนี้เด็กจะแสดงออกอย่างเปิดเผยอยู่แล้ว ดังนั้นหากเด็กวัยนี้ได้รับข้อมูลจากสื่อที่ดี ก็จะทำให้เด็กมีพฤติกรรม อารมณ์ที่ดีได้

วัยเด็ก เป็นช่วงชีวิตที่มีการเปลี่ยนแปลงมากมาย รวมทั้งมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องจนถึงวัยผู้ใหญ่ เด็กที่มีการเจริญเติบโตช้าอาจจะบ่งบอกถึงความผิดปกติของโรคบางอย่างที่ซ่อนเร้นอยู่และควรได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมแต่เนิ่น ๆ เราจะทราบได้ว่าเด็กเจริญเติบโตได้เหมาะสมหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโต (growth chart) ดังรูป ถ้าเด็กมีการเจริญเติบโตเบี่ยงไปจากเส้นกราฟปกติ ควรนำเด็กมาปรึกษาแพทย์

ปัจจัยที่มีผลกับการเจริญเติบโตของเด็ก มีหลายปัจจัย ได้แก่

  1. กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด
  2. โภชนาการที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
  3. การนอนหลับที่เพียงพออย่างน้อยวันละ 8-10 ชม
  4. การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง
  5. ความเจ็บป่วย โรคเรื้อรังที่ซ่อนเร้นอยู่ที่ทำให้เด็กเติบโตช้าได้
  6. ยาบางกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มยาสเตียรอยด์ ซึ่งถ้าได้รับปริมาณมากจะมีผลต่อการเจริญเติบโต
  7. ฮอร์โมน มีฮอร์โมนหลายอย่าง ซึ่งหากมีปริมาณน้อยจะมีผลทำให้เด็กไม่เติบโตได้

ทราบได้อย่างไรว่าลูกเติบโตช้า มีวิธีการสังเกตง่าย ๆ ดังนี้

  1. ตัวเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับพี่น้องท้องเดียวกันเมื่ออายุเท่า ๆ กัน
  2. ตัวเล็กกว่าเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน
  3. มีอัตราการเจริญเติบโตลดลงโดยเปรียบเทียบในกราฟการเจริญเติบโตหรือไม่เติบโตเลย
  4. ส่วนสูงอยู่ต่ำกว่าเส้นล่างสุดของกราฟการเจริญเติบโต ตามเพศและอายุของเด็ก

กินอาหารอย่างไรที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโต

การเลือกกินอาหารที่เหมาะสมได้สัดส่วนจะทำให้ร่างกายเจริญเติบโตอย่างเหมาะสม มีสุขภาพดีและไม่อ้วน ลักษณะอาหารที่ควรกินคือ

  1. ควรรับประทานอาหารครบ 5 หมู่คือข้าวแป้ง เนื้อสัตว์และนม ไขมัน ผักและผลไม้อย่างสมดุล
  2. ดื่มนมวันละ 2-3 แก้วเพื่อให้ได้แคลเซียมเพียงพอ
  3. ควรรับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้เป็นประจำเพื่อให้ได้ใยอาหาร
  4. รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเป็นประจำเช่น ตับ เนื้อสัตว์ ไข่แดง ผักใบเขียว
  5. ไม่ควรกินอาหารรสหวานจัดและอาหารประเภทน้ำตาลมาก
  6. หลีกเลี่ยงอาหารที่มันมากเกินไป เช่นทอดน้ำมัน
  7. หลีกเลี่ยงน้ำอัดลมและของขบเคี้ยวเช่น ขนมหวาน ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น

ฮอร์โมนอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต?

ฮอร์โมนถูกหลั่งจากต่อมต่าง ๆ เข้าสู่กระแสเลือดไปมีผลต่อการทำงานของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย การเจริญเติบโตก็อาศัยฮอร์โมนหลายชนิดได้แก่

  1. ฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone)
  2. ฮอร์โมนไทรอยด์ (thyroid hormone)
  3. ฮอร์โมนเพศ ซึ่งปกติจะสร้างจากต่อมเพศ ถ้าไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ เด็กจะเติบโตช้าและไม่มีอาการแสดงของการเข้าสู่วัยหนุ่มสาว
  4. คอร์ติซอล (cortisol) สร้างจากต่อมหมวกไต เป็นฮอร์โมนที่ตอบสนองต่อสภาวะเครียด หากมีมากเกินไป จะมีผลรบกวนการเจริญเติบโตได้

ภาวะตัวเตี้ยปกติ (normal variant short stature)

เป็นภาวะที่พบได้บ่อย ไม่ได้มีโรคอะไรซ่อนเร้นอยู่ และไม่ต้องทำการรักษาใด ๆ ได้แก่

  1. เตี้ยตามพันธุ์ (familial short stature) คือ เด็กที่ตัวเล็กสืบเนื่องจากบิดาและมารดาตัวเล็ก
  2. เตี้ยชนิด “ ม้าตีนปลาย ” (constitutional delayed growth and puberty) เด็กกลุ่มนี้จะเตี้ยร่วมกับเข้าสู่วัยหนุ่มวัยสาวช้ากว่าเด็กทั่วไป มักได้ประวัติการเข้าสู่วัยหนุ่มสาวช้าในบิดาและมารดาร่วมด้วย เช่น มารดามีประจำเดือนครั้งแรกอายุ 15 ปี

การประเมินเด็กที่มีรูปร่างเตี้ย

กุมารแพทย์จะประเมินดูอัตราการเจริญเติบโต และเปรียบเทียบกับกราฟการเจริญเติบโต หากสงสัยว่ามีความผิดปกติ แพทย์ผู้ดูแลก็จะแนะนำให้รับการตรวจเพิ่มเติมจากกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านต่อมไร้ท่อต่อไป

ปัจจัยใดบ้างที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต

แบ่งออกเป็น 3 ปัจจัย ดังนี้ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม การอบรม เลี้ยงดู

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นมีอะไรบ้าง

วัยรุ่นเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย อารมณ์และจิตใจ สังคม และสติปัญญา ในแต่ละบุคคลจะมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการแตกต่างกัน ทั้งนี้ เนื่องมาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ ประการแรก คือ พันธุกรรม การท างานของ ต่อมไร้ท่อ พื้นฐานทางอารมณ์และจิตใจ ปัจจัยด้านอายุ พฤติกรรมสุขภาพ สภาพแวดล้อมทางสังคม การอบรม ...

ปัจจัยใดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการในช่วงวัยเรียนและวัยรุ่นมากที่สุด

พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม และการอบรมเลี้ยงดู เป็นปัจจัยสําคัญที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโต และพัฒนาการ ทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญาในวัยรุ่น