แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด

นักโบราณคดีชาวฮอลันดา ดร. เอช. อาร์. แวน ฮิงเกอเรน ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินเทาะซึ่งทำขึ้นโดยมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณใกล้สถานีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีข้อสันนิษฐานว่ามนุษย์เหล่านี้อาจเป็น มนุษย์ชวาและมนุษย์ปักกิ่ง ซึ่งอยู่อาศัยเมื่อประมาณ 5 แสนปีมาแล้ว อันเป็นหลักฐานในยุคหินเก่า


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



          ในประเทศไทยพบหลักฐานของมนุษย์ยุคหินกลางในหลายจังหวัด โดยที่อำเภอไทรโยค ได้ขุดค้นพบเครื่องมือหินและโครงกระดูก จึงทำให้สันนิษฐานว่าดินแดนซึ่งแม่น้ำกลองไหลผ่านได้มีมนุษย์อยู่อาศัยมานานกว่า 20,000 ปี ส่วนเครื่องปั้นดินเผาที่เก่าที่สุดในประเทศไทย อายุเกือบ 1,000 ปี ถูกค้นพบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน จึงทำให้เกิดแนวคิดที่ว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นถิ่นกำเนิดของการกสิกรรมครั้งแรกของโลกนอกจากนี้ยังค้นพบขวานหินขัดในหลายภาคของประเทศไทย ซึ่งเป็นหลักฐานของมนุษย์ยุคหินใหม่


          การขุดค้นโดยวิทยา อันทรโกศัย แห่งกรมศิลปากร ทำให้พบโครงกระดูกและเศษผ้าไหมติดกระดูกเครื่องปั้นดินเผาที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งคาดว่ามีอายุถึง 3,000 ปี ก่อนที่การค้นพบหลักฐานเพิ่มเติมที่ตำบลโคกพนมดี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งยืนยันว่ามีอายุ 5,000 ปี อาจเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมสูง และเผยแพร่ไปส่ประเทศจีนและส่วนอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย นายดอน ที บายาด ยังได้ขุดค้นขวานทองแดงในบ้านโนนนกทา จังหวัดขอนแก่น ยืนยันถึงการใช้เครื่องสำริดในยุคหินใหม่ ซึ่งเก่าแก่กว่าหลักฐานที่ขุดค้นพบในจีนและอินเดียกว่า 500-1,000 ปี


ชนพื้นเมืองและการอพยพเข้ามาในประเทศไทย


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


          นักมานุษยวิทยาได้จัดประเภทมนุษย์สมัยโบราณรุ่นแรกในตระกูลออสโตเนเซียน ซึ่งเป็นพวกที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อหลายพันปีที่แล้ว รวมทั้งเป็นบรรพบุรุษของชนชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปัจจุบัน ต่อมา มนุษย์ในตระกูลมอญและเขมรจะอพยพเข้ามาจากจีนหรืออินเดียด้วย ก่อนที่พวกไทยจะอพยพเข้ามาแย่งชิงดินแดนจากพวกละว้า ซึ่งเป็นชนชาติล้าหลังชาวเขาที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยปัจจุบันจึงสันนิษฐานว่าสืบเชื้อสายมาจากพวกละว้า


รัฐโบราณในประเทศไทย

          จากหลักฐานด้านโบราณคดี ตำนาน นิทานพื้นบ้าน บันทึกราชการของจีน และบันทึกของพระภิกษุจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในพุทธศตวรรษที่ 12 ทำให้ทราบว่ามีอารยธรรมมนุษย์ได้สถาปนาอำนาจในประเทศไทยเป็นเวลานานแล้ว โดยอาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน สามารถจำแนกได้ดังรายชื่อด้านล่าง

แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


  • อาณาจักรทวารวดี
  • อาณาจักรละโว้
  • อาณาจักรฟูนัน
  • อาณาจักรขอม
  • อาณาจักรเจนละ
  • แคว้นศรีจนาศะปุระ(รัฐศรีจนาศะ)
  • อาณาจักรโคตรบูร
  • อาณาจักรหริภุญชัย
  • อาณาจักรโยนกเชียงแสน
  • รัฐพันพัน
  • แคว้นคันธุลี
  • อาณาจักรตามพรลิงก์
  • อาณาจักรลังกาสุกะ
  • อาณาจักรเชียะโท้

สมัยอาณาจักรสุโขทัย และยุครุ่งเรืองของอาณาจักรล้านนา


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


          นครรัฐของไทยค่อย ๆ เป็นอิสระจากจักรวรรดิขะแมร์ที่เสื่อมอำนาจลง กล่าวกันว่า พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงสถาปนาราชอาณาจักรที่เข้มแข็งและมีเอกราชเมื่อ พ.ศ. 1781 อาณาจักรสุโขทัยมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่ในรูปแบบที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า ปิตุราชา หรือ พ่อปกครองลูก ที่ผู้ปกครองใกล้ชิดกับผู้ใต้ปกครอง ราษฎรสามารถสั่นกระดิ่งหน้าพระราชวังเพื่อร้องทุกข์แก่พระมหากษัตริย์ได้โดยตรง อาณาจักรสุโขทัยแผ่ขยายดินแดนออกไปอย่างกว้างขวางในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย หากเป็นช่วงสั้น ๆ เสถียรภาพของอาณาจักรได้อ่อนแอลงภายหลังการสวรรคตของพระองค์ รัชสมัยพญาลิไทมีการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองมาเป็นธรรมราชา จากการรับอิทธิพลของศาสนาพุทธนิกายเถรวาท แบบลังกาวงศ์ อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมลงและตกเป็นเมืองขึ้นของรัฐไทยอีกรัฐหนึ่งที่อุบัติขึ้น คือ อาณาจักรอยุธยาในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง


          ในเวลาไล่เลี่ยกัน พญามังรายได้สถานปนาอาณาจักรล้านนาขึ้นในปี พ.ศ. 1802 โดยได้ขยายอำนาจมาจากลุ่มน้ำแม่กกและอิง สู่ลุ่มแม่น้ำปิง พญามังรายได้สร้างเมืองเชียงใหม่ และทรงมีสัมพันธ์อันดีกับพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัย อาณาจักรเชียงใหม่หรือล้านนา มีอำนาจสืบต่อมาในแถบลุ่มแม่น้ำปิง อย่างไรก็ตาม เชียงใหม่มีความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่นนักกับอาณาจักรอยุธยาหรือกรุงศรีอยุธยา ที่เรืองอำนาจในพุทธศตวรรษที่ 19–20 มีการทำสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะอย่างต่อเนื่อง


          สาเหตุการเลือกอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย

          นักวิชาการให้เหตุผลในการเลือกเอาอาณาจักรสุโขทัยเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทยไว้ 2 เหตุผล ได้แก่:


          วิชาประวัติศาสตร์มักจะยึดเอาการที่มนุษย์เริ่มมีภาษาเขียนเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ หลักฐานประเภทลายลักษณ์ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งเมื่อประกอบกับการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จึงเหมาะสมที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ไทย

เป็นการสะดวกในด้านการนับเวลาและเหตุการณ์ที่ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้ นักประวัติศาสตร์มีหลักฐานความสืบเนื่องกันตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน

ทว่า เหตุผลทั้งสองประการก็ยังไม่เป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นเอกฉันท์นัก


สมัยอาณาจักรอยุธยา

แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


          พระเจ้าอู่ทองทรงก่อตั้งอาณาจักรอยุธยาในปี พ.ศ. 1893 ซึ่งในช่วงแรกนั้นก็มิได้เป็นศูนย์กลางของชาวไทยในดินแดนคาบสมุทรอินโดจีนทั้งปวง แต่ด้วยความเข้มแข็งที่ทวีเพิ่มขึ้นประกอบกับวิธีการทางการสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทยกลุ่มต่าง ๆ ในที่สุดอยุธยาก็สามารถรวบรวมกลุ่มชาวไทยต่าง ๆ ในดินแดนแถบนี้ให้เข้ามาอยู่ภายใต้อำนาจได้ นอกจากนี้ยังกลายมาเป็นรัฐมหาอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างรวดเร็ว


          การเข้าแทรกแซงสุโขทัยอย่างต่อเนื่องทำให้อาณาจักรสุโขทัยตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรอยุธยาในที่สุด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงปฏิรูปการปกครองโดยการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง การยึดครองมะละกาของโปรตุเกสในปี พ.ศ. 2054 ทำให้อยุธยาเริ่มการติดต่อกับชาติตะวันตก ในสมัยอาณาจักรอยุธยามีการติดต่อกับต่างประเทศอยู่หลายชาติ โดยชาวโปรตุเกสได้เดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากนั้น ชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมากและมีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวดัตช์ ชาวฝรั่งเศส ชาวจีน และชาวญี่ปุ่น


          ราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 16 เมื่อราชวงศ์ตองอูของพม่าเริ่มมีอำนาจมากขึ้น การสงครามอันยาวนานนับตั้งแต่ พ.ศ. 2091 ส่งผลให้อยุธยาตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรตองอูในที่สุด ก่อนที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชจะทรงประกาศอิสรภาพในอีก 15 ปีต่อมา


          อาณาจักรอยุธยาเป็นอาณาจักรที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล จากทิศเหนือจรดอาณาจักรล้านนา ไปจรดคาบสมุทรมลายูทางทิศใต้ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของอยุธยารุ่งเรืองขึ้นอย่างมากในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อย่างไรก็ตาม ความสงสัยในตัวของคอนสแตนติน ฟอลคอน ทำให้ถูกสังหารโดยพระเพทราชา อาณาจักรอยุธยาเริ่มเสื่อมอำนาจลงราวพุทธศตวรรษที่ 24 การทำสงครามกับพม่าหลังจากนั้นส่งผลทำให้อยุธยาถูกปล้นสะดมและเผาทำลาย เมื่อปี พ.ศ. 2310


สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์

แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


รัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น


          ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์


          ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอดจากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ


          สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังเผชิญกับการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สงครามเก้าทัพ, สงครามท่าดินแดงกับพม่า ตลอดจนกบฏเจ้าอนุวงศ์กับลาว และอานามสยามยุทธกับญวน


          ในช่วงนี้ กรุงรัตนโกสินทร์ยังไม่ค่อยมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกมากนัก ต่อมาเมื่อชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายอีก ได้ตระหนักว่าพวกพ่อค้าจีนได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนไทยและพวกตน จึงได้เริ่มเรียกร้องสิทธิพิเศษต่าง ๆ มาโดยตลอด มีการเดินทางเยือนของทูตหลายคน อาทิ จอห์น ครอเฟิร์ต ตัวแทนจากบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลงใด ๆ สนธิสัญญาที่มีการลงนามในช่วงนี้ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี และสนธิสัญญาโรเบิร์ต แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่ไม่มีผลกระทบมากนัก และชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด


           อย่างไรก็ตาม ได้มีคณะทูตตะวันตกเข้ามาเสนอสนธิสัญญาข้อตกลงทางการค้าอยู่เรื่อย ๆ เพื่อขอสิทธิทางการค้าให้เท่ากับพ่อค้าจีน และอังกฤษต้องการเข้ามาค้าฝิ่นอันได้กำไรมหาศาล แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งคณะของเจมส์ บรุคจากอังกฤษ และโจเซฟ บัลเลสเตียร์จากสหรัฐอเมริกา ทำให้ชาวตะวันตกขุ่นเคืองต่อราชสำนัก


การเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก


          ภายหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 พระมหากษัตริย์ไทยในรัชสมัยถัดมาจึงทรงตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากชาติมหาอำนาจในทวีปยุโรป และพยายามดำเนินนโยบายทอดไมตรีกับชาติเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม สยามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนหลายครั้ง รวมทั้งตกอยู่ในสถานะรัฐกันชนระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงกระนั้น สยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก


การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง

แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


          เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองแก่ประเทศไทยอย่างมาก และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานต้องสูญเสียอำนาจส่วนใหญ่ไปในที่สุด โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 ขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างถาวรเป็นฉบับแรก


          ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กับระบอบใหม่ รวมทั้งความขัดแย้งในผู้นำระบอบใหม่ด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวถูกมองว่าเป็นพฤติการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" เนื่องจากชนชั้นนำมองว่าชาวไทยยังไม่พร้อมสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งการปกครองในระยะแรกหลังการปฏิวัติยังคงอยู่ในระบอบเผด็จการทหาร


สงครามโลกครั้งที่สอง

แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


          ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลเอาดินแดนคืนของนิสิตนักศึกษา จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงส่งทหารข้ามแม่น้ำโขงและรุกรานอินโดจีนฝรั่งเศส จนได้ดินแดนคืนมา 4 จังหวัด ภายหลังการเข้าไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น โดยมีการรบที่เป็นที่รู้จักกันมาก ได้แก่ การรบที่เกาะช้าง


          ต่อมา หลังจากการโจมตีกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพญี่ปุ่นก็ได้รุกรานประเทศไทย โดยต้องการเคลื่อนทัพผ่านดินแดน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รวมทั้งลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลถูกต่อต้านจากทั้งในและนอกประเทศ เนื่องจากไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ


          หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 แม้ว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม แต่เนื่องจากการเคลื่อนไหวของขบวนการเสรีไทย ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับ และไม่ถูกยึดครอง เพียงแต่ต้องคืนดินแดนระหว่างสงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส และจ่ายค่าเสียหายทดแทนเท่านั้น


สงครามเย็น

แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


          รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาในระหว่างสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทรอินโดจีน และยังส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม


          ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่สุด


การพัฒนาประชาธิปไตย


          หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน



          ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (State Party of the World Heritage Convention) เมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๓๐  และเคยได้รับการเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการมรดกโลก (World Heritage Committee) มาแล้ว ๓ ครั้ง คือ ครั้งแรกระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๓๒ – ๒๕๓๘  ครั้งที่สอง ระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๔๐ – ๒๕๔๖  และครั้งล่าสุดระหว่างปี พุทธศักราช ๒๕๕๒ – ๒๕๕๖


          ปัจจุบันประเทศไทยมีแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนแล้ว ๕ แห่ง ดังนี้


🌳แหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม ๓ แห่ง

          1. อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ ๑๕   เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔  ที่เมืองคาร์เทจ ประเทศตูนิเซีย


          🌱ที่ตั้งและลักษณะทางกายภาพ



แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



              อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออก ๑๒ กิโลเมตร ตั้งอยู่บนพื้นที่ลานตะพัก มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีกำแพงเมืองสลับกับคูน้ำล้อมรอบ ๓ ชั้น มีแนวเทือกเขาประทักษ์อยู่ทางด้านทิศตะวันตก ส่วนทางด้านทิศตะวันออกมีคลองแม่ลำพันไหลผ่าน ซึ่งจะไหลไปลงสู่แม่น้ำยมที่อยู่ห่างออกไปประมาณ ๑๒ กิโลเมตร


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


              อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ตั้งอยู่ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศเหนือประมาณ   ๖๐   กิโลเมตร ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขาริมแม่น้ำยมทางฝั่งตะวันตก ลักษณะผังเมืองเป็นรูปหลายเหลี่ยมโค้งตามลำน้ำ มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ  


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด

   

              อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร มีระยะห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยไปทางทิศใต้ประมาณ ๗๐ กิโลเมตร อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ลักษณะผังเมืองเป็นรูปคล้ายสี่เหลี่ยมคางหมูวางแนวยาวขนานกับลำน้ำปิง มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบ


   

          🌱คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก


              ปัจจุบันสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่ปรากฏร่องรอยหลักฐานของอารยธรรมอันรุ่งเรืองในอดีต สะท้อนให้เห็นภาพของอาณาจักรสุโขทัยในความเป็น “รุ่งอรุณแห่งความสุข” เป็นต้นกำเนิดของประวัติศาสตร์ชาติไทยที่ได้พัฒนาเป็นรัฐสำคัญของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘ – ๒๐ เป็นเวลานานประมาณ ๒๐๐ ปี ด้วยความโดดเด่นนี้เองส่งผลให้เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร ได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นอุทยานประวัติศาสตร์และได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยคุณค่าความโดด


          🌱มรดกโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ในปัจจุบัน


              อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ในปัจจุบันได้รับการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศ มีลักษณะการใช้พื้นที่ทั้งส่วนที่เป็นโบราณสถานที่ได้รับการดูแลโดยกรมศิลปากร และพื้นที่ข้างเคียงซึ่งที่อยู่อาศัยของชุมชนท้องถิ่น โดยกำหนดและจัดสรรการใช้ประโยชน์พื้นที่อย่างชัดเจน รวมทั้งควบคุมสิ่งก่อสร้างและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ โดยคณะกรรมการพิจารณาการอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารและใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตโบราณสถาน ร่วมกันพิจารณาเพื่อนำเสนอความเห็นต่ออธิบดีกรมศิลปากรผู้อำนาจในการอนุญาต ปัจจุบันชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์เริ่มขยายตัวพร้อมๆ กับการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกับแนวทางของเมืองประวัติศาสตร์และเป็นเมืองมรดกโลก เช่น การสร้างอาคาร สิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้นภายในเขตเมืองเก่า ตลอดจนบดบังทัศนียภาพ หรือสภาพภูมิทัศน์ ทำให้ขาดความสง่างามและคุณค่าของโบราณสถาน รวมทั้งการขาดหน่วยงานที่ต้องดำเนินการ ด้านอนุรักษ์การอย่างพอเพียง ดังนั้นจึงต้องสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ให้ตระหนักในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม และช่วยกันดูแลรักษาให้เป็นมรดกที่ทรงคุณค่าตกทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลังสืบไป


          2. อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดก จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ณ กรุงคาร์เธจ ประเทศตูซิเนีย เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๓๔


              อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ที่ เกาะเมือง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรี-อยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ในเขตที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่างของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปทางทิศเหนือ ๗๖ กิโลเมตร


              ตัวเกาะเมืองซึ่งเป็นศูนย์กลางของกรุงศรีอยุธยาในอดีต ถูกล้อมรอบด้วยแม่น้ำสำคัญ  ๓ สายคือ  แม่น้ำลพบุรีด้านทิศเหนือ   แม่น้ำป่าสักด้านทิศตะวันออก   และแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกและทิศใต้   ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมอันเป็นพื้นฐานของการตั้งถิ่นฐาน เป็นชุมทางคมนาคมที่เอื้อต่อการค้าทั้งภายในและภายนอก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการค้าที่มีความสำคัญของภูมิภาคเอเชียและของโลก ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๒๐ - ๒๓


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



พระราชวังโบราณ


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



วัดพระศรีสรรเพชญ์


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


วัดมหาธาตุ


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



วัดราชบูรณะ


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



วัดพระราม


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



วิหารพระมงคลบพิตร


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด

  

พระราชวังจันทรเกษม


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



วัดสุวรรณดาราราม


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



วัดพนัญเชิง


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


วัดใหญ่ชัยมงคล


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



วัดไชยวัฒนาราม


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


วัดวรเชษฐาราม


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



วัดภูเขาทอง


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


วัดหน้าพระเมรุ


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


เพนียดคล้องช้าง


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



วัดพุทไธศวรรย์


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


ปราสาทนครหลวง




          🌱คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก


              นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน ยังคงปรากฏร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของศิลป-วัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่   งดงาม   และทรงคุณค่า  สะท้อนให้รำลึกถึงภาพความโอ่อ่าสง่างามของปราสาทราชวังวัดวาอาราม ป้อมปราการ บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ตลอดจนวิถีชีวิตของชาวกรุงศรีอยุธยาในอดีต นครประวัติศาสตร์แห่งนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงความชาญฉลาดของชุมชนหนึ่ง นับตั้งแต่การเลือกที่ตั้งชุมชนในบริเวณที่มีแม่น้ำสามสายมาบรรจบกัน เพื่อให้เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งเกษตรกรรมอันอุดมสมบรูณ์         พร้อมไปกับเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันข้าศึกศัตรูจากภายนอก นอกจากนั้นผลงานด้านสถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม ประณีตศิลป์ และวรรณกรรม ยังเป็นประจักษ์พยานแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดของอารยธรรมแห่งชุมชนหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเวลาระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔ อีกด้วย


              หลักฐานแห่งอารยธรรมของชาวกรุงศรีอยุธยาส่งผลให้นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ได้รับการเชิดชูคุณค่าไว้ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก ในประพุทธศักราช ๒๕๓๔ ด้วยหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ ๓ ดังนี้


              เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว


          🌱มรดกโลกอยุธยา ในปัจจุบัน


              ปัจจุบันนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยากำลังมีกาารขยายตัวทางกายภาพอย่างมาก โดยมีการขยายเมือง เพื่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยต่าง ๆ การสร้างอาคารที่บดบังทัศนียภาพที่สวยงาม เป็นการทำลายคุณค่าของโบราณสถาน ตลอดจนการพัฒนาของถนนหนทางภายในเขตเมือง เพื่อรองรับการคมนาคมที่นักท่องเที่ยวต่างมาเยี่ยมชมอุทยานประวัติ-ศาสตร์ ทำให้เขตพัฒนาเป็นไปอย่างไร้ทิศทางของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม เช่น การสร้างเสาไฟรูปนางหงส์ ที่กระจายอยู่โดยทั่วของใจกลางเมืองพระนครศรีอยุธยา ปัญหาของขยะมูลฝอย การสร้างบ้านพัก ที่อยู่อาศัย บ้านจัดสรร อยู่โดยรอบโบราณสถาน และการถมคูคลองต่าง ๆ เป็นต้น


              ดังนั้นหากอุทยานประวัติศาสตร์นครศรีอยุธยาไม่ได้รับการเอาในใส่ดูแลจากหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะท้องถิ่นที่ต้องมีความเข้าใจในการพัฒนาเมืองที่เป็นเมืองเก่า ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ จะต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย และทำลายคุณค่าของความเป็นเมืองเก่าที่ได้รับการยอมรับเป็นเมืองมรดกโลก ก็อาจจะทำให้เมืองเก่าแห่งนี้ถูกลดถอยความสำคัญในอนาคตได้


          3.แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๖ ที่เมืองแซนตาเฟ ประเทศสหรัฐอเมริกา


              แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญแห่งหนึ่ง อยู่ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ที่ทำให้รับรู้ถึงการดำรงชีวิตในสมัยก่อนประวัตศาสตร์ ย้อนหลังไปกว่า ๔,๓๐๐ ปี ร่องรอยของมนุษย์ในประเทศไทยสมัยดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่มีพัฒนาการแล้วในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านความรู้ความสามารถหรือภูมิปัญญา อันเป็นเครื่องมือสำหรับช่วยให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิต และสร้างสังคมวัฒนธรรมของมนุษย์ได้สืบเนื่องต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนาน วัฒนธรรมบ้านเชียง ได้ครอบคลุมถึงแหล่งโบราณคดีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออีกกว่าร้อยแห่งเป็นบริเวณพื้นที่ที่มีมนุษย์อยู่อาศัยหนาแน่นมาตั้งแต่หลายพันปีแล้ว ด้วยเหตุนี้เององค์การยูเนสโก ของสหประชาชาติจึงได้ยอมรับขึ้นบัญชีแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงไว้เป็นแห่งหนึ่งในบรรดามรดกโลก


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


              ผลการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดีจากบ้านเชียงที่มีอยู่ แสดงให้เห็นว่าวัฒนธรรมบ้านเชียงเริ่มต้นขึ้นเมื่อราว ๕,๖๐๐ ปีมาแล้ว และมีความต่อเนื่องมาจนถึงราว ๑,๘๐๐ ปีมาแล้ว ในช่วงระยะเวลายาวนานนับพันๆ ปีของวัฒนธรรมบ้านเชียงได้มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ตลอดเวลา ซึ่งสะท้อนออกมาให้เห็นทั้งในด้านพฤติกรรมและวัตถุเนื่องในวัฒนธรรมซึ่งได้แก่ ประเพณีการฝังศพ และภาชนะดินเผา


          🌱คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


              แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง เป็นปรากฎการณ์สำคัญของอารยธรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่มีความโดดเด่นที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นตัวแทนวิวัฒนาการด้านวัฒนธรรม สังคม และเทคโนโลยี ที่มีความเจริญรุ่งเรืองสืบทอดยาวนานกว่า ๕,๐๐๐ ปี ในช่วงเวลาระหว่าง ๓,๖๐๐ ปีก่อนคริสตศักราชถึงคริสตศักราช ๒๐๐ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้รับการขึ้นทะเบียนไว้ในทะเบียนบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลกแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๕ ด้วยคุณค่าและความโดดเด่นตามหลักเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ ๓ ดังนี้


    “เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว”


          🌱มรดกโลก บ้านเชียง ในปัจจุบัน




แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


               ด้วยคุณค่าและความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างแก่ชุมชนในปัจจุบัน บ้านเชียงได้กลายเป็นหมู่บ้านมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในฐานะแหล่งมรดกโลก ด้านวิชาการ ข้อมูล และโบราณวัตถุจำนวนมหาศาลได้รับการวิเคราะห์แปลความ  โดยนักโบราณคดีที่ทำการศึกษาตามหลักวิชาการ     แต่อย่างไรก็ตามแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้ถูกลักลอบขุดค้น และซื้อขายในตลาดมืดกันอย่างมากมาย โดยทางราชการก็ได้ใช้มาตรการทางกฏหมาย เช่น พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พุทธ-ศักราช ๒๕๓๕ รวมถึงประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๑๘๙ ที่ห้ามการขุดค้นในพื้นที่บ้านเชียงและบริเวณโดยรอบ ปัจจุบันชุมชนบ้านเชียง ได้มีขยายตัวและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เช่น การสร้างบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย จึงต้องเร่งกำหนดขอบพื้นที่ที่ชัดเจนและครอบคลุม เพื่อรักษาแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง มิให้ถูกทำลายหลักฐานทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ดังนั้นการสร้างความรู้ความเข้าใจ และความร่วมมือร่วมใจกันของทุกองค์กร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อช่วยกันอนุรักษ์แหล่งโบราณคดีที่มีความสำคัญแห่งนี้ไว้ให้เป็นมรดกตกทอดต่ออนุชนรุ่นหลังต่อไป


🌳แหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ ๒ แห่ง


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



          1.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปีพุทธศักราช ๒๕๓๔ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้งนับเป็นสถานที่ธรรมชาติแห่งแรกของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียออกเฉียงใต้ที่ได้เป็นมรดกโลก



              เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง ได้รับการยกย่องให้เป็นผืนป่าอันยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทย ประกอบด้วยผืนป่าอนุรักษ์ ๓ แห่ง ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าด้านตะวันออก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่ถึง ๖,๒๒๒ ตารางกิโลเมตร หรือ ๓,๘๘๘,๗๕๐ ไร่ อยู่ภายในเขต จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดตาก จังหวัดกาญจนบุรี นับเป็นป่าอนุรักษ์ที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดของประเทศ


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


 เสือดาว อยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์เช่นเดียวกับเสือโคร่งจึงถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



สมเสร็จ สัตว์ป่าหายากและมีแนวโน้ม ใกล้สูญพันธุ์จนถูกบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อ ๑ ใน ๑๕ ชนิดของสัตว์ป่าสงวนเมืองไทย


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


นกเงือกสีน้ำตาลป่าตะวันตก    


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด


นกแก๊ก นกเงือกชนิดเล็กที่สุดในเมืองไทย

แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด

                 

นกเงือกกรามช้างปากเรียบ เป็นนกเงือกหายากที่สุดในเมืองไทย พบเฉพาะทางภาคตะวันตก จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทที่ ๑


         🌱คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก


             เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและห้วยขาแข้ง นับเป็นผืนป่าอนุรักษ์ขนาดใหญ่ของประเทศ ที่เป็นตัวแทนแสดงลักษณะทางชีววิทยาที่สำคัญของผืนป่าในแผ่นดินใหญ่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นแหล่งรวมของความหลากหลายทางชีวภูมิศาสตร์ ถึง ๔ เขต คือ ไซโน-หิมาลายัน (Sino-Himalayan) อินโด-เบอร์มิส (Indo-burmese) อินโด-ไชนิส (Indo-chinese) และซุนเดอิก (Sundaic) รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่อุดมสมบูรณ์ทั้งเขต ที่ราบฝั่งตะวันออกในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นบริเวณที่โดดเด่นที่สุด เป็นตัวแทนระบบ นิเวศป่าเขตร้อนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความอุดมสมบูรณ์และปลอดภัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก


          2.อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ปางสีดา ทับลาน ตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงรัก ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ "ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่"จากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒๙ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๔๘ ที่เมืองเดอร์บัน ประเทศแอฟริกาใต้


แหล่งอารยธรรมหินใหม่ที่สำคัญคือแหล่งอารยธรรมใด



         🌱สถานที่ที่ได้ลงทะเบียนเป็นมรดกโลก


     อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน อุทยานแห่งชาติปางสีดา อุทยานแห่งชาติตาพระยา และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่



         🌱คุณค่าแห่งความเป็นมรดกโลก


              แหล่งมรดกโลกเขาใหญ่ ดงพญาเย็นนั้น เป็นผืนป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง โดยมีสภาพป่าแบบต่างๆ ตั้งแต่ ป่าดงดิบ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ และทุ่งหญ้า


              พื้นที่ตรงผืนป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่นั้น เคยได้รับการเสนอชื่อขึ้นไปครั้งหนึ่งแล้วเมื่อปี พุทธศักราช ๒๕๓๓แล้ว ซึ่งในขณะนั้นได้เสนอแหล่งธรรมชาติอีก ๓ แหล่งสู่ที่ประชุมองค์การยูเนสโกเพื่อพิจารณา คือ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เขตรักษาพันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่ -ห้วยขาแข้ง และอุทยานแห่งชาติตะรุเตา และปรากฏว่าเขตรักษาพันธุ์สัตวป่าทุ่งใหญ่ - ห้วยขาแข้ง ได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงแห่งเดียว ด้วยเหตุที่ว่าอุทยานแห่งชาติที่เหลือทั้ง ๒ แห่งนั้นเล็กเกินไป และยังมีนโยบายที่ไม่แน่นอนและไม่เพียงพอ



             อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เป็นแหล่งที่มีชนิดพันธุ์ของพืชและสัตว์ที่ไม่สามารถพบได้ที่อื่นเป็นจำนวนมาก โดยในจำนวนพืชราว ๑๕,๐๐๐ ชนิดที่พบในประเทศไทย สามารถพบในแหล่งมรดกโลกนี้ถึง ๒,๕๐๐ ชนิด มีพืชเฉพาะผืนป่านี้ถึง ๑๖ ชนิด มีสัตว์ป่ากว่า ๘๐๐ ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ๑๑๒ ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำกว่า ๒๐๙ ชนิด นกกว่า ๓๙๒ ชนิด และเงือก ๔ ชนิด ใน ๖ ชนิดที่พบในประเทศไทย