ประเพณีในสมัยอยุธยามีอะไรบ้าง

การลอยกระทง ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่
11 พฤศจิกายน 2562 ทุกคนคงจะเตรียมตัวเพื่อเข้าร่วมงานตามสถานที่ต่าง ๆ แล้วคุณทราบหรือไม่ว่าความเชื่อ
ในวันลอยกระทงมีอะไรบ้าง มาทำความรู้จักกับความเชื่อทั้ง 4 กันเลยค่ะ

Show

1.การใส่เงินในกระทง
ในสมัยอยุธยา เชื่อว่าการใส่เศษสตางค์ลงในกระทงเป็นการทำบุญสะเดาะเคราะห์ แต่ปัจจุบันเชื่อกันว่าจะทำให้
ร่ำรวย มีเงินทองไหลมาเทมาตลอดปี

2.การใส่เส้นผมและเล็บในกระทง
ผู้คนนิยมทำกันมาก เพราะเชื่อว่าเป็นการทำให้เคราะห์ร้ายหรือสิ่งไม่ดีลอยออกไปจากตัวเรา และจะมีสิ่งดีๆ เข้ามา
แทนที่

3.การใส่อาหารลงในกระทง
ชาวจีน เชื่อว่าเป็นการเซ่นไหว้ภูตผีที่อยู่ในแม่น้ำ เนื่องจากบริเวณนั้นมักจะมีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำและอุบัติเหตุ

4.การลอยโคม หรือ ยี่เป็ง
เป็นประเพณีของชาวล้านนา ซึ่งเชื่อว่าเป็นการปล่อยความทุกข์ความโศกให้ลอยออกไป นอกจากนี้ยังเป็นการบูชา
พระธาตุเกศแก้วจุฬามณีที่อยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : 4 ความเชื่อประเพณีวันลอยกระทง

ประเพณี เป็นเรื่องของความประพฤติของกลุ่มชน ยึดถือเป็นแบบแผนสืบต่อกันมานาน เป็นการแสดงถึงเอกลักษณ์ของชาติอีกอย่างหนึ่ง ประเพณี กับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่กลุ่มชนในสังคมร่วมกันสร้างขึ้น แต่ประเพณีเป็นวัฒนธรรมที่มีเงื่อนไขที่ค่อนข้างชัดเจน กล่าวคือเป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นเป็นมรดกคนรุ่นหลังจะต้องรับไว้และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป รวมทั้งมีการเผยแพร่แก่คนในสังคมอื่นๆ ด้วย

ในภาพลักษณ์ปัจจุบัน อยุธยายังคงเป็นเมืองที่มีเสน่ห์ด้วยวิถีชีวิตดั้งเดิมที่สะท้อนความจริงด้านจิตใจและถ่ายทอดออกมาเป็นประเพณี พิธีกรรมหลากหลาย ที่สืบทอดและปฏิบัติกันมาแต่โบราณ

ชีวิตชาวอยุธยาผูกพันกับน้ำมาแต่สมัยโบราณ เพราะสภาพพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ราบลุ่มที่มีทั้งแม่น้ำหลายสาย ที่แตกย่อยออกเป็นลำคลองสายเล็กสายน้อยซอกซอนไปทุกๆ ที่ การสัญจรและกิจกรรมต่างๆ ที่อยู่ในชีวิตประจำวันจึงเกี่ยวกับน้ำอย่างแยกกันไม่ออก เมื่อถึงหน้าน้ำหลากชาวบ้านต่างพากันพายเรือไปวัดไปวา และช่วงทอดกฐินออกพรรษา จะมีประเพณีเกิดขึ้นอีกอย่างหนึ่งก็คือการแข่งเรือ เพราะเมื่อชาวบ้านไปชุมนุมกันในงานบุญ ระหว่างขากลับก็ต่างพากันพายเรือแข่งอย่างสนุกสนาน จนพัฒนากลายมาเป็นประเพณีแข่งเรือยาวที่มีกติกาที่ยอมรับกันได้ทั่วไปการแข่งเรือยาวคือประเพณีที่สามารถสะท้อนความเป็นชาวน้ำชาวเรือของคนอยุธยาได้ดีที่สุด และยังสามารถสะท้อนสีสันที่เรียบง่ายแต่สนุกสนานครื้นเครงตามแบบชีวิตไทยๆ ได้ เมื่อเรือออกสตาร์ทฝีพายหลายสิบคนต่างเร่งสาวเรือออกจากจุดตั้งต้น เรือลำเพรียวยาวก็เคลื่อนตัวไปได้อย่างรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อสองฝั่งลำน้ำเต็มไปด้วยสีสันและบรรยากาศที่สนุกสนาน มีคนมากมายจากหลายท้องถิ่นพากันมาเอาใจช่วยทีมเรือที่ตนเองกำลังชอบ แล้วเสียงฝีพายกระทบน้ำก็ดังสลับกับเสียงเชียร์กึกก้องทั่วลำน้ำเจ้าพระยาประเพณีแข่งเรือยาวของจังหวัดอยุธยานั้น จะจัดขึ้นที่ลำน้ำเจ้าพระยาหน้าวัดกษัตราธิราช ตรงข้ามกับพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย ประมาณเดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน

 

 

 ประเพณีทิ้งกระจาด

 สังคมไทยอีกสังคมหนึ่งที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมชนชาติที่หลากหลายมาตั้งแต่ สมัยอยุธยา ด้วยความที่อยุธยาเป็นเมืองท่าเมืองหนึ่งที่มีเรือสำเภาแล่นขึ้นล่องแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อมาทำการค้าขาย

บริเวณตอนใต้นอกเกาะเมืองของอยุธยาตรงที่เรียกว่า บางกะจะ นั้น คาดกันว่าเป็นแหล่งชุมชนของชาวจีนขนาดใหญ่มาตั้งแต่สมัยก่อนการก่อตั้งกรุงศรีอยุธยา สังเกตได้จากพระเจ้าพะแนงเชิง (พระไตรรัตนนายก) หรือหลวงพ่อโตที่ชาวจีนเคารพนับถือนั้น เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สะท้อนถึงขนาดของชุมชนชาวจีนในสมัยโบราณที่สามารถสร้างพระพุทธรูปเช่นนี้ได้

ที่วัดพนัญเชิง ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางทางศาสนาของชาวไทยเชื้อสายจีนที่อาศัยอยู่ในอยุธยานั้น มีประเพณีที่สำคัญซึ่งเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอยุธยาประเพณีหนึ่ง คือ ประเพณีทิ้งกระจาด ซึ่งโดยทั่วไปประเพณีทิ้งกระจาดจะกระทำกันอย่างกว้างขวางในทุกๆ ท้องถิ่นที่มีชาวจีนอาศัยอยู่ แต่ประเพณีทิ้งกระจาดที่วัดพนัญเชิงนี้จะจัดอย่างยิ่งใหญ่กว่าที่อื่นตามกำลังความศรัทธาและฐานะทางเศรษฐกิจของคนที่นี่ โดยทั่วๆ ไป จะจัดกันประมาณเดือน 7 ของจีน หรือเดือน 9 ของไทย โดยแบ่งการจัดงานออกเป็น 3 วัน

 เนื้อหาสาระของประเพณีทิ้งกระจาดนั้น แสดงถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของชาวจีน เพราะเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ผีไม่มีญาติ โดยจะมีการสวดมนต์โดยพระจีนตลอดทั้งวันแรก ซึ่งชาวจีนถือว่าเป็นวันเดียวในรอบปีที่ผีไม่มีญาติจะได้รับอนุญาตให้ขึ้นมาบนโลกมนุษย์เพื่อรับส่วนบุญกุศลในวันที่สองของการจัดงานนั้นจะเป็นการทิ้งกระจาด โดยจะมีการโปรยอาหาร ข้าวของเครื่องใช้ ให้แก่ผู้มารับกระจาด ซึ่งมักเป็นผู้ที่มีฐานะยากจน ซึ่งเป็นการให้ทานอีกวิธีหนึ่ง

ในพิธีจะมีสิ่งที่สังเกตได้ง่าย คือ จะมีการตั้งหอเทกระจาดเป็นหอสูง เพื่อให้คนสามารถขึ้นไปทำการทิ้งกระจาด หรือทิ้งสิ่งของลงให้ผู้อยู่ข้างล่างได้รับ และในงานจะมีหุ่นยมบาลที่ทำด้วยกระดาษขนาดสูงกว่า 5 เมตร ซึ่งเชื่อกันว่าเมื่อผีไม่มีญาติถูกปล่อยขึ้นมารับส่วนบุญบนโลก อาจมีผีบางตนที่เกเรไปรังแกมนุษย์ หรือบางตนอาจจะไม่ยอมกลับลงปรโลก จึงต้องมียมบาลมาคอยควบคุมดูแล และด้านหน้ายมบาลจะมีกองกระดาษเงินกระดาษทองที่สุมเอาไว้จนสูง ซึ่งยมบาลก็จะเป็นผู้ควบคุมให้เงิน (ที่แทนด้วยกระดาษเงินกระดาษทอง) จะสามารถส่งไปถึงผีทุกคนได้ครบถ้วน ซึ่งหุ่นยมบาลและกองกระดาษเงินกระดาษทองจะถูกเผาในวันเดียวกับที่มีการทิ้งกระจาด

ประเพณีในสมัยอยุธยามีอะไรบ้าง

บรรยากาศของประเพณีทิ้งกระจาดนี้ มีความยิ่งใหญ่และแปลกตามาก เพราะไม่มีประเพณีแบบนี้ที่ไหนที่จัดได้ยิ่งใหญ่และมีผู้มาร่วมงานมากเท่าที่วัดพนัญเชิง ดังนั้นหากมีโอกาสก็ไม่ควรพลาดที่จะเดินทางไปสัมผัสสักครั้งหนึ่ง

ประเพณีลอยกระทงตามประทีป

 ประเพณีลอยกระทงเป็นประเพณีที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของไทยที่มีความผูกพันกับแม่น้ำเป็นประเพณีเก่าแก่ที่สันนิษฐานว่าสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอาณาจักรสุโขทัย และทุกวันนี้ประเพณีลอยกระทงก็เป็นประเพณีที่ชาวไทยให้ความสำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ในแต่ละปีจะมีการจัดงานลอยกระทงอย่างยิ่งใหญ่ตามพื้นที่ๆ ติดแม่น้ำ ซึ่งอยุธยาก็เป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีแม่น้ำลำคลองหลายสาย จึงเป็นการเหมาะที่จะจัดงานประเพณีลอยกระทงขึ้น ประเพณีลอยกระทงที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้น จะจัดขึ้นที่ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบางไทร ซึ่งใช้ชื่องานว่า “ลอยกระทงตามประทีป” ซึ่งจะมีการจัดการแสดงทางวัฒนธรรมอื่นๆ อีกมากมายภายในงานด้วย

ประเพณีในสมัยอยุธยามีอะไรบ้าง

ประเพณีเกี่ยวกับศาสนาพุทธ

ประเพณีของชาวอยุธยานั้น มีอีกหลายประเพณีที่เหมือนกับชาวพุทธทั่วๆ ไป ที่มักเป็นพิธีการเกี่ยวกับศาสนาที่จัดในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา วันมาฆบูชา และวันสำคัญอื่นๆ เช่น วันสงกรานต์ ประเพณีในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

เทศกาลสุโขทัย.
งานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ Rating : 10/10. ... .
ประเพณีแห่ช้าง บวชนาค หาดเสี้ยว Rating : 7.5/10. ... .
งานประเพณีแห่น้ำขึ้นโฮง Rating : 8.5/10. ... .
งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช Rating : 9/10. ... .
งานสักการะพระแม่ย่าและงานกาชาด Rating : 8/10. ... .
สรงน้ำโอยทานสงกรานต์ศรีสัชนาลัย Rating : 8/10. ... .
งานวันพิชิตยอดเขาหลวง Rating : 9/10..

ภูมิปัญญาไทยด้านวรรณกรรมในสมัยอยุธยาคืออะไร

4. ภูมิปัญญาด้านวรรณกรรม 1. ลิลิตโองการแช่งน้า 2. มหาชาติคาหลวง 3. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา 4. จินดามณี

ประเพณีในสมัยสุโขทัยที่ตกทอดมาถึงปัจจุบันคืออะไร

จังหวัดสุโขทัย ถือเป็นต้นกำเนิดของประเพณีลอยกระทง เนื่องจากมีการจัดงานประเพณีสือทอดติดต่อกันมาหลายสิบปี จนกลายเป็นประเพณีระดับประเทศ และสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกันไปทั่วโลกในชื่อ “งานประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย”

ภูมิปัญาใดบ้างที่เกิดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี

ภูมิปัญญาไทยสมัยอยุธยา (ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม (ปราสาทหินเมืองต่ำ,….
ภูมิปัญญาการต่อเรือ ติดต่อกับชุมชนอื่นๆโดยใช้พาหนะขนส่ง เรือแจว ... .
ภูมิปัญญาการขุดคลอง คลองที่ขุดขึ้นในสมัยอยุธยา คลองที่ขุดสมัยรัตนโกสินทร์ ... .
ภูมิปัญญาด้านศิลปกรรม ปราสาทหินเมืองต่ำ วัดพระแก้ว ... .
ภูมิปัญญาด้านวรรณกรรม มหาชาติคำหลวง.