จุดเด่น ของระบบ WMS มีอะไรบ้าง

WMS : Warehouse Manament System คือ โปรแกรมระบบคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยในการบริหารจัดการคลังสินค้า ในกระบวนการทำงานต่าง ๆ ในคลังให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น เพิ่มความถูกต้องในการจัดเก็บสินค้า, เพิ่มความถูกต้องในการจ่ายสินค้าให้ลูกค้า, สามารถค้นหาสินค้าได้อย่างรวดเร็ว, สามารถดูจำนวนสินค้าคงปัจจุบันได้อย่างถูกต้อง และทันที เป็นต้น

โดยที่ฟังก์ชั่นการทำงานของระบบ WMS จะต้องรองรับกระบวนการทำงานพื้นฐานในคลังสินค้า คือ

  • การรับสินค้าเข้าคลัง (Inbound Process)
  • การจัดเก็บสินค้า (Put away)
  • การย้ายสินค้า (Inventory Move)
  • การหยิบและจ่ายสินค้าออกจากคลัง (Outbound Process)
  • การนับสินค้า (Inventory Counting)
  • การปรับจำนวนสินค้าในคลัง (Inventory Adjustment)
  • รายงานสินค้าคงคลัง และการเคลื่อนไหวของสินค้า (Inventory Reports)
หลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมระบบ WMS ถึงไม่ถูกรวมมาเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม ERP หรือโปรแกรมบัญชี ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันหรือถ้ามีก็ต้องเสียเงินซื้อโมดูล WMS หรือจ่ายค่า Implement เพิ่มเติมต่างหากเหตุผล คือ ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า หรือ WMS นั้น ความจริงแล้ว มีรายละเอียด และการออกแบบเบื้องหลังที่ค่อนข้างซับซ้อนแต่ต้องออกแบบมาให้ใช้งานง่ายสำหรับเจ้าหน้าที่คลังสินค้า ที่ต้องการความรวดเร็ว และความถูกต้องในการทำงานไปพร้อมกัน รวมถึงระบบจะต้องรองรับกระบวนการทำงานขั้นพื้นฐานของคลังทั้งหมด และสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมการทำงานต่าง ๆ ได้ เช่น Handheld Scanner, Barcode Scanner, Barcode Printer เป็นต้นและขั้นตอนการใช้งานนั้น ก็ต้องมีการสอนการใช้งานจริง ให้สอดคล้องกับสินค้าในคลัง และช่องเก็บสินค้าในคลังด้วย

ฟังก์ชั่นงานต่อไปนี้ ที่ไม่ได้อยู่ในโปรแกรม WMS คือ

  • การออกใบสั่งซื้อได้ (Open Purchase Order)
  • การออกใบสั่งผลิตได้ (Open Production Order)
  • การทำใบรายการวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต (BOM : Bill Of Materials)
  • การออกใบสั่งขายให้ลูกค้า (Open Sales Order)
  • การออกใบกำกับภาษี (Print Tax Invoice)
แต่ลูกค้าบางราย เข้าใจว่าเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรม WMS แต่ความจริงแล้วไม่ใช่ เพราะฟังก์ชั่นงานเหล่านี้ จะเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมบัญชีหรือโปรแกรม ERP (Enterprise Resource Planning) และโปรแกรม MRP (Material Resource Planning)ถ้าเป็นโปรแกรม WMS ที่รองรับฟังก์ชั่นงานเหล่านี้ได้ ก็แสดงว่า ลูกค้ารายนั้นอาจทำการ Customize เพิ่มเติมหรือไม่ก็แสดงว่าโปรแกรม WMS นั้นเป็นโมดูลที่ขยายมาจากโปรแกรม ERP หรือ MRP เป็นต้น ซึ่งก็จะทำให้มีราคาที่ค่อนข้างสูงตามไปด้วย
                1. Express Edition : เป็นรุ่นที่ทำงานแบบ Stand Alone Warehouse สามารถทำงานตามกระบวนการพื้นฐานของคลังได้ คือ การรับสินค้า ย้ายสินค้า จ่ายสินค้า ปรับยอดสินค้า และดูรายงานสินค้าคงคลัง รวมทั้งมีรายงาน Stock Card ไว้ตรวจสอบความเคลื่อนไหว ของสินค้าภายในคลังได้ซึ่งฟังก์ชันงานทั้งหมดจะรองรับการทำงานบน PC เท่านั้น ผู้ใช้งานจำเป็นต้องนำข้อมูลการทำงานในคลังมาบันทึกลงโปรแกรมเอง ถ้าไม่ได้คีย์บันทึก ข้อมูลก็จะไม่ตรงกับสินค้าจริงในคลังเหมาะสำหรับบริษัทที่เกิดปัญหาการจัดการจำนวนสินค้าในคลัง เรื่องการทำงานแบบ Manual ต้องเสียเวลา update ข้อมูล stock อยู่ตลอดเวลา แล้วไม่มีเอกสารไว้ตรวจสอบย้อนหลัง หรือสืบค้นยาก รุ่นนี้จะมีราคาที่ไม่สูง เหมาะสำหรับบริษัทที่มีงบประมาณน้อย ไม่สามารถลงทุนระบบ Network และ Wireless Network ได้ หรือต้องการทดลองใช้ระบบเบื้องต้น ก่อนการลงทุนที่มากขึ้น และฐานข้อมูลใช้เป็น Microsoft SQL Express Edition ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้ฟรี

WMS คือ ระบบที่ใช้บริหารจัดการคลังสินค้า โดยจะมีกระบวนการจัดการตั้งแต่สินค้าเข้าคลังจนออกจากคลัง ซึ่งกระบวนการหลักคือ การรับสินค้า  การจัดเก็บสินค้า และการเบิกสินค้า 

การรับสินค้า  เป็นกระบวนการแรกที่เกิดขึ้นในคลัง ซึ่งเมื่อสินค้าถูกนำนำส่งมาที่คลัง เจ้าหน้าที่คลังจะทำการบันทึกรายละเอียดของสินค้าซึงสามารถทำได้โดย Manual คือการคีรย์ข้อมูลเข้าระบบ หรือ จะใช้การ Interface ข้อมูลเพื่อใช้เป็นค่าตั้งต้นก็ได้ ซึ่งการInterfaceนี้ จะประหยัดเวลา ในการคีรย์ข้อมูลเข้า ซื่งค่าตั้งต้นนี้อาจจะมีการนำข้อมูลมาจาก PO จากโปรแกรมบัญชี หรือ ข้อมูลอื่นๆเช่น ASN Advance Ship Notice หรือจะนำเข้ามาจาก EDI ก็ได้

การจัดเก็บสินค้า  เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการรับ ทางเจ้าหน้าที่คลังสินค้าสามารถใช้ WMS เพื่อค้นหาตำแหน่งจัดเก็บที่เหมาะสม ซึ่งระบบจะช่วยคิดให้ว่า ตรงไหนมีที่ว่าง และตรงไหนที่ควรจะเก็บสินค้า  ซึ่ง WMS จะช่วยให้การให้เก็บสินค้าถูกต้อง และสามารถคำณวนพื้นที่ในคลังได้

การเบิกสินค้า เป็นกระบวนการนำสินค้าออก โดยระบบ WMS จะมีเงื่อนไขที่ช่วยค้นหาสินค้าได้รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น เช่นสินค้าบางประเภท ต้องการ Lot ที่ถูกต้อง  

ระบบบริหารคลังสินค้า (WMS) ช่วยแก้ปัญหาการหาได้อย่างไร

1. กระบวนการรับสินค้า (Receiving) :
ระบบ WMS สามารถ Reserve พื้นที่ หรือจองพื้นที่ให้ล่วงหน้าเพื่อช่วยในการวางแผนการใช้พื้นที่ในคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะคลังสินค้าบางที่ไม่มีระบบที่ดี เมื่อรับสินค้าเข้าคลังก็เอาไปตามใจชอบ สุดท้ายก็จำไม่ได้ว่านำไปเก็บไว้ที่ไหน

2. กระบวนการจัดเก็บ (Put Away) :
ระบบ WMS สามารถ แนะนำตำแหน่งที่เหมาะสมในการจัดเก็บ และมีการยืนยันตำแหน่งการจัดเก็บที่ถูกต้อง
Manual : โดยผู้ตรวจเซ็นอนุมัติ หลังจากตรวจสอบว่าจัดเก็บในตำแหน่งนั้นจริง
Barcode Scanner : โดยการยิง Barcode Scanner ในตำแหน่งที่จัดเก็บจริง
ซึ่งตรงนี้จะช่วยในการ Confirm ตำแหน่งจัดเก็บอย่างถูกต้องซึ่งจะช่วยลดปัญหาการหาของไม่เจอได้

3. กระบวนการเบิก (Picking) :
ระบบ WMS จะมีระบบ Search เพื่อช่วยในการค้นหาได้อย่างง่ายดายแค่กรอกเงื่อนไข ระบบก็สามารถค้นหาสินค้าให้เอง ไม่ว่าจะเป็นการเบิกแบบ FIFO, LIFO ,FEFO หรือสามารถ กำหนดเองได้

คลังสินค้าจำเป็นต้องใช้ WMS หรือไม่

“คลังสินค้าทุกคลังไม่จำเป็นต้องใช้ WMS” แต่ สิ่งที่แน่นอนคือว่า หากคลังสินค้าใดนำ WMS ไปใช้จะต้องได้รับประโยชน์จากการใช้ซอฟแวร์อย่างแน่นอนเช่น การลดจำนวนของสินค้าคงคลัง การลดปริมาณการใช้คนงาน การเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่การจัดเก็บอย่างเต็มที เพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการลูกค้า และสุดท้ายคือการเพิ่มความถูกต้องให้กับระบบสินค้าคงคลัง

ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้ามีอะไรบ้าง

ประโยชน์ของการจัดการคลังสินค้า.
ช่วยประหยัดค่าขนส่ง.
ช่วยประหยัดต้นทุนการผลิต.
ช่วยให้ได้รับผลประโยชน์จากส่วนลดเพื่อซื้อสินค้าจำนวนมาก.
ช่วยป้องกันสินค้าขาดแคลน.
ช่วยสนับสนุนนโยบายการให้บริการลูกค้าของกิจการ.
ช่วยให้เกิดความพร้อมที่จะเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของตลาด.

ระบบจัดการคลังสินค้า มีอะไรบ้าง

ระบบจัดการคลังสินค้าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?.
ระบบสินค้าเข้า (Stock Entry).
ระบบจัดการและเอกสารต่างๆ (Documenting).
ระบบบริหารสินค้า (Inventory Management).
ระบบจัดการการขนส่ง (Transportation Management System).
ระบบโอนย้ายสินค้า (Inventory Transfers).
ระบบตั้งหน่วยนับสินค้า (Unit of measurement).
รายงานสรุปภาพรวมสินค้า (Report).

ระบบบริหารคลังสินค้ามีลักษณะอย่างไร

ระบบการจัดการคลังสินค้า คือ ระบบซอฟต์แวร์ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายต่อผู้ใช้งานและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยคนทั่วไปจะรู้จักในชื่อ “ระบบ WMS” (Warehouse Management System) หรือ ระบบบริหารจัดการคลังสินค้า ซึ่งระบบ WMS มี 3 ขั้นตอนที่เป็นหัวใจหลัก คือ 1.การรับสินค้า 2.การเก็บสินค้า และ 3. ...

WMS เหมาะกับใคร

สำหรับ WMS นั้นเป็นระบบที่เหมาะสำหรับธุรกิจประเภท ธุรกิจอาหาร อะไหล่รถยนต์ ธุรกิจอุตสาหกรรมเหล็ก หรือธุรกิจซื้อมาขายไป รวมถึงสินค้าทั่วไป ก็สามารถใช้ระบบ WMS ได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งหากคลังสินค้าออนไลน์ที่มีการใช้งานระบบ WMS ก็จะสามารถทำงานได้อย่างมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพราะไม่ต้องเสียเวลาเดิมหาสินค้าแบบไม่รู้ตำแหน่งที่ ...