ลักษณะ เด่น ของ พระพุทธ ศาสนาที่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทยมี อะไร บ้าง

วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง พระพุทธศาสนาเป็นเอกลักษณ์ของชาติไทย

Show

คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ทำให้พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในด้านต่างๆ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ไทย ด้านอุปนิสัย หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา มีอิทธิพลต่อการอบรมสั่งสอน ด้านสังคม สังคมไทยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการดำรงชีวิต ด้านการศึกษา ในอดีตวัดเป็นสถานศึกษาของคนไทย ด้านประเพณี เช่น งานอุปสมบท งานทอดกฐิน เป็นต้น การกำหนดวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันหยุดราชการ ได้แก่ วันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา วันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา เพื่อให้ชาวพุทธได้ไปปฏิบัติศาสนพิธีร่วมกัน

                1. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ชาวไทยส่วนใหญ่นับถือ ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศร้อยละ 95 นับถือพระพุทธศาสนาที่สืบต่อมาจากบรรพบุรุษ นับตั้งแต่ไทยมีประวัติศาสตร์ชัดเจนชาวไทยก็นับถือพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว หลักฐานโบราณ ได้แก่ โบราณสถานที่เป็นศาสนสถาน โบราณวัตถุ เช่น พระธรรมจักร  ใบเสมา พระพุทธรูป ศิลาจารึก เป็นต้น แสดงว่าผู้คนในดินแดนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา (ทั้งนิกายเถรวาทและมหายาน) มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 กล่าวได้ว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาช้านานแล้ว

                     2. พระพุทธศาสนาเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย เนื่องจากชาวไทยนับถือพระพุทธศาสนามาช้านาน จนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาได้หล่อหลอมซึมซับลงในวิถีไทย กลายเป็นรากฐานวิถีชีวิตของคนไทยในทุกด้าน ทั้งด้านวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีและศีลธรรม ดังนี้

                 1) วิถีชีวิตของคนไทย คนไทยมีวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ การแสดงความเคารพ การมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความกตัญญูกตเวที การไม่อาฆาตหรือมุ่งร้ายต่อผู้อื่น ความอดทนและการเป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส รื่นเริง เป็นต้น ล้วนเป็นอิทธิพลจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ซึ่งได้หล่อหลอมให้คนไทยมีลักษณะเฉพาะตัว เป็นเอกลักษณ์ของคนไทยที่นานาชาติยกย่องชื่นชม

                 2) ภาษาและวรรณกรรมไทย ภาษาทางพระพุทธศาสนา เช่น ภาษาบาลีมีอยู่ในภาษาไทยจำนวนมาก วรรณกรรมไทยหลายเรื่องมีที่มาจากหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ไตรภูมิกถา ในสมัยสุโขทัย กาพย์มหาชาติ นันโทปนันทสูตรคำหลวง พระมาลัยคำหลวง ปุณโณวาทคำฉันท์ ในสมัยอยุธยา เป็นต้น

                 3) ขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ประเพณีไทยที่มาจากความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามีอยู่มากมาย เช่น การอุปสมบท ประเพณีทอดกฐิน ประเพณีแห่เทียนพรรษา ประเพณีชักพระ เป็นต้น กล่าวได้ว่าขนบธรรมเนียมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนามีความผูกพันกับคนไทยตั้งแต่เกิดจนตาย

               4) ศิลปกรรมไทย พระพุทธศาสนาเป็นบ่อเกิดของศิลปะแขนงต่างๆ วัดเป็นแหล่งรวมศิลปกรรมไทย ทางด้านสถาปัตยกรรม เช่น รูปแบบการเสร้างเจดีย์ พระปรางค์ วิหาร ที่งดงามมาก เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพมหานคร ประติมากรรม ได้แก่ งานปั้นและหล่อพระพุทธรูป เช่น พระพุทธลีลาในสมัยสุโขทัย พระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก จิตรกรรม ได้แก่ ภาพวาดฝาผนังและเพดานวัดต่างๆ เช่น จิตรกรรมฝาผนัง วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร

            3. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจของสังคมไทย พระสงฆ์เป็นผู้นำทางจิตใจของประชาชน เป็นศูนย์กลางของความเคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชน เพื่อให้คนไทยประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม นอกจากนี้วัดยังเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมของชุมชน สร้างความสามัคคีในชุมชน

            4. พระพุทธศาสนาเป็นหลักในการพัฒนาในการพัฒนาชาติไทย หลักธรรมทางพระพุทธศาสนามุ่งเน้นการพัฒนาคนให้เป็นบุคคลที่มีคุณภาพทั้งด้านสุขภาพกาย  สุขภาพจิต ใช้คุณธรรมและสติปัญญาในการดำเนินชีวิตเพื่อพัฒนาตนเองและร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาชุมชน  พัฒนาสังคม  และพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้พระสงฆ์หลายท่านยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้นำชุมชนพัฒนาในด้านต่างๆ เช่น การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่น วัดเป็นแหล่งการเรียนรู้ของสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวไทยได้บวชเรียนในพระพุทธศาสนา ได้ฝึกฝนอบรมตนให้เป็นคนดี เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชาติไทย

            5. พระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในสามสถาบันหลักของชาติไทย สถาบันหลักของชาติไทยที่คนไทยทุกคนให้ความเคารพนับถือ ประกอบด้วย ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ รัฐธรรมนูญไทยได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ หมายถึง พระประมุขของชาติไทยที่ทรงนับถือพระพุทธศาสนาเช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ และยังเป็นอัครศาสนูปถัมภก คือ ทรงให้ความอุปถัมภ์ศาสนาทุกศาสนาในประเทศไทย

ลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทยมีอะไรบ้าง

สังคมไทย หมายถึง กลุ่มชนชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกันในประเทศไทย มีขนบธรรมเนียมประเพณีแบบไทย มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่โดดเด่นต่างจากสังคมอื่น ได้แก่ ภาษาพูด ภาษาเขียน การแต่งกาย ความเชื่อ มารยาท อาหาร การดำเนินชีวิตที่มีพุทธศาสนาเป็นพื้นฐาน เป็นต้น

คนไทยมีเอกลักษณ์ใดบ้างที่ได้รับมาจากพระพุทธศาสนา

คนไทยส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ทำให้พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนไทยในด้านต่างๆ จนกลายเป็นเอกลักษณ์ไทย ด้านอุปนิสัย หลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา มีอิทธิพลต่อการอบรมสั่งสอน ด้านสังคม สังคมไทยมีวัดเป็นศูนย์กลางในการดำรงชีวิต ด้านการศึกษา ในอดีตวัดเป็นสถานศึกษาของคนไทย ด้านประเพณี เช่น งานอุปสมบท งานทอดกฐิน เป็นต้น ...

ลักษณะเด่นของ พระพุทธ ศาสนา มี อะไร บ้าง

พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เกิดในประเทศ อินเดีย ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี (พระพุทธศาสนาเริ่ม ตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน) ลักษณะเด่นของ พระพุทธศาสนาคือเป็นศาสนาแห่งความรู้และความเป็น จริง เพราะเป็นศาสนาแห่งการตรัสรู้จากพระปัญญา อัน ยิ่งของพระพุทธองค์เอง พระธรรมที่ทรงตรัสรู้ คือ อริยสัจ ๔ ก็เป็นความจริงอันเที่ยงแท้ ...

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทยมีอะไรบ้างยกตัวอย่างมา 3 เรื่อง

- มารยาทไทย เช่นการไหว้ เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก การมีสัมมาคารวะ เคารพผู้อาวุโส รู้จักกาลเทศะ - ประเพณีไทย เช่น ผีตาโขน บุญบั้งไฟ การแห่ปราสาทผึ้ง แห่นางแมว - การแสดงแบบไทย เช่นลิเก โขน รำวง - ดนตรีไทย เช่นระนาด ปี่ ขลุ่ย อังกะลุง