ปัญหาของนักเรียนมีอะไรบ้าง

ปัญหาของนักเรียนมีอะไรบ้าง

โดดเรียน….แก้ได้ ด้วยเข้าใจ และใส่ใจกัน

 10 months ago 4298

เรียบเรียงโดย อาทิตยา ไสยพร

          หลาย ๆ ครั้ง พบว่า เมื่อเข้าสอนครูอย่างเราจะประสบปัญหาว่ามีนักเรียนบางกลุ่มหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ เจอกันสัปดาห์ถัดไปก็ดูจะปกติ แต่ครั้งถัดมาเขาก็ขาดเรียนอีกแล้ว ในฐานะครูเมื่อเราไม่สามารถหาวิธีแก้ปัญหานี้ได้ว่าทำไมนักเรียนที่ของเราคนนี้ไม่เข้าเรียนในรายวิชาของเรา เราก็ต้องกังวลใจเป็นธรรมดา แล้วเราจะมีวิธีเข้าใจนักเรียนกลุ่มนี้อย่างไรเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด เพื่อสร้างบรรยากาศในห้องเรียนที่จะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนที่โดดเรียนวิชาของเราอยากจะเข้ามาเรียนรู้ในวิชานี้มากขึ้น

1.เข้าใจสาเหตุ
          ปัญหานักเรียนโดดเรียนนั้นมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน เราต้องระบุให้ได้ก่อนว่าการที่เขาโดดเรียนเป็นเพราะอะไร หรือมีหลายปัจจัย ปัจจัยใดสำคัญที่สุด เช่น
ครอบครัว ครอบครัวนั้นมีผลต่อการไม่อยากเรียนของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นการขาดความอบอุ่นในครอบครัวที่นักเรียนจะต้องเผชิญกับการทะเลาะกันของคนในครอบครัว ผู้ปกครองที่ไม่ใส่ใจนักเรียนเท่าที่ควร รวมไปจนถึงความสัมพันธ์ในครอบครัวที่ห่างเหินกันจนนักเรียนขาดที่ปรึกษาทำให้ส่งผลต่อนักเรียนโดยตรงจนเกิดปัญหาที่ไม่อยากเรียนหนังสือตามมา
กฎระเบียบของโรงเรียน นักเรียนขาดความเข้าใจในกฎระเบียบวินัยของห้องเรียน ซึ่งบางครั้งกฎระเบียบภายในห้องเรียนต้องชี้แจงให้ชัดเจนก่อนเริ่มเข้าเรียน เพื่อให้นักเรียนไม่เกิดข้อสงสัยต่อตัวกฎระเบียบเหล่านั้น
คุณครู ในสาเหตุที่กล่าวมาด้านของคุณครูมีความสำคัญมากที่สุดเนื่องมาจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของคุณครูภายในห้องเรียนมีผลต่อความรู้สึกอยากเข้าเรียนของนักเรียนมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการจัดกิจกรรม การสอน รวมไปถึงการปฏิบัติต่อนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมปัจจัยนี้จึงสำคัญมาก ๆ ที่ทำให้เด็กตัดสินใจเลือกว่าจะเข้าเรียนหรือไม่
เพื่อน วัยเรียนเป็นวัยที่เพื่อนมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตมากที่สุด หากนักเรียนคบสมาคมกันแล้วผ่านการคิดทำสิ่งไม่ถูกต้องก็สามารถทำให้ไม่อยากเรียนหนังสือได้ สิ่งแวดล้อม หากนักเรียนเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจในการเรียนรู้ สิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยยาเสพติด วัยรุ่นยกพวกตีกัน สาเหตุนั้นก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ไม่อยากเรียน

2.ทำความเข้าใจนักเรียนกลุ่มนี้อย่างไร
          เมื่อเราเข้าใจสาเหตุที่ส่งผลทำให้นักเรียนไม่อยากเรียนแล้วนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องมาทำความเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคลไม่ว่าจะผ่านการสังเกตพฤติกรรมหรือการสอบถาม เช่น ก่อนเริ่มเข้าชั้นเรียน คุณครูสร้างกิจกรรมให้นักเรียนได้เขียนในสิ่งที่นักเรียนคาดหวัง และสิ่งที่กังวล รวมถึงปัญหาและอุปสรรคที่เป็นปัญหาต่อการเรียน เพื่อที่จะได้รู้ถึงปัญหาของนักเรียนแต่ละบุคคลและสามารถจัดการเรียนการสอนให้ดีขึ้น

3. ใส่ใจ...แก้ปัญหาได้แน่นอน
          ครูควรเริ่มจากการพูดคุยกับนักเรียน หากคุณครูกำลังพบปัญหานักเรียนไม่เข้าเรียน ขั้นแรกไม่ควรลงโทษนักเรียนโดยทันที แต่ต้องเริ่มด้วยการปรับความเข้าใจ ถามถึงสาเหตุ รวมถึงการหาข้อตกลงที่ดีมาพูดคุยกับนักเรียน เพื่อที่จะได้เปลี่ยนความคิดนักเรียนให้มีแรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียนมากขึ้น นอกจากนี้ ครูปรับกิจกรรมในห้องเรียนให้นักเรียนมีส่วนร่วมหรือมีสิ่งที่น่าสนใจมากขึ้น เช่น การเรียนรู้ด้วยการใช้กิจกรรมกลุ่ม การเสนอความคิดเห็นในห้องเรียน การใช้รูปแบบเกมมาปรับใช้ในคาบเรียน และที่สำคัญให้เพื่อนในห้องช่วยดูแลซึ่งกันและกัน ก็จะสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตร และห่วงใยกันได้
          หากคุณครูเข้าใจสาเหตุของการโดดเรียนของนักเรียนและสามารถปรับแก้ไขได้ตรงจุด บรรยากาศภายในห้องเรียนจะเต็มไปด้วยแรงจูงใจในการเรียนรู้ แล้วยังช่วยให้นักเรียนสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของตัวเองให้ดีขึ้นได้ เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเขาเอง และบรรยากาศการเรียนรู้ของห้องเรียนของเราทุกคน



ปัญหาพฤติกรรมที่พบบ่อยในนักเรียนและแนวทางการแก้ไข

ปัญหาที่พบบ่อยในนักเรียนแบ่งได้เป็น  4  ระดับ  คือ

1.             ระดับประถมศึกษา (ช่วงชั้นที่ 1)   (เด็กอายุ 7-9  ปี ) 

2.             ระดับประถมศึกษา (ช่วงชั้นที่ 2)   (เด็กอายุ 10-12  ปี ) 

3.             ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ช่วงชั้นที่ 3)     (เด็กอายุ  13-15  ปี)

4.             ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4)     (เด็กอายุ  16-18  ปี)

1.ระดับประถมศึกษา (ช่วงชั้นที่ 1)   (เด็กอายุ 7-9  ปี ) 

 พฤติกรรมด้านการเรียน

-                   อ่านไม่ออก  เขียนไม่ได้

สาเหตุ  ขาดแรงจูงใจ  สติปัญญาต่ำ  ซึมเศร้า  สมาธิสั้น   LD (Learning Disabilities) 

แนวทางการแก้ไขปัญหา

1.สร้างแรงจูงใจในการเรียน

   - เด็กรู้สึกว่าเป็นที่รักของครูและเพื่อน

   - เด็กมีส่วนร่วมในการเรียนรู้

2. จัดประสบการณ์เรียนรู้และบรรยากาศในการเรียนสนุก  เรียนแบบบูรณาการ

  -  มีวิธีนำสู่บทเรียน  ใช้กิจกรรมหลากหลาย

  - สร้างความรู้สึกอยากเรียนอยากรู้ว่ามีอะไรต่อไปสิ่งที่เรียนรู้จะเอาไปใช้ในชีวิตจริงอย่างไร นำปัญหาหรือเหตุการณ์ในชีวิตจริงที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้มานำสู่การเรียน

  - ใช้อารมณ์ขัน เรื่องตลกที่เกี่ยวข้อง  ข้อคิดประทับใจ

  - ลดความเครียดในการเรียนที่ไม่จำเป็น ครูไม่เป็นกันเอง   ครูดุ ทำโทษมากเกินไป  ใช้เวลาในการบ่น  ดุเด็กที่ไม่ได้อยู่ในห้อง  ทำโทษกลุ่ม  ไม่ได้สอน  สอนไม่เข้าใจ  สอนเร็วเกินไป  ให้งานเยอะ  การบ้านเยอะ

3. จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

  - การจัดตำแหน่งเด็ก

  - จัดที่นั่งใหม่  แบบวงกลม  วงกลมซ้อนกัน  กลุ่มย่อยหลายกลุ่ม  ไม่มีกลุ่ม

  -  เรียนนอกห้องเรียน  ใต้ต้นไม้  สวนหย่อม  ห้องประชุม  ห้องฝึกสมาธิ

  - เรียนนอกโรงเรียน  ในวัด  ในโบสถ์  สวนสาธารณะ  หอศิลป์  พิพิธภัณฑ์  โรงเรียนอื่น  ศูนย์เยาวชน  โรงพยาบาล

4. ใช้วิธีการสอนหลายแบบ ให้สนุก  ประทับใจ  จับคู่  กลุ่มผึ้ง(Buzz Group)  กลุ่มใหญ่  เขียนเว็บ  แผนที่ความคิด (Mind Map)  ระดมสมอง(Brain  Storming)   จัดระบบความคิด (Affinity  Diagram)

5. ฝึกให้เขียน  บันทึก  คิดวิเคราะห์ด้วยตัวเอง

7. มีการทดลองพิสูจน์สิ่งที่คิด  หรือเรียนรู้  กล้าท้าทายการสอนของครู

2. ระดับประถมศึกษา (ช่วงชั้นที่ 2)   (เด็กอายุ 10-12  ปี ) 

พฤติกรรมการคุยกันในขณะเรียน

สาเหตุ  ขาดการยั้งใจตนเอง  สมาธิสั้น  ขาดระเบียบวินัย  เบื่อเรียน  เรียนไม่รู้เรื่อง คุยกันเรื่องเรียน

แนวทางการแก้ไขปัญหา

1.       ชี้แจงกติกาให้ชัดเจน  เวลาครูสอน  หรือ ครูพูด ทุกคนต้องหยุดพูด และฟัง  เวลาครูให้คนใดคนหนึ่งพูด  คนอื่นๆก็ต้องหยุดฟังเช่นกัน  เราจะพูดทีละคนเท่านั้น  มิฉะนั้นจะไม่สามารถฟังกันรู้เรื่อง

2.       จับคนที่คุยกันแยกจากกัน  หรือคนที่ชวนคุยแยกออกมานั่งที่ เก้าอี้พิเศษ”  ชั่วคราว 5-10 นาที  แล้วให้กลับไปนั่งที่เดิม  (วิธี ขอเวลานอก”)

3.        ครูเดินไปใกล้ๆ  ส่งสัญญาณเตือน  สะกิด  ให้เพื่อนช่วยสะกิดเตือน

4.        เก็บของเล่น  หรือสิ่งที่ดึงความสนใจเด็ก  ออกไป

5.       ครูเดินไปตรงที่เด็กคุยกัน  แล้วถามคำถามง่ายๆ  ในบทเรียนที่กำลังสอนอยู่

6.       ให้เด็กคนที่คุยกัน  ได้ทำกิจกรรมบางอย่าง  เช่น  อ่านหนังสือดังๆ  ให้เพื่อนทั้งชั้นฟัง

7.        จัดห้องเรียนใหม่  ให้เด็กสลับเปลี่ยนที่นั่งกันชั่วคราว

8.        ขอให้เพื่อนช่วยเตือนกันเอง  คนที่นั่งใกล้ๆช่วยสะกิดเตือนคนที่คุยกัน หรือช่วยส่งสัญญาณเตือนกันเอง

9.       จัดกิจกรรมที่สนุกสลับบทเรียน  เพื่อให้เด็กเกิดความสนุก  และเตรียมความพร้อมเข้าสู่บทเรียน  อาจเป็นเกม  ร้องเพลง  การแสดง  ให้เด็กมีส่วนร่วมและแสดงออก

10. ฝึกสมาธิสลับ  ก่อน  ระหว่าง  หรือหลังการสอน

11.ใช้สัญญาณเตือน  เช่น  เมื่อครูยกแขนขึ้น  เป็นสัญญาณให้ทุกคนหุบปาก

12.ชมเวลาเด็กไม่คุยกัน  หรือเวลาเด็กส่งสัญญาณเตือนกันเอง

13.บันทึกพฤติกรรม  เรียบร้อย  คุยกัน  เตือนเพื่อนๆ  และมีโอกาสที่ครูจะแจ้งกับเด็ก 

3. ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ช่วงชั้นที่ 3)     (เด็กอายุ  13-15  ปี)

พฤติกรรมก้าวร้าวเกเร

สาเหตุ  การเลี้ยงดู  เลียนแบบเพื่อน  ขาดการยับยั้งใจตนเอง  เด็กเกเร พ่อแม่ก้าวร้าว  โรคสมาธิสั้น  เครียดหรือซึมเศร้า

แนวทางการแก้ไขปัญหา

1.              กำหนดกติกาให้ชัดเจน

2.             เอาจริงกับกฎเกณฑ์  ไม่ปล่อยให้มีการละเมิดกัน

3.             ใช้เทคนิค ขอเวลานอกเมื่อเด็กละเมิดคนอื่น

4.              ฟังเหตุการณ์รอบด้านอย่างสงบ  เปิดโอกาสให้พูดพอควร  แต่อย่าให้เป็นการแก้ตัวเกินไป

5.              ตัดสินด้วยความสงบ  ตามข้อตกลงของการจัดการเมื่อมีการละเมิดกัน

6.             ใช้การลงโทษ  ที่ไม่ก้าวร้าวรุนแรง  เช่น  การตัดรางวัล  บำเพ็ญประโยชน์  ออกกำลังกาย

7.             ชวนคิดหาวิธีการแก้ไขปัญหาใหม่ๆ  เช่น  เวลาเพื่อนล้อเลียน จะมีทางออกอื่นๆอย่างไรอีก  เช่น  ฟ้องครู  บอกเพื่อนตรงๆ  ให้เพื่อนช่วย  ไม่สนใจ  เปลี่ยนความคิดใหม่  เพื่อนล้อเท่ากับเพื่อนสนใจ  อยากเล่นด้วย  ล้อกลับ  ชวนเพื่อนเล่นอย่างอื่น  ทำให้เพื่อนรักเสียเลย  ขู่กลับ  

8.              หากิจกรรมเบนความสนใจ

9.             ใช้กิจกรรมที่ระบายความโกรธ  ความก้าวร้าว  เช่น  เตะฟุตบอล  ชกกระสอบทราย  เครื่องปั้นดินเผา  แกะสลัก    แต่กิจกรรมนั้นต้องมีกติกาควบคุม

10.      ให้ทำงานที่เป็นประโยชน์  ให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อน  และครู

หลักการลงโทษ

1.             ไม่เสียความสัมพันธ์ระหว่างกัน

2.              หาข้อมูลให้ครบถ้วน  อย่าลงโทษผิดคน  ฟังเด็ก แจ้งข้อหาให้ชัดเจน

3.              ลงโทษให้ถูกคน  อย่าลงโทษกลุ่มจากความผิดของคนๆเดียว

4.             ไม่อาย  เสียหน้า  เสียเกียรติหรือศักดิ์ศรีของมนุษย์ไม่ควรไล่ให้ไปพ้นๆ  ไปขายเต้าฮวย ฯลฯ

5.             ไม่น่ากลัวเกินไป  ไม่ควรขู่  หรือขู่แล้วไม่ทำตามที่ขู่

6.             ไม่รบกวนการเรียนรู้ปกติ  ไม่ควรไล่ออกจากห้อง

7.             ไม่เสียความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง  เช่น  การด่าว่า เป็นสัตว์  ใช้คำพูดหยาบคาย

8.             มีการตกลงกันไว้ก่อน  ว่าถ้ามีการทำความผิด  จะเกิดอะไรขึ้น

9.             ทำด้วยความสงบ  ไม่ใช้อารมณ์

10.      ไม่รุนแรงจนบาดเจ็บ  หรือมีความเสี่ยงต่ออันตราย

11.      เปิดโอกาสให้เด็กคิด  ทบทวนตนเอง

12.       จบแล้วจบกัน ไม่คิดแค้น  ไม่มีอคติต่อไป

13.      มองเด็กในแง่ดี  คาดหวังดีต่อไป  เปิดโอกาสให้แก้ตัวใหม่เสมอ

4. ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4)     (เด็กอายุ  16-18  ปี) ปัญหาการเรียน

พฤติกรรมเรื่อง เพื่อนต่างเพศ/เพศสัมพันธ์

สาเหตุ  ปกติ  ฮอร์โมนเพศ  มีการกระตุ้นเรื่องเพศในเด็ก  ขาดความอบอุ่นในครอบครัว  ต้องการความรักและคนเข้าใจ  เอาใจ

แนวทางการแก้ไขปัญหา

1.             ส่งเสริมให้เปิดเผยและปรึกษา  เรื่องความสนใจทางเพศ

2.             ครูมีทัศนคติที่เป็นกลางต่อเรื่องเพศ  ยอมรับได้ว่าเด็กมีความสนใจเรื่องเพศได้

3.             ให้ความรู้เรื่องเพศอย่างถูกต้อง  และเหมาะสมกับกลุ่ม  วัย  เพศ

4.             ให้ข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจ  เช่น  ผู้ชายเมื่อมีเพศสัมพันธ์ด้วยแล้วจะเบื่อง่าย  ไม่เห็นคุณค่าของผู้หญิง  การมีเพศสัมพันธ์จะเกิดอะไรตามมา  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดขึ้นได้อย่างไร

5.             การมีเพื่อนต่างเพศที่ถูกต้อง  เปิดเผย  ไม่เสียหน้าที่

6.             การเลือกแฟน  และคบกันแบบแฟนที่ปลอดภัย  การเรียนรู้นิสัยใจคอกัน

7.             การเลือกคู่ครอง  การวางแผนครอบครัว  การเตรียมตัวสำหรับชีวิตคู่  การปรับตัวเข้าหากัน

8.             การจัดการกับอารมณ์เพศของตนเอง

9.              ทักษะในการปฏิเสธ

สรุปแนวทางการแก้ไขและช่วยเหลือ

แนวทางการช่วยเหลือ

1.             สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

2.             รับฟังปัญหาเด็กเสมอ  ไม่ตำหนิ  หรือสั่งสอนเร็วเกินไป  ท่าทีเป็นกลาง

3.              เข้าใจปัญหา  หาข้อมูลเพื่อให้รู้สาเหตุ  และแนวทางการแก้ไขปัญหา

4.             มองเด็กในแง่ดี  มีความหวังในการแก้ปัญหาเสมอ

5.              กระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีทางเลือกหลายๆทาง  วิเคราะห์ทางเลือกร่วมกัน

6.             ชี้แนะทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่เด็กคิดไม่ออกด้วยตัวเอง

7.              เป็นแบบอย่างที่ดี

8.             ใช้กิจกรรมช่วย  กีฬา  ดนตรี  ศิลปะ  กิจกรรมกลุ่ม

9.             ให้เพื่อนช่วยเพื่อน  อธิบายให้เพื่อนเข้าใจกัน  ยอมรับและอยากช่วยเหลือกัน  ไม่ตัวใครตัวมันชมเชยเมื่อทำได้ดี

10.       เมื่อทำผิด  มีวิธีตักเตือน  ชักจูงให้อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น

11.      จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม

12.      ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา  แก้ไขปัญหาครอบครัว

แนวทางการแก้ไขที่สาเหตุ

1.             หาสาเหตุ  ทางร่างกาย  จิตใจ  หรือสังคม(ครอบครัว  เพื่อน  หรือ ครู)

2.             ปัจจัยเสี่ยง  พื้นอารมณ์เด็ก  บุคลิกภาพเดิม  นิสัยใจคอเดิม  การเลี้ยงดู

3.             ปัจจัยกระตุ้น  ความเครียดในชีวิต  การเปลี่ยนแปลง เช่น  ย้ายโรงเรียน  มีน้องคนใหม่  พ่อแม่หย่าร้างกัน  เพื่อนรังแก  การสอบ

4.             ปัจจัยเสริม  ความไม่เข้าใจของสิ่งแวดล้อม  ปัญหาที่คาราคาซังกันอยู่  เช่น  การที่เด็กไม่ไปโรงเรียน  ทำให้พ่อแม่โกรธ  ลงโทษรุนแรงทำให้เด็กกลัว  และไม่ยอมไปโรงเรียนมากขึ้น

 การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้พฤติกรรมบำบัด

1.              จัดสิ่งแวดล้อม ( environmental  manipulation)

2.             ใช้สิ่งกระตุ้น ( cueing)

3.              เงื่อนไข (conditioning)

4.             รางวัล (operant conditioning  or  positive  reinforcement)

5.              แก้ไขด้วยการทำซ้ำ (overcorrection)

6.              ดัดพฤติกรรม  (shaping)

7.              แบบอย่าง  (modeling)

8.             ลงโทษ (punishment)

9.              ถอนพฤติกรรม (negative reinforcement)  ลดการลงโทษ/ดุ/ด่า  ที่ไม่ได้ผล

 การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้การให้คำปรึกษา (Counseling)

การให้คำปรึกษา  คือการช่วยเหลือให้คิดและตัดสินใจแก้ไขปัญหาของตนเองได้  ด้วยการใช้เทคนิคต่าง  ของการสร้างความสัมพันธ์  การสื่อสาร  ความเข้าใจและมีความรู้สึกอยากช่วยเหลือ ขั้นตอนของการให้คำปรึกษา  ประกอบด้วย

1.             สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

2.             สำรวจปัญหาร่วมกัน  และเลือกเรื่องที่จะทำงานร่วมกัน

3.              ประคับประคองจิตใจให้อารมณ์สงบ

4.             การแก้ปัญหา  กระตุ้นให้มองหาทางเลือก  ข้อดีข้อเสีย ชี้แนะ ช่องทาง ข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ

5.              ให้ตัดสินใจด้วยตนเอง

6.              การทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง  และติดตามผล

7.             การยุติการช่วยเหลือ

การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ครอบครัวบำบัด

1.             สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัว

2.              แสวงหาข้อมูลจากครอบครัว

3.              วิเคราะห์ครอบครัว  ปัญหาของครอบครัว  จุดอ่อน  จุดแข็ง  หน้าที่ของครอบครัว บทบาท  การสื่อสาร  การเข้าใจความรู้สึก

4.              ชักจูงใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  ในโครงสร้าง  และหน้าที่ของสมาชิกครอบครัว

5.              ชี้แนะช่องทางของการเปลี่ยนแปลง

6.             ฝึกทักษะที่เป็นปัญหา

7.              ใช้หลักพฤติกรรมบำบัด ร่วมด้วยเพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

 การเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้เพื่อน

1.             สร้างบรรยากาศของการอยู่ร่วมกันแบบกลุ่ม  ไม่โดดเดี่ยว  ไม่เอาตัวรอดคนเดียว  เพื่อนมีหน้าที่ช่วยเหลือกัน

2.              สร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  เป็นห่วงเป็นใยกัน  เมื่อมีใครหายไปเพื่อนควรสนใจ  เป็นห่วงเป็นใย  ติดตามข่าวสาร  พยายามดึงเพื่อนเข้ากลุ่ม  มีการแบ่งปันกัน  ช่วยเหลือกัน

3.              เมื่อมีเพื่อนทำผิด  เพื่อนที่ดีควรช่วยเตือน และชักจูงให้เปลี่ยนแปลง  เลิกทำผิด  กลับมาทำดี โดยไม่โกรธกัน  มองกันในทางที่ดี

4.             ฝึกทักษะการสื่อสารที่ดี  บอกความคิด  ความต้องการ  ความรู้สึก  เมื่อไม่พอใจมีวิธีบอกให้เพื่อนเข้าใจ  และสนองความต้องการกันได้ตรงจุด

5.              ฝึกทักษะสังคมทางบวก  การให้  การรับ  การขอโทษ  การขอบคุณ  การเข้าคิว  รอคอย  การทำดีต่อกัน  การพูดดีๆ  สุภาพ  อ่อนโยน  ทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อกัน  

การฝึกการสื่อสารที่ดี

1.             หลีกเลี่ยงการใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า  ทำไมการใช้คำถามที่ขึ้นต้นว่า  ทำไม.....”  เช่น  ทำไมเธอมาโรงเรียนสาย”  จะสื่อสารให้นักเรียนเข้าใจได้ 2  แบบ คือ

1.1 เธอทำไม่ดีเลย  ทำไมจึงทำเช่นนั้น    และ

1.2  ถ้ามีเหตุผลดีๆ  การกระทำเช่นนั้นก็อาจเป็นที่ยอมรับได้

ผลที่ตามมาคือ เด็กจะพยายามหาเหตุผลเข้าข้างตนเองมากขึ้น  เพื่อพยายามยืนยันว่า  ความคิดและการกระทำของเขาถูกต้อง  เป็นการสอนให้เด็กเถียงแบบข้างๆคูๆ  แล้วครูก็จะโมโหเด็กเสียเอง  ทั้งๆที่เป็นคนเริ่มต้นให้เด็กหาเหตุผล  แต่เมื่อเด็กแสดงเหตุผล  ก็ไม่ยอมรับเหตุผลของเขา

ถ้าต้องการทราบเหตุผลจริงๆของพฤติกรรมเด็ก  ควรถามดังนี้

ครูอยากรู้จริงๆว่าอะไรทำให้เธอทำอย่างนั้น

พอจะบอกครูได้ไหมว่า  เธอคิดอย่างไรก่อนที่จะทำอย่างนั้น

เกิดอะไรขึ้น  ทำให้เธอมาโรงเรียนสายในวันนี้

มันเกิดอะไรขึ้น  ไหนลองเล่าให้ครูเข้าใจหน่อย

2.       ตำหนิที่พฤติกรรม  มากกว่า ตัวเด็ก 

ถ้าครูจะตำหนิเด็ก  ต้องระวังการต่อต้านไม่ยอมรับ  วิธีการที่ทำให้เด็กยอมรับ  และไม่เสียความรู้สึกด้านดีของตนเอง  สามารถทำได้ด้วยการตำหนิที่พฤติกรรมนั้น    ดีกว่าตำหนิที่ตัวเด็ก  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

การมาโรงเรียนสาย  เป็นสิ่งที่ไม่ดี”     ดีกว่า     เธอนี่แย่มาก  ขี้เกียจจังเลยถึงมาสาย

การทำเช่นนั้น  ไม่ฉลาดเลย”    ดีกว่า    เธอนี่โง่มากนะ  ที่ทำเช่นนั้น

ครูไม่ชอบที่เธอไม่ได้ช่วยงานกลุ่ม   งานนี้ทุกคนต้องช่วยกัน “   ดีกว่า    เธอนี่เป็นคนเอาเปรียบเพื่อนนะ

ไม่ควรใช้คำพูดทำนองว่า  เป็นนิสัยไม่ดี  หรือสันดานไม่ดี  เพราะจะทำให้เด็กต่อต้าน  หรือแกล้งเป็นอย่างนั้นจริงๆ  หรือลามไปถึงพ่อแม่  เช่น  อย่างนี้พ่อแม่ไม่เคยสอน  ใช่ไหม

3.       ฝึกใช้คำพูดที่ขึ้นต้น  ฉัน......”   มากกว่า  เธอ.............”  ( I-YOU  Message)   ได้แก่

ครูไม่ชอบการที่นักเรียนมาสาย”      ดีกว่า  เธอนี่แย่มากที่มาสาย

ครูอยากให้นักเรียนมาเช้า

ครูไม่ชอบพูดเวลานักเรียนไม่ตั้งใจฟัง

ครูอยากให้นักเรียนหยุดฟัง  เวลาครูพูด

ครูเสียใจที่เธอทำเช่นนั้น

ครูอยากให้เธอ..................

ครูจะดีใจมากที่................

4.       บอกความคิด  ความรู้สึก  ความต้องการ

ฝึกให้เด็กมีทักษะในการสื่อสาร  ความกล้าพูด  กล้าบอกสิ่งที่ตัวเองคิด  รู้สึก  และต้องการอย่างสุภาพ  เข้าใจกัน  ทั้งต่อครู  และต่อเพื่อนๆด้วยกันเอง  ไม่ควรอาย  หรือกลัวเพื่อนโกรธ  บางคนกลัวเพื่อนไม่ยอมรับ  เลยยอมตามเพื่อน  ถูกเพื่อนเอาเปรียบครูช่วยกระตุ้นเรื่องนี้ได้  ด้วยการฝึกรายบุคคล

เธอคิดอย่างไร  เรื่องนี้............

เธอรู้สึกอย่างไร  ลองบอกครู...........

เธอต้องการให้เป็นอย่างไร...........

                ครูควรรับฟังเด็กมากๆ  ให้เขารู้สึกว่า  การพูดบอกเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ  และสามารถบอกกับเพื่อนๆได้ด้วย

5.       ชมบนหลังคา  ด่าที่ใต้ถุน

ครูควรมีเทคนิคในการชม  ให้เกิดความภาคภูมิใจตนเอง   ควรชมให้ผู้อื่นทราบด้วย  หรือร่วมชื่นชมด้วย    และเมื่อชมแล้ว  อาจเสริมให้เด็กรู้สึกต่อไปว่า  เขาคงจะพอใจที่ตัวเองเป็นคนดีด้วย   ต่อไปเด็กจะชื่นชมตัวเองเป็น  ไม่ต้องรอให้คนอื่นเห็นความดีของตน  หรือรอให้คนอื่นชมเสมอไป  ดังตัวอย่างนี้

ครูดีใจมากที่เธอช่วยเหลือเพื่อน  เธอคงรู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ทำเช่นนั้น  ใช่ไหม

พวกเราภูมิใจที่เธอได้รางวัลครั้งนี้  ช่วยกันตบเมือให้หน่อย  เธอคงภูมิใจในตัวเองเหมือนกันใช่ไหมจ๊ะ

แต่เวลาเตือน อย่าให้เกิดความอับอาย  ให้ค่อยๆคิด  และยอมรับด้วยตัวเอง  อย่าให้เสียความรู้สึก  ควรเตือนเป็นการส่วนตัว  ก่อนจะเตือน  ควรหาข้อดีของเขาบางอย่าง  ชมตรงจุดนั้นก่อน  แล้วค่อยเตือนตรงพฤติกรรมนั้น เช่น

ครูรู้ว่าเธอเป็นคนฉลาด  แต่การที่เธอเอาของเพื่อนไปโดยไม่บอกนี่ไม่ถูกต้อง

ครูเห็นแล้วว่าเธอมีความตั้งใจมาก  แต่งานนี้เป็นงานกลุ่มที่ต้องช่วยกันทำทุกคนนะจ๊ะ

6.       ถามความรู้สึก  สะท้อนความรู้สึก  เช่น

หนูคงเสียใจ  ที่คุณครูทำโทษ” (สะท้อนความรู้สึก)

หนูรู้สึกอย่างไรบ้าง  ที่พ่อแม่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน” (ถามความรู้สึก)

เธอรู้สึกอย่างไรบ้าง  เมื่อถูกเพื่อนแกล้ง”  (ถามความรู้สึก)

เธอคงโกรธที่ถูกเพื่อนแกล้ง”  (สะท้อนความรู้สึก)

เรื่องที่คุยกันนี้คงจะกระทบความรู้สึกของหนูมาก  ครูจะคุยกันต่อได้ไหม” (สะท้อนความรู้สึก)

7.       ถามความคิดและสะท้อนความคิด  เช่น

เมื่อเธอโกรธ  เธอคิดจะทำอย่างไรต่อไป”  (ถามความคิด)

เมื่อเด็กตอบว่า  ผมอยากกลับไปชกหน้ามัน”  ควรพูดต่อไปว่า

เธอโกรธมากจนคิดว่าน่าจะกลับไปชกหน้าเขา”  (สะท้อนความคิด)

การถามและสะท้อนความรู้สึกและความคิด  จะได้ประโยชน์มาก  เพราะจะทำให้เด็กรู้สึกว่า  เราเข้าใจ(ความคิด และความรู้สึก)ของเขา  ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี  เป็นพวกเดียวกัน  และจะเปิดเผยข้อมูลมากขึ้น  ชักจูงได้ง่ายขึ้น

8.       การกระตุ้นให้คิดด้วยตนเอง

ในการฝึกให้เด็กคิดและแก้ปัญหานั้น  ควรฝึกให้เด็กคิดเองก่อนเสมอ  เมื่อเด็กคิดไม่ออก  ไม่รอบคอบ  ไม่กว้าง  ครูอาจช่วยชี้แนะให้ในตอนท้าย  เช่น

เธอคิดว่าปัญหาอยู่ที่ไหน”  (ให้คิดสรุปหาสาเหตุของปัญหา)

แล้วเธอจะทำอย่างไรต่อไปดี”  (ให้คิดหาทางออก)

ทางออกแบบอื่นละ  มีวิธีการอื่นหรือไม่”  (ให้หาทางเลือกอื่นๆ  ความเป็นไปได้อื่นๆ)

ทำแบบนี้  แล้วคาดว่าผลจะเป็นอย่างไร”  (ให้คิดถึงผลที่ตามมา)

เป็นไปได้ใหม  ถ้าจะทำแบบนี้....(แนะนำ).......เธอคิดอย่างไรบ้าง

 สรุป

      ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวนักเรียนแต่ละคนมีความแตกต่างต่างกันเพราะฉะนั้นเราในฐานะครูผู้สอนควรจะมีการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคลและหาแนวทางการแก้ไข ซึ่งในการแก้ไขปัญหานั้นจะต้องมีการร่วมมือกันระหว่างตัวผู้เรียนเอง ผู้ปกครอง ครูผู้สอน และทุกคนๆคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับปัญหาต่างๆจึงจะสามารถก้าวไปสู่การแก้ไขปัญหาแบบสำเร็จและสมบูรณ์

 ขอบคุณข้อมูลจาก 

ผศ.  นพ.  พนม  เกตุมาน  สาขาวิชาจิตเวชเด็กและวัยรุ่น  ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล

กรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข  คู่มือดูแลสุขภาพจิตเด็กวัยเรียน  โรงพิมพ์ ร.ส.พ. กรุงเทพฯ

พนม  เกตุมาน  สุขใจกับลูกวัยรุ่น  บริษัทแปลน พับลิชชิ่ง  จำกัด  กรุงเทพฯ  2535  ISBN  974-7020-31-9

  นางสาวขนิษฐา  มัชปาโต รหัสนักศึกษา 58723713303 

ป.บัณฑิตวิชาชีพครู  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

 สัปดาห์ที่  12    24/10/58


ปัญหาในห้องเรียน มีอะไรบ้าง

ไม่ค่อยตั้งใจเรียน • ขาดความรับผิดชอบ ขาดระเบียบวินัย • ชอบคุยในห้องเรียน • ขาดความรอบคอบ ท างานไม่เรียบร้อย • วอกแวกง่าย ต้องคอยกระตุ้นบ่อยๆ • อยู่ไม่นิ่ง ชอบลุกเดินในห้องเรียน โรคสมาธิสั้น คืออะไร? เป็นความผิดปกติของ สมอง (neuropsychiatric disorder) ที่ท าให้เด็กมี ความบกพร่องของสมาธิ และความสามารถในการ ควบคุม ตัวเอง

ปัญหาเด็กและเยาวชนมี อะไร บาง

นอกจากนี้เด็กและเยาวชนยังมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสังคม อาทิ ติดการพนัน นิยมเสี่ยง โชค การมั่วสุมในหอพัก ไม่ชอบไปโรงเรียน หนีเรียน ทาร้ายรังแกกันเอง หมกมุ่นกับสื่อที่ไม่สร้างสรรค์ นิยม บริโภค อาหารกรุบกรอบ อาหารที่ไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ เครียด ซึมเศร้า มองโลกในแง่ร้าย ไม่สนใจต่อ ปัญหาสังคม อย่างไรก็ตามสาเหตุที่ท า ...

ปัญหาของเด็กมีอะไรบ้าง

ปัญหาของเด็กในปัจจุบันที่พบได้บ่อย.
รักสบาย ขี้เกียจ ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา.
ฟุ้งเฟ้อ ใช้เงินเปลือง ไม่เห็นคุณค่าของเงิน และของที่ได้มาง่าย ๆ.
ดื้อ เอาแต่ใจตัวเอง เห็นแก่ตัว ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น ไม่ฟังความคิดเห็น ... .
ก้าวร้าว รุนแรงทั้งกิริยา วาจา การกระทำรวมทั้งวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ.

คุณลักษณะที่ไม่ดีของนักเรียนคืออะไรบ้าง

1. ไม่มีระเบียบวินัย ... .
2. ชอบพูดปด ... .
3. ใช้มือถือ แทปเล็ต มากเกินไป ... .
4. กินขนมหรืออาหารที่ไม่มีประโยชน์ ... .
5. ชอบลักขโมย ... .
6. ข่มเหงรังแกผู้อื่น ... .
7. ขี้อิจฉา ... .
8. ได้รางวัลง่ายเกินไป.