บริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มีอะไรบ้าง

10 อันดับธุรกิจไทยที่ลงทุนในต่างประเทศมากที่สุด

Jun 19, 2017 | อ่าน 26993

A +A -

Outward Foreign Direct Investment หรือ การออกไปลงทุนในต่างประเทศ คือ การที่นักลงทุนไทยออกไปลงทุนในธุรกิจต่างประเทศ ทั้งการเปิดสาขาและออกไปซื้อกิจการในต่างประเทศ การออกไปลงทุนในต่างประเทศจะเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญที่จะช่วยผลักดันเศรษฐกิจภายในประเทศให้สามารถเติบโตได้อีกช่องทางหนึ่ง

TerraBKK Research ได้รวบรวมข้อมูลการลงทุนในต่างประเทศของไทยว่าเงินทุนส่วนใหญ่ที่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอะไรบ้างโดยการลงทุนของไทยในต่างประเทศสามารถแบ่งได้ออกเป็นหลายอุตสาหกรรมด้วยกัน จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย (Bank of Thailand) แบ่งกลุ่มธุรกิจได้ ดังนี้

บริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มีอะไรบ้าง

(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

จากกราฟเราจะเห็นว่า ส่วนใหญ่แล้วเงินลงทุนต่างประเทศจะลงทุนในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการมากกว่าภาคการเกษตร โดยสามารถจำแนกได้เป็น อุตสาหกรรมเหมืองแร่มีสัดส่วนถึง 23.7% รองลงมาเป็นภาคการผลิต 23.2% และกิจกรรมเกี่ยวกับการเงินและการประกันภัย 12.9% ส่วนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ มีสัดส่วนเพียงแค่ 1.8% ถ้าเรามองเจาะลึกลงไปเฉพาะในภาคการผลิต (ภาพด้านล่าง)สัดส่วนเงินลงทุนจะอยู่ในส่วนของการผลิตอาหารถึง 35% และการผลิตเคมีภัณฑ์15% ของภาคการผลิต ตามลำดับ

บริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มีอะไรบ้าง

(คลิ๊กที่ภาพเพื่อขยาย)

คงมีหลายคนสงสัยว่าบริษัทเหล่านี้เหตุใดถึงต้องออกไปลงทุนในต่างประเทศ ต่างประเทศมีอะไรดีและออกไปลงทุนเพื่ออะไร TerraBKK Research ได้รวบรวมเหตุผลไว้ ดังนี้

  • ขยายขนาดตลาด (Market Seeking) การออกไปลงทุนในต่างประเทศจะทำให้ผู้ประกอบการไทยสามารถออกไปทำตลาดยังต่างประเทศได้และนักลงทุนสามารถใช้ต่างประเทศเป็นฐานผลิตเพื่อแสวงหาตลาดใหม่ที่มีแนวโน้มของการเติบโตสูงอยู่ได้ การออกไปยังต่างประเทศจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สำคัญสำหรับตลาดในประเทศที่ค่อนข้างอิ่มตัว เพราะทำให้ตลาดไม่ได้กระจุกอยู่ภายในประเทศเพียงอย่างเดียวเท่านั้นแต่ได้กระจายออกไปยังต่างประเทศด้วยซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่กว่ามาก
  • แสวงหาประสิทธิภาพ (Efficiency Seeking) คือ การที่ผู้ประกอบการออกไปลงทุนในต่างประเทศที่มีศักยภาพ มีความสามารถ และมีความถนัดในการผลิตสินค้าประเภทนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลิตให้มีความได้เปรียบในการแข่งขันอยู่เสมอ (Comparative Advantage)
  • แสวงหาวัตถุดิบและแรงงานที่ถูก จากทรัพยาธรรมชาติภายในประเทศไทยที่ค่อนข้างจำกัด บางครั้งการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อใช้ในการผลิตอาจจะไม่คุ้มค่าในระยะยาวทำให้การออกไปลงทุนในต่างประเทศเป็นทางออกที่ดีกว่า อีกทั้งการออกไปต่างประเทศก็เพื่อต้องสร้างฐานการผลิตในประเทศที่มีต้นทุนแรงงานราคาถูก เป็นการสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันให้แก่ตัวเองด้วย
  • กระจายความเสี่ยง รักษาเสถียรภาพ จากที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าปัจจุบันความไม่แน่นอนทั้งเรื่อง ภัยธรรมชาติ การเมือง และเศรษฐกิจของแต่ละประเทศค่อนข้างอ่อนไหวมาก ทำให้การกระจายความเสี่ยงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก หลายบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยต่างก็ออกไปลงทุนสร้างฐานการผลิตยังต่างประเทศเช่นกัน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อทั้งตัวตัวบริษัทเองและเป็นผลดีในทางอ้อมให้แก่ประเทศในการช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจไม่ให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงถ้าหากประเทศเกิดวิกฤติขึ้น
  • แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี การเข้าไปลงทุนในต่างประเทศบริษัทไทยสามารถเรียนรู้งาน เทคนิค กระบวนการผลิต การบริหารงานจากต่างประเทศซึ่งมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สิ่งที่จะได้กลับมาคือ ประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้จากภายในประเทศทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำความรู้ที่ได้เรียนรู้มาปรับใช้พัฒนา ปรับปรุงการบริหารงานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังนำความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาเผยแพร่ให้กับประเทศได้อีกด้วย - เทอร์ร่า บีเคเค

บทความโดย : TerraBKK ข่าวอสังหาฯ

TerraBKK ค้นหาบ้านดี คุ้มค่า ราคาถูก


ติดตามเราผ่านทางไลน์
@TERRABKK

Discussion

Follow breaking news Investment property articles on Facebook, click here.

ด้วยอัตราการเติบโตเศรษกิจ 6-7% ใน 5 ปีที่ผ่านมา ประกอบกับประชากรจำนวน 92.7 ล้านคน อยู่ในวัยทำงานถึง 56 ล้านคน และที่เหลือเป็นเด็กมากกว่าผู้สูงอายุ

ด้านภูมิศาสตร์ก็ดีกว่าประเทศอื่นๆ ตรงที่ติดกับจีน และมีทางออกสู่ทะเลตั้งแต่เหนือจรดใต้

เราจึงเริ่มเห็นการย้ายฐานการผลิตไปที่เวียดนามมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ สิงคโปร์

 

แต่สำหรับประเทศไทยนั้น การควบรวมกิจการ หรือ การเข้าไปถือหุ้น (M&A) เป็นที่นิยมมากว่า เนื่องจากสามารถนับเงินได้ทันที และต่อยอดสินค้าของในไทยสู่ตลาดเวียดนามได้อย่างรวดเร็ว

โดยประเทศไทยอยู่อันดับ 10 ในแง่ของเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติในเวียดนาม แต่ถ้านับแบบ M&A ไทยอยู่อันดับ 1 เลยทีเดียว
เราไปดูกันว่า บริษัทดังๆ ของไทยที่ไปซื้อกิจการในเวียดนามนั้น มีใครบ้าง

 

บริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มีอะไรบ้าง
บริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มีอะไรบ้าง

TCC Group

-เวียดนามเบฟเวอเรจ (บริษัทของ ไทยเพฟฯ) ซื้อหุ้น 54% ของบริษัทซาเบโก ด้วยเงิน 4,840 ล้านเหรียญดอลลาร์

ซาเบโก (Sabeco) ถือบริษัทเบียร์ที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม ซึ่งในปี 2016 ครอง Market Share ตลาดเบียร์ถึง 40% ตามมาด้วย Heineken 23% และ Habeco 18.4% และตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา อัตราการบริโภคเบียร์ของต่อหัวของคนเวียดนามเพิ่มขึ้นจาก 29 ลิตรต่อคนในปี 2011 เป็น 38 ลิตรต่อคนในปี 2016

สาเหตุที่อัตราการดื่มเบียร์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็เพราะจำนวนคนวัยทำงานที่เพิ่มมากขึ้น รายได้ต่อหัวที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเข้ามาของเบียร์นอกก็ทำให้ปริมาณการดื่มเบียร์ก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

-นอกจากนั้น TCC ยังถือหุ้น 19% ใน Vinamilk ผ่านบริษัท F&N
โดย Vinamilk คือบริษัทนมยักษ์ใหญ่ของเวียดนาม ที่มี Market Share ที่ใหญ่ที่สุดในตลาดเช่นกัน นอกจากนั้น TCC ก็ยังซื้อหุ้นในกิจการ ซูเปอร์มาร์เก็ต และ ร้านสะดวกซื้ออื่นอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าการลงทุนของ TCC นั้นเน้นไปที่ตลาดที่ตัวเองถนัดอย่างเครื่องดื่ม และค้าปลีก ซึ่งเป็นสองหมวดที่มีโอกาสขยายตัวสูงมากในประเทศที่กำลังโตอย่างเวียดนาม รวมไปถึงการเขาซื้อหุ้น ในเบอร์ 1 ของแต่ละตลาดก็สามารถการันตีความสำเร็จได้อย่างดี

 

บริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มีอะไรบ้าง
บริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มีอะไรบ้าง

Carabao Group

คาราบาว กรุ๊ป จับมือกับ Ngoc Thien Bao Company เพื่อเป็นผู้จัดจำหน่าย เครื่องดื่มชูกำลังคาราบาว ในเวียดนาม โดยวางแผนลงทุน 200 ล้านดอลลาร์ เพื่อขยายการผลิตให้ได้ 240 ล้านขวด ต่อปี

โดยมูลค่าของตลาดเครื่องดื่มชูกำลังคิดเป็น 17% ของตลาดเครื่องดื่มในเวียดนามทั้งหมด ฉะนั้นส่วนแบ่งที่คาราบาวจะได้นั้น ไม่ใช่จำนวนเงินน้อยๆ แน่

กลยุทธ์ของคาราบาวนั้น คือการไปตั้ง หรือหาโรงงานผลิตใน CLMV เพื่อใช้แบรนด์คาราบาวแดงลุยตลาดโดยตรง ซึ่งคาราบาวไม่ได้ทำแค่ประเทศเพื่อนบ้าน แต่รวมไปถึงยุโรปอีกด้วย

 

บริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มีอะไรบ้าง
บริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มีอะไรบ้าง

Central Group

-ในปี 2559 เซ็นทรัล กรุ๊ป รุกตลาดเวียดนาม โดยซื้อกิจการ บิ๊กซีเวียดนาม จากบริษัทกาสิโนกรุ๊ปของฝรั่งเศส ด้วยเงิน 1,140 ล้านดอลลาร์

แต่เดิมกาสิโนกรุ๊ปนั้นเชี่ยวชาญการบริหารค้าปลีกในยุโรป และอเมริกาใต้มากกว่า จึงถอนตัวออก และให้เซ็นทรัล ที่เข้าใจตลาดอาเซียนมากกว่า เข้ามาดูแลแทน และแน่นอนเมื่อเซ็นทรัลเข้ามาลงทุนแล้ว ก็นำร้านค้าในเครือ อย่าง B2S เข้าไปบุกตลาดเครื่องเขียน โดยของในร้าน 80% ก็เป็นแบรนด์ไทย

-ในปี 2559 เซ็นทรัล กรุ๊ป ซื้อกิจการของ Zalora และใช้ชื่อทำตลาดว่า Robins ในเวียดนาม และ Looksi ในไทย

การซื้อ Zalora ในปี 2559 นั้นเป็นการเติมพอร์ตออนไลน์ของเซ็นทรัลที่ให้สมบูรนณ์มากขึ้น โดยในเวียดนามมี Robins และ Big C สองหัวหอกสำคัญในตลาดค้าปลีก

-ในปี 2558 เซ็นทรัล กรุ๊ป ซื้อหุ้น 49% ของ Nguyen Kim (เหงียนกิม) บริษัทค้าปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์

 

บริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มีอะไรบ้าง
บริษัทไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มีอะไรบ้าง

ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2017 เวียดนามนำเข้าสินค้าจากไทย 5.64 พันล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 22% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเสียดุลการค้าให้ไทยเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์

สินค้าไทย ตั้งแต่ อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภค สินค้าแฟชั่น จนไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า ไหลเข้าตลาดเวียดนามมากขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุหลักก็มาจาก งานแสดงสินค้า งาน Trade Fair ที่รัฐบาลไทยอัดฉีดงบต่อเนื่อง ทำให้คนเวียดนามมีโอกาสเห็นสินค้าไทย และ ผู้นำเข้าในเวียดนามก็เชื่อมั่นในแบรนด์ไทยมากขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์ของเวียดนามกังวลว่า การลงทุนจากต่างชาติที่มากเกินไปนั้นอาจส่งผลเสียต่อเวียดนามในอนาคต อย่างประเทศไทยที่เน้น M&A ก็ทำให้บริษัทขนาดใหญ่กลายเป็นของต่างชาติไป

คนไทยลงทุนต่างประเทศอะไรบ้าง

การทำเหมืองแร่และเหมืองหิน มูลค่า 57,177 ล้านบาท.
การเงินและการประกันภัย มูลค่า 31,150 ล้านบาท.
การผลิตเครื่องดื่ม มูลค่า 7,871 ล้านบาท.
การขายส่งและการขายปลีก มูลค่า 6,515 ล้านบาท.
การผลิตคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ มูลค่า 3,293 ล้านบาท.
การขนส่งและคลังสินค้า มูลค่า 3,203 ล้านบาท.

ประเทศใดเข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด

7 เดือนของปี 2565 ต่างชาติลงทุนในไทย กว่า 73,635 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 เกือบ 28,925 ล้านบาท หรือ 65% ญี่ปุ่นนำโด่ง 28,970 ล้านบาท ตามด้วย จีน 14,662 ล้านบาท และสิงคโปร์ 10,568 ล้านบาท จ้างงานคนไทยรวมกว่า 3,308 คน 31 สิงหาคม 2565.

การลงทุนในต่างประเทศ มีอะไรบ้าง

นิยามของการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ 1) เงินลงทุนในทุนเรือนหุ้น (Equity Investment) 2) การกู้ยืมระหว่างบริษัทในเครือ (Direct Loans) 3) กำไรที่นำกลับมาลงทุน และ 4) ตราสารหนี้และสินเชื่อการค้าที่เป็นธุรกรรมระหว่างบริษัทในเครือด้วยกัน

ปัจจัยใดที่ทำให้ชาวต่างชาติมาลงทุนในประเทศไทย

2. ปัจจัยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในประเทศไทย ด้านปัจจัยระดับประเทศ ได้แก่ ที่ตั้งของประเทศไทย ตลาดอาเซียน อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และความพร้อมในการเข้าร่วมประชาคมอาเซียนของไทย ด้านปัจจัยระดับจังหวัด ได้แก่ สัมฤทธิ์ผลของนโยบายของท้องถิ่น การมีส่วนร่วมของชุมชน สภาพแวดล้อมทางสังคม สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน และ ...