คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่ดีมีอะไรบ้าง

ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์ นอกจากความสวยงาม น่าสนใจแล้ว สิ่งที่หลายคนลืม ไม่เคยนึกถึง หรือ อาจจะไม่รู้เลยด้วยซ้ำ ว่าจะต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เข้ามาร่วมด้วยในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์ด้วย

ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 

เป็นเรื่องแรก ๆ ที่เราควรต้องรู้ว่าสินค้าของเราเหมาะกับใคร ผู้ประกอบการต้องเข้าใจความต้องการของตลาด ความต้องการของผู้บริโภค โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เพื่อที่จะออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์ให้ตรงต่อความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด เช่น วัย เพศ อายุ ที่อยู่อาศัย ลักษณะความชอบ ความต้องการในการใช้สินค้า 

การกำหนดกลุ่มเป้าหมายนอกจากคำนึงถึงตัวอย่างที่กล่าวมาแล้ว เรียกว่ากลุ่มเป้าหมายโดยตรง เรายังต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายที่ผู้ซื้อแต่ไม่ได้บริโภคเองด้วย เช่น ของฝาก อาหารเด็ก น้ำหอม เครื่องประดับ โดยผู้ซื้ออาจจะไม่ได้นำไปบริโภคเองแต่ซื้อเพราะนำไปให้คนอื่น ดังนั้นปัจจัยเหล่านี้ต้องรวมเข้าไปในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วย

2. กำหนดชื่อตราสินค้า

ชื่อสินค้าก็เปรียบเหมือน “ชื่อคน” หากกำหนดให้เรียกยากเกินไปก็ไม่เกิดการจดจำเพราะจำยาก หากกำหนดให้เขียนยาก-สะกดยากก็ไม่เกิดการจดจำอีกเช่นกัน

ส่วนมากผู้ประกอบการมักจะนำชื่อบริษัท สถานที่ตั้ง ชื่อจดทะเบียน ชื่อตนเอง ชื่อที่เป็นมงคล คำอื่น ๆ ที่นำมาผสมกันให้เกิดคำ หรือเกิดชื่อที่เป็นมงคล ฯลฯ

ดังนั้นหลักการที่ควรจำในการกำหนดชื่อตราสินค้าควรเป็นดังนี้

  • จดจำง่าย อ่านง่าย เขียนง่าย 
  • มีเอกลักษณ์ โดดเด่น
  • ไม่พยายามลอกเลียนแบรนด์อื่น หรือ ทำให้เกิดความเข้าใจผิด
  • บอกถึงคุณสมบัติสินค้า
  • ไม่เป็นคำที่ชวนให้เข้าใจผิดไปจากคุณสมบัติสินค้า
  • จดทะเบียนได้ โดยไม่ซ้ำกับแบรนด์อื่น

เหล่านี้ล้วนเป็นหลักการคร่าว ๆ ของการกำหนดชื่อตราสินค้า โดยนำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสม

3. วัสดุที่ใช้ผลิตในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์

วัสดุมีความสำคัญในแง่ของความแข็งแรงในการขนส่ง สร้างภาพลักษณ์ให้ผลิตภัณฑ์ ปกป้องผลิตภัณฑ์ไม่ให้เกิดความเสียหาย

ดังนั้นวัสดุจึงมีความสำคัญในการออกแบบผลิตภัณฑ์ และ บรรจุภัณฑ์เป็นอย่างมาก ต้องคำนึงถึงความเหมาะสมทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ของเรา เช่น มิตรต่อผู้ใช้ และ สิ่งแวดล้อม รีไซเคิลได้ ย่อยสลายได้ ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ผลิตจากธรรมชาติ กันน้ำ แข็งแรง คุณภาพสูงต้นทุนต่ำ ฯลฯ

4. รูปทรงลักษณะบรรจุของบรรจุภัณฑ์

นอกจากความสวยงามแล้ว ควรคำนึงถึงความคงทนในการขนส่ง ภาพลักษณ์ของสินค้า การสร้างความน่าสนใจ ง่ายต่อการใช้งาน มีเอกลักษณ์แต่สามารถใช้งานได้จริง

5. การออกแบบกราฟิก

เราลองนึกถึงเวลาเราเลือกผลิตภัณฑ์ชนิดใดชนิดหนึ่งในตลาดดูสิครับ สินค้าออกใหม่เหมือนกัน ชนิดเดียวกัน ประเภทเดียวกัน ราคาเท่ากัน วางอยู่ในชั้นขายสินค้าอันเดียวกัน อะไรคือเหตุผลว่าเราจะหยิบสินค้าชิ้นไหน

ไมว่าจะเป็น สินค้า หรือ บริการ การออกแบบรูปลักษณะ วิธีการบริการ ถือเป็นกลุยุทธ์ที่สำคัญต่อการสร้างความพึงพอใจ ของลูกค้า

แยกให้ได้นะครับ ผลิตภัณฑ์ ไม่ใช่เพียงแค่ตรายี่ห้อ หรือ บรรจุภัณฑ์ กล่องที่ใส่ เหล่านี้เป็นแค่ “กรอบภายนอก” ทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการเท่านั้น ทั้งสองเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของ ผลิตภัณฑ์ สินค้าหรือบริการที่เรากำลังจะผลิตขึ้นมา

6 แนวทางการออกแบบ ผลิตภัณฑ์ ให้โดนใจลูกค้า

1.รูปทรง

ต้องเหมาะสมกับงาน และสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินชีวิต (Life Style) ของลูกค้า จะทำให้ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี  ยิ่งเหมาะสมกับลูกค้าเราเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นที่ต้องการ ดีกว่าไม่มีรูปลักษณ์ รูปทรงอะไรเลย

รูปทรง รูปลักษณ์ ควรสอดคล้องกับแนวคิดผลิตภัณฑ์ ของเราด้วย ไม่ใช่ว่า แนวคิดธุรกิจสินค้าเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม แต่รูปทรงออกไปแนวไฮเทค อาจจะไม่เข้ากันเสียเท่าไหร่

2.สี

สีมีผลต่อการตัดสินใจซื้อเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเรื่องของอารมณ์ โทนสีร้อน เย็น ต้องดูด้วยว่าลูกค้าเราเป็นกลุ่มไหน ลูกค้าเราเป็นใคร และสีที่นำมาใช้ต้องการสื่อสารอะไรกับลูกค้าที่พบเห็น

3. ขนาด

ขนาดต้องเหมาะสมในการหยิบ จับ ใช้ ของกลุ่มลูกค้า เราต้องศึกษาให้ชัดเจนว่าขนาดไหนที่เหมาะสม เล็กไป ใหญ่ไป ก็ไม่ดีนะครับ เอาที่ลูกค้าใช้แล้วโอเค

ตัวอย่าง ยาสีฟัน  มีการกำหนดขนาด ต่าง ๆ ตามพฤติกรรมของลูกค้า เช่น ขนาดครอบครัว ใช้ที่บ้านก็ขนาดใหญ่หน่อย และขนาดเล็กเพื่อความสะดวกในการเดินทาง

4.คุณภาพของผลิตภัณฑ์

ระบบการควบคุมคุณภาพสินค้า เราต้องโฟกัสตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต จนได้เป็นสิน้า เท่านั้นยังไม่พอต้องไปถึงมือของลูกค้าใช้แล้วปลอดภัย คุณภาพต้องนำราคา

5.การรับประกันคุณภาพ

เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค การรับประกัน ต้องสอดคล้องกับการออกแบบคุณภาพสินค้า ว่ามีขอบเขตแค่ไหนบ้าง เช่น เราซื้อ คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค หรือ smartphone ก็จะมีระยะเวลาในการรับประกัน ในการเปลี่ยน ซ่อม ดูแลต่าง ๆ แต่ทั้งหมดก็จะมีเงื่อนไขเรื่องเวลาจำกัด

6.การบริการ

เราต้องแปลงคำว่า “บริการ” ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ เป็นการอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า เช่น การจัดส่ง การติดตั้ง บริการหลังการขายต่าง ๆ เหล่านี้เราต้องออกแบบควบคู่ไปกับสินค้าของเราตั้งแต่ต้นว่าจะทำอย่างไร

การออกแบบภาพรวบของผลิตภัณฑ์สินค้าเราตั้งแต่แต่ย่อมส่งผลดีกว่าการที่ทำไปแก้ไป ไม่มีทิศทาง อาจจะเสียเวลาในการออกแบบทั้งหมด แต่หากเราเข้าใจกฎ 80/20 ที่ว่า

ทำงานเรื่องการวางแผน ออกแบบ 80%  ตอนนำไปผลิตจะทำให้เราใช้เวลาแค่ 20%  ทุกอย่างจะสำเร็จ แต่หากเราวางแผนออกแบบ 20% แล้วออกไปลุย ลงมือทำเราอาจจะต้องเสียเวลากว่า 80% ในการแก้ปัญหาที่ไม่รู้จบก็เป็นได้

ผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องมีทักษะด้านใดบ้าง

ทักษะด้านศิลปะ การจัดองค์ประกอบ สี และสุนทรียะความสวยงาม.
ทักษะการสื่อสาร รวมทั้งการนำเสนอผลงาน ให้เข้าใจง่ายและสื่อถึงรูปแบบงาน.
ทักษะการจัดการเวลา การวางแผนการทำงานภายใต้เงื่อนไขของเวลา.
ทักษะการนำเสนองาน เพราะจบงานง่าย เห็นภาพตรงกัน.

คุณสมบัติข้อใดบ้างที่จำเป็นต่อความเป็น "นักออกแบบ" ที่ดี

7 แนวทางสู่การเป็นนักออกแบบที่ประสบความสำเร็จ!.
1. หมั่นเรียนรู้ เพิ่มทักษะ ... .
2. ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ... .
3. คิดนอกกรอบ ... .
4. เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ... .
5. เก็บเกี่ยวประสบการณ์ ... .
6. สร้างเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ... .
7. สร้างโอกาส.

คุณสมบัติของนักออกแบบคืออะไร

ทักษะที่ควรมี ทักษะการคิดวิเคราะห์ นักออกแบบจะต้องตีโจทย์ให้ออก และแก้ปัญหาผ่านการออกแบบ เพื่อการสื่อสารให้ได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง ทักษะการสื่อสาร ข้อแรก คือการขายงาน สามารถนำเสนอ อธิบายแนวคิดของตัวเองให้คนอื่นเข้าใจ ข้อสอง ต้องเข้าใจพื้นฐานจิตวิทยาการสื่อสาร การรับรู้ของคน เพื่อใช้ในงานออกแบบ

ใครเป็นผู้มีคุณสมบัติของผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์

คุณสมบัติของนักออกแบบที่ดี.
1. เป็นผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเชื่อมั่นในตนเอง ... .
2. เป็นผู้ที่มีทักษะในการออกแบบ ... .
3. เป็นผู้ที่รู้จักสังเกตและทำความเข้าใจกับสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว ซึ่งมีทั้งสภาพทางธรรมชาติ และสิ่งต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ.