จบ ครุศาสตร์ ต่อโท อะไรได้บ้าง

อยากเป็น “ครู” สพฐ./อาชีวะ/ฯลฯ หรือเป็น “อาจารย์” มหาวิทยาลัย
จะเรียน ป.โท ที่ มรม. อย่างไรดี :
ข้อคิดจาก คณบดี สุรวาท ทองบุ facebook : สุรวาท ทองบุ : Surawat Thongbu

1. การเรียนต่อ ป.โท ที่จะส่งให้เกิดความก้าวหน้า ตรงตามความต้องการการจ้างงานใหม่ ควรเรียนสายตรงโดยตลอดหรือใกล้เคียงที่สุด เช่น จบ เกษตรศาสตร์ ต่อ เกษตรศาสตรศึกษา เป็นต้น..
2. ผู้สำเร็จ ค.บ. กศ.บ. ศษ.บ. วท.บ. ทล.บ. วศ.บ. ด้านวิทยาศาสตร์ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ หรือวิศวกรรมศาสตร์ เป็นต้น ควรเรียน ป.โท วิทยาศาสตรศึกษา ดีที่สุด จบแล้วมีโอกาสเป็นได้ทั้ง ครูขั้นพื้นฐาน และมหาวิทยาลัย
3. ผู้สำเร็จด้านคณิตศาสตร์ ดีที่สุดคือ เรียน คณิตศาสตรศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการมากของมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ทั่วประเทศ และยังสามารถเป็นครูขั้นพื้นฐานและรับเงินเดือนตามวุฒิ ป.โท ได้
4. ผู้สำเร็จ ด้านพลศึกษา ควรเรียน ป.โท ด้านพลศึกษา หากไม่มี ที่ มรม. จะเรียน หลักสูตรฯ หรือ วิจัยฯ ก็ได้ เป็นไปได้ควรรอเรียนสายตรง ที่ มรม. ในปีการศึกษา 2559
5. ผู้สำเร็จ การศึกษาปฐมวัย เป็นไปได้ ให้รอเรียน ป.โท การศึกษาปฐมวัย ที่ มรม. ปีการศึกษา 2561 โอกาสก้าวหน้าเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยสูงมาก ดีกว่าจะเรียนสาขาอื่น
6. ผู้สำเร็จ ด้านเกษตรศาสตร์ พืชไร่ พืชสวน สัตวศาสตร์ ฯลฯ ดีที่สุด คือเรียนต่อ ป.โท เกษตรศาสตรศึกษา คาดเปิดปีการศึกษา 2561
7. ผู้สำเร็จด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ บัญชี เศรษศาสตร์ หรืออื่น ๆ ควรเรียน ป.โท ทางธุรกิจศึกษา ที่ มรม. จะเปิดสอนในปีการศึกษา 2561
8. ผู้สำเร็จด้านภาษาศาสตร์ ภาษาไทยหรืออื่นๆ ควรเรียน ป.โท การสอนภาษาไทย ที่คาดว่าจะเปิดสอนในปีการศึกษา 2560
9. ผู้สำเร็จด้านภาษาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ควรเรียน ป.โท การสอนภาษาอังกฤษ จะเปิดสอนในปีการศึกษา 2561
10. ผู้สำเร็จด้านดนตรี ดุริยางค์ ควรเรียน ป.โท ดนตรีศึกษา ซึ่งคาดว่าจะเปิดสอนปีการศึกษา 2560 หรือ 2561
11. ผู้สำเร็จด้านการศึกษาพิเศษ ควรเรียน ป.โท การศึกษาพิเศษ ถ้ามี
12. ผู้สำเร็จ ป.โท ที่ตรงกับกลุ่มสาระ หรือรายวิชาเฉพาะ จะสามารถบรรจุและรับเงินเดือนตามวุฒิ ป.โท ได้ในการเป็นครูขั้นพื้นฐานหรืออาชีวะ ตามที่ กคศ. กำหนดอัตราเงินเดือนไว้แล้ว
13. การเรียนต่อ ป.โท บางสาขา อาจช่วยให้ได้ ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูและอาจจะไม่มีตำแหน่ง ครูในระดับพื้นฐานหรืออาชีวะ รองรับ ท่านอาจจะต้องกลับไปรับเงินเดือน ป.ตรี สาขาเดิม เท่านั้น ซึ่งทั้งสาขาเหล่านั้น จะเหมาะสำหรับผู้ต้องการใบอนุญาตฯ หรือเป็นผู้มีงานทำที่มั่นคงหรือได้บรรจุแล้วและต้องการนำความรู้ไปเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการเรียนการสอน ในตำแหน่งเดิม
14. เมื่อสำเร็จ ป.โท เหล่านี้ หากเรียนต่อจนสำเร็จ ป.เอก สายตรงอีกหนึ่งระดับ โอกาสจะโอนย้ายหรือเปลี่ยนงานไปเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย มีสูงมาก ยกเว้น บางสาขาวิชาที่มีผู้สำเร็จมาก (เฟ้อ) จะมีโอกาสน้อยกว่าสาขาอื่น
15. สรุปว่า
  1) หากต้องการเรียนไปเป็นครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานหรืออาชีวะ และอาจารย์มหาวิทยาลัย รับเงินเดือนตามวุฒิ ป.โท ควรเรียนให้ตรงสาขาหรือใกล้เคียงที่สุด
      2) หากผู้เรียนที่มุ่งมั่นจะเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยเท่านั้นจะเรียนสาขาใดก็ได้ แต่ต้องเรียนจนสำเร็จปริญญาเอก แต่โอกาสอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการมีผู้สำเร็จแล้วจำนวนมากหรือน้อย มี 1-2 สาขาวิชาที่มีผู้สำเร็จมาก (เฟ้อ) แล้ว
      3) หากจะเรียนเพื่อเพิ่มพูนเทคนิคทางการศึกษาเป็นพิเศษ และเพิ่มพูนประสิทธิภาพของตำแหน่งหน้าที่เดิม สามารถสมัครเข้าเรียนในสาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน หรือวิจัยและประเมินผลการศึกษา หรือสาขาใด ๆ ก็ได้
      4) หากเรียนเพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูขั้นพื้นฐานหรืออาชีวะ และกลับไปรับเงินเดือน ป.ตรี จะเรียนสาขาหลักสูตรฯ หรือวิจัยฯ ก็ได้ กรณียังไม่มีงานทำ แต่ถ้าบรรจุในมหาวิทยาลัยสามารถรับเงินเดือน ป.โท ได้ แต่ปัจจุบันมหาวิทยาลัยจะมีความต้องการปริญญาเอกมากกว่า

ที่มา : สุรวาท ทองบุ : Surawat Thongbu / https://www.pageqq.com/…/co…/view/page/cntth2/0-2335672.html

     ตอนผมสอนนักศึกษาปริญญาโทสาขาบริหารการศึกษาแต่ละรุ่น  ผมจะถามเหตุผลที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามาสมัครเรียนต่อในสาขานี้  ก็มักจะได้คำตอบที่แตกต่างกัน ตามข้อมูลพื้นฐานของแต่ละคน  โดยเหตุผลพื้นๆที่เป็นเบื้องหลังการตัดสินใจจริงๆมีหลายประเด็นคือ    
     1.ต้องการเพิ่มวุฒิให้สูงขึ้น
     2.เรียนจบง่าย แค่ปีครึ่งก็จบแล้ว บางวิชาสามารถเทียบโอนจากวิชาที่เคยเรียนมาก่อนได้ 
     3.ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ ทำแค่ค้นคว้าอิสระก็ได้
     4.เป็นการติวเข้มเพื่อเตรียมสอบเป็นผู้บริหารสถานศึกษา/การศึกษา
     5.เป็นการควบคุมตนเองเพื่อพัฒนาความรู้ให้ก้าวหน้ามากขึ้น ซึ่งผมค่อนข้างพอใจในเหตุผลข้อนี้มากที่สุด
       แต่ในตอนหลังผมได้พบข้อมูลใหม่ว่า มีครูผู้ช่วยที่อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม(2 ปี) มาเรียนมากขึ้น  ซึ่งก็ได้ทราบเหตุผลว่า  เป็นผลมาจากการที่ ก.ค.ศ.กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยกำหนดคุณสมบัติไว้ว่า ถ้าจบปริญญาตรีเมื่อผ่านการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม 2 ปี และมีตำแหน่งเป็นครู(ยังไม่มีวิทยฐานะ)แล้ว ถ้าจะขอรับการประเมินให้ได้วิทยฐานะครูชำนาญการจะต้องดำรงตำแหน่งครูอีก 6 ปี แต่ถ้าจบปริญญาโททางการศึกษา(ไม่ระบุสาขา)จะย่นเวลาขอรับการประเมินลงมาเหลือแค่ 4 ปี   
      เมื่อเร็วๆนี้ผมไปพบครูผู้ช่วยในโรงเรียนบนดอยที่อยู่ห่างไกล ทางภาคเหนือ ได้ทราบว่าวันเสาร์-อาทิตย์พวกเขาจะลงมาเรียนต่อปริญญาโทในมหาวิทยาลัยในพื้นราบกันแทบทั้งนั้น ซึ่งต้องใช้เวลามากในการเดินทางไปกลับแต่ละครั้ง  ซึ่งกรณีนี้โรงเรียนจะไม่สามารถใช้งานครูผู้ช่วยในวันหยุดได้เลย (ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมและพัฒนาอย่างเข้มด้วย)   เรื่องนี้ผมว่าน่าจะมีผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบที่น่าจะทบทวนนะ
     แต่เหตุผลที่ผมฟังแล้วสะท้อนใจมากที่สุด ก็คือมีครูดีเด่น/ต้นแบบในสาขาที่ขาดแคลน เช่น ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ฯลฯ มาเรียนต่อสาขาบริหารการศึกษา  ด้วยเหตุผลว่าต้องการเปลี่ยนสายงานจากผู้สอนมาเป็นผู้บริหาร ซึ่งเมื่อคุยกันลึกๆก็ได้รับทราบความจริงว่า การเป็นครูผู้สอนนั้นเหนื่อย  และจะมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี(อภิสิทธิ์) สู้ผู้บริหารไม่ได้
     นี่มันคืออะไรกัน...เราพยายามบอกว่า วิชาชีพครู เป็นวิชาชีพที่มีเกียรติ มีศักด์ศรี แต่ในวิถีชีวิตจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่  เรื่องนี้ฟังแล้วเครียดนะ...

หมายเลขบันทึก: 404723เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2010 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:05 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:



ความเห็น (12)

ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ฯลฯ มาเรียนต่อสาขาบริหารการศึกษา  ด้วยเหตุผลว่าต้องการเปลี่ยนสายงานจากผู้สอนมาเป็นผู้บริหาร ซึ่งเมื่อคุยกันลึกๆก็ได้รับทราบความจริงว่า การเป็นครูผู้สอนนั้นเหนื่อย  และจะมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี(อภิสิทธิ์) สู้ผู้บริหารไม่ได้

    ผมเสียดายครูเก่งๆ หลายคนครับ  เก่งทางวิทย์  คณิต  อังกฤษ   ไปเรียนโท  ต่อโทบริหาร  เพื่อต้องการเปลี่ยนสายเป็นผู้บริหาร

    จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบว่า  เราเสียครูที่สอนเก่งไป   แต่ได้ผู้บริหารที่บริหารไม่เก่งมาแทน (จริงๆ เขาใช้คำแรงกว่านี้ครับ)

    ผมพูดคุยกัยคุณครูผู้สอนหลายคน บอกว่าอาชีพครู มีเกียรตืและศักดิ์ศรีมหาศาล  เกียรติและศักดิ์ศรีของครู  อยู่ที่ "การพัฒนานักเรียน"

    แต่ก็อย่างว่าแหละครับ  ตัวระบบ   ทำให้ครูดูเหมือนมีศักดิ์ศรีสู้ผู้บริหารไม่ได้   นั่นเพราะคิดไปเอง

     ตอนนี้ เห็นครูเก่งคณิตศาสตร์  2   คน  กำลังเรียนปริญยาโทบริหาร  และ เตรียมเปลี่ยนสาย   ก็นึกเสียดายอยู่ในใจครับ

  • เห็นด้วยกับท่านรองฯวิชชามาก ตัวระบบดูเหมือนจะทำให้ใครต่อใครรู้สึกอย่างนั้น.. ศักดิ์ศรีครูสู้ผู้บริหารไม่ได้ แต่ครูก็ไม่ได้รู้สึกร่วมไปกับระบบเสียทั้งหมดดอกนะครับ
  • อันที่จริงเราต้องเสียดายครูดีๆในทุกสาขาวิชา ไม่เพียงเฉพาะสาขาที่ขาดแคลนเท่านั้น..แต่อีกมุมหนึ่งที่ตัวเองมีประสบการณ์ตรงกับเพื่อนครูมาโดยตลอด เข้าใจเองว่า ครูที่สนใจงานสอนจริงๆมักไม่สนใจตำแหน่ง หัวโขน หรืองานบริหาร แต่ครูที่สนใจงานบริหาร มักไม่ค่อยสนใจงานสอน กรณีอย่างนี้เสียดายไป ก็ไม่เกิดประโยชน์นะครับ
  • ขอบคุณความรู้ ซึ่งทำให้ได้คิดทบทวนเรื่องเหล่านี้ครับ

สวัสดีค่ะ

ก็เป็นอีก 1 คน ที่เป็นครูผู้ช่วย (กศน.) แล้วมาเรียนต่อปริญญาโท ก็มีเหตุผลหลายประการเหมือนกันค่ะคือต้องการทำวิทยฐานะเร็วขึ้น ข้อที่สองคือ การพัฒนาตนเอง และข้อที่สามคือการเตรียมความพร้อมเพื่อการเปลี่ยนสายงานค่ะ

เรียนท่านอาจารย์ธเนศ 

            ครูตามีความเห็นว่า การที่ครูเก่ง  เปลี่ยนสายงานเป็นผู้บริหารเก่ง ๆ ยิ่งเป็นเรื่องที่ดีมากค่ะ  เพราะครูเก่งคือครูที่สามารถพัฒนาตนเอง และจัดการเรียนรู้ ถ่ายทอดความรู้สู่ศิษย์ได้เป็นอย่างดี หรือ ดีเยี่ยม 

           หากเปลี่ยนสายงานไปเป็นผู้บริหารที่เก่ง  ก็ยิ่งจะทำให้ท่านผู้นั้นได้ใช้ความสามารถเต็มศักยภาพ  คือ นำความเก่งไปพัฒนา  บริหารองค์กร  พัฒนาครู  บุคลากรทางการศึกษา   และเด็ก ๆ นักเรียนอีกด้วย  ยิ่งจะนำให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพขึ้นค่ะ 

           สรุปได้ว่าจะทำหน้าที่อะไรก็ตาม  หากทุ่มเทด้วยหัวใจ  มุ่งมั่น  ทำเต็มความสามารถไม่ว่าจะเป็นอะไร  ก็ดีทั้งนั้นค่ะ   

ก็มองได้หลายมุมนะ
 
-ได้ครูดีไปเป็นผู้บริหารที่ดี?
  -เสียครูดี แต่ได้ผู้บริหารที่ไม่ดี?
  -คุณค่าของสายงานครูกับสายงานบริหาร?
  -ความหอมหวลในอำนาจ-อภิสิทธิ์?
  -ความก้าวหน้าในเส้นทางวิชาชีพ?
  -ความก้าวหน้าของตนเองกับความเจริญงอกงามของผู้เรียน?
       แล้วเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ต้องการอะไรล่ะ...หาจุดตรงกลางได้ไหมเอ่ย

แล้วเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ต้องการอะไรล่ะ...หาจุดตรงกลางได้ไหมเอ่ย

               ปฏิรูปรอบสอง  เห็น ศน.   นำมาพูดอยู่บ่อย ๆ   มันมากไปหมดครับ

เรียนท่านอาจารย์ธเนศ /ท่านรองฯค่ะ

  • ที่โรงเรียนปรับแผนปฏิบัติการมา 2 วันแล้วค่ะ ซึ่งจะต้องหลอมรวม 3  ส่วนเข้าด้วยกันคือ 1.งานประจำ 4 ฝ่าย 2.งานโรงเรียนดี..ดี๊ .. ดี ประจำตำบล 3. จุดเน้นมากมาย
  • ทำไป งงไป หาจุดกึ่งกลางไม่เจอ   ไม่รู้จะเอายุทธศาสตร์อะไรเป็นหลัก
  • พรุ่งนี้สรุปผลค่ะ  หน้าตาคงขี้เหร่น่าดู...
  • จะนำสู่การปฏิบัติจริงได้ไหมเนี่ย.....ชักไม่แน่ใจ ...คุณภาพผู้เรียน  ...
  • ๕๕๕๕๕  หัวเราะเข้าไว้  ..ครูไทยหัวใจเกินร้อยค่ะ

เรียนท่านอาจารย์ธเนศค่ะ 

  • วันนี้เข้ามาอ่านบันทึกเดิม ๆ  ซึ่งอยากให้ท่านอาจารย์ได้อ่านด้วยค่ะ  เป็นอีกเหตุผลหนึ่งว่าทำไมครูอยากเปลี่ยนสายงานเป็นผู้บริหาร (ใน blog ของท่านอาจารย์ประพนธ์ค่ะ คลิ๊ก ) 
  • ขอบพระคุณค่ะ 

การเรียนต่อ ป.โท ในปัจจุบันของครู ที่จำนวนมากหันไปเรียนในสาขาการบริหารการศึกษา ผมว่าเป็นที่กฏระเบียบที่ กคศ.กำหนดไว้ว่าผู้ที่จะสมัครสอบเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จะต้องเรียนจบสาขาหรือวิชาเอกบริหารการศึกษา คือถ้าไม่จบสาขาการบริหารก็ไม่สามารถไปขอใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารได้ เมื่อไม่มีใบประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษาก็ขาดคุณสมบัติสมัคสอบไม่ได้ ผมมองว่าในปัจจุบันการเพิ่มคุณวุฒิของครูผู้สอนไม่ตรงกับลักษณะงานที่ปฏิบัติคือเป็นครูสอน อย่างปัจจุบันเช่นจบ ป.ตรีเคมี แทนที่จะเรียนต่อ ป.โททางเคมี หรือการสอนเคมี แต่หันไปเรียนบริหารการศึกษา เพราะมุ่งหวังจะเป็นผู้บริหาร ในอนาคตไม่รู้ว่าครูที่จบ ป.ตรี แล้วมาเป็นครูผู้ช่วยจะเหลือกี่เปอร์เซ็นที่จะเรียนต่อ ป.โทในสาขาที่เกี่ยวกับการสอนในหน้าที่ ซึ่งที่โรงเรียนผมครูใหม่ๆ ก็หันไปเรียนสาขาบริหารกันหมดในสาขาที่สอนมีเรียนต่อน้อยมาก

เป็นเหตุผลที่น่าคิดทั้งนั้น น่าแปลกไหมที่วงการศึกษาเรายังติดยึดกับรูปแบบ/โครงสร้างมากกว่าเนื้อหาสาระและความเป็นจริง จึงชอบกำหนดกติกาอะไรแบบปกป้องตัวเอง เช่น ต้องมีวุฒิ ต้องมีวิทยฐานะ ต้องมีอายุราชการ ต้องสอบ เป็นต้น เรามักประเมินกันที่ภาพลักษณ์ภายนอกมากกว่าภาพลักษณ์ภายใน คนจึงดิ้นรนสร้างภาพกันยกใหญ่ ซึ่งการเมืองเป็นตัวแบบและแรงจูงใจที่สำคัญ ด้วยเหตุนี้กระมังค่านิยมของคนในวงราชการจึงเห็นว่าสายงานบริหารเหนือกว่าสายงานวิชาการ

เห็นด้วยกับเหตุผล  นี้อย่างยิ่งทำไมต้องเอาโน่นนี่มาวัดเยอะแยะแล้วก็ได้ข้อมูลเท็จทัังนั้น

ยกย่องผู้บริหารเกินไป  ทำอะไรก็ถูกทุกอย่างไม่มีใครกล้าแย้งครูจบตรี  จบโท  ก็ไม่ได้ใช้ความรู้  แล้วแต่นายจะสั่ง  เห็นแล้วหดหู่หัวใจ  แล้วผู้บริหารบางคนตอนเป็นครูขี้เกียจสอน ประวัติไม่น่าศรัทธา  บริหารชีวิตตัวเองก็ไม่ได้แต่ดันมาบริหารครู  เด็ก   ทั้งโรงเรียนแล้วอนาคตการศึกษาไทยจะเป็นเช่นไร

1. ปัจจุบันไม่มีปริญญาตรีบริหารการศึกษาให้ได้เรียนแล้ว คงมีแต่ปริญญาโท ปริญญาเอก แถมการแก้ไขปรับปรุงข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วย มาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ ฉบับเดิม (พ.ศ.2548 และ 2554) เพื่อออกเป็นฉบับใหม่ ผู้บริหารต้องจบปริญญาโทบริหารทางการศึกษา (เป็นครูที่เก่งๆๆๆ สาขาวิชาอื่น จบปริญญาโท ปริญญาเอก หรือมีประสบการณ์บริหารในฐานะหัวหน้ากลุ่มสาระ หัวหน้างาน หัวหน้ากลุ่มงาน  ฯลฯ จะนานสักกี่ปีก็ไม่มีสิทธิ์ สู้เรียนบริหาร 2 ปีไม่ได้)

2. การได้มาซึ่งใบประกอบวิชาชีพบริหารต้องจบเอกบริหารการศึกษา จบสาขาวิชาอื่นหรือมีประสบการณ์บริหารด้านอื่นไม่มีสิทธิ์ขอรับใบประกอบวิชาชีพบริหาร

3. การเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระ  เป็นหัวหน้างาน  เป็นหัวหน้ากลุ่มงาน ฯลฯ ไม่เกิดแรงจูงใจที่จะทำให้ครูมารับผิดชอบหน้าที่พิเศษเหล่านี้ เพราะถูกมองเป็นการเพิ่มภาระงานนอกเหนือจากงานสอน สู้ไปเรียนไม่ได้ จบออกมาได้สิทธิพิเศษเพิ่มเยอะเลย ไม่ว่าจะขอใบประกอบวิชาชีพบริหาร การปรับเพิ่มเงินเดือน การย่นระยะเวลาในการขอเลื่อนวิทยฐานะ 

4. ถ้าเป็นสาขาวิชาเอกตรงกับที่บรรจุก็น่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาต่อยอดคุณภาพผู้เรียนให้มีทักษะความรู้ความสามารถในสาขาวิชานั้น โดยหลักแล้วเมื่อผู้สอนมีความรู้มากขึ้นผู้เรียนก็น่าจะมีความรู้เพิ่มขึ้นด้วย ตรงข้ามในความเป็นจริงที่เห็นส่วนมากไม่เรียนตรงสาขาวิชาที่บรรจุ จะเรียนบริหารการศึกษากัน เพราะโอกาสและสิทธิตามข้อ 2 

5. ปัจจุบันในแต่ละโรงเรียนมีครูจบปริญญาโท ปริญญาเอกเพิ่มมากขึ้น มีวิทยฐานะเพิ่มสูงขึ้น โดยหลักแล้วน่าจะมีผลดีต่อการบริหารการศึกษา และพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพราะคนที่จบบริหารการศึกษาก็จะได้ช่วยผู้บริหารตัวจริงบริหารจัดการศึกษา พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาให้เจริญรุ่งเรืองมากยิ่งขึ้น ครูที่มีวิทยฐานะเพิ่มขึ้นก็แสดงว่ามีการพัฒนาตนเองโดยเฉพาะการพัฒนาสื่อนวัตกรรมที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  

6. ฯลฯ

เรียนครูต่อป.โทอะไรได้บ้าง

อย่างที่บอกนะคะ การเรียน ป.โท สำหรับครู มี 3 สาย 1. สายสอน เพื่อ ปรับวุฒิ ปรับเงินเดือน 2. สายบริหาร เพื่อ เป็นผู้บริหาร 3. สายวิชาชีพครู เพื่อการมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู (สายนี้เหมาะสำหรับผู้มีวิชาเอกใน .ตรี เป็นวิชาเอกที่สอบบรรจุได้)

ครูเรียนต่ออะไรดี

ถ้าอยากเรียนคณะที่เป็นครูโดยตรง แนะนำให้เลือกเรียนคณะหรือสาขาตามนี้ : – คณะศึกษาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม – สาขาย่อยในคณะอื่นๆ ที่มีวงเล็บว่า กศ.บ. เช่น คณะมนุษย์ศาสตร์ สาขาภาษาไทย (กศ.บ.) – คณะหรือสาขาที่ต้องสอบ PAT5 (รหัสวิชา 75. ความถนัดทางวิชาชีพครู)

เป็นครูเรียน ป.โท เพื่ออะไร

1.ต้องการเพิ่มวุฒิให้สูงขึ้น 2.เรียนจบง่าย แค่ปีครึ่งก็จบแล้ว บางวิชาสามารถเทียบโอนจากวิชาที่เคยเรียนมาก่อนได้ 3.ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ ทำแค่ค้นคว้าอิสระก็ได้ 4.เป็นการติวเข้มเพื่อเตรียมสอบเป็นผู้บริหารสถานศึกษา/การศึกษา

กศ.บ. จบมาทํางานอะไร

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา บัณฑิตหลักสูตร กศ.. สาขาวิชาภาษาอังกฤษสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลาย ดังนี้ ด้านวิชาชีพครู/วิชาการ ครูสอนภาษาอังกฤษระดับปฐมวัยศึกษา ครูระดับประถมศึกษา ครูระดับมัธยมศึกษา และครูการศึกษานอกโรงเรียน นักวิจัยทางด้านการศึกษาภาษาและการสอนภาษาอังกฤษ