คุณสมบัติของนักโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง

         ระบบ Logistic มีบทบาทมากขึ้นในโลกของการทำธุรกิจในปัจจุบัน และจะมีมากขึ้นไปเรื่อย ๆ ในอนาคต ด้วยเหตุของการสื่อสารที่ไร้พรมแดน และไร้ขีดจำกัดโดยสิ้นเชิง ทำให้การติดต่อทำธุรกรรมต่าง ๆ สะดวกสบายมากขึ้น การเติบโตของระบบธุรกิจที่อาศัยประโยชน์ของ Logistics ทำให้ตลาดแรงงานด้านนี้ เติบโตตามไปด้วย ทำให้คนหางานจำนวนหนึ่งให้ความสนใจกับงานด้านนี้

          งาน Logistics หรือที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่าเป็น งานขนส่งสินค้า ได้กลายเป็นส่วนสำคัญ และก้าวเข้ามามีบทบาททางธุรกิจมากขึ้น ระบบ Logistics ได้กลายมาเป็นระบบที่ถูกนำมาปรับใช้ในหลาย ๆ ธุรกิจ โดยมีหัวใจสำคัญอยู่ที่การขนส่งเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังจุดหมายด้วยวิธีการ และระบบที่ดีที่สุด   

          ตำแหน่งงาน Logistics เป็นตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดส่งสินค้า และทรัพยากรอย่างอื่น จากต้นทางไปสู่ปลายทาง ซึ่งมีความต้องการของผู้บริโภครออยู่ ผู้ที่ทำงานด้าน Logistics ส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้ที่เรียนจบมาทางด้าน Logistics ซึ่งเปิดสอนในหลาย ๆ มหาวิทยาลัย เช่น คณะโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ (สาขาการจัดการด้านโลจิสติกส์ ) คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (สาขาบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ โลจิสติกส์และการขนส่ง) คณะวิศวกรรมศาสตร์ (สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์)

          ผู้ที่เรียนจบ และสนใจงานด้าน Logistics สามารถไปประกอบอาชีพได้ค่อนข้างหลากหลาย โดยตำแหน่งที่เป็นที่รู้จักในสายงานนี้ เช่น ผู้ปฏิบัติงานนำเข้าและส่งออกสินค้า ผู้จัดซื้อสินค้าจากต่างประเทศ พนักงานคลังสินค้า พนักงาน Shipping พนักงานประเมินราคา ตัวแทนการนำเข้าและส่งออกสินค้า ผู้ดูแลคลังสินค้า เจ้าหน้าที่คลังสินค้า พนักงานฝ่ายสินค้าและพัสดุ เจ้าหน้าฝ่ายจัดซื้อต่างประเทศ

คุณสมบัติของผู้ที่ทำงานด้าน Logistics

  • มีความรู้หรือเรียนจบมาทางด้าน Logistics
  • มีระเบียบ และมีความละเอียดรอบคอบในการทำงาน
  • ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ และปฏิบัติตามกฎอย่างเคร่งครัด
  • สามารถทำงานเป็นกะ หรือทำงานล่วงเวลาได้
  • มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานได้
  • สามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการระบบ Logistics ได้
  • สามารถทำงานเป็นทีมได้ เป็นได้ทั้งผู้นำ และผู้ตามในบางโอกาส

ลักษณะของงานของเจ้าหน้าที่ Logistics

  • คุณสมบัติของนักโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง
    ตรวจสอบสินค้าว่าเป็นสินค้าประเภทใด มีความปลอดภัย และสามารถเคลื่อนย้ายไปยังจุดหมายได้หรือไม่
  • จัดเตรียมสถานที่ในการเก็บรักษาสินค้า ให้อยู่ในสถานที่ และอุณหภูมิที่เหมาะสม ไม่ทำให้สินค้าเกิดความเสียหาย
  • จัดรายการสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงและดูแล
  • ดูแลความปลอดภัยของสถานที่ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสินค้า หรือวัตถุดิบ
  • ดูแลการเคลื่อนย้ายสินค้าเข้า-ออกคลังสินค้า
  • บันทึกรายงานถึงผู้บริหารคลังสินค้าทุกขั้นตอน พร้อมจัดเตรียมการ ป้องกันแก้ไขเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน
  • ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

          งาน Logistics เป็นงานที่มาพร้อมกับการเติบโตของธุรกิจ ไม่ว่าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจจะมีมากน้อยเพียงใด งานด้านนี้ก็สามารถเติบโตตามไปด้วย และจะยิ่งทำให้ตลาดแรงงานเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น ผู้หางานด้าน Logistics จึงต้องเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการหางาน พิสูจน์ให้นายจ้างเห็นว่าเรามีความเหมาะสมเพียงใดกับตำแหน่งงานนี้

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

Logistic อาวุธลับในการแข่งขันของธุรกิจ

           การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบให้หลายธุรกิจต้องปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้หลายบริษัทหันมาใส่ใจเรื่องของการสร้าง Customer Experience เกี่ยวกับความสะดวกสบายและความรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการส่งสินค้า เอกสาร อาหาร และอื่นๆ อีกมากมาย ส่งผลให้สายอาชีพอย่างโลจิสติกส์เป็นสายอาชีพที่ฮอตฮิตจนหลายคนเริ่มหันมาสนใจและอยากหาข้อมูลเพิ่มเติมกันมากขึ้น ใครที่กำลังสนใจอยาก เรียนโลจิสติกส์ หรืออยากทำงานด้านนี้ วันนี้ JobsDB มีข้อมูลมาฝากกันค่ะ  

คุณสมบัติของนักโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง

           สาขาวิชาโลจิสติกส์ ส่วนใหญ่ล้วนเกี่ยวข้องกับการจัดการระบบขนส่ง หรือการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ ทั้งภาคพื้นดิน ทางเรือ และทางอากาศ แต่โลจิสติกส์ไม่ใช่แค่เรื่องของการขนส่งเท่านั้น สายงานด้านนี้ยังรวมไปถึงกระบวนการ วิธีการ การวางแผนสินค้าคงคลัง การจัดเก็บ ควบคุม การบริหารธุรกิจ รวมถึงต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเงิน การตลาดเบื้องต้นในการทำธุรกิจอีกด้วย

           การเรียนโลจิสติกส์สามารถเริ่มเรียนได้ตั้งแต่ ปวช. โดยหลักสูตรที่ ปวช.สาขาโลจิสติกส์จะได้เรียน ได้แก่

  • การประยุกต์การใช้หลักการบริหารและจัดการอาชีพ
  • การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • หลักการอาชีพที่สัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวชาชีพโลจิสติกส์
  • หลักการและกระบวนการทำงานในกลุ่มพื้นฐานด้านโลจิสติกส์

           หากจบหลักสูตรข้างต้นจะได้รับวุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาโลจิสติกส์ และสามารถเลือกศึกษาต่อได้ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงต่อได้ในสาขาการจัดการโลจิสติกส์ ได้แก่

  • ปริญญาตรีธุรกิจพาณิชยนาวีและโลจิสติกส์
  • ปริญญาตรีด้านโลจิสติกส์

           โดยสามารถปฏิบัติงานได้ในภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง โดยเน้นหนักด้านการจัดการด้านเอกสารในการนำสินค้าหรือวัตถุดิบเข้า-ออก

           สำหรับคนที่เข้ามาเรียนในสาขาทางด้านโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นคณะหรือสาขาของมหาวิทยาลัยไหนก็ตาม ในเรื่องหลักสูตร จะได้เจอวิชาหลักคล้ายกัน อย่างพื้นฐานวิชาทั่วไปที่น้องปี 1 จะได้เรียนคือ ธุรกิจ การบริหารจัดการ การตลาด การเงิน ภาษาอังกฤษ แคลคูลัส สถิติ มนุษยศาสตร์ เป็นต้น

           ส่วนในปีต่อ ๆ มาจะได้เรียนรายวิชาเฉพาะ เช่น การขนส่งและการกระจายสินค้า วัสดุและการบรรจุภัณฑ์ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การวางแผนอุปสงค์และสินค้าคงคลัง การจัดการโซ่อุปทานเชิงกลยุทธ์ เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับโลจิสติกส์ การค้าการจัดการ เป็นต้น หลังจากนั้นจะได้เรียนการสัมมนาทางโลจิสติกส์ รวมถึงออกสหกิจศึกษาในชั้นปีที่ 4

           เรียนโลจิสติกส์ จบมาแล้วทำงานอะไรได้บ้าง งานที่ทำมีความสำคัญอย่างไร ?

           หลังจากเรียนจบหลักสูตรในระดับปริญญาตรีแล้ว มาพูดถึงเส้นทางอาชีพและการทำงานกันบ้างดีกว่า โลจิสติกส์นั้นมีสายงานรองรับเยอะมาก โดยเฉพาะธุรกิจส่วนใหญ่ที่เป็นการนำเข้าส่งออก พอมีการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้อง หลายคนอาจติดภาพลักษณ์ว่า โลจิสติกส์ก็คือขนส่ง สายงานที่ทำคงมีแค่นั้น แต่จริงๆแล้วขนส่งเป็นเพียงหนึ่งในกิจกรรมของโลจิสติกส์เท่านั้น โดย 9 กิจกรรมหลักของโลจิสติกส์จะมี 

  • บริการลูกค้าและสนับสนุนการจัดการคำสั่งซื้อ
  • การจัดการคำสั่งซื้อ
  • การจัดการสินค้าคงคลัง
  • การจัดการคลังสินค้า
  • ขนส่ง
  • การพยากรณ์และการวางแผนความต้องการของลูกค้า
  • การจัดซื้อจัดหา
  • การขนถ่ายวัตถุดิบ และการบรรจุหีบห่อ
  • โลจิสติกส์ย้อนกลับ

           เมื่อเห็นกิจกรรมทั้ง 9 ของโลจิสติกส์แล้วจะรู้ได้เลยว่า ทั้งหมดเป็นกิจกรรมพื้นฐานที่สำคัญที่บริษัทส่วนใหญ่พึงมี ดังนั้นคนที่จบโลจิสติกส์มาจะสามารถทำงานได้ทุกงานในสายงานของโซ่อุปทานตั้งแต่ นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ Logistics Analyst  Material Planner นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ ไปจนถึงการประกอบธุรกิจส่วนตัว โดยเราสามารถแบ่งระดับและสายงานหลัก ๆ เป็น

  • ระดับปฏิบัติการ

           เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายซัพพลายเชนและโลจิสติกส์ ฝ่ายการขนส่ง ซึ่งในประเทศไทยมีบริษัททางขนส่งสินค้ามากกว่า 500 แห่ง รวมถึงบริษัทนำเข้าส่ง-ออก

  • ระดับบริหาร

           เช่น นักวิเคราะห์ด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน  นักวางแผน วัตถุดิบ การผลิต หรือการกระจายสินค้า นักวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ 

  • ประกอบธุรกิจส่วนตัว

           เช่น นำเข้าและส่งออก ผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ตัวแทนขนส่งทางบก ทางทะเล หรือทางอากาศ

  • รับราชการ 

           รับราชการในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชย์นาวี กรมประมง กรมการขนส่งทางอากาศ กรมศุลกากร และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • งานสายวิชาการ

           เช่น นักวิชาการ นักวิจัย อาจารย์ในสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หรือเรียนต่อระดับสูงขึ้น

           คนที่จะเรียนและทำงานในสายงานนี้ต้องมีคุณสมบัติอะไร เก่งอะไรบ้าง ?

           การทำงานในสาขาโลจิสติกส์ต้องใช้ทั้ง hard skills และ soft skills แต่ถ้าได้เรื่องภาษาด้วยจะได้เปรียบมากขึ้น เพราะจะเพิ่มโอกาสเติบโตในหน้าที่การทำงานได้มากเลยทีเดียว

  • Hard skills ที่ต้องใช้ คือ ความสามารถเฉพาะทางอย่าง ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ critical thinking การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน การ monitor กระบวนการทำงาน การวางแผนการทำงาน ความสามารถในการเจรจาต่อรอง

           นอกจากนี้ต้องมีความรู้เฉพาะทางอย่างเช่น Production and processing (การผลิตและการดำเนินการ) Administration and management (งานธุรการและการจัดการ) customer and personal service, Mathematics (คณิตศาสตร์  เช่น สถิติ, แคลคูลัส และอัลจีบรา) และต้องผ่านการอบรบด้านเทคนิคต่างๆ ด้วย

  • Soft skills ที่ต้องใช้คือ การสื่อสารกับคนในทีม ทำงานร่วมกับคนอื่น ความสามารถในการคิดอย่างมีเหตุผล การเจรจาและการแก้ไขความขัดแย้ง การเป็นผู้นำ

           ความรู้ที่ต้องใช้

  • การจัดซื้อ การบริหารคลังสินค้า การบริหารการขนส่ง การบริหารความต้องการ การควบคุมปริมาณการขายและความต้องการ เรื่องการบริหารวัตถุดิบ การจัดการระบบ MRP ERP
  • การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน
  • ภูมิประเทศ เส้นทาง แผนที่ การคำนวณต้นทุนขนส่ง ไอที
  • การจัดการ การบัญชี การตลาด การปกครอง
  • การวางแผนในด้านต่างๆ จิตวิทยา องค์กร ภาษาอังกฤษ บัญชีเบื้องต้น

ทักษะความสามารถที่ควรมีในสายงานนี้

  • เก่งในการประสานงานและติดตามงาน
  • กล้าตัดสินใจ
  • เก่งในการวางแผน
  • ซื่อสัตย์สุจริต
  • เก่งในการบริหารเวลา
  • ทำงานภายใต้ความกดดันได้ดี
  • กระตือรือร้น
  • มีความรับผิดชอบสูง
  • เก่งในการบริหารคน
  • เก่งในการนำแผนมาปฏิบัติ

           หากใครที่กำลังสนใจ เรียนโลจิสติกส์ หรืออยากทำงานสายอาชีพสุดอินเทรด์นี้ JobsDB เชื่อว่าโลจิสติกส์จะเป็นตัวเลือกที่ดีในอนาคตแน่นอน เพราะนอกจากคนที่จบโลจิสติกส์มาจะสามารถทำงานได้ทุกงานในสายงานของโซ่อุปทานแล้ว ยังเป็นสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากต้องรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการในยุคดิจิทัล หากใครเริ่มสนใจอยากจะทำงานสายนี้บ้าง สามารถเข้ามาดูตำแหน่งงานได้ที่ JobsDB

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

คุณสมบัติของนักโลจิสติกส์มีอะไรบ้าง

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​
Checklists สิ่งที่ควรเตรียมตัวก่อน เลือกเรียนสายอาชีพ
เรียนต่อสายอาชีพ มีสาขาอะไรบ้าง เลือกอย่างไรให้ตรงใจ
เรียนสายอาชีพใครว่าหางานไม่ได้ มาดูสายงานสำหรับนักศึกษาสายอาชีวะ 2021

เรียนโลจิสติกส์ได้วุฒิอะไร

หากจบหลักสูตรข้างต้นจะได้รับวุฒิการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาโลจิสติกส์ และสามารถเลือกศึกษาต่อได้ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงต่อได้ในสาขาการจัดการโลจิสติกส์ ได้แก่ ปริญญาตรีธุรกิจพาณิชยนาวีและโลจิสติกส์ ปริญญาตรีด้านโลจิสติกส์

คณะโลจิสติกส์ ดียังไง

เรียนโลจิสติกส์ จบไปทำงานอะไรได้? หลังจากเรียนจบหลักสูตรในระดับปริญญาตรีแล้ว มาถึงเส้นทางอาชีพและการทำงานบ้าง งานด้านโลจิสติกส์และซับพลายเชน ถือเป็นอีกสายงานที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศมีความต้องการบุคลากรเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของภาคธุรกิจและบริการ และนี่คือสายงานและตำแหน่งที่น้องๆ บัณฑิตสาขานี้สามารถทำได้

นักโลจิสติกส์มีหน้าที่อะไรบ้าง

1. ส่วนงานโลจิสติกส์ มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับ การวางแผนกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายในของส่วนงาน ปรับปรุง พัฒนา สร้างเครือข่าย และจัดหาพันธมิตรเพื่อให้บริการโลจิสติกส์ ขององค์การคลังสินค้าเป็นไปอย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพและครบวงจร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายในของหน่วยงาน

คณะโลจิสติกส์ เรียนกี่ปี

โดยระยะเวลาในการเรียนตลอดหลักสูตรคือ 2 ปี และไม่เกิน 5 ปีการศึกษา โดยเปิดสอนภาคปกติในเวลาราชการ (เรียนวันจันทร์-ศุกร์) และภาคพิเศษ นอกเวลาราชการ (เรียนวันเสาร์-อาทิตย์) วิชาการโลจิสติกส์มีรายวิชาที่เปิดสอน ดังนี้ หมวดวิชา