คดีทำร้ายร่างกายมีโทษอะไรบ้าง

หน้าแรก > บทความกฎหมาย > ข้อแตกต่างระหว่างทำร้ายร่างกายผู้อื่น กรณีที่เป็นอันตราย และ กรณีไม่เป็นอันตราย

ข้อแตกต่างระหว่างทำร้ายร่างกายผู้อื่น กรณีที่เป็นอันตราย และ กรณีไม่เป็นอันตราย

  • คดีทำร้ายร่างกายมีโทษอะไรบ้าง

          ในยุคสมัยที่เปลี่ยนไป   แม้ว่าการศึกษา ความรู้ สติปัญญา ยังไม่นำมาช่วยตัดสินปัญหา แต่ใช้กำลังตัดสินปัญหาแทนด้วยอารมณ์โมโหในขณะนั้น สุดท้ายก็ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้นมา มีแต่ทำให้แย่ลง สำหรับบางคนนั้นมีการสำนึกผิด ขอโทษ ก็เป็นสิ่งดีแต่อาจจะดูเหมือนวัวหายแล้วล้อมคอกไปบ้าง แต่ยังส่อเจตนาที่สำนึกผิด แต่กลับบางคนนั้นทำผิดแล้วยังไม่ขอโทษ ไม่สำนึกผิด และไม่แก้ไขปัญหา เย่อหยิ่งในตัวเอง สุดท้ายมีการดำเนินคดีนั้น เรื่องสำนึกผิดนั้นก็เป็นเรื่องที่ศาลนำมาประกอบการพิจารณารอการลงโทษนะครับ คิดให้ดีว่าสิ่งที่ได้มาคือสะใจ กับสิ่งที่เสียไปคืออิสรภาพหากมีโทษจำคุก เงินทอง เวลา อนาคตในการรับราชการ อื่นๆมากมาย

          เพราะฉะนั้นแล้ว ใช้อารมณ์ตัดสินปัญหาไม่ดีครับ อย่าห้าวเลย!

          การทำร้ายร่างกายนั้นมีหลายมาตราที่กำหนดโทษเอาไว้ และมีอัตราโทษแตกต่างกันไป สำหรับบทความนี้ขอยกตัวอย่าง 2 กรณี คือ

          1. กรณีที่เป็นอันตราย ตามมาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

          - แผลแตก มีโลหิตไหล หรือฟันหักด้วย ถือว่ามาตรา 295 (เป็นอันตราย) ดู ฎ.3089/2541

          2. กรณีไม่เป็นอันตราย ตามมาตรา มาตรา 391  ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิด อันตรายแก่กายหรือจิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          - เป็นเพียงแผลรอยถลอก ขีดข่วน รอยช้ำบวม รอยช้ำแดง รักษาไม่กี่วันหาย ถือว่ามาตรา 391 (ไม่เป็นอันตราย)  ฎ.440/2530 , 692/2535 , 370/2536 , 2192/2539

           ตัวอย่าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 440/2530 

          จำเลยเพียงแต่ใช้มือตบตี และใช้ไม้ไผ่ผ่าซีกขว้างผู้เสียหายโดยไม่ปรากฏว่าไม้ไผ่ดังกล่าวมีขนาดใหญ่เล็กเพียงใด บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับก็เป็นเพียงรอยถลอกไม่มีโลหิตไหล อีกแห่งหนึ่งเพียงแต่บวมเมื่อกดตรงที่บวมจึงเจ็บและจะรักษาหายได้ในเวลาประมาณ 5 วัน ซึ่งเป็นเพียงการคาดคะเนของแพทย์ความจริงอาจจะหายเป็นปกติภายในเวลาไม่ถึงกำหนดที่กะประมาณไว้ก็ได้ จำเลยคงมีความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 391เท่านั้น

ปรึกษากฎหมายโทร 080-9193691 , 02-0749954 หรือ แอดไลน์ @closelawyer หรือ คลิก https://line.me/R/ti/p/%40closelawyer

แบบฟอร์มปรึกษากฎหมาย/คดีความ

กรุณากรอกข้อมูลให้ครบถ้วน ทีมงานจะตอบคำถามท่านภายใน 3 วัน

Visitors: 561,462

คดีทำร้ายร่างกายมีโทษอะไรบ้าง

เรื่องของความรุนแรงในครอบครัว เป็นสิ่งที่เราเห็นในสังคมมานาน บางที่ถึงขั้นลงไม้ลงมือทำร้ายร่างกายกันก็มี คนที่ตกเป็นเหยื่อหลายรายไม่กล้าบอกความจริงกับญาติ หรือไม่กล้าเข้าแจ้งความเอาผิด ยิ่งถ้าคนนอกอยากเข้าไปช่วย แล้วกลับเจอประโยค “เรื่องผัวเมียอย่ามายุ่ง!!” เจอแบบนี้ไป น้อยคยนักที่จะกล้าเข้าไปยุ่ง แต่การที่สามีภรรยาทะเลาะกันเป็นปกติแบบนี้มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง

คดีทำร้ายร่างกายมีโทษอะไรบ้าง

การทะเลาะของสามีภรรยาถึงขั้นลงไม้ลงมือทำร้ายร่างกายกันถือว่ามีความ “ผิด” ตามประมวลกฎหมายอาญา กำหนดโทษของคดีทำร้ายร่างกาย โดยเจตนาไว้หลายระดับ ตามความหนักเบาของบาดแผลที่เกิดขึ้น เป็นการกระทำต่อบุคคลเฉพาะที่กำหนดไว้ หรือมีพฤติกรรมพิเศษ ดังนี้

มาตรา 391 ผู้ใดใช้กำลังทำร้ายผู้อื่นโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือ จิตใจ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ยกตัวอย่างเช่น ตบหน้ามีรอยแดงๆ ชกต่อยเพียงฟกช้ำไม่มีเลือดไหล ศีรษะโน เป็นต้น

มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นนั้น ผู้นั้นกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 296 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย ถ้าได้กระทำต่อบุคคลเฉพาะเจาะจง เช่น บุพการี เจ้าพนักงาน เป็นต้น หรือพฤติการณ์พิเศษ เช่น การวางแผนล่วงหน้า กระทำทารุณกรรม เป็นต้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 297 ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตราย สาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 ถึง 200,000 บาท โดยกำหนดลักษณะบาดแผลซึ่งถือเป็นอันตรายสาหัสไว้ 8 ลักษณะ เช่น ตาบอด ใบหน้าเสียโฉมอย่างติดตัว แท้งลูก ป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนาหรือทำงานไม่ได้เกินกว่า 20 วัน เป็นต้น

ศูนย์ช่วยเหลือสังคม สายด่วน 1300

อ้างอิง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ,296,297,297,391
พ.ร.บ.ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 (มาตรา 4, 23)
กฎหมายน่ารู้ : บ้านไม่ใช่เวทีมวย! เราจึงต้องช่วยหยุดความรุนแรง

ทำร้ายร่างกายสาหัสติดคุกกี่ปี

มาตรา ๒๙๗ ผู้ใดกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกาย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำร้ายรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

การทําร้ายร่างกาย มีอะไรบ้าง

(1) ทำร้ายบุพการี (2) ทำร้ายเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่จะกระทำ หรือได้กระทำรตามหน้าที่ (3) ทำร้ายผู้ช่วยเจ้าเหลือเจ้าพนักงาน ในการที่เจ้าพนักงานนั้นกระทำตามหน้าที่หรือเพราะเหตุที่ บุคคลนั้นจะช่วย หรือได้ช่วยเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว (4) ทำร้ายผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

ทำร้ายร่างกายฟ้องได้ไหม

มาตรา 300 ผู้ใดกระทำโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกิน หกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เป็นโจทก์ฟ้อง คดีทำร้ายร่างกาย หรือถูกฟ้องเป็นจำเลย

ใครทำร้ายดิว

โดยงานนี้สาว "ดิว อริสรา" ได้รับบาดเจ็บและกลายเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตเมื่อช่วงต้นเดือนเมษายนปี 2564 ซึ่งนายสาคร ศิริชัย ทนายความส่วนตัวของสาว ดิว ได้เผยว่าพนักงานสอบสวน สน.ปากคลองสาน ได้แจ้งข้อหา นางสาวรัตน์ตินันท์ ฯ ฐานทำร้ายร่างกายต่อมาเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 พนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องนางสาวรัตน์ตินันท์ต่อศาลแขวง ...