โรคไตกินเครื่องดื่มอะไรได้บ้าง

คอกาแฟ หลายคน มักมีข้อสงสัยว่า ถ้าเราเป็น โรคไต แล้วเรายัง สามารถดื่มกาแฟได้ทุกวันหรือไม่ ควรดื่มเท่าไหร่ ในทั้งวัน เพื่อไม่ให้เป็นปัญหากับการทำงานของไตของเรา จริง ๆ แล้ว สำหรับผู้ป่วยโรคไตวาย ยังสามารถดื่มกาแฟได้ ดังรายละเอียดเพิ่มเติมนี้

Show

จุดเริ่มต้นของการระวังกาแฟ

ในผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มักจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับระดับแร่ธาตุในร่างกาย เนื่องจากการทำงานของไตที่ผิดปกติไปทำให้ร่างกายไม่สามารถขับฟอสฟอรัสส่วนเกินออกมาทางปัสสาวะได้ ซึ่งอาจทำให้ระดับฟอสฟอรัสในเลือดของผู้ป่วยสูงกว่าปกติ ค่าฟอสฟอรัส (ฟอสเฟต) ในเลือด ควรอยู่ที่ 2.7 – 4.6 mg/dl  ซึ่งหากค่าฟอสเฟตสูงมากกว่า 4.6 mg/dl อาจจะเกิดปัญหาตามมาซึ่งรบกวนคุณภาพชีวิตผู้ป่วยได้ เช่น

  • มีอาการคันตามผิวหนัง
  • เกิดแผลเรื้อรังจากการตกตะกอนของแคลเซียม
  • เกิดภาวะกระดูกพรุน
  • มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

ฟอสฟอรัสในเลือด ได้รับจากอาหารที่เรารับประทานอยู่ทุกวัน ซึ่งอาหารแต่ละอย่างจะมีระดับฟอสฟอรัสที่แตกต่างกัน โดยส่วนใหญ่อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น นม  ไข่แดง ถั่ว   น้ำอัดลม และ อาหารที่มีลักษณะเป็นผง (เนื่องจากต้องใส่ฟอสเฟตเพื่อไม่ให้จับตัวเป็นก้อน) จะมีระดับฟอสเฟตสูงกว่าอาหารกลุ่มอื่น ๆ นั่นทำให้ กาแฟ เป็นหนึ่งในอาหารต้องสงสัยว่า ดื่มได้ไหม ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ดื่มกาแฟเท่าไหร่ ถึงปลอดภัยในผู้ป่วย โรคไต

กาแฟดำ 2 ช้อนชา มีฟอสเฟตอยู่แค่ 6 mg เท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยมาก สำหรับผู้ป่วยที่ต้องคุมปริมาณฟอสฟอรัสในอาหาร มักจะถูกควบคุมให้ไม่ได้รับฟอสฟอรัสเกิน 800 mg/วัน

 ดังนั้น สำหรับผู้ป่วยโรคไตที่เป็นคอกาแฟ ก็ยังสามารถดื่มกาแฟได้อยู่โดยที่

  • ดื่มเป็นกาแฟดำ  งดการเติมนม ครีมเทียม เพราะจะทำให้เราได้รับฟอสฟอรัสเพิ่มขึ้นจากเดิม
  • คุมปริมาณการดื่ม ไม่ควรเกิน 2 แก้วต่อวัน (1 แก้วไม่เกิน 2 ช้อนชา)
  • คุมปริมาณน้ำ หากแพทย์มีกำหนดให้คุมน้ำดื่มต่อวัน 
  • สำหรับช่วงที่มีระดับฟอสเฟตสูงมากๆ จำเป็นต้องงดกาแฟไปก่อน เว้นเสียแต่ว่า ลองคำนวณดูแล้วว่า ปริมาณฟอสฟอรัสที่ได้รับต่อวันไม่เกิน ที่แพทย์กำหนดในแต่ละวัน ก็ยังพอที่จะรับประทานได้นั่นเอง

สำหรับผู้ป่วยโรคไต ท่านใด ที่มีอาการเบื่ออาหาร กาแฟ ก็อาจจะเป็น เมนูอาหารโรคไต ที่พอช่วยให้เราเจริญอาหารได้ เช่น วุ้นกาแฟ เป็นต้น

แต่หากท่านต้องการทราบว่า จะรับประทานอาหารอย่างไรเพื่อให้ได้สารอาหารและพลังงานที่เหมาะสมกับร่างกาย สามารถติดต่อรับคำปรึกษาจากนักกำหนดอาหารวิชาชีพของโรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่ หรือ ปรึกษานักกำหนดอาหารจาก อีทเวลล์คอนเซปต์ ก็ได้นะคะ 😊 หากสนใจ คลิกเพื่อดูรายละเอียด

Jessianna Saville, Coffee and Kidney Disease: Is it Safe?, access form https://www.kidney.org/newsletter/coffee-and-kidney-disease, access date 27 Apr 2020

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย , คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558 ,เข้าถึงจาก http://www.nephrothai.org/images/10-11-2016/Final_%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AD_CKD_2015.pdf , เข้าถึงเมื่อ 27 เมษายน 2563

อาหารที่ควรเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคไต

  ไต เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญของร่างกาย หน้าที่หลักของไต คือการกรองของเสียจากเลือดและขับถ่ายออกทางปัสสาวะ รวมทั้งรักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ และความเป็นกรดด่างของเลือด ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีการทำงานของไตลดลง จะทำให้ขับของเสียได้น้อยลง ดังนั้นเพื่อที่จะรักษา และยืดอายุการทำงานของไตให้ยาวนานยิ่งขึ้น การเลือกกินอาหารให้ถูกต้องจึงมีความสำคัญในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตเรื้อรัง แล้วอาหารอะไรที่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังควรเลี่ยงการรับประทาน เรามีคำแนะนำดังนี้

โรคไตกินเครื่องดื่มอะไรได้บ้าง

ดาวน์โหลด : อาหารที่ควรเลี่ยง สำหรับผู้ป่วยโรคไต

    1. หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ผงชูรส ผงปรุงรส ซุปก้อน ผงฟู ซอสต่างๆ
    2. เนื้อสัตว์ปรุงรสหรือแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม
    3. อาหารที่มีส่วนผสมของเนยและครีม เช่น เค้ก พิซซ่า ขนมอบต่างๆ
    4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากนม เครื่องในสัตว์ เมล็ดถั่ว กุ้งแห้ง
    5. อาหารหมักดอง เช่น ไข่เค็ม ปลาเค็ม ปลาร้า ผักกาดดอง เนื้อสัตว์ปรุงรสหรือแปรรูป เช่น ไส้กรอก กุนเชียง แฮม หมูหยอง และอาหารเติมเกลือ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ข้าวต้ม/โจ๊กซอง
    6. ลดการกินเนื้อสัตว์ลงโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ติดมัน เช่น คอหมูย่าง เอ็นหมู เอ็นวัว ข้อไก่
    7. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอล หรือไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไข่แดง ไข่ปลา ปลาหมึก หอยนางรม ขาหมู รวมทั้งอาหารที่มีส่วนผสมของเนย และครีม เช่น เค้ก พิซซ่า และผลิตภัณฑ์ขนมอบ
    8. สำหรับผู้ป่วยที่มีโพแทสเซียมในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคผัก ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น หัวปลี
      แครอท หน่อไม้ฝรั่ง ผักโขม ผักคะน้า กล้วย ฝรั่ง ลูกพรุน น้ำมะพร้าว เป็นต้น

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ควรรับประทานไข่ขาว 1-2 ฟองต่อวัน ใช้น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าวในการประกอบอาหาร หรือใช้วิธีการย่าง ต้ม และอบ แทนการทอด

ข้อมูลอ้างอิง : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.), กระทรวงสาธารณสุข

คลินิกโรคไตโทร. 1208 หรือ 055-90-9000 ต่อ 520101, 520102

แชร์บทความ คลิก

Facebook

สอบถามเพิ่มเติม โทร.1208 หรือ 055-90-9000 หรือติดตามข่าวสารและกิจกรรมดีๆได้ที่

Facebook LINE_APP_iOS_RGB_2 Youtube Instagram Twitter

โรคไตกินเครื่องดื่มอะไรได้บ้าง

‘เส้นเลือดหัวใจตีบ’ โรคที่ไม่ควรมองข้าม

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ โรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เกิดจาก กา…

Read more

โรคไตกินเครื่องดื่มอะไรได้บ้าง

“ดื่มน้ำ” ตามความต้องการของร่างกาย สุขภาพดี สร้างได้ด้วยตัวเรา

“ดื่มน้ำ” ตามความต้องการของร่างกาย สุขภาพดี…

Read more

โรคไตกินเครื่องดื่มอะไรได้บ้าง

ทำความรู้จัก โรคที่เกิดจากพฤติกรรม หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

ทำจนเคยชิน อาจจะทำให้เป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCDs) โรค N…

Read more

โรคไตกินเครื่องดื่มอะไรได้บ้าง

MFM ดูแลครรภ์คุณแม่ตั้งแต่วันแรกจนเจ้าตัวเล็กคลอด

MFM ดูแลครรภ์คุณแม่ตั้งแต่วันแรกจนเจ้าตัวเล็กคลอด &#822…

Read more

โรคไตกินเครื่องดื่มอะไรได้บ้าง

การตรวจจิตเวชเด็กและวัยรุ่น

การตรวจจิตเวชเด็กและวัยรุ่น เป็นการให้บริการตรวจ ประเมิ…

Read more

โรคไตกินเครื่องดื่มอะไรได้บ้าง

การรักษาภูมิแพ้ ด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunotherapy)

การรักษาภูมิแพ้ ด้วยวิธีทางภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunother…

Read more

โรคไตกินเครื่องดื่มอะไรได้บ้าง

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endomeriosis)

โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endomeriosis) สาเหตุ เก…

Read more

โรคไตกินเครื่องดื่มอะไรได้บ้าง

ไวรัส HPV วายร้ายตัวจิ๋ว ถ้าไม่ป้องกันก็ติดได้

ไวรัส “HPV” ไวรัสตัวจิ๋ว ถ้าไม่ป้องกันก็ติด…

Read more

โรคไตกินเครื่องดื่มอะไรได้บ้าง

อาการเสี่ยง คุณอาจเผชิญกับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์, บทความทางการแพทย์

คนเป็นโรคไตดื่มน้ำอะไรได้บ้าง

น้ำสมุนไพรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำขิง น้ำใบเตย น้ำดอกอัญชัน น้ำเก๊กฮวย เครื่องดื่มเหล่านี้ผู้ป่วยโรคไตสามารถดื่มได้ครับ แต่ควรดื่มในปริมาณที่ไม่เข้มข้นมากนัก นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคไตหรือไตเสื่อมที่มีเบาหวานร่วมด้วย ให้ระวังน้ำตาลด้วยครับ เพราะเมื่อเป็นโรคไตแล้วการกินน้ำตาลมากก็อาจจะมีผลต่อค่าไตได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นถ้าจะ ...

โรคไตกินอะไรไม่ได้บ้าง

ชนิดของน้ำดื่มก็ต้องให้ความสำคัญนะ ในหน้าร้อนมักจะมีการประชาสัมพันธ์การดื่มน้ำที่มีส่วนผสมของเกลือแร่ เพื่อแก้กระหาย แก้อ่อนเพลีย แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไต การดื่มน้ำผสมเกลือแร่เป็นข้อห้ามที่สำคัญมาก เนื่องจากผู้ป่วยโรคไตมีสารเกลือแร่บางชนิดคั่งมากอยู่แล้ว ทำให้เกลือแร่ที่ได้เข้าไปมีระดับสูงจนเป็นอันตรายถึงชีวิต

คนเป็นโรคไตกินน้ำอ้อยได้ไหม

น้ำอ้อยดีต่อนิ่วในไต สามารถลดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ช่วยรักษาการทำงานของไตได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ดีต่อสุขภาพฟัน น้ำอ้อยอุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ป้องกันฟันผุที่นำไปสู่กลิ่นเหม็น มีแคลเซียมและฟอสฟอรัสเสริมสร้างความแข็งแรงและช่วยเคลือบฟัน

คนเป็นโรคไตดื่มชาได้ไหม

ชาและกาแฟ (Coffee and Tea) สำหรับชา และกาแฟ มีจุดร่วมก็คือ ผู้ป่วยสามารถทานได้ค่ะ แต่ต้องเป็นแบบที่ไม่ใส่นม ไม่ 3 in 1. และไม่ใช่แบบชงใส่ขวดสำเร็จรูป อายจะบอกว่า กาแฟ ที่เป็นกาแฟดำ หรือโอเลี้ยง สามารถทานได้ ส่วนชา ก็ควรเป็นชาที่ใส่น้ำร้อนแล้วเป็นถุงแช่