การเป็นลมมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

อาการเป็นลม หรือที่บางคนเรียกว่า "วูบ" หรือ "หน้ามืด" คือการที่อยู่ดี ๆ ก็รู้สึกใจหวิว ตัวโครงเครง ตัวมัวลงพร้อมกับแขนขาอ่อนแรงไปเฉย ๆ มักเกิดในท่ายืน (น้อยครั้งที่จะเกิดในท่านั่ง และจะไม่เป็นในท่านอน) เมื่อยืนทรงตัวไม่ไหวก็จะทรุดลงไปนอนกับพื้น แล้วจะหมดสติไปชั่วครู่หนึ่ง ไม่เกิน 30 วินาทีก็จะฟื้นคืนสติได้เอง (หากหมดสติไปนานกว่านั้นจะไม่เรียกว่า "เป็นลม" แต่เป็นอาการ "หมดสติ")

ผู้ที่อยู่ใกล้จะเห็นว่าท่านหน้าซีด เหงื่อออก มือเย็น ชีพจรเบา หายใจตื้น ช้าและแผ่วเบา ถ้ามีโอกาสวัดความดันเลือดจะพบว่า ความดันต่ำกว่าธรรมดา สักครู่หนึ่งชีพจรก็จะแรงขึ้น หายใจเริ่มแรง เร็วและลึก หน้ามีสีเลือด และเริ่มขยับแขนขา ศีรษะ แล้วพยายามจะลุกขึ้น ทันทีที่รู้สึกตัว ท่านเข้าใจคำถาม ตอบได้ถูกต้อง และพอจะจำได้ว่าก่อนเป็นลมกำลังทำอะไรอยู่ ไม่มีอาการปวดศีรษะ, สับสน มึน ซึม หรือง่วงนอนเหมือนผู้ที่มีอาการชักแบบไม่กระตุกหรือหมดสติจากอย่างอื่น

โดยทั่วไปอาการเป็นลมเป็นผลจากความผิดปกติของร่างกายเพียงชั่วครู่ ไม่ร้ายแรงประการใด การดูแลรักษาผู้ที่เป็นลมก็ง่าย เพียงจัดท่าทางให้มีเลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น คือ ท่านอนราบศีรษะต่ำ จัดให้อยู่ในที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก ปลดเสื้อผ้าหรือสิ่งที่รัดร่างกายจนแน่นโดยเฉพาะบริเวณคอให้หลวม ๆ ไม่ควรให้ลุกขึ้นเร็วจนกว่าสบายขึ้น

สาเหตุของการเป็นลม

การเป็นลมเกิดจากการที่สมองมีเลือดไปเลี้ยงน้อยลง ซึ่งเกิดจากกลไกและสาเหตุดังต่อไปนี้

  1. Vasovagal response
  2. เป็นการตอบสนองของเส้นประสาทเวกัสต่อปัจจัยที่ไม่สบายต่าง ๆ เช่น ความเจ็บปวด ความกลัว ความวิตกกังวล ความรู้สึกสะเทือนอารมณ์อย่างรุนแรง ความหิว ความอ่อนเพลีย อากาศร้อน การเห็นเลือด ฯลฯ กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นลมมาจากสาเหตุนี้

  3. Cardiac causes ผู้ที่มีความผิดปกติของหัวใจดังต่อไปนี้มีโอกาสเป็นลมหมดสติได้ง่ายกว่าคนปกติ
    • มีหัวใจพิการมาแต่กำเนิด เช่น Tetralogy of Fallot, Eisenmenger's syndrome
    • ลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (Aortic stenosis)
    • Idiopathic hypertrophic subaortic stenosis (IHSS) มักเกิดในคนหนุ่มสาวหลังจากเล่นหรือออกแรง
    • ลิ้นหัวใจพัลโมนารีตีบ (Pulmonary stenosis)
    • เนื้องอกของผนังหัวใจห้องบนซ้าย (Left atrial myxoma)
    • ใส่ลิ้นหัวใจเทียมที่ห้องด้านซ้าย
    • Mitral valve prolapse
    • Primary pulmonary hypertension
    • Pulmonary embolism
    • มีหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือหยุดไปชั่วขณะ
    • Congenital prolonged Q-T interval
    • WPW syndrome
    • LGL syndrome
    • Cardiomyopathy อื่น ๆ
  4. Orthostatic hypotension
  5. เป็นการลดลงของความดันโลหิตอย่างกะทันหันขณะกำลังลุกขึ้นจากท่านั่งหรือท่านอน ผู้ป่วยจะรู้สึกวูบ หรือหน้ามืดทันที โดยอาจไม่ถึงขั้นหมดสติ ส่วนใหญ่จะค่อย ๆ ดีขึ้นหลังยืนทรงตัวดีแล้วสัก 1-2 นาที ยาลดความดันบางชนิดก็ทำให้เกิดอาการแบบนี้ได้

  6. จากเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบแคบลง มักพบในคนสูงอายุ
  7. Carotid sinus syndrome มักจะเกิดในคนที่ใส่เสื้อคอตั้งและรัดคอมากไป
  8. Hysterical fainting มักพบในเด็กโตหรือวัยรุ่น เด็กพวกนี้มักมีปัญหาทางอารมณ์ ต้องการการเอาใจใส่ การเป็นลมอาจเป็นการตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ แต่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของชีพจรและความดันโลหิต และอาจเป็นได้บ่อย ๆ หรือเป็นอยู่นานกว่า 30 วินาที
  9. สาเหตุอื่น ๆ ที่พบน้อย เช่น เป็นลมขณะปัสสาวะ ไอ เจ็บในช่องคอ (glossopharyngeal neuralgia) เป็นต้น

เมื่อใดถึงควรไปพบแพทย์

ดังที่ได้กล่าวไว้แต่ต้นว่าการเป็นลมโดยที่มีปัจจัยให้เกิดและหมดสติเพียงชั่วเวลาสั้น ๆ (ไม่ถึง 1 นาที) พร้อมกับการจดจำเหตุการณ์ได้ทันทีเมื่อฟื้น ไม่ใช่อาการร้ายแรงแต่อย่างใด แต่การเป็นลมในกรณีต่อไปนี้ สมควรจะได้รับการตรวจทางหัวใจและระบบประสาทอย่างละเอียด

แนวทางการวินิจฉัย

ผู้ที่เป็นลม สิ่งแรกคือต้องแยกว่าเป็นการ "เป็นลม" หรือ "ชัก (แบบไม่กระตุก)" หรือ "หมดสติ (ชั่วครู่)" ส่วนใหญ่จะดูจากระยะเวลาที่หมดสติไปกับความจดจำได้ทันทีเมื่อฟื้น นอกจากนั้นการเป็นลมแม้จะล้มในท่ายืนมักไม่มีการกัดลิ้น ปัสสาวะราด หรือการบาดเจ็บมากนัก ขณะที่ผู้เป็นลมชักอาจเกิดได้ทุกท่าไม่ว่าจะนั่งหรือนอน และอาจมีการขยับตัวจนเกิดการบาดเจ็บแก่ตัวเอง ในกรณีที่ไม่แน่ใจให้พาไปตรวจที่โรงพยาบาลเมื่ออาการดีขึ้นสักพักแล้ว แพทย์จะทำการซักประวัติใหม่ ตรวจร่างกาย วัดความดันท่านอนเทียบกับท่านั่ง ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซเรย์ทรวงอก ตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (ถ้ามีความผิดปกติของหัวใจจริง) และคลื่นไฟฟ้าสมอง (หากสงสัยเป็นโรคลมชัก)

สาเหตุของการเป็นลมส่วนใหญ่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่ออารมณ์และระบบประสาทอัตโนมัติ ซึ่งแก้ไขไม่ได้ ได้แต่คอยระวังไม่ให้เกิดสถานการณ์แบบนั้นขึ้นอีก สาเหตุทางหัวใจแม้จะตรวจพบก็มีเพียงบางโรคเท่านั้นที่รักษาได้ ภาวะที่รักษาไม่ได้อย่างน้อยเป็นการเตือนตัวเองว่าอะไรก็เกิดขึ้นได้ทุกเวลาและอย่าใช้ชีวิตอย่างประมาทเกินไป

ข้าพเจ้ายินยอมโดยสมัครใจให้คณะแพทย์ – พยาบาล, เจ้าหน้าที่ และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา ทำการตรวจรักษาและกระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพทางการแพทย์ เปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาของข้าพเจ้าให้แก่ทีมสุขภาพของโรงพยาบาล ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความจำเป็นในการเข้าถึงข้อมูลของข้าพเจ้า ทั้งนี้ข้าพเจ้าได้รับทราบถึงคำประกาศสิทธิผู้ป่วย และ ข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างดีแล้ว

เป็นลม คือ อาการหมดสติเพียงชั่วคราวเนื่องจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ มาจากหลายสาเหตุ เช่น เหนื่อยหรือร้อนจัด หิวหรือเครียด ดังนั้น การช่วยเหลือผู้ป่วยขั้นต้นเป็นสิ่งสำคัญมาก จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยไว้ได้

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น . . เมื่อพบคนที่เป็นลม                          

  1. ควรรีบให้คนไข้นอนราบ หัวต่ำ (ไม่หนุนหมอน) และใช้หมอน หรือสิ่งอื่นยกขาให้สูงขึ้น
  2. สังเกตการณ์หายใจ ถ้าคนไข้หายใจได้ มีชีพจร  จึงอาจถือว่าคนไข้เป็นลม

(ถ้าคลำชีพจรที่คอและที่ขาหนีบไม่ได้ ต้องถือว่าหัวใจหยุด และรีบฟื้นชีวิตด้วยการทำ CPR หรือปั๊มนวดหัวใจทันที ถ้าคนไข้หายใจลำบากต้องช่วยหายใจก่อน และสามารถโทรขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ได้ที่ 1669 หรือ 1745 สายด่วนที่ให้บริการช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤติฉุกเฉิน)

  1. คลายเสื้อผ้าที่คับ ให้หลวมออก
  2. กันไม่ให้คนมามุงล้อมผู้ป่วย
  3. ใช้พัดหรือสิ่งอื่นโบกลมให้ผู้ป่วย
  4. อาจให้คนไข้สูดดมยา เช่น ยาหม่อง พิมเสน แอมโมเนียหอม หัวหอม หรืออื่น ๆ
  5. อาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็น (ในที่ที่อากาศร้อน) เช็ดหน้า คอ แขนขา และลำตัวของคนไข้ โดยทั่วไปคนไข้เป็นลมที่ได้รับการรักษาข้างต้น จะกลับฟื้นคืนสติในเวลาไม่กี่นาที
  6. เมื่อคนไข้ฟื้นคืนสติแล้ว ควรให้นอนพักหรือนั่งพักอย่างน้อยสัก 1-2 ชั่วโมง เพราะถ้าให้คนไข้ลุกขึ้น หรือกลับไปทำงานทันที จะเกิดอาการหน้ามืดเป็นลมอีกได้
  7. เมื่อคนไข้รู้สึกตัวดีแล้ว ต้องตรวจหาสาเหตุของอาการเป็นลม เพื่อให้การป้องกันและรักษาสาเหตุ คนไข้จะได้ไม่เกิดอาการเป็นลมขึ้นอีก หรือถ้าเกิดขึ้นอีกก็ไม่รุนแรง และไม่ทำให้เกิดอันตรายได้สำหรับคนไข้ที่มีอาการหน้ามืด ให้รักษาเช่นเดียวกับคนไข้ที่เป็นลม แต่อาจให้นั่งแทนนอน

สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการหน้ามืดเป็นลมจะรู้ได้โดยการซักประวัติให้ดี และควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อป้องกัน ดังนั้นการตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำทุกปีจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น เพราะการตรวจพบโรคต่างๆได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ จะทำให้เราได้รับการรักษาที่เหมาะสม และป้องกันไม่ให้โรคลุกลามไปมากจนเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง

การปฐมพยาบาลคนเป็นลมมีกี่แบบ

1.ให้ผู้ป่วยนอนศีรษะต่ำ (ไม่ต้องหนุนหมอน ยกขาสูง) คลายเสื้อผ้าและเข็มขัดให้หลวม เพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้อย่างเพียงพอ 2.อย่ามุงดูผู้ป่วย เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก 3.ใช้น้ำเย็นเช็ดบริเวณใบหน้า คอ แขนขา และให้ดมยาดม จะช่วยให้รู้สึกตัวเร็วขึ้น

เป็นลม เสียชีวิตได้ไหม

การเป็นลมหมดสติไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด ผู้ป่วยจะหมดสติช่วงเวลาสั้นๆแล้วตื่นขึ้นได้เอง แต่ถ้าการเป็นลมหมดสตินั้นเกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะรุนแรง ผู้ป่วยอาจไม่ตื่นเองจำเป็นต้องได้รับการกู้ชีวิต ถ้ากู้ไม่ทันก็จะถือว่าเป็นการเสียชีวิตเฉียบพลัน