ค่าเม็ดเลือดขาวสูงเกิดจากอะไร

               ����ѡ������������ʹ��ǵ�ӹ�� ���� ����ѡ���ä������˵������ѡ�����˵ع���ͧ �͡�ҡ���ҧ�ä���ͺҧ���˵�����ö�����ӹǹ������ʹ�������¡�éմ�ҡ�е��������ʹ��� �����觷���Ӥѭ����ش㹼����·����������ʹ��ǵ�� ���� ����ѡ�Ҥ������Ҵ��ҧ��� ��ա����§��������ʼ����µԴ���� �Ѻ��зҹ����÷���ء���Ҵ��ҹ������͹ �����繡�á�û�ͧ�ѹ��õԴ���͹���ͧ

การปลูกถ่ายไขกระดูกชนิดที่เหมือนกันเพียงครึ่งเดียว (Haploidentical Stem cell Transplantation) ทางเลือกที่เพิ่มโอกาสในการรักษาให้กับผู้ป่วยโรคในระบบเลือดที่ ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ “การปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็งทางระบบเลือด ที่เป็นเหมือนความหวังผู้ป่วยที่จะหายขาดจากโรคได้ แต่โอกาสที่จะหาไขกระดูกที่เหมือนกันกับผู้ป่วยได้ 100% นั้นมีน้อยมาก การได้ไขกระดูกที่เหมือนผู้ป่วยเพียงแค่ครึ่งเดียว ก็รักษาได้แล้วในตอนนี้ และโอกาสหายค่อนข้างสูง” คำแนะนำในการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งและโลหิตวิทยา รศ.พ.อ.นพ.วิเชียร มงคลศรีตระกูล

การปลูกถ่ายไขกระดูกมะเร็งเม็ดเลือดขาวมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อ่านเพิ่มเติม

ได้รับใบผลตรวจสุขภาพทีไร เห็นแต่ตัวเลขอะไรไม่รู้เต็มไปหมด ตะกี้คุณหมออธิบายก็ว่าเข้าใจ แต่พอกลับมาย้อนดูทีไรก็จำไม่ได้ทุกที เชื่อว่าหลายคนต้องเคยประสบปัญหาแบบนี้ จนทำให้ไม่ได้ใส่ใจที่จะติดตามผลการตรวจสุขภาพของตนเอง ทั้งที่จริงๆ แล้วค่าตัวเลขเหล่านี้ ล้วนสะท้อนพฤติกรรมและเป็นเหมือนการทำนายโอกาสเกิดโรคในเบื้องต้นได้เป็นอย่างดีเลยล่ะ ฉะนั้นรีบไปหยิบผลตรวจสุขภาพขึ้นมา แล้วมาดูกันดีกว่า…ว่าร่างกายเราเป็นอย่างไร

ค่าไหน บอกอะไร มาทำความเข้าใจกัน

1. ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count หรือ CBC)

เริ่มกันที่ค่า CBC ค่านี้จะบอกให้รู้ว่าเลือดของเรามีความผิดปกติไปจากที่ควรจะเป็นหรือไม่ ซึ่งอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคโลหิตจาง หรือภาวะธาลัสซีเมีย และมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ โดยจะมีการแยกย่อยเป็นค่าต่างๆ ดังนี้

  • ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin:Hb/HGB) เป็นค่าระดับโปรตีนในเซลล์เม็ดเลือดแดง
  • บ่งบอกถึงความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเม็ดเลือดแดง

    ค่าปกติของฮีโมโกลบิน

    ผู้ชาย13–17.4 grams per deciliter (g/dL)ผู้หญิง12–16 grams per deciliter (g/dL)

    - หากค่าสูงกว่ามาตรฐาน ก็จะบ่งบอกให้รู้ว่ามีภาวะเลือดข้น

    - หากค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ก็จะบ่งบอกให้รู้ว่ามีภาวะโลหิตจาง

  • ฮีมาโทคริต (Hematocrit: HCT) เป็นค่าปริมาณความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่อปริมาตรของเลือดทั้งหมด ซึ่งค่านี้จะแสดงโดยการวัดเป็นเปอร์เซ็นต์
  • ค่าปกติของฮีมาโทคริต

    ผู้ชาย40-50%ผู้หญิง35-47%

    - หากค่าสูงกว่ามาตรฐาน ก็จะบ่งบอกให้รู้ว่ามีภาวะเลือดข้น

    - หากค่าต่ำกว่ามาตรฐาน ก็จะบ่งบอกให้รู้ว่ามีภาวะโลหิตจาง

  • จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว (White Blood Cell Count: WBC)ซึ่งในผู้ที่สภาพร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ ควรมีเม็ดเลือดขาวประมาณ 4,500-10,000 cell/ml
  • - หากค่าสูงกว่ามาตรฐาน อาจบ่งบอกถึงภาวะการติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสต่างๆ ในร่างกาย

    - หากค่าต่ำกว่ามาตรฐาน คุณถือว่ามีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้ง่ายกว่าคนทั่วไป

  • การจำแนกชนิดของเม็ดเลือดขาว (Differential WBC)
  • เม็ดเลือดขาวเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรคที่ลุกลานเข้ามาในร่างกายของเรา ซึ่งแต่ละชนิดก็จะทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเชื้อโรคต่างชนิดกันไป

    ค่าปกติของเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิด

    Neutrophils50%–70%Lymphocytes20%–40%Monocytes0%–7%Basophils0%–1%Eosinophils0%–5%

    หากค่าเม็ดเลือดขาวชนิดใดเพิ่มสูงกว่าค่ามาตรฐานก็จะบ่งบอกให้รู้ถึงการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในกลุ่มนั้น แต่หากค่า Eosinophils สูงก็จะบ่งบอกถึงอาการแพ้ การติดเชื้อปรสิต หรือพยาธิ ในร่างกาย

    เม็ดเลือดขาวสูง(Leukocytosis)หมายถึง ค่าเม็ดเลือดขาว (Whie blood cell ย่อว่า wbc หรือ WBC หรือ Wbc) ที่ได้จากการตรวจเลือดด้วยการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เรียกว่า การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด(Complete blood count หรือ ย่อว่า CBC/ซีบีซี) ซึ่งค่าปกติของ wbc จะอยู่ในช่วงประมาณ 3,500-11,000 เซลล์/ไมโครลิตร(Microliter) โดยในเด็กแรกเกิด ค่าเม็ดเลือดขาวปกติจะสูงมากกว่าในผู้ใหญ่ทั่วไป(อาจสูงได้ถึง 38,000เซลล์/ไมโครลิตร) และในสตรีตั้งครรภ์ก็อาจมีเม็ดเลือดขาวสูงกว่าสตรีทั่วไปได้

    จำนวนเม็ดเลือดขาวปกติขึ้นกับอายุและภาวะมีครรภ์ ยังไม่มีตัวเลขตรงกันของแต่ละสถาบันว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวรวมที่ปกติเป็นเท่าไร บ้างก็ใช้ตัวเลข 5,000-10,000 cells/μL (5-10 x 109/L) เพราะจำง่าย ห้องแล็บของโรงพยาบาลศิริราชใช้ตัวเลข 4,400-10,300 cells/μL (4.4-10.3 x 109/L) แต่นิยามโดยทั่วไปของผู้ใหญ่ปกติที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เม็ดเลือดขาวมากหรือสูงผิดปกติ หมายถึง มีจำนวนเม็ดเลือดขาว มากกว่า 11,000/μL (11.0 x 109/L) หากสูงถึง 50,000-100,000/μL จะเรียกว่า "Leukemoid Reaction" และถ้าสูงเกิน 100,000/μL จัดเป็นภาวะวิกฤติ เพราะจะมีเลือดหนืดข้นจนไหลเวียนลำบาก มักพบในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

    เช่นเดียวกับภาวะเม็ดเลือดขาวน้อย เม็ดเลือดขาวรวมที่มากผิดปกติ ต้องดูว่าเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดใดที่สูงขึ้น โดยคูณเปอร์เซนต์ของเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดกับจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมด ก็จะได้จำนวนเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดออกมา

    ภาวะนิวโตรฟิลสูง (Neutrophilia)

    เม็ดเลือดขาวมากส่วนใหญ่จะตกอยู่ในกลุ่มนี้ ภาวะนิวโตรฟิลสูง หมายถึง จำนวนนิวโตรฟิล > 7,000/μL (7.0 × 109/L) สาเหตุได้แก่

    1. การติดเชื้อแบคทีเรีย
    2. การอักเสบ เช่น ข้ออักเสบ ลำไส้อักเสบ (inflammatory bowel diseases) ตับอักเสบ หลอดเลือดอักเสบ (vasculitis)
    3. จากยา เช่น สเตียรอยด์, ยาขยายหลอดลมกลุ่ม beta-agonists, lithium, epinephrine, ยากระตุ้นไขกระดูก (colony-stimulating factors)
    4. ภาวะเครียดมาก เช่น ออกกำลังกายอย่างหนัก หลังผ่าตัด หลังการชัก หลังการขาดออกซิเจน หลังประสบเหตุการณ์ที่ทำให้กลัวมาก ถูกไฟไหม้ตัว
    5. ภาวะเสียเลือด
    6. ภาวะเม็ดเลือดแดงแตก
    7. ภาวะ immune thrombocytopenia
    8. ภาวะฟื้นตัวของไขกระดูกหลังถูกกดด้วยยา
    9. การสูบบุหรี่
    10. มีครรภ์
    11. มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาว
    12. ความผิดปกติทางเมตาบอลิก เช่น DKA, Thyrotoxicosis, Uremia
    13. มีการตายของเนื้อเยื่อ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย เนื้อสมองตายจากหลอดเลือดอุดตัน
    14. โรคทางกรรมพันธุ์ เช่น Hereditary/chronic idiopathic neutrophilia, Down syndrome, Leukocyte adhesion deficiency
    15. ภาวะไม่มีม้ามหรือม้ามไม่ทำงาน

    ค่าเม็ดเลือดขาวสูงเกิดจากอะไร
    สาเหตุสำคัญของนิวโตรฟิลสูงขึ้นคือการติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมักมีไข้และมีอาการของอวัยวะที่ติดเชื้อร่วมด้วย ความรุนแรงของการติดเชื้อดูได้จากระดับของนิวโตรฟิลที่สูงขึ้น + มี "left shift" คือมีตัวอ่อนของนิวโตรฟิลที่นิวเคลียสยังไม่แยกเป็นก้อนเล็ก ๆ (band form) ออกมาในกระแสเลือด ± มี "toxic granules" อยู่ภายในไซโตพลาสซึมของนิวโตรฟิล หากมีครบทั้งไข้ อาการของอวัยวะที่ป่วย และนิวโตรฟิลสูง แพทย์มักจะให้ยาปฏิชีวนะรักษาโรคติดเชื้อก่อน

    ภาวะลิมโฟไซต์สูง (Lymphocytosis)

    หมายถึง จำนวนลิมโฟไซต์ > 4,500/μL (4.5 × 109/L) สาเหตุได้แก่

    1. การติดเชื้อไวรัส ปรสิต และแบคมีเรียบางชนิด เช่น ไอกรน วัณโรค ริกเค็ทเซีย บาบีเซีย บาร์โตเนลลา
    2. การสูบบุหรี่
    3. ภาวะไม่มีม้ามหรือม้ามไม่ทำงาน
    4. ภาวะเครียดมาก เช่น ออกกำลังกายอย่างหนัก หลังผ่าตัด หลังการชัก หลังการขาดออกซิเจน หลังประสบเหตุการณ์ที่ทำให้กลัวมาก ถูกไฟไหม้ตัว
    5. ภาวะ Autoimmune thyroiditis, Hypothyroidism
    6. โรคทางภูมิคุ้มกันอื่น ๆ
    7. มะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง
    8. ภาวะที่ร่างกายปฏิเสธอวัยวะที่นำมาปลูกถ่าย (Graft rejection)

    สาเหตุสำคัญของภาวะลิมโฟไซต์สูง (และเม็ดเลือดขาวรวมต่ำหรือปกติ) คือการติดเชื้อไวรัส ซึ่งมักพบในเด็ก โดยจะมีไข้และมีอาการของอวัยวะที่ติดเชื้อร่วมด้วย กรณีเช่นนี้แพทย์จะรักษาตามอาการ โรคจะหายเองใน 1-2 สัปดาห์ ยาปฏิชีวนะไม่ได้ช่วยอะไรในสัปดาห์แรก

    ภาวะอีโอสิโนฟิลสูง (Eosinophilia)

    หมายถึง จำนวนอีโอสิโนฟิล > 500/μL (0.5 × 109/L) สาเหตุได้แก่

    1. มีโรคภูมิแพ้ เช่น หอบหืด ภูมิแพ้ของทางเดินหายใจส่วนบน ภูมิแพ้ของผิวหนัง
    2. ติดเชื้อปรสิต เช่น มีพยาธิในทางเดินอาหาร ตับ ปอด สมอง ฯลฯ
    3. ติดเชื้อรา โดยเฉพาะเชื้อราที่ปอด
    4. ภาวะแพ้ยา
    5. ช่วงฟื้นตัวหลังการติดเชื้อ โดยเฉพาะ scarlet fever, viral infection, chlamydial infection
    6. โรคผิวหนัง เช่น dermatitis herpetiformis, pemphigus, และ erythema multiforme causing eosinophilia
    7. มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน
    8. มะเร็งไขกระดูก
    9. โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue diseases)
    10. กลุ่มอาการ Churg-Strauss syndrome
    11. กลุ่มอาการ hypereosinophilic syndrome
    12. กลุ่มอาการ pulmonary infiltration with eosinophilia (PIE) ซึ่งมีลักษณะปอดอักเสบทั้งสองข้าง ตับม้ามโต โดยเชื้อเป็นได้ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อรา และปรสิต

    สาเหตุสำคัญของภาวะอีโอสิโนฟิลสูง คือ โรคภูมิแพ้และการติดเชื้อปรสิต ซึ่งอีโอสิโนฟิลมักไม่สูงมาก หากสูงเกิน 1,500/μL ต้องมองหามะเร็งไขกระดูกและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

    ภาวะเบโซฟิลสูง (Basophilia)

    หมายถึง จำนวนเบโซฟิล > 100/μL (0.1 × 109/L) สาเหตุมาจากภาวะภูมิแพ้หรือไม่ก็มะเร็งเม็ดเลือดขาว กรณีหลังจำนวนเบโซฟิลมักเกิน 200/μL และเม็ดเลือดขาวรวมมักเกิน 30,000/μL

    ภาวะโมโนไซต์สูง (Monocytosis)

    หมายถึง จำนวนโมโนไซต์ > 880/μL (0.88 × 109/L) สาเหตุได้แก่

    1. การติดเชื้อ เช่น วัณโรค, subacute bacterial endocarditis, brucellosis, ซิฟิลิส, infectious mononucleosis, มาลาเรีย, โรคติดเชื้อปรสิต และโรคติดเชื้อริกเค็ทเซีย
    2. มะเร็ง เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งอวัยวะอื่นกระจายเข้าไขกระดูก และ paraneoplastic leukemoid reaction
    3. ช่วงฟื้นตัวของภาวะนิวโตรฟิลต่ำ (neutropenia)
    4. โรคทางภูมิคุ้มกัน เช่น SLE, rheumatoid arthritis, inflammatory bowel diseases
    5. ภาวะไม่มีม้ามหรือม้ามไม่ทำงาน
    6. โรค sarcoidosis
    7. กลุ่มโรค lipid storage diseases

    แนวทางการวินิจฉัย

    สิ่งที่ต้องพิจารณาประกอบกัน คือ
    - อาการทางคลินิก
    - ระยะเวลาที่เม็ดเลือดขาวยังคงสูงลอย
    - ลักษณะของเม็ดเลือดชนิดอื่นใน CBC
    - มีอาการแสดงที่ชวนให้คิดถึงโรคมะเร็งหรือไม่

    อาการแสดงที่ชวนให้คิดถึงโรคมะเร็ง ได้แก่

    หากไม่มีอาการแสดงให้คิดถึงมะเร็งให้มองหาโรคติดเชื้อก่อน และอาจติดตามผล CBC ทุก 1 สัปดาห์ อีก 1-2 ครั้ง ทุก 1 สัปดาห์