เอกสารที่สำคัญในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง

หนึ่งในคำถามยอดฮิตสำหรับคนที่ขายของออนไลน์ นั่นคือ ขายของออนไลน์ต้องจดทะเบียนอะไรบ้าง และจดอย่างไรให้เสียภาษีถูกต้อง 

ฟังดูแล้วบอกตรงๆ ว่าไม่น่าจะเป็นคำถามเดียวกันเลยครับ เพราะเรื่องภาษีกับการจดทะเบียนนั้นมีความแตกต่างกันแบบที่เรียกได้ว่า คนละเรื่องเลยละครับผม

เอาเป็นว่าผมจะสรุปสั้นๆ ให้ฟังแบบนี้ละกันครับว่า “จดทะเบียนที่เกี่ยวกับเรื่องภาษีมีอยู่อย่างเดียวที่ต้องทำ นั่นคือ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ จด VAT เมื่อเราประกอบธุรกิจที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทในปีนั้นๆ” 

ส่วนที่เหลือนั้นเป็นเรื่องของการจดที่เกี่ยวกับการประกอบกิจการกันทั้งนั้นเลยครับ ซึ่งต้องใช้หลักในการพิจารณาดังนี้ คือ 

  • กิจการที่เราเลือกทำอยู่ในรูปแบบไหน โดยรูปแบบที่หมายถึงคือ บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ซึ่งถ้าเราเลือกรูปแบบนิติบุคคล ก็จะเพิ่มเรื่องของการจดบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนเข้ามาครับ แต่ถ้าหากอยู่ในรูปแบบของบุคคลธรรมดา ก็อยู่เฉย ๆ ได้เลยครับ 
  • กิจการของเราต้องการการรับรอง หรือความน่าเชื่อถืออะไรไหม ต้องดูว่าสิ่งที่เราขายนั้นมีหน่วยงานอะไรที่ต้องรับรองเป็นพิเศษเพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าสินค้าหรือบริการของเราถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือครับ ตรงนี้ก็มีตั้งแต่ การจดทะเบียน อย. การจดทะเบียนรับรองต่างๆ ฯลฯ 

จดทะเบียนพาณิชย์ - เรื่องที่คนมักเข้าใจผิด

แต่สิ่งที่คนเข้าใจผิดส่วนมากคือ การจดทะเบียนพาณิชย์ ครับ เพราะมีหลายคนเข้าใจผิดว่า จดทะเบียนพาณิชย์แล้ว คือการเสียภาษีถูกต้อง ทั้งๆ ที่มันไม่เกี่ยวกันเลย

แต่จริงๆ แล้ว การจดทะเบียนพาณิชย์คือ การจดทะเบียนกับทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เพื่อยืนยันว่าธุรกิจเรามีตัวตน ถูกต้องตามกฎหมาย น่าเชื่อถือได้ เป็นการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อ ซึ่งมีทั้ง การจดทะเบียนพาณิชย์ธรรมดา (ออฟไลน์) กับ การจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (ขายของออนไลน์) อันนี้ก็ต้องดูว่าเราต้องทำอะไรแบบไหนยังไงบ้าง 

เช่น ถ้าคุณขายของทั่วไปแบบออฟไลน์ ควรจดทะเบียนพาณิชย์ให้ถูกต้อง แต่ถ้าหากขายของแบบออนไลน์ มีระบบชำระเงินต่างๆ ควร จดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ด้วย ไม่งั้นจะโดนปรับ 2,000 บาท และวันละ 100 ต่อไปเรื่อยๆ ตรงนี้เมื่อจดแล้ว ก็จะได้เครื่องหมายว่าเราทำถูกต้องตามกฎหมาย มีการจดทะเบียนเพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับทางลูกค้าแค่นั้นเองครับ (ข้อมูลตรงนี้ดูได้เพิ่มเติมที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) 

ทีนี้กลับมาเรื่องของภาษีกันอีกสักนิด อย่างที่บอกไปว่า การจดทะเบียนพาณิชย์ไม่ได้เกี่ยวกับการเสียภาษี เพราะจะจดหรือไม่จด ถ้ามีรายได้ เราก็ต้องเสียภาษีอยู่ดี เพราะภาษีไม่ได้สนใจความถูกต้องของการจดทะเบียน สนใจแค่ยื่นภาษีถูกต้องหรือเปล่า แค่นั้นพอ

ยกตัวอย่างเช่น นายบักหนอมเปิดร้านขายของออนไลน์ ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า แต่สิ่งที่นายบักหนอมทำก็แค่เปิดขายในอินเทอร์เน็ตเฉยๆ ไม่ได้ไปจดอะไรทั้งนั้น แบบนี้จะถือว่านายบักหนอมก็ยังมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอยู่ดี เพราะเป็นรายได้ที่บุคคลได้รับ ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกออกมาต่างหาก

แต่สิ่งที่ต้องจดจริงๆ ในเรื่องของภาษีคือ จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ถ้าหากร้านออนไลน์ของนายบักหนอมขายดี จนมีรายได้ (ที่ไม่ได้รับยกเว้น) เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี (ย้ำอีกเรื่อง คือ รายได้ แปลว่ายังไม่หักค่าใช้จ่ายนะครับ)  แบบนี้นายบักหนอมก็ต้องรีบไปจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อนำส่งภาษีและจัดทำเอกสารต่างๆ ให้ถูกต้องต่อไป 

สรุปอีกทีแบบชัดๆ ก่อนจากกัน ไม่ว่าจะจดทะเบียนอะไรก็ตาม ขอให้ทำถูกต้องตามหลักการ เพิ่มความถูกต้องให้กับธุรกิจของเราเป็นเรื่องที่ดี โดยสิ่งที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ต้องยื่นให้ครบถ้วนหมดจด และจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท

เพียงเท่านี้ ก็สบายใจหายห่วงแล้วละครับ!

ทำความเข้าใจเรื่องที่ควรรู้ก่อนวางแผนภาษีกันต่อได้ที่บทความ 9 ข้อที่ควรรู้ ก่อนวางแผนภาษี สำหรับคน ขายของออนไลน์

แม้จะเป็นเจ้าของธุรกิจคนเดียวก็สามารถทำงานใหญ่ได้ด้วย FlowAccount โปรแกรมบัญชี คลาวด์ ที่เชื่อมโยงฐานข้อมูลจากในเว็บไซต์ และมือถือ ให้คุณสามารถเปิดบิลได้ครบ และบันทึกค่าใช้จ่ายระหว่างที่อยู่นอกออฟฟิศได้เลย เริ่มต้นใช้งานโปรแกรมบัญชีฟรีได้ที่นี่

การจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ทำไมต้องจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์
    ความเชื่อถือและเชื่อมั่นถือเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จึงได้กำหนดให้ผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถานประกอบการ ตั้งอยู่ในประเทศไทย ต้องมาจดทะเบียนพาณิชย์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบการมีตัวตนของ ผู้ประกอบการได้ว่า ผู้ประกอบการมีตัวตนจริงหรือไม่ เป็นใคร อยู่ที่ไหน ทำธุรกรรมอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการจดทะเบียน
    สร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้ประกอบการในระดับหนึ่ง โดยกรมฯ จะจัดทำเลขทะเบียน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (เครื่องหมาย Registered) จัดส่งให้แก่ผู้ประกอบการ (ส่งทางe-Mail ในรูปแบบ Source Code) เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปแสดงไว้บน Web Site หรือ Home Page เพื่อแสดงว่าได้ จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าแล้ว เมื่อผู้บริโภค (ผู้ซื้อ) เห็นเครื่องหมาย Registered แล้ว จะเกิดความมั่นใจในการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยเมื่อ click ที่เลขทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบจะเชื่อมโยงมายังฐานข้อมูลกรมฯ และแสดงข้อมูลทางทะเบียนของผู้ประกอบการ เพื่อให้ ประชาชนสามารถตรวจสอบสถานะและการมีตัวตนของผู้ประกอบการได้

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียน
    บุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด และนิติบุคคลต่างประเทศ ที่มาตั้งสำนักงานสาขา ในประเทศไทย  จะต้องไปยื่น ขอจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายใน 30 วันนับจากวันที่ดำเนินธุรกิจ

เอกสารที่ต้องใช้ในการจดทะเบียน
1.    คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.) และรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ (เอกสารแนบ)
2.    สำเนาบัตรประจำตัว
        a.    กรณีบุคคลธรรมดา ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
        b.    กรณีนิติบุคคล ได้แก่ สำเนาบัตรประจำตัวผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนหรือของกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด (ไม่ต้องแนบหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล)
3.    หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)
4.    หนังสือชี้แจง (กรณียื่นล่าช้าหรือเกินกำหนด)

สถานที่ยื่นจดทะเบียน
    1. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน พาณิชย์ ณ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขต 50 เขต (รับบริการจดทะเบียนพาณิชย์เฉพาะสถานประกอบการที่ มีสำนักงานเขตตั้งอยู่ในท้องที่ของตน)  หรือ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง ศาลาว่าการ กทม. (ครอบคลุมทั้ง 50 เขตของ กทม.)
    รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่:
        สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง โทร. 0-2224-1916, 0-2225-1945
        หรือที่ ฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง และที่เว็บไซต์ www.bangkok.go.th/fiic
           2. ผู้ประกอบการที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่จังหวัดอื่น นอกจากกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอจดทะเบียน พาณิชย์ ณ เมืองพัทยา  เทศบาล  องค์การบริหารส่วนตำบล ที่สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ หรือองค์การ  บริหารส่วนจังหวัดเฉพาะในท้องที่นอกเขตเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล

ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนพาณิชย์
การขอดำเนินการตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ฯ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามประเภทของการดำเนินการดังต่อไปนี้
9.1 จดทะเบียนพาณิชย์ตั้งใหม่ 50 บาท
9.2 จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงรายการจดทะเบียน ครั้งละ 20 บาท
9.3 จดทะเบียนเลิกประกอบพาณิชยกิจ 20 บาท
9.4 ขอให้ออกใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ ฉบับละ 30 บาท
9.5 ขอตรวจเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจรายหนึ่ง ครั้งละ 20 บาท
9.6 ขอให้เจ้าหน้าที่คัดสำเนาและรับรองสำเนาเอกสารของผู้ประกอบพาณิชยกิจ ฉบับละ 30 บาท (หนึ่งคำขอ คิดเป็น หนึ่งฉบับ)

ขั้นตอนในการจดทะเบียนพาณิชย์ อิเล็กทรอนิกส์ ในนามบุคคลและ บริษัท ขั้นตอนเหมือนกัน
วันนี้ไปจดทะเบียนที่ สำนักงานเขตจตุจักร (ต่างจังหวัด หรือ เขตอื่นไปตามเขตที่ใกล้บ้านนะครับ)

เอกสารที่สำคัญในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง

สำนักงานเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
5 ซอยวิภาวดีรังสิต 34 แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
เบอร์โทรศัพท์ 0 2513 9713, 0 2513 3444 ต่อ 5204-5 แฟกซ์ 0 2513 9946

เอกสารที่สำคัญในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง

1.เดินเข้าไปด้านใน สำนักงานเขตจตุจักร   เราจะมาจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ติดต่อ ฝ่ายปกครอง อยู่ชั้น 2

เอกสารที่สำคัญในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง

2.แจ้งเจ้าหน้าที่ว่า มาจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  หรือ ติดต่อ คุณพรทิพย์  อนันตทรัพย์ (พนักงานปกครองชำนาญงาน) เป็นคนที่ดูแลในเรื่องการจดทะเบียนพาณิชย์ ต่างๆ

เอกสารที่สำคัญในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง

3.นำเอกสารที่เราเตรียมไป  ให้เจ้าหน้าที่ ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วน ของเอกสาร  หากเอกสารเรียบร้อย เจ้าหน้าที่ จะกรอกข้อมูลลงสมุดบัญชีคำขอจดทะเบียน

4.เมื่อกรอกเสร็จเจ้าหน้าที่จะให้เอกสารเรามา 1 แผ่น คือ ใบแจ้งชำระค่าจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

เอกสารที่สำคัญในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง

5.นำ ใบแจ้งชำระค่าจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  ไปชำระเงิน  โดยเราต้องลงไปที่ชั้น 1 ติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์  เจ้าหน้าที่จะกดบัตรคิวให้เรา พร้อมบอกว่าเราต้องไปนั่งรอที่ไหน เพื่อ รอคิว

เอกสารที่สำคัญในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง

6.เมื่อจ่ายเงินเสร็จ เราจะได้ ใบเสร็จรับเงินเป็นหลักฐาน 2 ฉบับ  ขั้นตอนต่อไปเราก็ต้องกลับขึ้นไปที่ ชั้น 2 ติดต่อที่เดิม  นำสำเนาใบเสร็จ  ให้เจ้าหน้าที่

เอกสารที่สำคัญในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง

7. นั่งรอเจ้าหน้าที่กรอกข้อมูลรายละเอียดการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ลงในระบบ เมื่อกรอกเสร็จเจ้าหน้าที่จะพิมพ์ ข้อมูลใส่กระดาษ A4 มาให้เราตรวจสอบข้อมูลเพื่อความถูกต้อง ก่อนที่จะพิมพ์ลง ใบทะเบียนของจริง

8.หากข้อมูลถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์  เจ้าหน้าที่จะพิมพ์ ลง ใบทะเบียนพาณิชย์ของจริง หรือ  แบบ พค. 0403 นั่นเอง อิอิ  เสร็จสิ้นการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

เอกสารที่สำคัญในการจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง

9.ขั้นตอนต่อไป คือการ ขอเครื่องหมาย   DBD Registered  มาแปะหน้าเว็บ ของเรา

วิธีขอเครื่องหมาย   DBD Registered
สถานที่การขอเครื่องหมาย DBD Registered
กองพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  กรมพัฒนาธุรกิจการค้า โทร. 02 547 5960  หรือที่เว็บไซต์ www.trustmarkthai.com หรือส่งเอกสารมาที่อีเมล์ [email protected]   หรือ โทรสาร 02 547 5973

เอกสารที่ใช้ขอเครื่องหมาย DBD Registered
1. สำเนาใบทะเบียนพาณิชย์ (แบบ พค. 0403)
2. สำเนารายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์  (เอกสารแนบแบบ ทพ.)
3. สำเนาเอกสารการจดโดเมนเนม
4. เอกสารอื่น (ถ้ามี)
    -  ใบแสดงตัวแทนจำหน่าย
    -  ใบแสดงลิขสิทธิ์
    -  ใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนั้นๆ

เพิมเติม : การขอรับรองสำเนาเอกสาร แบบ บอจ.3 และ 4 ด้วยตนเองที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า