ขั้นตอนใด ของการออกแบบมัลติมีเดีย

3)  การปรับปรุงแก้ไข (Revise)  ควรวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประเมินทั้งหมด  โดยการพิจารณาความสอดคล้องและแตกต่างจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญและความคิดเห็นจากความตัวอย่าง  รวมทั้งเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่าง  เมื่อพบข้อบกพร่องแล้ว  ทีมผู้พัฒนาต้องระดมสมองเพื่อหาสาเหตุของปัญหาว่ามาจากขั้นตอนใดในกระบวนการพัฒนาทั้งหมด  และมีแนวทางปรับปรุงแก้ไขอุดช่องโหว่ในจุดนั้นอย่างไร  จากนั้นจึงทำการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้บทเรียนมีคุณภาพเพียงพอที่จะนำไปใช้งานจริง

    การสร้างสื่อมัลติมีเดียไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดๆก็ตามก็จะเริ่มที่การกำหนดหัวเรื่อง,เป้าหมาย,วัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้  จากนั้นทำการวิเคราะห์,ออกแบบ,พัฒนาสร้างสื่อ,ประเมินผลและนำเผยแพร่ต่อไป

      การสร้างสื่อมัลติมีเดียมี 7 ขั้นตอน ดังนี้

1.การจัดเตรียม

-การกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์

-รวบรวมข้อมูล

-เนื้อหาสาระ

-การพัฒนาออกแบบบทเรียน

-สื่อในการนำเสนอบทเรียน

-เรียนรู้เนื้อหา

-สร้างความคิด

2.ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน

-ทอนความคิด

-วิเคราะห์และแนวความคิด

-ออกแบบบทเรียนขั้นแรก

-ประเมินและแก้ไขการออกแบบ

3.ขั้นตอนการเขียนผังงาน    เป็นการนำเสนอลำดับขั้นโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผังงานทำหน้าที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม

4.ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด เป็นการเตรียมนำเสนอข้อความ ภาพ รูปแบบมัลติเดียต่างๆ

5.ขั้นตอนการสร้างและเขียนโปรแกรม เป็นกระบวนการเปลี่ยนสตอรี่ให้เป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

6.ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบบทเรียน

แบ่งเป็น 4 ประเภท

-คู่มือการใช้ของผู้เรียน

-คู่มือการใช้ของผู้สอน

-คู่มือสำหรับการแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ

-เอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วไป

7.ขั้นตอนการประเมินและเเก้ไขบทเรียน  จะประเมินในการนำเสนอซึ่งผู้ที่มีการออกแบบจะสังเกตหลังจากใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ซึ่งการสร้างสื่อมัลติมีเดีย ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การจัดทำสื่อมัลติมีเดีย นี้เป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ ซึ่งหมายความว่าใครๆ ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ก็สามารถจะสร้างสื่อมัลติมีเดียได้ ในที่นี้จะกำหนดขั้นตอนการสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยละเอียด ทั้งหมด 7 ขั้นตอน เพื่อสะดวกกับผู้เริ่มต้นที่สนใจในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย (สุกรี รอดโพธ์ทอง 2538 : 25-33) ดังนี้