อาชีพ โล จิ สติ ก ส์ มีอะไรบ้าง

อาชีพ โล จิ สติ ก ส์ มีอะไรบ้าง

สายงานโลจิสติกส์ (Logistics) เรามักนึกถึงการขนส่ง การย้ายสินค้า ย้ายของมากกว่า แต่ความจริงแล้วโลจิสติกส์มีอะไรมากกว่านั้นมาก! จริงๆ แล้วโลจิสติกส์เป็นสาขาที่ใครๆ ก็บอกว่าจำเป็นมานานมากๆ แต่ไม่มีครั้งไหนที่บทบาทและหน้าที่ของสายงานโลจิสติกส์เด่นชัดและสำคัญมากเท่ากับช่วงโควิด-19

    วันนี้ Hothouses Thailand จะพาไปเจาะลึกกันว่าจริงๆ แล้ว logistics เรียนอะไรกัน จบแล้วทำงานอะไร และโอกาสในการหางานในต่างประเทศมีมากน้อยแค่ไหน

Logistics คืออะไร?

    โลจิสติกส์ (Logistics) คือ การจัดส่ง หรือการเคลื่อนย้าย สินค้า บริการ ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ จากจุดต้นทางไปยังจุดปลายทางตามความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น การขนส่ง การบริหารคลังวัสดุคงคลัง การจัดการวัตถุดิบ การบรรจุของ ฯลฯ

    ดังนั้น สาขา Logistics จึงเรียนเกี่ยวกับการจัดการ supply chain และการจัดการสินค้า การขนส่งและกระจายสินค้า วัสดุและบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากร การวางแผนอุปสงค์แลสินค้าคงคลัง การค้าการจัดการ ฯลฯ

    โดยโลจิสติกส์มีศาสตร์แขนงอื่นๆ เกี่ยวข้องอยู่ 3 สาขาหลักๆ ได้แก่

    - ด้านวิศวกรรมศาสตร์ โดยสาขาที่เกี่ยวข้องคือ วิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial engineeing) และวิศวกรรมโยธา (Civil engieering) ที่เกี่ยวกันก็เพราะนักศึกษาต้องรู้วิธีการเคลื่อนย้ายสินค้าด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด  (เช่น ใช้เวลา ใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด)

    - ด้านบริการธุรกิจ นักศึกษาต้องรู้กฎ ภาษี นโยบาย หรือยุทธศาสตร์เรื่องโลจิสติกส์ประเทศคู่ค้า และเรื่องอื่นๆ เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ เพื่อนำมาวางแผนขนส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ    

    - ด้านการจัดการสารสนเทศ เกี่ยวกับเรื่อง tech / software / hardware ที่ต้องนำมาใช้เพื่อหาทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการจัดการ

สาขาของโลจิสติกส์

แต่ละมหาลัยก็จะมีสาขาแตกต่างกันออกไป เราขอใส่ชื่อสาขาหลักๆ ดังนี้

1. วิทยาการเดินเรือ

    วิชาที่ต้องเรียนจะเกี่ยวกับ ‘หลักการการเดินเรือ’ เช่น กฎระเบียบและข้อบังคับในการเดินเรือ  การเดินเรือ ทักษะชาวเรือ ระบบเครื่องจักรขับเคลื่อนเรือ การทรงตัวเรือ  ฝึกภาคปฏิบัติทางทะเล นอกจากนี้ต้องเรียกฎหมายทะเลเบื้องต้น  และการจัดและการจัดเก็บสินค้าทางเรือด้วย

2. การจัดการอุตสาหกรรมพาณิชยนาวี

    วิชาที่ต้องเรียนในสาขานี้ก็เกี่ยวกับการเดินเรือพาณิชย์ทั้งหมด เช่น กฎหมายพาณิชยนาวี ประกันภัยทางทะเล ธุรกรรมธุรกิจพาณิชยนาวี ธุรกิจการเช่าเรือ การจัดการท่าเรือ กรจัดการการขนส่งทางทะเล ฯลฯ

3. สาขาการจัดการโลจิสติกส์

    วิชาที่ต้องเรียน เช่น การขนส่งและการกระจายสินค้า การจัดการการจัดหา  ทฤษฎีเกมส์และกลยุทธ์ทางธุรกิจ การลำเลียงวัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การขนส่งและการกระจายสินค้า การจัดซื้อ  การออกแบบและการปฏิบัติการคลังสินค้า  การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน

4. สาขาการค้าระหว่างประเทศและการจัดการโลจิสติกส์

    วิชาที่ต้องเรียนคือคล้ายๆ สาขาที่การจัดการโลจิสติกส์ แต่จะเรียนการจัดการระหว่างประเทศ ในต่างประเทศด้วย เช่น กฎหมายการขนส่งระหว่างประเทศ การจัดการการค้าชายแดน เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ โลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ฯลฯ

จบโลจิสติกส์แล้วทำงานอะไร?

    ทำงานได้ทั้งในภาครัฐและเอกชนเลย เพราะทั้งสองภาคส่วนนี้ต้องใช้คนในการดูแลหน่วยงานและธุรกิจที่ขยายตัวขึ้นด้วย

    ในภาคเอกชน อาจไปอยู่ในฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายควบคุมการผลิต ฝ่ายขนส่ง หรือเป็นนักวิเคราะห์ supply chian นักวางแผนการกระจายสินค้าและกระบวนการธุรกิจก็ได้

    ถ้าจะเบนสายไปทำธุรกิจส่วนตัวก็อาจเป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ หรือตัวแทนขนส่งทางเรือ ทางบกหรือทางอากาศก็ได้เช่นกัน

    ส่วนถ้าใครมองหางานราชการ กรมศุลกากร กรมการขนส่งทางอากาศ กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี กรมประมงก็เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ทักษะที่ต้องมีในการทำงานโลจิสติกส์ 

    การทำงานในสาขาโลจิสติกส์ต้องใช้ทั้ง hard skills และ soft skills เลย และถ้าได้เรื่องภาษาแล้วจะได้เปรียบมากๆ

    Hard skills ที่ต้องใช้ คือ ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ critical thinking การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การ monitor กระบวนการทำงาน การวางแผนการทำงาน

    นอกจากนี้ต้องมีความรู้เฉพาะทางด้วย อย่างเช่น Production and processing (การผลิตและการดำเนินการ) Administration and management (งานธุรการและการจัดการ) customer and personal service, Mathematics (คณิตศาสตร์  เช่น สถิติ, แคลคูลัส และอัลจีบรา) นอกจากนี้ยังต้องผ่านการอบรบด้านเทคนิคต่างๆ ด้วย

    Soft skills ที่ต้องใช้คือ การสื่อสารกับคนในทีม ทำงานร่วมกับคนอื่น การเจรจาและการแก้ไขความขัดแย้ง การเป็นผู้นำ

โอกาสทำงานในต่างประเทศ

    ในออสเตรเลีย สายงานโลจิสติกส์จะในภาคการขนส่ง (Transport), Postal and warehousing, manufacturing (โรงงาน) และ wholesale trade (ค้าส่ง) โดยมีอาชีพตั้งแต่คนขับรถ (ไม่ว่าจะเป็นรถบรรทุก รถขนส่งและไปรษณีย์ รถบัส รถเดลิเวอร์ลี รถยกของ รถไฟและรถราง) เสมียนขนส่ง และ ผู้จัดการห่วงโซ่อุปทาน การกระจายของและการจัดซื้อ (Supply, distribution and procurement manager)

    ในที่นี้เราขอโฟกัสไปที่ Supply, distribution and procurement manager แล้วกันนะ

    ในออสเตรเลียอาชีพนี้กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เป็นอาชีพที่มีตำแหน่งเยอะ และได้เงินประมาณ $2,519 ต่อสัปดาห์ (มากกว่าเงินทั่วไปที่อยู่ที่ $1,460) และส่วนใหญ่ต้องทำงานตรงเวลา

    สายงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ Production Clerks, Procurement Managers, Purchasing Officers, Production Managers, Transport Services Managers, Freight Handlers

    ในนิวซีแลนด์ สายงานด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็น Supply And Distribution Manager, Purchasing Officer, Warehouse Administrator, Production Clerk, Transport Company Manager, Production Manager (Manufacturing) ฯลฯ จะไม่อยู่ในลิสต์งานที่ขาดแคลน แต่จะอยู่ในลิสต์ Skill level classification ซึ่งสามารถสมัครวีซ่า Skilled Migrant Category Resident Visa และ Global Impact Permanent Residence Visa ของนิวซีแลนด์ได้

    ส่วน Procurement Manager ติดอยู่ใน Long term skill shortage list หรือ Truck Driver (General) ที่ติดอยู่ในลิสต์ Construction and Infrastructure skill shortage ทำให้หากมีประสบการณ์ด้านนี้สามารถสมัครวีซ่าข้างต้นได้เช่นกัน แต่จะมีโอกาสได้มากกว่าเพราะเป็นหนึ่งในสายงานที่ขาดแคลน

  Source: Dek-d, Joboutlook.gov.au, skillshortages.immigration.govt.nz

อาชีพ โล จิ สติ ก ส์ มีอะไรบ้าง

นักโลจิสติกส์มืออาชีพต้องรู้อะไรบ้าง

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ – สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จนถึงปริญญาโท ในสาขาโลจิสติกส์ การจัดการ บริหารธุรกิจ หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง – ควรมีความรู้ในด้านวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ ระบบการจัดเก็บ และระบบการจัดส่ง – ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในเกณฑ์ดี – ควรมีทักษะที่ดีในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา

นักโลจิสติกส์มีหน้าที่อะไรบ้าง

1. ส่วนงานโลจิสติกส์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของส่วนงาน ปรับปรุง พัฒนา สร้างเครือข่าย และจัดหาพันธมิตรเพื่อให้บริการโลจิสติกส์ ขององค์การคลังสินค้าเป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและครบวงจร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายในของหน่วยงาน

สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มีที่ไหนบ้าง

มหาวิทยาลัยศรีปทุม คณะ : วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเซน ... .
มหาวิทยาลัยกรุงเทพสุวรรณภูมิ คณะ : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ... .
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะ : บริหารธุรกิจ ... .
มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ คณะ : บริหารธุรกิจ ... .
มหาวิทยาลัยเกริก คณะ : บริหารธุรกิจ ... .
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ... .
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ... .
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คณะโลจิสติกส์ เรียนกี่ปี

โดยระยะเวลาในการเรียนตลอดหลักสูตรคือ 2 ปี และไม่เกิน 5 ปีการศึกษา โดยเปิดสอนภาคปกติในเวลาราชการ (เรียนวันจันทร์-ศุกร์) และภาคพิเศษ นอกเวลาราชการ (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์) วิชาการโลจิสติกส์มีรายวิชาที่เปิดสอน ดังนี้ หมวดวิชา