แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักเรียนและเยาวชนในชุมชนมีอะไรบ้าง

แนวทางในการแก้ปัญหาหรือลดความขัดแย้ง

วิธีแก้ไขให้ความขัดแย้งหมดไป 
การใช้วิธีการหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ไม่ให้มีการทะเลาะวิวาทกัน ถ้าความขัดแย้งมีไม่มาก ก็จะเกิดผลดี แต่ถ้าความขัดแย้งมีมากจะทำให้ปัญหานั้นพอกพูนมากยิ่งขึ้น การช่วยลดความขัดแย้งในหน่วยงาน สามารถทำได้ดังนี้ 
1.ใช้วิธีการของประชาธิปไตย การตกลงด้วยการใช้เสียงส่วนใหญ่เป็นตัวตัดสินปัญหา 
2.ให้มีการเผชิญหน้ากัน ฝ่ายที่ขัดแย้งกันมาตกลงปรึกษาหารือเพื่อที่จะหาข้อยุติ 
3.มีที่ปรึกษาภายนอก เพื่อมาช่วยขจัดปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะคนภายนอกไม่มีผลได้ผลเสียอะไร และมองภาพรวมของปัญหาได้ดีกว่า 
4.ให้มีการแข่งขันในหน่วยงาน มีค่าตอบแทน และสิ่งล่อใจ จะทำให้ความขัดแย้งลดลง เพราะได้พุ่ง ความสนใจไปยังการทำงานเพื่อให้ได้ชิ้นงานใหม่ ๆ 
5.จัดทีมงานใหม่ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ อาจต้องย้ายพนักงานไปอยู่แผนกอื่น หรือปรับเปลี่ยน งานใหม่ 
6.ปรับเปลี่ยนผู้บริหาร กรณีที่ผู้บริหารไม่สามารถขจัดความขัดแย้งได้ อาจต้องปรับเปลี่ยนผู้บริหารที่ สามารถรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้

ในโลกของการทำงานคงต้องอาศัยแนวทางหลายแนวทางที่จะไปสู่ความสำเร็จของงาน ความขัดแย้งก็ เป็นสิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลให้หมดไปหรือมีน้อยที่สุดในการปฏิบัติงาน เพื่อความเจริญก้าวหน้า ของงานและหน่วยงานและเพื่องานที่จะพัฒนาต่อไป

แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักเรียนและเยาวชนในชุมชนมีอะไรบ้าง


ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างนักเรียนในชุมชน

ผลความขัดแย้งในทางบวก  

1.  นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ เกิดรูปแบบการทำงานใหม่ๆมีผลงานใหม่ๆ
2.  ทำให้บุคลากรในองค์กรเกิดแรงจูงใจในการทำงาน และพบแนวทางในการทำงานได้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น
3.  ก่อให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม
4.  ทำให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป้าหมายเดิมขององค์กรที่ไม่สอดคล้องกับความ เป็นจริง 

5.  สมาชิกในองค์การได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
6.  องค์การมีการปรับตัวให้เข้ากับความ  เปลี่ยนแปลงในสังคมได้อย่างต่อเนื่อง
7.  มีการเลือกตัวแทนที่เข้มแข็ง มีความรู้ ความสามารถเป็นผู้นำ
8.  ได้มีการระบายข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล    หรือกลุ่ม ซึ่งเก็บกดไว้เป็นเวลานาน 

9.  ทำให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็น ประโยชน์กับองค์กร หรือทำให้เกิดคุณภาพ ในการตัดสินใจ
10. ทำให้ลดความตึงเครียดในองค์กรได้ หรือ ทำให้ความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร ดีขึ้น
11. ทำให้คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร  ในองค์กรดีขึ้น ยอมรับความแตกต่าง ระหว่างบุคคล รู้จักปรับตัว และการ  ประสานงานร่วมกัน 

ผลของความขัดแย้งในทางลบ 

1.  นำไปสู่ความตึงเครียด
2.  ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรและเวลามากขึ้น
3.  ทำให้เกิดการแบ่งเป็นพรรคเป็นพวก
4.  มุ่งเอาชนะกันมากกว่าที่จะมองถึงผลกระทบ ต่อเป้าหมายขององค์กรโดยส่วนรวม
5.  นำไปสู่ความยุ่งเหยิง และไร้ซึ่งเสถียรภาพขององค์กร 

แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักเรียนและเยาวชนในชุมชนมีอะไรบ้าง

สาเหตุความขัดแย้งระหว่างนักเรียนในชุมชน

สาเหตุความขัดแย้งระหว่างนักเรียนในชุมชน

๑ สาเหตุความขัดแย้งในวัยรุ่น ที่มาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

ความขัดแย้งที่มาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น หมายถึงความคับข้องใจที่มีจากการกระทำคำพูดของผู้อื่นส่งผลให้เราไม่พอใจ ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น ๒ ส่วนใหญ่ๆดังต่อไปนี้

 .๑ กระบวนการทางความคิดและการสื่อสารไม่ตรงกันวัยรุ่นจะมีความคิดและมักจะยึดตนเองเป็นที่ตั้ง ไม่ยอมรับในความคิดผู้อื่น และในบางครั้งวัยรุ่นมักเป็นวัยที่พูดจาโผงผางและไม่ระมัดระวังในคำพูด ทำให้ผู้รับสารเข้าใจผิดในสิ่งที่ตนเองพูด ส่งผลทำให้ผู้รับสารไม่พอใจเกิดการกระทบกระทั่ง เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกันได้

.๒ ความแตกต่างของพฤติกรรม ความแตกต่าง ของพฤติกรรมที่วัยรุ่นแสดงออกต่อกันเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง เราจะพบว่าวัยรุ่นบางคนที่มีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันชอบสิ่งต่างๆเหมือนกัน เมื่อได้รู้จักกันครั้งแรกก็มักจะสนิทสนมกันได้อย่างรวดเร็ว ราวกับได้รู้จักกันมานานปี ในทางตรงกันข้าม บางคนเมือพบกันรู้สึกไม่ชอบหน้ากันแล้วทั้งๆที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เพราะพฤติกรรมของอีกกลุ่มบุคคลไม่เป็นที่พึงพอใจของอีกกลุ่มหนึ่ง จึงเป็นสาเหตุแห่งความขัดแย้งในวัยรุ่น

  จากสาเหตุความขัดแย้งที่วัยรุ่นต่างปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ทำให้สามารถแยกประเภทของความแตกต่างที่วัยรุ่นแสดงต่อกันได้เป็น ๔ ประเภทต่อไปนี้

๑ ความขัดแย้งที่แท้จริง เป็นความขัดแย้งที่ทั้ง๒ฝ่ายมีความแตกต่างกันทั้งทางกระบวนการทางความคิดและพฤติกรรม

๒ ความขัดแย้งซ่อนเร้น เป็นความขัดแย้งที่ทั้ง ๒ ฝ่ายมีพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน แต่มีกระบวนการทางความคิดและลักษณะการพูดจาที่แตกต่างกัน

๓ ความขัดแย้งเท็จ เป็นความขัดแย้งที่ทั้ง ๒ ฝ่ายมีกระบวนการทางความคิดและลักษณะการพูดที่คล้ายคลึงกัน แต่พฤติกรรมที่แสดงออกแตกต่างกัน

  ไม่มีความขัดแย้ง คือ การที่ทั้ง ๒ ฝ่ายมีกระบวนการทางความคิด ลักษณะการพูดจาและพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกัน

๒ สาเหตุความขัดแย้งภายในตัววัยรุ่นเอง

    ความขัดแย้งภายในตัววัยรุ่นเป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของวัยรุ่นเอง  เป็นความขัดแย้งที่วัยรุ่นมีความต้องการที่จะบรรลุเป้าหมายบางอย่าง จึงได้สร้าง แรงขับ เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายนั้น  แต่เมื่อมีบางสิ่งบางอย่างที่เรียกว่า  อุปสรรค  มาขัดขวางหรือกั้นกลางไว้ระหว่างแรงขับและเป้าหมายนั้น ซึ่งมีผลต่อจิตใจของวัยรุ่นอย่างรุนแรง  ทำให้เกิดความคับข้องใจ  ทำให้วัยรุ่นสร้างกลไกในการป้องกันตัวขึ้น เช่น

พฤติกรรมความก้าวร้าว  พฤติกรรมการถอนตัว

๓ สาเหตุความขัดแย้งจากสภาพแวดล้อม

     สภาพแวดล้อมที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้ง  คือสิ่งแวดล้อมที่ได้จัดกระทำขึ้นมาทำให้เกิดความคับข้องใจต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง สภาพแวดล้อมที่เป็นสาเหตุของการขัดแย้ง  เช่น ถูกจำกัดด้วยกฎเกณฑ์ที่เข้มงวด  จึงทำให้วัยรุ่นมีความอึดอัด ต้องการอิสระจากสิ่งต่างๆ เป็นทุนอยู่แล้วเมื่อถูกจำกัดด้วยกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ผู้อื่นตั้งไว้ เช่น พ่อแม่ หรือครูอาจารย์ ก็จะเกิดปฏิกิริยาต่อต้านกับสิ่งนั้น โดยการพยายามออกนอกกฎเกณฑ์ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การหลบหนี และการประชดประชัน นอกจากนี้วัยรุ่นยังขัดแย้งเนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรม  โดยเฉพาะการได้รับข้อยกเว้นสำหรับบางกลุ่มที่ไม่ต้องปฏิบัติตามบทบาท หรือปฏิบัติไม่เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดก็เป็นสาเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้

แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักเรียนและเยาวชนในชุมชนมีอะไรบ้าง


ความขัดแย้งระหว่างนักเรียนในชุมชน

ความขัดแย้งระหว่างนักเรียนในชุมชน

    ๑ การดูสื่อทางลบที่ยั่วยุให้เกิดปัญหาความขัดแย้งและใช้ความรุนแรงในชุมชน มาจากสื่อหลายทาง เช่น โทรทัศน์ ภาพยนตร์ คลิปวีดีโอ สื่อเหล่านี้ก่อให้เกิดความนิยมที่ผิดๆในเรื่องปัญหาความขัดแย้งและการใช้ความรุนแรง เช่น มีภาพหรือเรื่องราวเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาท การถกเถียงกันอย่างรุนแรง การทำร้ายผู้อื่น การตบตีกัน เมื่อซึมซับสื่อนั้นอยู่เสมอจะคล้อยตามสื่อ และเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา 

    ๒ การอยู่ในสถานที่ที่เสี่ยงต่อการเกิดการทะเลาะวิวาท เช่น บนรถเมล์ ห้างสรรพสินค้า ซึ่งวัยรุ่นมักชอบมารวมกลุ่มกัน ซึ่งมีโอกาสจะพบกับคู่กรณีได้ หรืออาจเกิดความรู้สึกไม่ชอบหรือไม่พอใจในสีหน้าท่าทางที่แสดงต่อกันได้ นอกจากนี้ในบริเวณที่มีการแสดงคอนเสิร์ต โดยเฉพาะคอนเสิร์ตที่เล่นเพลงจังหวะทำนองหนักๆ เพลงที่ปลุกเร้าอารมณ์ฮึกเหิม เพลงที่มีจังหวะเต้น อาจทำให้เกิดการกระทบกระทั่ง หรือพูดจารุนแรงต่อกัน จนเกิดการชกต่อยหรือทะเลาะวิวาทกันได้

    ๓ การซึมซับแบบอย่างที่ไม่ดี ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา เช่น สมาชิกในครอบครัวที่ทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายกันเป็นประจำ รุ่นพี่ที่มีเรื่องทะเลาะวิวาทกับคู่กรณีต่างสถาบันการศึกษา 

    ๔ การสนับสนุนทางสังคม เช่น การอบรมสั่งสอนจากครอบครัวให้ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา การถูกชักชวนหรือยั่วยุจากรุ่นพี่ให้เกิดความขัดแย้ง 

    ๕ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือเสพสารเสพติด ทำให้ขาดสติ ขาดความยั้งคิด นำไปสู่การขัดแย้งและทะเลาะวิวาท 

    ๖ การมีความผิดปกติทางจิตใจ เป็นคนก้าวร้าว ชอบการกระทำที่รุนแรง ชอบหาเรื่องผู้อื่นเพื่อแสดงว่าตนเองมีอำนาจและทุกคนต้องเคารพยำเกรง 

 ๗ มีความสามารถในการควบคุมตนเองต่ำ เมื่อโมโหหรือมีการกระทบกระทั่งกันจึงนำไปสู่ความขัดแย้งที่รุนแรง


ประวัตส่วนตัว

แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักเรียนและเยาวชนในชุมชนมีอะไรบ้าง

ชื่อนางสาว สุภัสสรา ภิรมย์รักษ์ ชื่อเล่นปาย 

กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่4/6 โรงเรียนพระแสงวิทยา

เกิดวันที่16 มิถุนายน 2544 ปัจจุบันอายุ16ปี

บ้านเลขที่6/1 ม.7 ต.ไทรทอง อ.ชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี

บิดาชื่อ นายธีระ ภิรมย์รักษ์

มารดาชื่อ นางขนิษฐา ภิรมย์รักษ์

เค้าโครง

บทเรียนออนไลน์

1.ชื่อโครงงาน

บทเรียนออนไลน์ เรื่อง สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนในชุมชน

2.ประเภทโครงงาน

โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา

3.ชื่อผู้จัดทำ

นางสาวสุภัสสรา ภิรมย์รักษ์

4.ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

อาจารย์อุไรวรรณ โสภา

5.ความเป็นมาและความสำคัญของโครงงาน

การศึกษาในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นคนมีความรู้ ซึ้งในปัจจุบันเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตหรืออินทราเน็ต

ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามความสามารถพอละความสนใจ โดยเนื้อหาอาจประกอบได้ด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง และมัตติมีเดียต่างๆเช่น กราฟฟิกรวมถึงวีดีโอหรือวีดีทัศน์  ซึ้งทำให้สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา

และทุกสถานที่

ผู้จัดทำโครงงานจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาบทเรียนออนใลน์เรื่อง หลักสำคัญของการออกแบบทัศนศิลป์

เพื่อเป็นการทบทวนเนื้อหาการเรียน และเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนออนใลน์

6.วัตถุประสงค์โครงงาน

6.1เพื่อวิเคราะห์และออกแบบเรื่อง หลักสำคัญของการออกแบบทัศนศิลป์

6.2เพื่อพัฒนาบทเรียนออนใลน์เรื่อง หลักสำคัญของการออกแบบทัศนศิลป์

6.3เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาบทเรียนออนใลน์

7.ขอบเขตโครงงาน

7.1ความขัดแย้งระหว่างนักเรียนในชุมชน

7.2สาเหตุความขัดแย้งระหว่างนักเรียนในชุมชน

7.3ผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างนักเรียนในชุมชน

7.4แนวทางในการแก้ปัญหาหรือลดความขัดแย้ง

8.ขั้นตอนการดำเนินงาน

8.1วิเคราะห์ระบบ

8.2ออกแบบระบบ

8.3การพัฒนาระบบโดยใช้ซอฟแวร์โปรแกรม CMS และซอฟแวร์ประยุกต์

8.5การบำรุงรักษาระบบ 

9.การดำเนินโครงาน

แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักเรียนและเยาวชนในชุมชนมีอะไรบ้าง

10.ประโยชน์ทึคาดว่าจะได้รับ

10.1วิเคราะห์และออกแบบเรื่อง หลักสำคัญของการออกแบบทัศนศิลป์

10.2บทเรียนออนใลน์เรื่อง หลักสำคัญของการออกแบบทัศนศิลป์

10.3สามารถเขียนแนวทางในการพัฒนาโปรแกรมทางสาน vrml cmx

11.งบประมาณ

- บาท

12.ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง

บทเรียนออนไลน์ E-learning หรือ ( electronic learning ) คือการเรียนรู้ผ่านอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีโดยเฉพาะอินเตอร์เน็ตมาใช้ส่งเสริมการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิผล

มัลติมีเดีย ( Multimedia ) คือระบบซึ่งข้อมูลข่าวสารหลายชนิดโดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และวิดีทัศน์

13.สถาบันหรือหน่วยงานที่ให้การสนับสนุน

เครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการโรงเรียนพระแสงวิทยา

14.เอกสารอ้างอิง

1.พิมลพรรณ ประเสริฐวงษ์ เรพเพอร์และคณะ.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารม.5. พิมพ์ครั้งที่4.กรุงเทพฯ: รักษร เจริญทัศน์ อจก.จำกัด,

2.พรสุข หุ่นนิรันด์และคณะ.สุขศึกษาม.4 พิมพ์ครั้งที่8. กรุงเทพฯ: รักษาเจริญทัศน์ อจท.จำกัด,2560

http://161316.blogspot.com/2014/10/blog-post_63.html

https://sites.google.com/site/hlikleiyngkhwamkhadyaeng/khwam-khad-yaeng-ni-klum-nakreiyn-laea-yeawchn/sahetu-khxng-khwam-khad-yaeng-ni-klum-nakreiyn-laea-yeawchn

https://www.gotoknow.org/posts/288516