หน่วยงานท้องถิ่น มีอะไรบ้าง

โครงสร้างหน่วยงาน

     สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด เป็นราชการส่วนภูมิภาค มีภารกิจในการช่วยเหลือผู้ว่าราชการจังหวัด เกี่ยวกับการส่งเสริมและสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการพัฒนาและให้คำปรึกษาแนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในด้านการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การเงิน การคลัง และการบริหารจัดการเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการให้บริการสาธารณะในเขตพื้นที่จังหวัด และอำนวยการ ประสาน ปฏิบัติงาน สนับสนุนงานอันเป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ด้านการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย โดยแบ่งความรับผิดชอบออกเป็น ๑ งาน และ ๔ กลุ่มงาน ดังนี้

๑. ฝ่ายบริหารทั่วไป
    ๑. รับผิดชอบเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไปของสำนักงานประกอบด้วยงานธุรการ งานสารบรรณงานการประชุม การประชาสัมพันธ์ การจัดเวรดูแลสถานที่ทำงาน งานเลขานุการ หัวหน้าสำนักงานท้องถิ่นจังหวัดตลอดจนงานอื่นๆ ที่ไม่อยู่ใน ความรับผิดชอบของกลุ่มใด
    ๒. การบริหารงานบุคคลของข้าราชการและลูกจ้างสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด การขออนุญาตลาในกรณีต่างๆ การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การขอรับบำเหน็จบำนาญและการขออนุญาตเดินทางไปราชการของข้าราชการ ยกเว้น การดำเนินการทางวินัยของข้าราชการและลูกจ้างสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัด

๒. กลุ่มงานมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
    หน้าที่ในการปฏิบัติงาน โดยรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะเลขานุการ/ผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ ข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด ดังนี้
    ๑. การดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๔๒ และระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเป็นต้น
    ๒. การพิจารณาตรวจสอบการเลื่อนขั้นเงินเดือน การแต่งตั้ง โยกย้าย พนักงานและลูกจ้างในสังกัด
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ๓. การจัดทำทะเบียนประวัติสมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น พนักงานส่วนท้องถิ่น และลูกจ้างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ๔. การประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) และคณะกรรมการกลาง ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น (ก.กลาง) รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆ ทั้งในและนอกเขตจังหวัด
    ๕. การคัดเลือกกรรมการผู้แทนข้าราชการ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรรมการผู้ทรง
คุณวุฒิในคณะกรรมการ ข้าราชการ หรือพนักงาน ส่วนท้องถิ่นจังหวัด (ก.จังหวัด)
    ๖. ประสานในการจัดประชุมคณะกรรมการข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นจังหวัด (ก.จังหวัด)
    ๗. การแจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการฯ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติ
    ๘. การประสานงานกับคณะกรรมการข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ก.จ.จ.)
    ๙. การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้แก่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นหรือบุคลากรทางการศึกษาท้องถิ่น และสมาชิกสภาหรือผู้บริหารท้องถิ่น
   ๑๐. ให้คำปรึกษาแนะนำทางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่างๆ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
   ๑๑. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

กมธ.งบฯ สอบทุกโครงการตาม จม.วิศวกรโยธาสังกัดกองช่าง เทศบาลตำบลนากลาง อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู ที่ฆ่าตัวตาย ชี้ต้องไม่ตายฟรี ขอดูข้อมูลโครงการย้อนหลัง 3 ปี

มติชนออนไลน์ รายงานเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2565 ว่าจากกรณีที่ นายภาณุเมศวร์ วาสโสหา อายุ 27 ปี วิศวกรโยธาสังกัดกองช่าง เทศบาลตำบลนากลาง อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู ก่อเหตุจุดเตารมควันฆ่าตัวตายภายในรถกระบะ โตโยต้า วีโก้ สีขาว ริมบึงสีฐาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนที่ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้ตรวจพบจดหมายลาตาย ที่นายภาณุเมศวร์เขียนระบายถึงพ่อแม่ว่าถูกกดดันจากที่ทำงาน ที่เต็มไปด้วยการทุจริตในโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคของเทศบาล ซึ่งไม่สามารถรับกับระบบฉ้อโกงนี้ได้ จึงขอแก้ปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย

ต่อมาหลังเกิดเรื่องขึ้น ทาง ป.ป.ช.จังหวัดหนองบัวลำภู ปปท.ภาค 4 ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบปราบปรามเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงจัดกำลังลงพื้นที่ ตรวจสอบเอกสาร ในการจัดซื้อจัดจ้าง ของทางเจ้าหน้าที่พัสดุ คลัง กองช่าง หาข้อมูลในเชิงลึก ตามที่ผู้เสียชีวิตได้มีการระบุไว้ในจดหมายของน้อง ที่มีการระบุถึงเรื่องเงินเปอร์เซ็นต์ต่างๆ เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา

ที่เทศบาลตำบลนากลางอำเภอนากลางจังหวัดหนองบัวลำภู ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะ ซึ่งนำโดยนายไชยา พรหมา ประธานคณะกรรมาธิการศึกษางบประมาณ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ทรงคุณวุฒิ นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ ที่ปรึกษา ผศ.เสนอ อัศวมันตรา นักวิชาการ พร้อมด้วยคณะ ได้เดินทางเข้าตรวจสอบเกี่ยวกับโครงการ ของเทศบาลนากลาง โดย มี ท้องถิ่นจังหวัด นายอำเภอนากลาง ผอ.กลุ่มงานปราบปรามการทุจริตภาครัฐ 1 ปปท.เขต 4 ป.ป.ช. จังหวัดหนองบัวลำภู สตง.จังหวัดหนองบัวลำภู นายกเทศมนตรีตำบลนากลาง ปลัดเทศบาลตำบลนากลาง ผอ.กองช่าง วิศวกรโยธา เจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลนากลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ได้เข้าร่วมให้ข้อมูล จากการตรวจสอบและซักถามของคณะกรรมการ โดยในช่วงเช้าคณะกรรมการได้ทำการตรวจสอบเอกสาร ซักถามข้อสงสัยในการจัดทำโครงการต่างๆ จากทางเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เข้าทำการตรวจสอบแล้ว เช่น ป.ป.ช.จังหวัดหนองบัวลำภู ปปท.สตง.มีผลการดำเนินการเป็นอย่างไร พบข้อมูลหลักฐานอย่างไรบ้าง ซึ่งทางหน่วยงานต่างๆ ได้ร่วมกันให้ข้อมูล กับทางคณะ โดย ทาง ป.ป.ช.จังหวัดหนองบัวลำภู ถนนมีผิวถนนล่อน มีรายการซ่อมแซม ทางด้าน ปปท.พบว่า นอกจากพื้นถนนล่อนแล้ว พบว่า ลักษณะของป้ายโครงการมีลักษณะเหมือนกับนำเหล็กเก่ามาพ่นสี ฐานป้ายไม่เทปูน ส่วนทางด้าน สตง.จังหวัดหนองบัวลำภู ได้เข้าตรวจสอบเอกสารต่างๆ แล้วตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมาอยู่ระหว่างรวบรวมหลักฐาน

นอกจากนั้น ทางคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร ยังได้ให้ข้อเสนอแนะในการทำงานกับทางเจ้าหน้าที่ ในการลงชื่อรับงานแทนบุคคลอื่น และพบว่าการตรวจรับงานบางโครงการลงชื่อผู้ตรวจรับงานไม่ครบ มีการลงชื่อของผู้มีอำนาจเหนือกว่าก่อนที่ กรรมการคนอื่นจะลงชื่อ ทำให้เกิดความกดดันต่อผู้ที่จะต้องลงลายมือชื่อตามและยังเห็นว่า ทำไมโครงการถึงมีการตั้งราคากลางไว้สูงอย่างโครงการขุดดินทำคูรอบบ่อขยะ และตัดราคาลงเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นการตั้งราคาไว้สูงเกินความจริงหรือไม่ เป็นการตั้งราคาที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้รับเหมาหรือไม่

ซึ่งทางด้านวิศวกรโยธาได้แจ้งว่า การตั้งราคาได้สอบถามจากราคากลางของทางหลวงชนบท พร้อมทั้งได้ขอเอกสารของโครงการต่างๆ ตั้งแต่ปี 2563-2565 ไปตรวจสอบ ให้อายัดเอกสารควบคุมงานของวิศวกรโยธาผู้เสียชีวิต และขอให้ สตง.ได้ตรวจสอบการเสียภาษี ของผู้รับเหมาที่ได้งานไปหลายๆ โครงการนั้นได้มีการเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ ขอให้ตรวจสอบย้อนหลังด้วย จากนั้น คณะกรรมการได้ลงพื้นที่ตรวจสอบถนนที่ ซอยเพชรสุวรรณ 6 ถนนนันทจันทร์-นครชัย

ทางด้าน นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมาธิการและติดตาม สภาผู้แทนราษฎรได้สอบถาม ว่ามีการตั้งราคากลางสูงเกินความจริงหรือไม่ ซึ่งก็ไม่เจ้าหน้าที่ตอบให้ความเห็นในเรื่องนี้ พร้อมทั้งยังได้สอบถามถึงการออกแบบโครงการ พร้อมได้ฝากให้กับทางพนักงานสอบสวน ทั้ง ป.ป.ช.จังหวัด ปปท.สตง.ขยายผลไปถึงโครงการต่างๆ โดยเฉพาะการตรวจรับโครงการก่อสร้างถนนซอยเพชรสุวรรณ 6 นั้นอยากให้เป็นอนุสรณ์ให้กับน้องเขาที่แลกมาด้วยชีวิต ไม่ให้เขาตายฟรี การตรวจรับต้องให้ได้มาตรฐาน เป็นการจ้างเขามาสร้าง ไม่ได้เป็นการจ้างมาซ่อม ไม่ใช่จะตัดงานเป็นจ๊อบ ถ้าไม่ได้มาตรฐานก็ควรรื้อทำใหม่ทั้งหมด และในการตรวจสอบหากพบรอยแตกร้าวตรงไหนให้เจาะตรวจทุกที่

ส่วนทางด้าน นายเปรมจิต แจ่มใสดี ผอ.ป.ป.ช. จังหวัดหนองบัวลำภู ได้ให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการว่า เห็นถนนสายเพชรสุวรรณ 6 ที่ได้เข้าตรวจสอบแล้ว พบว่ามีรอยแตกร้าว ล่อนของปูนเป็นไปตามที่กฎหมายของน้องที่เขียนไว้จริง ซึ่งเรื่องนี้ได้สรุปและเสนอ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช.แล้ว

ทางด้านนายไพรัตน์ ปัจจะวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 1 ซึ่งได้เข้าให้ข้อมูลแทน ผอ.ปปท. เขต 4 ได้กล่าวว่า จากการเข้าตรวจสอบของหน่วยงานพบว่าน้องผู้เสียชีวิตได้มีคำสั่งให้เป็นผู้ควบคุมงานทั้งหมดจำนวน 6 โครงการ ตรวจรับงานไปแล้ว 2 โครงการ ยังเหลืออยู่ระหว่างดำเนินการอีก 4 โครงการ ส่วนรูปแบบรายการ ถนนนั้น เป็นไปตามรูปแบบรายการอยู่ในส่วนความกว้างความยาว ส่วนป้ายลักษณะคล้ายการนำป้ายเก่า มาทำการพ่นสีใหม่ ไม่มีการเทปูนต้นเสา

หลังจากนั้น คณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎรพร้อมด้วยคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบถนนเพชรสุวรรณ 6

ส่วนทางด้าน นายไชยา พรหมา ประธานคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร จากการลงพื้นที่แล้วได้กล่าวว่า ถ้าดูตามนี้แล้วมันก็ไม่ได้มาตรฐานมันเป็นข้อที่สามารถท้วงติงได้ตลอด มันเกิดความไม่ได้มาตรฐานจริงๆ และเรื่องนี้มันไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะอำเภอนากลางเพียงแห่งเดียว องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอีกหลายแห่งที่มีลักษณะแบบนี้ ผมได้พูดในที่ประชุมว่า อย่างน้อยจากนี้ไป อยากให้เคสนี้เป็นการจุดประกายในหนองบัวลำภู ที่อยากให้เกิดการควบคุม โดยเฉพาะภาคประชาชนจะต้องเข้ามามีบทบาทวันนี้เราปล่อยให้ผู้รับเหมา คนทำอาชีพเหล่านี้มาทำความเสียหายให้เกิดขึ้น และเกิดความหย่อนยานของหน่วยงานภาครัฐ ประชาชนจะเดือดร้อน จึงอยากให้ทุกองคาพยพช่วยกัน ในฐานะที่ตัวเอง เป็น ส.ส.หนองบัวลำภู ผมเห็นว่าเหตุการณ์นี้ เหมือนกับน้องเขาเอาชีวิตมาเป็นเครื่องสังเวยเพื่อให้เตือนสติ ว่าจากนี้ไปสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลควรไม่เกิดขึ้น ในพื้นที่หนองบัวลำภูแล้ว จึงอยากให้ทุกองคาพยพร่วมมือกันให้เงินภาษีอาการของพี่น้องประชาชนตกมาถึงพี่น้องประชาชน อย่างแท้จริง จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ คณะกรรมาธิการได้เดินทางมาวันนี้

นอกจากนั้น ประธานกรรมาธิการคณะกรรมาธิการศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร ยังกล่าวอีกว่า ดูวงเงินความเสียหายไม่มากเป็นหลักแสน แม้แต่หนึ่งบาทถือว่าเป็นเงินที่จะต้องมารักษาและปกป้อง เพราะฉนั้นการที่บุคคลคนหนึ่งที่ยอมเสียสละเพื่อที่จะเป็นเครื่องเตือนใจให้กับสังคม ได้รับรู้ว่ามันมีความไม่โปร่งใส น้องเขายังมีอนาคตทางราชการอีกมากมาย ผมคิดว่า ความยิ่งใหญ่ของการเสียชีวิตของน้องคนนี้ จะเป็นเครื่องเตือนสติว่า ในฐานะเราเป็นนักการเมืองที่มาจากประชาชน เรามีหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน เราจะปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไปไม่ได้ โดยเฉพาะตัวเองเป็น ส.ส.ของจังหวัดนี้ มันเป็นภาระหน้าที่ ที่เราจะต้องรับผิดชอบและสะท้อนไปยังสังคม ให้เกิดความตระหนัก

เปิดจดหมายลาตายวิศวกรโยธาสังกัดกองช่าง เทศบาลตำบลนากลาง อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู

ผู้จัดการออนไลน์ รายงานเมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2565 ว่าจากกรณีเมื่อ 2 วันก่อน วิศวกรหนุ่ม อบต.นากลาง อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู นายภาณุเมศวร์ วาสโสหา อายุ 27 ปี ชาวอุดรธานี ขับรถไกลข้ามจังหวัดมาจอดข้างถนนมะลิวัลย์ ไม่ไกลจากประตูสีฐาน ม.ขอนแก่น แล้วรมควันฆ่าตัวตายในรถคันเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่พบจดหมายลาตายที่นายภาณุเมศวร์เขียนระบายถึงพ่อแม่ว่าถูกกดดันจากที่ทำงาน ที่เต็มไปด้วยการทุจริตในโครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคของเทศบาล ไม่สามารถรับกับระบบฉ้อโกงได้อีกต่อไป จึงขอแก้ปัญหาด้วยการฆ่าตัวตาย

สำหรับข้อความในจดหมายลาตาย เริ่มด้วยการสั่งเสียว่า ...โทร.หาแม่ผม (เขียนเบอร์โทรศัพท์ไว้ให้) ถัดมาเขียนว่า...ระบบท้องถิ่น ทต.นากลาง โครงการก่อสร้าง 1 โครงการ พิวัฒนธรรม ผู้ควบคุมงาน ต้องไปรับค่าทดสอบวัสดุจากผู้รับจ้าง 1% ของมูลค่า และค่าป้ายเหล็ก ช่างคุมงาน ต้องเอาของเก่า ราคา 2,500 บาท และของค่าป้ายไวนิลอีก 2,500 บาท พอตรวจรับ ต้องไปรับค่ากรรมการตรวจรับจากผู้รับจ้าง 1% ของมูลค่าโครงการมาเคลียร์ให้กับกรรมการ พร้อมกับค่าควบคุมงาน 1% ของมูลค่าโครงการ ซึ่งเป็นวัฒนธรรมขององค์กรกองช่างที่ทำกันมา ข้าพเจ้าบรรจุ 1 มิถุนายน 2565 มาเจอระบบดังกล่าว พยายามปรับให้อยู่ได้ แต่ก็อยู่ไม่ได้ ขอยื่นลาออก ที่ ผอ. 1 ธันวาคม 65 แต่ยังมีงาน ยังไม่ตรวจรับอีก 3 งาน ของ หจก.วีรวุฒ คอนกรีต

นอกจากนี้ยังมีจดหมายที่เขียนติดต่อกันอีกจำนวน 2 แผ่น เขียนว่า ถึงพ่อกับแม่และป้อก ผมขอโทษที่ต้องทำแบบนี้ ผมเจอการทำงานที่กลืนไม่เข้า คายไม่ออก เพื่อนร่วมงาน ลูกจ้างที่ไซโคให้ผมต้องไปพูดเอาเงินค่าทดสอบวัสดุและค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการมาให้มันทำ

มันเป็นลูกจ้างเก่าแก่ของเทศบาล มันพูดเข้าขากันดีมากกับ ผอ. พอเอาตังค์เขามา แล้วงานมีปัญหาเส้นเพชรสุวรรณ 6 วันตรวจรับ ผู้ตรวจรับโทร.ให้ผมไปเอาตังค์มาเคลียร์กรรมการ แต่ผมไม่ได้ไป เพราะผมมองดูเนื้องานไม่เรียบร้อย ถนนร่อน แตกร้าว โครงการราคา 6 แสนกว่าบาท ฟันประมูลมาที่ 4 แสน ไหนต้องจ่ายให้นายก..ไปดูได้เลยครับงานเกือบจะทุกโครงการ ในเทศบาลตำบลนากลาง ล่าสุดมีแต่ หจก.วีรวุฒคอนกรีตได้ เพราะอะไร เพราะนายกรายงาน และคลังก็เป็นเหมือนตัวแทนผู้รับจ้าง เป็นคนดำเนินการทุกอย่างให้ผู้รับจ้าง และได้ส่วนเปอร์เซ็นต์ต่อโครงการ 3% ของมูลค่างาน

ผมมาบรรจุใหม่ กลับให้ควบคุมงานตั้งแต่เดือนแรก ยังไม่รู้ระเบียบเท่าไหร่ แถมยังมาเจอการทุจริต จนเป็นระบบวัฒนธรรมของเทศบาลตำบลนากลาง ล่าสุดผู้รับจ้างขอเทคอนกรีตเส้น นราชัย-นันทจันทร์ ตอนเย็น ด้วยความสงสาร เพราะไปรับตังค์ค่าทดสอบวัสดุและค่าป้ายประชาสัมพันธ์เขามาเหมือนช่างคนอื่นๆ เพราะเรามาใหม่ ก็ต้องตามน้ำไปก่อน

แต่เพราะด้วยนิสัยที่เป็นคนไม่มีเล่ห์เหลี่ยม เหมือนเขาจ้างคนอื่น ทำให้กลายเป็นการเกรงใจ สงสารผู้รับจ้างขอเทปูนเย็น ผมจึงตกลงว่าเท แต่ผมก็ออกไปดูจนเทเสร็จ เช้ามาเหมือนว่ามีเรื่องร้องเรียนหรืออะไร แต่ทุกคนทำเป็นแสร้งว่าไม่มีอะไร ได้แต่พูดเหน็บเรา ทั้งที่รู้ว่าผมจะโดนอะไร ผมก็แค่คนคนหนึ่งที่ต้องการเรียนรู้ระบบราชการท้องถิ่น แต่สุดท้าย รู้ว่าผมปรับตัวเข้ากับระบบทุจริตจนเป็นนิสัยไม่ได้ ผมลาออกวันที่ 31 ตุลาคม มีผล 1 ธันวาคม

ระบบท้องถิ่นไม่รู้เป็นเฉพาะเทศบาลตำบลนากลางหรือไม่ เป็นอะไรที่แย่มาก ช่างเหมือนเป็นเครื่องมือสำหรับทำเงินให้กับผู้บริหาร ไม่เฉพาะนักการเมือง ข้าราชการตัวใหญ่ เช่น ผอ.กองช่างก็ตัวดี คอยแต่จะหาเศษหาเลยจากโครงการ กรรมชั่วของพวกเขา เล่ายังไงก็ไม่หมด ขอให้พวกมันทุกคนได้รับผลของการที่มันโกง ทุจริต หาเศษหาเลยจากหน้าที่ ร่างถ้ายังอยู่ดี บริจาคให้กายวิภาคศาสตร์ มข.

โดยสรุป เนื้อหาในจดหมายลาตายเป็นการตัดพ้อในการทำงาน โดยผู้ตายตั้งใจจะลาออกอยู่แล้วในวันที่ 1 ธ.ค. 65 แต่ต้องมีงานโครงการเคลียร์ 3-4 งาน ก็เลยตัดสินใจชิงฆ่าตัวตายก่อน

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบใด

การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบพิเศษ คือ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา และ (2) รูปแบบทั่วไป คือ องค์การบริหารส่วน จังหวัด(อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.) โดยมีหัวหน้าฝ่ายบริหาร และสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีตัวย่อว่าอะไร

อปท. ย่อมาจากคำว่า องค์กรปกครองส่ท้องถิ่น หากในวงการท้องถิ่นแล้ว จะพบเจอคำนี้บ่อยมาก ขอให้เข้าใจตรงกันว่า หมายถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็น อบจ. - เทศบาล - อบต.

พนักงานส่วนท้องถิ่น มีอะไรบ้าง

4.พนักงานส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด พนักงานเทศบาล พนักงานส่วนตำบล ข้าราชการกรุงเทพมหานคร พนักงานเมืองพัทยา และข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครอง ...

องค์ประกอบส่วนท้องถิ่น มีอะไรบ้าง

องค์ประกอบการปกครองท้องถิ่น ประกอบด้วยองค์ประกอบ ๘ ประการคือ ๑. สถานะทางกฎหมาย (Legal Status) ๒. พื้นที่และระดับ (Area and Level) ๓. การกระจายอ านาจและหน้าที่ ๔. องค์การนิติบุคคล องค์ประกอบการปกครองท้องถิ่น (ต่อ) ๕. การเลือกตั้ง ๖. อิสระในการปกครองท้องถิ่น ๗. งบประมาณของตนเอง ๘. การควบคุมดูแลของรัฐ