ประจำเดือนมาเร็วขึ้นเกิดจากอะไร

ประเด็นสำคัญในบทความ

  • มีรายงานทั่วโลกเกี่ยวกับรอบเดือนของผู้คนที่เปลี่ยนไปหลังจากการติดเชื้อโควิดและการฉีดวัคซีนต้านโควิด
  • ในขณะที่จำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า “น่าจะมีความเชื่อมโยง" ระหว่างโควิดกับการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือนในผู้หญิง

 ผู้คนทั่วโลกได้รายงานว่าถึงการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือนหรือประจำเดือนหลังจากติดเชื้อโควิด-19 หรือได้รับการฉีดวัคซีน

สำหรับบางคน ระยะห่างของรอบเดือนนั้นเปลี่ยนแปลงไป ขณะที่บางคนพบการเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดประจำเดือน มีการตกเลือดอย่างต่อเนื่อง และระดับการปวดประจำเดือนที่เพิ่มขึ้น

นี่คือสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญรู้จนถึงขณะนี้ว่า เหตุใดรอบเดือนของคนบางคนจึงเปลี่ยนแปลงไปหลังติดโควิด การเปลี่ยนแปลงใดที่ถือว่า "ปกติ" และเมื่อใดควรขอความช่วยเหลือ

มีหลักฐานหรือไม่ว่าโควิดอาจทำให้ประจำเดือนของเราเปลี่ยนแปลงไป?

ในขณะที่หลักฐานจากเรื่องเล่าระบุว่า มีผู้คนจำนวนมากที่มีระยะห่างของประจำเดือนเปลี่ยนแปลงหลังการติดเชื้อโควิด-19 หรือหลังการฉีดวัคซีน นักวิจัยจึงกำลังพยายามอย่างหนักที่จะระบุหาสาเหตุหลักที่อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้

ดร.ไมค์ อาร์เมอร์ นักวิจัยอาวุโสด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ซิดนีย์ กล่าวว่า นั่นเป็นเพราะว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีการศึกษาใดที่ใช้กลุ่มควบคุม (control group) ที่ไม่ได้ติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ได้รับวัคซีน

“เห็นได้ชัดว่านั่นจะทำให้เราสามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่าเกิดอะไรขึ้น” ดร.อาร์เมอร์ บอกกับเอสบีเอสนิวส์

อย่างไรก็ตาม ดร.อาร์เมอร์ กล่าวว่ามีหลักฐานเพียงพอที่จะชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่ "น่าจะเป็นไปได้" ของการติดเชื้อโควิดและวัคซีนกับการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือนในคนบางคน

พญ.ปาฟ นานายักการา ผู้ชำนาญโรคเฉพาะสตรีและศัลยแพทย์ด้านการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช ที่ศูนย์สุขภาพสตรี จีน เฮลส์ (Jean Hailes for Women's Health) กล่าวว่า มีข้อสันนิษฐานหลัก 2 ข้อว่าเหตุใดสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น

“มันอาจจะเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน โดยวัคซีนหรือการติดเชื้อส่งผลต่อฮอร์โมน หรือกลไกที่ 2 คือเป็นการตอบสนองทางภูมิคุ้มกัน คือการอักเสบซึ่งเกิดขึ้นจากการตอบสนองต่อการฉีดวัคซีนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิคุ้มกันในเยื่อบุมดลูก ซึ่งมีศักยภาพที่จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน” พญ. นานายักการา กล่าว

“เราทราบดีว่าผู้หญิงที่ทั้งใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวมหรือผู้หญิงที่ไม่ได้ใช้ยาคุมกำเนิด ได้รายงานการเปลี่ยนแปลงของรอบเดือน ดังนั้นจึงมีโอกาสน้อยที่จะมาจากการตอบสนองทางฮอร์โมน แต่น่าจะมาจากการอักเสบมากกว่า”

ประจำเดือนมาเร็วขึ้นเกิดจากอะไร

พญ.ปาฟ นานายักการา กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของรอบเดือนหลังติดโควิด มีกลับไปเป็นปกติเมื่อผ่านไป 2-3 รอบเดือน Source: Supplied / Jean Hailes for Women's Health

ดร. อาร์เมอร์เห็นด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้น่าเชื่อมโยงกับการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของบุคคล

"ตัววัดระดับการอักเสบเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีของสิ่งต่างๆ เช่น อาการก่อนมีประจำเดือน" ดร. อาร์เมอร์ กล่าว

"ดังนั้น ผมคิดว่าสิ่งที่เป็นไปได้คือทั้งตัวเชื้อโควิดเองและวัคซีนโควิดทำให้เกิดภาวะอักเสบซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนอง"

การเปลี่ยนแปลงใดเกี่ยวกับประจำเดือนที่ถือว่า 'ปกติ'

แม้ว่าประจำเดือนของแต่ละคนจะมีลักษณะ "ค่อนข้างเฉพาะตัว" แต่ดร. อาร์เมอร์กล่าวว่ารอบเดือนที่มีระยะห่างทุกๆ 24 ถึง 35 วันนั้น "ค่อนข้างปกติ"

นั่นหมายความว่า หลังจากคุณติดเชื้อโควิด-19 หรือได้รับการฉีดวัคซีนแล้วหากประจำเดือนของคุณมาเร็วกว่าหรือช้ากว่าปกติ 2-3 วัน คุณก็ไม่ควรวิตก

ดร. อาร์เมอร์กล่าวว่า ปริมาณของเลือดประจำเดือนที่มากกว่าหรือน้อยกว่าปกติ หรือมีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้นเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มักมีรายงานเข้ามา ซึ่งคุณไม่ควรตื่นตระหนก

“ที่สำคัญคือ ผู้คนจำนวนมากรายงานว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นกลับมาเป็นปกติอีกครั้งหลังจากผ่านไป 2-3 รอบเดือน” พญ.ปาฟ นานายักการา กล่าว

"ในขั้นนี้ ดูเหมือนว่าจะไม่ส่งผลใดๆ ต่ออัตราการเจริญพันธุ์หรืออัตราการตั้งครรภ์ในอนาคต"

เมื่อใดที่เราควรปรึกษาแพทย์

ดร. อาร์เมอร์ กล่าวว่า ผู้ใดที่มีอาการปวดประจำเดือนอย่างต่อเนื่อง มีเลือดออกต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์ หรือตกขาวที่มีสีเปลี่ยนไป ควรปรึกษาแพทย์

“ผมคิดว่า ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่า” ดร. อาร์เมอร์ กล่าว

"เราไม่ต้องการให้ผู้คนเพิกเฉยโดยมองว่ามันแค่อาการที่เกี่ยวข้องกับโควิด"

ประจำเดือนมาเร็วขึ้นเกิดจากอะไร

ดร.ไมค์ อาร์เมอร์ นักวิจัยอาวุโสด้านอนามัยการเจริญพันธุ์ของมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น ซิดนีย์ Source: SBS / Insight

พญ.ปาฟ นานายักการา เห็นด้วย โดยกล่าวว่าผู้คนควรปรึกษาแพทย์หากพบการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับรอบเดือนที่ทำให้พวกเขากังวล

"อาจเป็นอาการมีเลือดออกมาก เช่นเต็มผ้าอนามัยภายในหนึ่งชั่วโมง หรือมีลิ่มเลือดขนาดใหญ่ออกมา หรือหากคุณสังเกตเห็นว่าประจำเดือนมาบ่อยขึ้น หรือคุณไม่มีประจำเดือนมาสักระยะแล้ว จากเป็นเช่นนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องตัดสาเหตุอื่นที่อาจนำไปสู่อาการเหล่านั้นออกไป” พญ.นานายักการา กล่าว

"สิ่งที่แย่ที่สุดคือการที่คุณนั่งอยู่บ้านขณะที่ทุกข์ทรมานอยู่อย่างเงียบๆ รู้สึกกังวล หรือใช้หมอกูเกิลหาข้อมูลเอง ขณะที่ความจริงแล้วมีความช่วยเหลือให้ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าไม่มีอะไรที่คุณต้องกังวล"

พญ.นานายักการา กล่าวว่า การติดต่อแพทย์ของคุณหากคุณพบว่ามีประจำเดือนที่เปลี่ยนไปนั้น อาจยังช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการติดเชื้อโควิด-19 และการฉีดวัคซีน

“ในขั้นนี้ ดูเหมือนว่าความเสี่ยงทั้งหมดจะอยู่ในระยะสั้นมากในแง่ของการเปลี่ยนแปลงของประจำเดือน แต่วิธีเดียวที่เราจะรู้ได้คือ คุณออกมาให้ข้อมูล” พญ.นานายักการา กล่าว

ประจำเดือนมาเร็วกว่าปกติ ผิดปกติไหม

ปกติแล้วประจำเดือนแต่ละรอบนั้น จะต้องไม่มาเร็วกว่า 21 วัน หรือมาช้ากว่า 35 วัน นับจากประจำเดือนรอบที่แล้ว หากประจำเดือนที่มาเร็ว หรือช้ากว่าเวลาดังกล่าว แสดงรอบประจำเดือนนั้นผิดปกติ หรือประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ สามารถบอกโรค และความผิดปกติของร่างกาย ได้แก่ โรคอ้วน

ประจำเดือนมามากทำยังไง

ผู้ที่ประสบภาวะประจำเดือนมามาก ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจสำหรับวินิจฉัยสาเหตุอาการดังกล่าว รวมทั้งเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องและปลอดภัย ซึ่งทำได้ ดังนี้ การตรวจหาสาเหตุของประจำเดือนมามาก ผู้ที่มีประจำเดือนมามากจะได้รับการตรวจ เพื่อวินิจฉัยสาเหตุของภาวะดังกล่าว โดยต้องเข้ารับการตรวจต่อไปนี้

ประจำเดือนมาหลายวันอันตรายไหม

สาเหตุหนึ่งที่สำคัญของปัญหาประจำเดือนมามากผิดปกตินั้นก็คือ นอกจากนี้ในภาวะประจำเดือนมามากผิดปกติ อาจทำให้มีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ด้วย ได้แก่ ภาวะเลือดจาง เป็นต้น ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น ซึ่งควรได้รับการรักษาโดยเร็วเช่นกัน แม้ไม่อันตรายก็ตาม แต่ส่งผลต่อร่างกายในระยะยาว

ประจำเดือนมาเร็วสุดกี่วัน

ผู้หญิงจะมีประจำเดือนทุกๆ 28 – 30 วัน (หรืออยู่ในช่วง 21- 35วัน) ผู้หญิงจะมีประจำเดือนมาประมาณ 3 - 5 วัน หรือไม่ควรมาเกิน 7 วัน ปริมาณประจำเดือนที่ออกมาในแต่วันไม่ควรเกิน 80 ซีซี หรือเทียบได้กับการเปลี่ยนผ้าอนามัยประมาณ 4 ผืนต่อวัน (แบบที่มีเลือดชุ่มเต็มแผ่น)