ลักษณะของกลุ่มทำงานที่มีความสัมพันธ์อันดีควรมีลักษณะอย่างไร

������ҧ���������ѹ��㹡�÷ӧҹ

����;ٴ�֧����� "����ҹ" ���¤��������㹷�ȷҧ���ǡѹ����繡�÷ӧҹ�����ѹ�ͧ������ؤ�ŷ��������������ǡѹ ���������繡�÷ӧҹ���ⴴ�������§��������͹ ��੾����š�ؤ������ûѨ�غѹ��÷ӧҹ�繷����������պ��ҷ�����ҧ�ҡ㹷ءͧ��� �������ǤԴ��������ҡ�÷ӧҹ�����ѹ�繷����鹨��˹�͡��ҡ�÷ӧҹẺ����õ���ѹ �ҷ��� ��ȹТͧ ������ ���� ����� (Peter R. Scholtes) ���������� "� �ҡ�ѡ ��褹�����Ǩ��դ��������л��ʺ��ó��㹷ء� ����ͧ �ѧ���㹡�èС�з����˹���������ҧ�դس�Ҿ��� ���ҡ���ǵ�ͧ�繼Ũҡ��÷ӧҹ�����ѹ�繷��" ����ª��ͧ��÷ӧҹ�繷��

1. ��������÷ӧҹ������������ ���ͧ�ҡ����ҹ���ա���觧ҹ ��˹�ҷ������������ö��Ф����ӹҭ �����ŧ��ͷӧҹ������ö���Թ�ҹ���Ǵ���� �١��ͧ ����� �դس�Ҿ ������÷ӧҹ����ؼ�����稵������������ҧ�ջ���Է���Ҿ ��л���Է�Լ�

2. �������ҧ��������ѹ��㹡�÷ӧҹ ���ͧ�ҡ��Ҫԡ㹷���ҹ���պ��ҷ�Ӥѭ㹡�ê�������͡ѹ�ӧҹ ���д����ѧ�����Դ ������� ��������ö��л��ʺ��ó���¹��ȧҹ������͹��Ҫԡ� ����ҹ�����������෤�Ԥ��÷ӧҹ����Ǵ���� �١��ͧ �դس�Ҿ �͡�ҡ�����Ҫԡ㹷���ҹ����ö�������˹�ҷ���ҹ㹡�äǺ������š�÷ӧҹ����Դ����Է���Ҿ

3. �������ҧ��ѭ����㹡�÷ӧҹ ���ͧ�ҡ��÷ӧҹ�繷���դ�����������§��駷ҧ��ҹ���ѧ�����Դ ���ѧ�����С��ѧ� ����ö����ѹ���ͼ�֡���ѧ�ѹ�� ����繨ش�������ǡѹ������Դ����������������ç㹡�÷ӧҹ �������Դ����ҡ�ȡ�÷ӧҹ���� ��Ҫԡ��������ҹ���դ�������֡ʺ��������Դ��Թ�Ѻ��÷ӧҹ �֧�������Դ��ѭ����㹡�÷ӧҹ

4. �������ҧ������蹤���Ҫվ ���ͧ�ҡ����ҹ�ӧҹ�����ҧ�ջ���Է���Ҿ ����ö�����ż�Ե���ҡ��� ����������� �ա������� �ҹТͧ�Ԩ����˹��§ҹ�դ�����ԭ����˹�� �������Ҫԡ�ͧ����ҹ�դ�����蹤���Ҫվ

5. ���������ٹ��������֡㹡������Ѻ�Ѻ���㹡�÷ӧҹ ���ͧ�ҡ����ҹ��ͧ�ա�á�˹����˹����˹�ҷ��ͧ�ؤ�ŷ������㹷���ҹ �����˹�ҷ���ҹ ������ҹ�ҹ�ͧ����ҹ��黯Ժѵԧҹ�ͧ����ҹ �����Ҫԡ㹷���ҹ�е�ͧ�ա������Ѻ�Ѻ��͡ѹ�����ͧ���˹�����ӹҨ˹�ҷ�� ����֧��Ǻؤ�ŷ����������ҹ���͡���Ѻ��� ����դ������㨵�͡ѹ ��觨��繻���ª���͡�÷ӧҹ��ǹ��� ����ͷ�ҹ����繻���ª��ͧ��÷ӧҹ�繷���ѧ������������� �֧���ԭ�ǹ�������� ��ҹ����շ�ȹ������յ�͡�÷ӧҹ�����Ѻ������������¹�ŧ�����Դ��� �ѹ�������ç����㨡ѹ�ӧҹ�繷���дա��� ������ҹ͡�ҡ�����Һ�Ǥ����Դ�������ͧ�����ҡ�������� ����ѧ��Ӥ����������͹�����ҹ ��觺ҧ���駡�÷���ҧ����ҧ�ӧҹ ������ա�û�֡������� ���������д������Դ�ѹ ����Ҩ������Һ�֧�����繵�ǵ�������ԧ�ͧ���͹����ͧ��âͧ����ͧ ���� ���������������觷������͹� �ѹ��͡�ú�����ѵ�ػ��ʧ��㹡�÷ӧҹ�����º�� ���������·��ͧ������ҧ��� ��è����ҧ����ҹ����ջ���Է���Ҿ��� ���ӧҹ��������е�ͧ�Ӥ��������������Ѻ����Ӥѭ 9 ��С�âͧ��÷ӧҹ�繷���ѧ�����

1. ������Ш�ҧ�Ѵ��ѵ�ػ��ʧ�� �����繴��¡Ѻ������� (Clear Objectives and agreed goals) ��Ҫԡ�ء���ͧ����е�ͧ�դ������������������ҧ�蹪Ѵ ������㨷��м١�ѹ ��������Դ���������� ������·�������

2. ����Դ����С��༪ԭ˹�ҡѹ (Openess and confrontation) ��Ҫԡ㹷���ҹ�դ�������ѹ��ѹ���ҧ�Դ�� �����ѵ�� �ç仵ç�� ����༪ԭ˹��������ѭ�ҡ�÷ӧҹ�����ѹ

3. ���ʹѺʹع��С�è�ԧ㨵�͡ѹ (Support and trust) ��Ҫԡ㹷����������ͫ�觡ѹ��Сѹ ���㨤�������ѹ�������ҧ�ҹ�ͧ���ͧ�Ѻ�ͧ������ ��о���������Ѻ�����������������ʹ��¤�����ԧ�

4. �������������Ф����Ѵ��� (Co-operation and conflict) ��Ҫԡ㹷���ҹ�ط�ȵ�㹡�û�Ժѵԧҹ�������仴��´� ���ա�û���ҹ����ª�������ͧ�ͧ��������������ö ��ʹ������ᵡ��ҧ�ͧ���кؤ�������������ѹ���ҧ�٧�ش ������ѡɳз���Դ�͡�������Ҫԡ������ǹ�������ҧ������㹡�÷ӧҹ ����Ҩ�ա�âѴ����Դ������㹷�������㹷ҧ���ҧ��ä�

5. ��û�Ժѵԧҹ���Ѵਹ (Sound procedure) ��Ҫԡ㹷��������¢���稨�ԧ����ѡ��С�õѴ-�Թ㨨ҡ�����ŷ������ó����ش ����Ҩҡ��õԴ���������÷��Ѵਹ �ա�þٴ �����¹ ��С�÷ӧҹ���觷��١��ͧ㹡����ѭ�Ҩз�������ҹ�ջ���Է���Ҿ��

6. ���м��ӷ��������� (Appropriate leadership) ���˹�ҷ���е�ͧ�պ��ҷ���ӷ��� ���ҵðҹ㹡�û�ԺѵԷء���ҧ ���١�Ҵ�繼��Ӥ����Ǣͧ����� �����м��ӨС�Ш��价��ǡ���� ���ʶҹ��ó��� �������

7. ���ǹ��÷ӧҹ���ҧ�������� (Regular review) ����ҹ�е�ͧ������㹡�û����Թ �ĵԡ��� ������¹���֧��üԴ��Ҵ㹡�÷ӧҹ�ͧ�������觨з��ǹ���ҧ�����������ͨ�����䢢�ͺ����ͧ㹡�÷ӧҹ �Ҩ���ǹ�����ҧ��÷ӧҹ������ѧ�ҡ�ӧҹ��������

8. ��þѲ�Һؤ�� (Individual development) ��Ҫԡ㹡���������Ѻ��þѲ�ҵ�������ӹҭ�ͧ���кؤ�� ��觨з�����÷ӧҹ�繷���ջ���Է���Ҿ�ҡ���

9. ����ѹ�������ҧ��������� (Sound intergroup ralations) �͡�˹�ͨҡ��������ѹ���ѹ�������ҧ��������� �е�ͧ���������������������Ѻ ��ʹ����������Ҫ������������ͨ��� ���¤���������л��Ȩҡ����觢ѹ ��÷ӧҹ�繷���͡�ҡ�����к���÷ӧҹ����ջ���Է���Ҿ���� �ѧ���ҧ����ѹ��Ҿ���������ҧ�ؤ���ͧ��� ���ҧ�����繹��˹������ǡѹ �������ҹ������������ö������ͧ��������ԭ����˹�� ����

������ҧ�ԧ :
�ӹ�� �ʧ���ҧ. �Ե�Է���ص��ˡ���. ��ا෾��ҹ�� : �ç�����Ծ����ط���, 2536.
www.couponplease.com/infateam.php
www.kunkroo.com/admin1.html

ลักษณะของกลุ่มทำงานที่มีความสัมพันธ์อันดีควรมีลักษณะอย่างไร

มนุษยสัมพันธ์

                มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีชีวิตอยู่ได้ด้วยการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเนื่องจากต้องพึ่งพาอาศัยกัน ช่วยเหลือกันจึงจะมีชีวิตอยู่รอดแลอดภัย โดยเริ่มตั้งแต่ช่วงวัยแรกเกิดตลอดไปจนกว่าจะช่วยเหลือตนเองและพึ่งพาตนเองได้ การอยู่รวมกันของบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปต้องอาศัยการติดต่อสื่อสารกันเพื่อให้เกิดการเข้าใจในความรู้สึกนึกคิดระว่างกัน นั่นคือการมีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อให้สามารถปรับตัวให้อยู่ร่วมกันได้นั่นเอง ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในสังคมเรียกว่า มนุษยสัมพันธ์ มนุษยสัมพันธ์จึงเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ที่เกิดจากความต้องการสื่อสารเพื่อให้มีความเข้าใจในความรู้สึกนึกคิดของกันและกัน แสดงออกทั้งการใช้ภาษาและท่าทางจึงทำให้บรรลุเป้าหมายร่วมกันได้เป็นอย่างดี

                มนุษยสัมพันธ์สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางในด้านการปฏิบัติ การกระทำของบุคคลทุกประเภท ทุกอาชีพ ทั้งในหน่วยงานเอกชนและหน่วยงานราชการ หรือสมาคม หรือองค์กรต่างๆ เริ่มจากครอบครัวที่มีลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกยิ่งใกล้ชิดสนิทสนมกันมากเพียงไร ครอบครัวจะมีความมั่นคงปลอดภัยจากสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ทั้งหลายสูงขึ้นได้ เพราะความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนในครอบครัวจะเป็นเกราะป้องกันอันตรายที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์ทั้งหลายได้ นอกจากครอบครัวแล้วองค์กรที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปจากครอบครัวคือโรงเรียนที่เด็กๆในวัยเรียนจะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเรียนรู้ตั้งแต่เวลาเช้าจนถึงเวลาเกือบเย็น จึงต้องมีความสัมพันธ์กับครู เพื่อนๆรวมทั้งรุ่นพี่ รุ่นน้องในโรงเรียนเป็นอย่างดีเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางสังคมคือเข้ากับผู้อื่นได้ และได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่นๆ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง นำไปสู่ความมั่นใจ นอกจากมีพัฒนาการทางสังคมแล้วเกิดพัฒนาการด้านต่างๆไปพร้อมกัน ได้แก่  ด้านร่างกาย  สติปัญญา  อารมณ์ และจริยธรรม เมื่อจบการศึกษาในระดับพื้นฐานก็เข้าสู่วัยผู้ใหญ่ที่ต้องศึกษาวิชาชีพเพื่อการทำงานเลี้ยงชีพของตนให้อยู่รอดปลอดภัยด้วยตนเอง จนสามารถเป็นที่พึ่งของครอบครัว สังคม และประเทศชาติได้ต่อไป จึงเห็นได้ว่ามนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญของบุคคลทุกคนตั้งแต่แรกเกิดจนตลอดชีวิต จึงจำเป็นที่ทุกคนควรจะศึกษาหาความรู้ในเรื่องมนุษยสัมพันธ์เพื่อนำไปปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง

                การอยู่ร่วมกันในองค์กรต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งรวมตัวของบุคคลอย่างน้อยสองคนขึ้นไปที่มาอยู่รวมกลุ่มกันอย่างเป็นทางการเพื่อปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ให้ประสบผลสำเร็จตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ บุคคลต่างก็มีการปฏิบัติตนตามบทบาทหน้าที่ของตน เช่น พ่อแม่มีบทบาทหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูสั่งสอนลูกให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติตนให้เป็นไปตามกฎ ระเบียบ วัฒนธรรมประเพณีของครอบครัวและสังคม ครูอบรมสั่งสอนนักเรียนให้มีความรู้ มีความสามารถและมีทักษะในวิชาการและวิชาชีพ และประพฤติปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ วัฒนธรรม ประเพณีของโรงเรียน หน่วยงานบริษัทห้างร้านมีผู้จัดการควบคุมดูแลลูกจ้างในการดำเนินธุรกิจให้มีความเจริญก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน หรือผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาต่างก็ช่วยกันในการปฏิบัติราชการในวงราชการให้ประสบผลสำเร็จ เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าแต่ละคนต่างก็ทำงานร่วมกันตามโครงสร้างของหน่วยงานที่วางไว้อย่างเป็นระบบระเบียบและแบบแผนเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหน่วยงานนั้นๆ การมีปฏิสัมพันธ์หรือการที่มนุษย์ติดต่อเกี่ยวข้องกัน หรือความสัมพันธ์ที่มนุษย์มีต่อกันดังกล่าวเรียกว่ามนุษย์สัมพันธ์ในองค์กร มนุษย์สัมพันธ์จึงเป็นทั้งศิลปะและศาสตร์ประยุกต์ซึ่งช่วยทำให้เกิดการกระทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จลงด้วยดี

                บุคคลในองค์กรต่างก็มีภาระความรับผิดชอบต่อการพัฒนามนุษยสัมพันธ์ในองค์กรให้ประสบผลสำเร็จ แม้ว่าแต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ในการงานที่แตกต่างกันแต่หน้าที่ที่ทุกคนต้องสร้างและใช้เหมือนกันคือ มนุษยสัมพันธ์ เพราะต้องใช้ในการติดต่อกันเกี่ยวข้องกัน อย่างไรก็ตามผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชาหน่วยงานมีความรับผิดชอบเป็นสองเท่าที่จะทำให้มนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงานของตนประสบผลสำเร็จ ซึ่งหมายถึงเขาจะต้องพิจารณามนุษยสัมพันธ์ของเขาที่มีต่อผู้ร่วมงาน ต้องพัฒนาความสัมพันธ์ในตำแหน่งหน้าที่การงานของเขาให้ดีขึ้นด้วย เหตุว่าความรับผิดชอบของผู้บริหารมีขอบเขตกว้างขวางฉะนั้นจึงควรได้พิจารณาถึงพฤติกรรมของมนุษย์ในทัศนะของการบริหารหรือการจัดการ และรับรู้ได้ว่าหน่วยงานหรือองค์กรในฐานะของผู้บริหาร รวมทั้งสถานการณ์ในฐานะที่ผู้บริการควรจะมองหน่วยงานนั้น ด้วยเหตุนี้บุคคลจึงต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้อื่นตลอดเวลา หรือาจกล่าวอีกนัยหนึ่งคือมีมนุษยสัมพันธ์กันหรือมีสัมพันธภาพต่อกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และถ้าบุคคลต่างๆในสังคมเป็นผู้มีลักษณะดี นิสัยดี คิดและทำแต่ในสิ่งที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นก็ได้ชื่อว่าเป็นคนดี คนดีเหล่านี้เท่านั้นที่จะทำไห้สังคมมีความเจริญก้าวหน้า มีสถานภาพมั่นคง มีการตะหนักในการส่งเสริมสนับสนุนเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างบุคคลในสังคมให้มีคุณภาพชีวิต ทักษะชีวิตที่ดีจนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสงบสุข

ความเป็นมา                ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์นั้นไม่สามารถระบุได้ว่าเริ่มเมื่อใด แต่มนุษย์เริ่มอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมก็ต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อ ความมั่นคง ปลอดภัย และเพื่อความอยู่รอด ฯลฯ ดังได้กล่าวมาแล้วความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการและเป็นไปโดย อัตโนมัติ เมื่อสังคมเริ่มเปลี่ยนแปลง ประชาชนพลเมืองเพิ่มขึ้น มีการแข่งขันด้านธุรกิจมากขึ้น มนุษยสัมพันธ์เริ่มมีความสำคัญยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในองค์การต่าง ๆ เช่น องค์การอุตสาหกรรม องค์การธุรกิจ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะการบริหารงานของนายจ้างนั้นต้องเกี่ยวข้องกับกับคนที่เป็น ลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงาน ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์เริ่มเด่นชัดกลางศตวรรษที่ 19 คือ เริ่มเปลี่ยนแนวคิดการบริหารมาให้ความสำคัญแก่ตัวบุคคล ทั้งนี้ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม นายจ้างในโรงงานอุตสาหกรรมไม่เห็นความสำคัญของลูกจ้าง ไม่สนใจความต้องการ และอารมณ์ความรู้สึกของคน และไม่รู้ว่าความต้องการของคนมีอิทธิพลต่อผลผลิตอย่างสูง ผู้บริหารคิดแต่เพียงว่าแรงงานเปรียบเสมือนสินค้าสำหรับซื้อขาย คนก็กลายเป็นเครื่องจักรที่ต้องการทำงานตลอดเวลาโดยเขาไม่รู้ว่า คนต้องการพักผ่อน ต้องการความเห็นอกเห็นใจ และอื่น ๆ คนงานในสมัยนั้นต้องทำงานวันละหลายชั่วโมงได้รับค่าจ้างในอัตราต่ำ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดี คนงานมีสุขภาพทรุดโทรมยากจน เจ็บป่วยเสมอ ทั้งนี้เพราะนายจ้างขาดความเห็นอกเห็นใจ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ สภาพการทำงานเลวร้ายลง ผลผลิตเสื่อมคุณภาพ โรงงานก็ประสบภาวะการขาดทุน

                ต่อมาจึงมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม หลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมใหม่ ๆ แม้จะมีการจัดระบบงานที่ดีขึ้นแต่สถานการณ์ต่าง ๆ ยังไม่ดีขึ้นเพราะคนงานยังขาดอิสรภาพในการทำงาน ไม่มีเวลาว่างสำหรับพักผ่อน และยังไม่มีความพอใจในการทำงาน ต่อมาประมาณปี ค.ศ. 1800 โรเบิร์ท โอเวน (Robert Owen) นักอุตสาหกรรมชาวเวลล์ เป็นบุคคลแรกที่คำนึกถึงความต้องการพื้นฐานของคนงาน เช่น เขาคิดว่า เด็กยังมีพัฒนาการไม่เหมือนคนผู้ใหญ่ โอเวน จึงไม่ยอมรับเด็กเข้าทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม เขาเชื่อว่า ความสะอาด และความเหมาะสมของงานมีความสัมพันธ์กับการทำงานเป็นอย่างยิ่ง เขาจึงได้จัดสถานที่ทำงานให้สะอาด และจัดสภาพการทำงานให้เหมาะสมขึ้นซึ่งนับว่าเป็นการเริ่มต้นการสร้างสัมพันธ ภาพกับคนงาน

                ต่อมาปี ค.ศ. 1835 แอนดรู ยูรี (Andreww Urie) เป็นอีกผู้หนึ่งที่ให้ความสำคัญแก่คนซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในอุตสหกรรมการ ผลิต เช่น การจัดให้มีการหยุดพักดื่มน้ำชา ให้การรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย การปรับปรุงห้องทำงานให้มีพัดลมระบายอากาศจ่ายค่าจ้างเมื่อคนงานเจ็บป่วย เป็นต้น

                ต้นปี ค.ศ.1900 เทย์เลอร์ (Taylor) วิศวกรชาวอเมริกาซึ่งเป็นผู้จัดการโรงงานถลุงเหล็กได้พัฒนาทฤษฎีและการ จัดการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ขึ้น เขาจึงได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ โดยที่เขาได้ริเริ่มวางพื้นฐานมนุษย์สัมพันธ์ด้านธุรกิจขึ้น เมื่อได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ควบคุมงานเขาได้พยายามวางมาตรฐานเวลาที่ใช้ใน การทำงานแต่ละอย่างที่ต้องใช้เครื่องจักรกลทุกด้าน และพิจารณาศึกษาการทำงานของคนงานในแต่ละวันว่าทำงานวันละกี่ชั่วโมงจึงจะ เหมาะสมที่สุด ระยะการพักงานแต่ละวันควรมีกี่ระยะ และระยะหนึ่ง ๆ นานเท่าใด เขาได้ทำการทดลองวิธีการทำงานที่ถูกต้องกับคนกลุ่มหนึ่งและพบว่าการทำงานที่ ถูกวิธีจะทำให้ผลผลิตสูงขึ้น เขาเป็นบุคคลแรกที่เรียกร้องให้ผู้บริหารสนใจสภาพการทำงานของคนงานเพราะคน งานเป็นองค์ประกอบสำคัญในการผลิตจึงนับได้ว่าทำให้เกิดการสร้างมนุษย สัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอีกระดับหนึ่ง


                ต่อมาได้มีการจัดประชุมสัมมนาด้านมนุษยสัมพันธ์ในวงการอุตสาหกรรมขึ้นที่ กรุงนิวยอร์ค และได้จัดเรื่อยมาจึงปัจจุบันซึ่งเป็นการจัดสัมมนาที่เริ่มใช้คำว่ามนุษยสัมพันธ์

 ความหมายของมนุษยสัมพันธ์

                คำว่า “มนุษยสัมพันธ์” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Human Relations” เมื่อแยกคำแล้วจะได้คำว่า “มนุษย์” (Human)  หมายถึง  สิ่งมีชีวิตที่มีสมองสำหรับคิดและส่งผลให้เกิดสติปัญญาในการแก้ปัญหาได้ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญของความเป็นมนุษย์  และอีกคำหนึ่งคือคำว่า “สัมพันธ์” (Relation) หมายถึง ความผูกพันเกี่ยวข้องกัน มนุษยสัมพันธ์จึงหมายถึง ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องระหว่างมนุษย์ด้วยกันหรือความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล บุคคลกับกลุ่มบุคคล คณะบุคคล หรือสังคม  โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บุคคลทำงานได้สำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการให้ความร่วมมือกันทำงานด้วยความพึงพอใจทั้งด้านความต้องการทางด้านวัตถุและความพึงพอใจทางด้านจิตใจและสังคม

ความหมายของมนุษยสัมพันธ์ มีนักจิตวิทยาให้ความหมายไว้หลายท่านพอสรุปได้ดังนี้

                อริสโตเติล ( Aristotle ) นักปราชญ์ชาวกรีก อธิบายว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นเหล่ามนุษย์อยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มเป็น พวก มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน การที่มนุษย์อยู่ร่วมกันทำให้พวกเขารู้สึกปลอดภัยซึ่งเป็นสัญชาตญาณของ มนุษย์ดังนั้นเราอาจกล่าวได้ว่าการที่ มนุษย์มีสัมพันธ์กันมนุษย์จึงเป็นสัตว์สังคมดังที่นักปราชญ์ได้กล่าวไว้

                มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2525 : 402 )


                ในปี พ.ศ. 2538 ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายเพิ่มเติมว่า มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างมนุษย์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน


                มนุษยสัมพันธ์ ( Human Relationships ) เป็นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์เป็นหมู่เป็นคณะหรือกลุ่มโดยมีการติดต่อสื่อสาร กันระหว่างบุคคลระหว่างกลุ่มเพื่อให้ทราบความต้องการของแต่ละบุคคลหรือกลุ่ม รวมไปถึงวิธีการจูงใจและประสานความต้องการของบุคคลและกลุ่มให้ผสมผสานกลม กลืนกันตามระบบที่สังคมต้องการ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ( 2538 : 628 )

                มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การแสวงหาเพื่อทำความเข้าใจโดยการใช้ลักษณะรูปแบบการติดต่อสัมพันธ์กัน ระหว่างบุคคลเป็นผลก่อให้เกิดความเชื่อมโยงเพื่อให้ได้ผลสำเร็จตามเป้าหมาย ขององค์การของแต่ละบุคคลที่ได้กำหนดไว้ อำนวย แสงสว่าง ( 2544: 99)

                มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจของบุคคลอย่างมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพโดยมีความพอใจใน ทางเศรษฐกิจและสังคมมนุษย์สัมพันธ์ จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์เพื่อใช้ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับ บุคคล การยอมรับนับถือ การให้ความร่วมมือ และการให้ความจงรักภักดีในการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลต่อบุคคลตลอดจน องค์กรต่อองค์กร David, Keith.1977

                มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง ศาสตร์และศิลป์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคลเพื่อต้องการ ให้ได้มาซึ่งความร่วมมือช่วยเหลือกัน ความรักใคร่นับถือ และความจงรักภักดี

                มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง การรู้จักใช้วิธีการที่จะครองใจคนโดยมีความประสงค์ให้บุคคลเหล่านั้นนับถือ จงรักภักดีและให้ความร่วมมือร่วมใจทำงานด้วยความเต็มใจ

                มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์ที่เป็นอยู่ให้เกิดความพึงพอ ใจในงานและความสามารถทำงานให้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรได้

                มนุษยสัมพันธ์ หมายถึง กระบวนการของศาสตร์ที่ใช้ศิลปะสร้างความพอใจ รักใคร่ ศรัทธา เคารพนับถือ โดยแสดงพฤติกรรมให้เหมาะสมทั้งทางกาย วาจาและใจ เพื่อโน้มนำให้มีความรู้สึกใกล้ชิดเป็นกันเอง จูงใจให้ร่วมมือร่วมใจในอันที่จะบรรลุสิ่งซึ่งพึงประสงค์อย่างราบรื่น และอยู่ในสังคมได้อย่างสันติสุข

                มนุษยสัมพันธ์ เป็นเทคนิคการกระตุ้นให้คนและกลุ่มคนมาเกี่ยวข้องกันทั้งในเรื่องงาน เรื่องส่วนตัวจนสามารถทำกิจกรรมใดๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยความร่วมมือร่วมแรงร่วมใจ เพื่อที่จะทำกิจกรรมดังกล่าวได้อย่างเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการทำงานเพื่อส่วนรวมนี้จะเป็นกระบวนการกลุ่มที่ทำงานร่วมกันด้วยความ เต็มใจ เต็มความสามารถ

                จากความหมายที่กล่าวมาข้างต้นสรุปความหมายของคำว่า มนุษยสัมพันธ์ได้ว่า เป็นกลวิธีการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนมนุษย์ให้มาทำกิจกรรมร่วม กันแบบเต็มใจ และบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ก็จะเป็นบุคคลที่สามารถเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย มีจิตสาธารณะที่เป็นที่รักใคร่ของผู้อื่นใครเห็นใครก็อยากอยู่ใกล้ มนุษยสัมพันธ์จึงเกี่ยวข้องกับความต้องการของบุคคล แรงจูงใจหรือสาเหตุภายในของบุคคลที่จะเข้ามาทำกิจกรรมใดๆ ให้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งการสามารถเอาชนะจิตใจผู้อื่นให้คล้อยตามจนสามารถทำงานนั้นๆ ได้สำเร็จ

ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์

                มนุษยสัมพันธ์จัดเป็นทั้งศาสตร์ (Science) และศิลป์ (Art) เนื่องจากมีหลักการและทฤษฎีที่เป็นข้อความรู้ และการนำหลักการหรือทฤษฎีไปปฏิบัติให้ประสบ ความสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยเทคนิควิธีการซึ่งถือเป็นศิลปะเฉพาะตัวของแต่ละ บุคคล นักศึกษาจะสังเกตเห็นได้อย่างหนึ่งว่าคนแต่ละคน มีความสามารถในการติดต่อกับผู้อื่นไม่เท่ากัน บางคนเป็นที่พอใจของคนหมู่มาก มีเพื่อนมากหน้าหลายตา และมีคนที่อยากพูดคุยติดต่อหรือทำงานร่วมกับเขามากมาย ในขณะที่บางคนไม่ค่อยมีใครอยากจะเข้าใกล้หรือทำงานร่วมด้วย นั่นเป็นเพราะเขาขาดศิลปะในการติดต่อกับบุคคลอื่น ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่รู้หลักการว่าควรทำอย่างไร หรือเป็นเพราะนำหลักการไปใช้ไม่ ถูกวิธี ดังนั้น การที่คนเราจะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่น จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและหมั่นฝึกฝนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ จนสามารถนำหลักการที่เป็นข้อความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ

                นับตั้งแต่เกิดมาเราต้องอยู่ร่วมและติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลในครอบครัวหรือบุคคลอื่นในสังคมและชุมชน เนื่องจากมนุษย์เป็น สัตว์สังคม ซึ่งหมายถึงเราไม่สามารถอยู่ได้โดยลำพังตนเอง แต่จำเป็นต้องติดต่อ พึ่งพาอาศัยบุคคลที่อยู่รอบข้างเพื่อความอยู่รอดของชีวิตหรือเพื่อความสุขใจ ของเราเอง ดังนั้น การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลโดยทั่วไป จึงทำให้การอยู่ร่วมกันเป็นไปด้วยความราบรื่น และก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม

มนุษยสัมพันธ์จึงมีความสำคัญทั้งต่อตัวบุคคลและต่อสังคมโดยส่วนรวม ใน 4 ด้าน คือ

                1. ด้านการดำเนินชีวิต การมีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ทำให้เราไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ว้าเหว่า แต่ทำให้เรารู้สึกอบอุ่น มั่นคง ปลอดภัย ทำให้เราได้รับความรักและ การยอมรับในสังคม ซึ่งเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์

                2. ด้านการบริหารจัดการ ในสถานประกอบการหรือในองค์การทุกแห่ง ปัจจัยที่สำคัญที่สุดก็คือคน ซึ่งเป็นผู้ที่ทำให้กิจการประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้ ผู้ที่เข้ามาติดต่อเกี่ยวข้องก็คือคนอีกเช่นเดียวกัน ดังนั้น ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่มาติดต่อจึงจำเป็นต้องใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารและประสาน งานกัน เพื่อให้ บรรลุวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่าย

                3. ด้านเศรษฐกิจ ในกิจการอุตสาหกรรมใดๆ ก็ตาม คนเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญและหลักมนุษยสัมพันธ์จำเป็นในการสร้างแรงจูงใจ ให้พนักงาน เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ ก็จำเป็นต้องใช้หลักมนุษยสัมพันธ์ในการติดต่อประสานงานเช่นกัน

                4. ด้านการเมือง มนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญทั้งในการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับชาติ เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนกับนักการเมืองหรือข้า ราชการ ระหว่างนักการทูตกับประเทศต่างๆ เป็นต้น

                มนุษยสัมพันธ์จึงจำเป็นในการดำเนินชีวิตประจำวันของครอบครัวและชุมชน มนุษยสัมพันธ์จำเป็นในเวทีการประชุมของสมาชิกองค์การสหประชาชาติ มนุษยสัมพันธ์ เป็นสิ่งสำคัญในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
มนุษย์สัมพันธ์มีความสำคัญต่อบุคคลมาก อาจเรียกได้ว่ามนุษยสัมพันธ์มีอิทธิพลต่อบุคคลมากเพราะ เราไม่สามารถอยู่คนเดียวในโลกเราต้องการให้คนอื่นยอมรับเรา เริ่มตั้งแต่เกิดมาเราก็จะต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับบุคคลในครอบครัวเราต้อง สัมพันธ์กับคนในครอบครัว พอโตหน่อยเราก็ต้องมีกลุ่ม มีเพื่อนทั้งเป็นเพื่อนเรียน     เพื่อนร่วมสถาบันฯ เพื่อนต่างสถาบัน เพื่อนร่วมอาชีพ การเข้าสู่ระบบสังคมเราต้องสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น       ทำอย่างไรให้เข้ากับคนอื่นได้ ทำอย่างไรให้คนอื่นเข้าใจเรา ทำอย่างไรให้มีผู้อื่นเข้ามาช่วยงาน และเราก็เต็มใจที่จะช่วยงานคนอื่นเช่นกัน หลายคนมีกลุ่ม มีเพื่อนมากหลายคนไม่มีกลุ่มไม่มีพวกไม่มีใคร คนเหล่านั้นทำงานมีความสุขหรือไม่ ทำอย่างไรให้คนทำงานสามารถช่วยเหลือในงานของกันและกัน รู้หน้าที่ในการทำงาน เพราะงานนั้นเป็นงานของเรา เราต้องรับผิดชอบในงาน เมื่อมีงานใดๆ ก็ร่วมมือกันทำงานไม่หนีงานแต่เข้ามา ร่วมแรงร่วมใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันงานนั้นๆ บรรลุเป้าหมาย ดังนั้นมนุษยสัมพันธ์จึงสำคัญมากเพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องการกลุ่ม ต้องการสมาคมและทำกิจกรรมร่วมกัน

                มนุษยสัมพันธ์ ช่วยทำให้มนุษย์มาอยู่ร่วมกันเป็นสังคมไม่ว่าสังคมขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ แต่ละคนที่มาอยู่ร่วมกันนั้นต่างก็มีความแตกต่างกัน ( Individual ) ความแตกต่างกันในเรื่องความรู้ ความสามารถประสบการณ์ เจตคติ รสนิยม ความคิดเห็น เชาวน์ปัญญา เป็นต้น แต่ถ้าทุกคนสามารถร่วมใจกัน ระดมความแตกต่างเหล่านี้แล้วนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดสิ่งที่ดีใหม่ ๆ ขึ้นในสังคมก็จะก่อให้เกิดเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะการคิดของคนหลายคนย่อม จะรอบคอบกว่าและมีโอกาสผิดพลาดมีน้อยกว่าการคิดคนเดียว ปัญหาจึงอยู่ที่ว่าทำอย่างไร บุคคลหลาย ๆ คนจึงจะสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยความเต็มใจ ช่วยกันคิดช่วยกันทำอย่างเต็มความรู้ความสามารถของตนเอง และจะต้องก่อให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกัน มีความรักใคร่ สมัครสมานสามัคคีต่อกัน มีความเคารพยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน จริงใจต่อกัน มีเจตคติที่ดีต่อกัน มีเป้าหมายร่วมกัน ที่กล่าวมาทั้งหมดคือการสร้างมนุษยสัมพันธ์ให้เกิดขึ้นในกลุ่มคนนั้นนั่นเอง มนุษยสัมพันธ์จึงสำคัญมากตั้งแต่ หน่วยสังคมตั้งแต่เล็กที่สุดคือ ครอบครัวไปจนถึงหน่วยสังคมที่ใหญ่ที่สุด คือ สมาคมโลก ได้แก่ องค์การสหประชาชาติ ลงมาจนเป็นประเทศ ถ้าหากสามารถทำให้คนที่มาอยู่รวมกันนั้น มีความเข้าใจซึ่งกันและกันมีความไว้วางใจกัน มีความปรารถนาจะร่วมมือร่วมใจกัน แบ่งหน้าที่กันทำ กำหนดบทบาท หน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์ หน่วยงานหรือสังคมนั้นก็จะเป็นระเบียบ มีความสุข ความเจริญก้าวหน้า พัฒนาไปสู่ความเป็นสากลได้ ฉะนั้น ผู้นำของกลุ่มต้องมีบทบาทอย่างมากในการที่จะทำให้เกิดสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้ โดยอาศัยความรู้ทางมนุษยสัมพันธ์ นำมาสร้างขวัญ กำลังใจ ให้กับผู้ร่วมงาน ให้โอกาสผู้ร่วมงานร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังเหตุผลซึ่งกันและกัน ร่วมทำกิจกรรม ให้เกียรติกัน มีความยุติธรรม ให้ความสำคัญแก่ผู้ร่วมงานอย่างจริงใจ มีสวัสดิการดี จะเป็นผลให้เกิดความศรัทธาและความพึงพอใจเกิดขึ้น และในที่สุดคนทำงานทุกคนก็จะทุ่มเทกำลังและพลังกาย พลังความคิด ร่วมแรงร่วมใจอย่างเต็มที่ และผู้นำที่สามารถปฏิบัติจนจนก่อให้เกิดพฤติกรรมดังกล่าวได้ก็จะได้ชื่อว่า เป็นบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ดี
               

                มนุษย์ทุกคนสามารถฝึกการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีได้ ถ้ามีความปรารถนา มีความตั้งใจจริง พร้อมที่จะฝึกฝน ศึกษาหาความรู้ ประสบการณ์ และนำไปปฏิบัติจริง ๆ เพื่อให้เกิดทักษะในการสร้างความสัมพันธ์อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะมนุษยสัมพันธ์เป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ        มนุษยสัมพันธ์จึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ในการเข้ากับคน การเอาชนะใจคนและการครองใจคนทุกระดับ เช่น ผู้บังคับบัญชากับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงานกับเพื่อนร่วมงานและ รวมทั้งคนในครอบครัวด้วย การพูดจาดี ยิ้มแย้มแจ่มใส มีความเป็นมิตรกับทุกคนเป็นหลักการแรกที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ในขั้นต่อไปและ จำไว้เสมอว่าเราเป็นมนุษย์ต้องปฏิบัติกับคนอื่นเช่นเดียวกับตัวเรา และเราอาจสรุปได้ว่ามนุษยสัมพันธ์มีความสำคัญ ดังนี้คือ

                1. มนุษยสัมพันธ์ทำให้เกิดสร้างความสามัคคีธรรมให้เกิดขึ้นในกลุ่มสังคม ในหมู่คณะ
                2. มนุษยสัมพันธ์ทำให้การบริหารงานต่างๆ สามารถก่อให้เกิดการรวมพลัง เพื่อก่อให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจ เกิดความรักใคร่สมัครสมานสามัคคีในการปฏิบัติงาน
                3. มนุษยสัมพันธ์ทำให้สังคมปกติสุข คนในสังคมนั้นๆ อยู่ดีมีสุข
                4. มนุษยสัมพันธ์ทำให้สร้างความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างสรรค์สังคม
                5. มนุษยสัมพันธ์ทำให้งานต่างๆ ประสบความสำเร็จเพราะเราอยู่คนเดียวไม่ได้ เราทำงานหลายอย่างคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือซึ่งกันและกัน งานจึงจะประสบความสำเร็จ
                6. มนุษยสัมพันธ์ทำให้คนแตกต่างจากสัตว์อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านจิตใจดังนั้นในการอยู่ร่วมกันจึงทำให้มนุษย์รู้ถึง ความรักใคร่และไมตรีที่มีให้กัน รวมถึงความต้องการที่จะบรรลุจุดหมายด้วยความภูมิใจ
                7. มนุษยสัมพันธ์ทำให้บุคคลยอมรับนับถือกัน ตระหนักในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์” (Human dignity) ต้องทำให้คนที่ทำงานร่วมกันรู้และเข้าใจถึงการให้เกียรติกันเสมอมนุษย์เฉก เช่นเดียวกันคือการยอมรับคุณค่าความเป็นมนุษย์นั่นเอง
                8. มนุษยสัมพันธ์ทำให้งานทุกอย่างบรรลุเป้าหมายตามที่องค์กรต้องการ เพราะทุกคนเคารพในการแสดงความคิดเห็นและพฤติกรรมการแสดงออกของแต่ละบุคคลอัน จะนำไปสู่ความร่วมมือและการประสานงานที่ดีนั่นเอง
                9. มนุษยสัมพันธ์ทำให้คนคล้อยตามได้ หากทำให้จิตใจเขาคล้อยตามได้บุคคลจะเกิดความชื่นชอบและจะพัฒนาความชื่นชอบจน เกิดความศรัทธาและเมื่อบุคคลเกิดความศรัทธาบุคคลก็ยินดีที่จะปฏิบัติตามซึ่ง การทำให้คนอื่นคล้อยตามต้องอยู่บนเงื่อนไขของความชอบธรรมก็จะสามารถสร้าง มนุษยสัมพันธ์ถาวรได้แต่หากบุคคลกระทำทุกอย่างเพียงเพื่อประโยชน์แห่งตน มนุษยสัมพันธ์นั้นๆ ก็เป็นแค่ชั่วคราว เมื่อความจริงกระจ่างอาจทำให้เกิดความรู้สึกที่ไม่ดีขึ้น ในกรณีเรื่องการสร้างมนุษยสัมพันธ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทุกคนมีไมตรีต่อกัน ทุกคนจึงควรคิดและกระทำในสิ่งดีดีให้แก่กันเราก็จะได้สิ่งดีๆ

                มนุษยสัมพันธ์ก่อให้เกิดความเข้าใจอันดี ยอมรับซึ่งกันและกันมีความสนิทสนมคุ้นเคยรักใคร่ มีความนับถือกันและความเต็มใจที่จะให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันเพื่อนำไปสู่ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและสามารถร่วมมือกันดำเนินงานของส่วนรวมให้ สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ทำให้การคบหาสมาคมเป็นไปด้วยความราบรื่น เพื่อให้เกิดความพึงพอใจยินดีให้ความร่วมมือในการทำงาน เพื่อให้เกิดความสำเร็จในกิจการที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน เพื่อให้มีความเข้าใจอันดีต่อมนุษย์ด้วยกัน และเพื่อให้เกิดความเชื่อถือรักใคร่ซึ่งกันและกัน

ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ ในเหตุผลอื่นๆ อาจสรุปได้ดังนี้ คือ

                1. ความปลอดภัย มนุษย์ต้องการความปลอดภัย จึงต้องรวมกลุ่มกันสร้างสัมพันธภาพ เช่น บุคคลพยายามรู้จักกับเพื่อนบ้าน เพื่อนร่วมงาน ผู้มีอำนาจหรือมีอิทธิพลต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัยของตนเอง

                2. เศรษฐกิจ มนุษยสัมพันธ์เพิ่มผลผลิตได้ เพราะมนุษย์มีจิตใจปกติและเป็นสุข ย่อมสร้างงานอย่างมีประสิทธิผล นั่นคือการมีมนุษยสัมพันธ์จะช่วยเหลือในด้านเศรษฐกิจได้

                3. ความว้าเหว่ เพราะว่ามนุษย์เป็นสัตว์สังคม จะอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ จะรู้สึกเหงา จึงต้องสร้างและใช้มนุษยสัมพันธ์โดยการคบเพื่อน เพื่อให้คลายเหงา

                4. สังคม มนุษยสัมพันธ์ช่วยให้มนุษย์รักกัน ชอบกัน ยอมรับและคบหาสมาคมกันอันจะนำมาซึ่งความสงบสุขในสังคม

                5. การปฏิบัติงาน มนุษย์ไม่อาจปฏิบัติงานโดยลำพังได้ ต้องอาศัยหรือเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับผู้อื่นเสมอ ดังนั้น มนุษย์จึงต้องมีเพื่อนร่วมงาน

                6. การเมือง มนุษยสัมพันธ์ช่วยประสานหรือแก้ปัญหาข้อขัดแย้งทางการเมืองได้ในลักษณะที่เรียกว่า กาวใจ

                7. ความสำเร็จ มนุษย์ทั้งหลายต่างก็หวังจะทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายขององค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารองค์การจะต้องคำนึงถึงมากกว่าใคร ๆ โดยจัดกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้สมาชิกในองค์การรู้จักกัน และสามารถประสานงานให้สำเร็จลุล่วงลงได้ด้วยดี

                8. ความรัก มนุษย์ต้องการแสดงออกซึ่งความรัก คือ รักบุคคลที่เกี่ยวข้อง และต้องการให้เขารักตอบด้วย จะแสดงออกในรูปของการรักเพื่อนเพศเดียวกันและต่างเพศ ทั้งความรักอันบริสุทธิ์และความรักด้วยเพศสัมพันธ์

หลักสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์

                หลักสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์มี 7 ประการดังนี้ (Reece&Brandit,1997)

                1.  การสื่อสาร (Communication)  มีความสำคัญต่อการรู้จักตนเองและผู้อื่น เมื่อเราทำอะไรร่วมกับคนอื่นก็จะต้องผ่านการสื่อสาร

                2.  การรู้เท่าทันตนเอง  (Self-Awareness)  เป็นการรู้อารมณ์ตนเอง ช่วยให้เรารู้จักและควบคุมอารมณ์ให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการได้ง่าย จึงต้องพยายามสำรวจภาวะที่เกิดขึ้นภายในตนเองเสมอ มีสติอยู่ตลอดเวลา

                3.  การยอมรับตนเอง (Self-Acceptance)  เป็นพื้นฐานสำหรับความสำเร็จในการติดต่อกับผู้อื่น ผู้ที่ยอมรับตนเองมีแนวโน้มที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลง ยอมรับความแตกต่าง รับผิดชอบต่องาน และทำงานเป็นทีมได้ รวมถึงกำหนดความสำเร็จของเป้าหมายได้ด้วย

                4.  การจูงใจ  (Motivation)  เป็นแรงขับความต้องการ เมื่อรู้สึกว่าองค์การสนองความต้องการในการพัฒนาของตนเอง มีแนวโน้มที่จะทำงานอย่างดีที่สุด

                5.  ความไว้ใจ  (Trust)  เป็นความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อมีความไว้ใจต่อกัน เป็นกุญแจที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว เมื่อเกิดความไว้ใจกันและกันเราจะได้รับรู้ข้อมูลต่างๆตลอดเวลา มีการพูดคุยแลกเปลี่ยน

                6.  การเปิดเผยตนเอง  (Self-Disclosure) จะสร้างความไว้ใจกันมากขึ้น ยิ่งมีความไว้ใจกันมากเท่าไหร่ก็ยิ่งจะรู้สึกปลอดภัยในการเปิดเผยตนเองมากขึ้นเท่านั้น

                7.  การจัดการความขัดแย้ง  (Conflict  Management)  ก่อให้เกิดการแก้ไขจะนำไปสู่การลดการกระทบกระทั่งกัน ไม่ไว้ใจกัน ไม่ให้ความร่วมมือกัน และทำลายสัมพันธภาพระหว่างกัน

การสร้างมนุษยสัมพันธ์

                การสร้างมนุษยสัมพันธ์นั้น เมื่อทำได้แล้วจะอำนวยประโยชน์ให้กับการดำรงชีวิต ครอบครัวและการทำงาน สำหรับในด้านการทำงานนั้นมีข้อที่ควรปฏิบัติคือ

                การสร้างมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน เป็นการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลในองค์กร มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ การสร้างความเชื่อมั่นให้กับเพื่อนร่วมงาน การเอาใจใส่เพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเองให้เข้าได้กับเพื่อนร่วมงาน

                การควบคุมพฤติกรรมและเจตนารมณ์ผู้อื่น เมื่อต้องการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อนร่วมงานมีสิ่งที่ควรต้องปฏิบัติคือ การสร้างความประทับใจให้กับเพื่อนร่วมงาน การสร้างความเป็นมิตร มองหาส่วนดีและยอมรับความสามารถของเพื่อนร่วมงาน คำนึงถึงเสมอว่าเพื่อนร่วมงานทุกคนเป็นผู้มีคุณค่า การสั่งสอนหรือติดต่องานไม่ควรใช้วิธีพูดผ่านกับคนอื่น วิธีการสร้างเสน่ห์ในบุคลิกภาพ การเป็นคนมีเสน่ห์จะช่วยให้บุคคลที่อยู่รอบข้างอยากเข้ามาชิดใกล้ และปรารถนาจะร่วมงานด้วย การสร้างเสน่ห์สามารถทำได้โดย การใช้น้ำเสียงหรือคำพูด การแสดงออกทางร่างกาย การใช้ภาษากายเหมาะสม การพัฒนาบุคลิกภาพให้สง่างาม การแต่งกายให้เหมาะสมกับกาลเทศะและการมีความมั่นใจในตนเอง

                การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา การปฏิบัติงานในองค์กรผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาจำเป็นต้องการการสื่อสารเพื่อร่วมดำเนินงานให้บรรลุภารกิจขององค์กร โดยผู้บังคับบัญชาจะทำหน้าที่อำนวยการให้นโยบายและข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเหมาะสมแก่พนักงาน และในทางตรงกันข้ามก็ต้องรับฟังข่าวสารข้อมูล ข้อเสนอแนะและความคิดเห็นของพนักงาน เพื่อให้สามารถประสานงานในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ในการวินิจฉัยตัดสินใจก็เป็นหน้าที่ๆสำคัญประการหนึ่งของผู้บังคับบัญชา และเป็นศิลปะอันหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหารควรต้องรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการวินิจฉัยสั่งการที่เกิดขึ้น ภาระหน้าที่ๆสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือการสั่งการ โดยในการสั่งการนั้นสามารถทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น การสั่งงานด้วยวาจาและการสั่งงานเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม และยังสามารถสั่งโดยใช้การบังคับหรือออกคำสั่ง การสั่งงานแบบขอร้อง การสั่งงานแบบแนะนำ การสั่งงานแบบอาสาสมัคร ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าตัวผู้บริหารจะเลือกใช้การสั่งงานแบบใด

                หลักปฏิบัติในการเป็นผู้ช่วยที่ดี การปฏิบัติตัวเป็นผู้ช่วยที่ดีนั้นจะใช้หลัก 3 ประการ คือ มือดี ใจดี ความคิดดี ซึ่งมือดีก็คือมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ บุคลิกภาพและลักษณะท่าทางดี ใจดีก็คือมีความมั่นคงทางจิตใจ มีความรับผิดชอบ เอาใจใส่ในงาน มีความขยันหมั่นเพียรและอดทน ส่วนคิดดีก็คือ มีความคิดริเริ่ม มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี รู้จักกาลเทศะ รู้จักช่องทางในการติดต่อสื่อสารและเป็นผู้รู้จักประมาณตน

ทฤษฎีแห่งมนุษย์สัมพันธ์

1. ทฤษฎีวัวสองตัว ( TWO Cow Theory )       

ตามธรรมชาติของคน ถ้าอยู่คนเดียวก็มักจะเรื่อยเฉื่อยไปเรื่อย ๆ ไม่มีอะไรเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกอยากแข่งขัน เปรียบเสมือนวัวที่ยืนกินหญ้าอยู่ในทุ่งที่อยู่ในลักษณะที่เรียกว่าเคี้ยวเอื้อง ไม่แสดงอาการรีบร้อน แต่ถ้ามีวัวตัวใดตัวหนึ่งเดินผ่านมาและทำท่าจะกินหญ้าในบริเวณนั้น วัวตัวที่ยืนอยู่ก่อนจะแสดงอาการรีบร้อนทันที จากที่กินช้าก็เป็นกินเร็วขึ้นเพื่อแข่งกับวัวตัวใหม่

 2. ทฤษฎีแรงจูงใจของ เอลตัน เมโย

                1) เชื่อว่าในการบริหารองค์การนอกจากจะยึดมั่นในผลสำเร็จของงานเป็นที่ตั้งแล้ว ยังจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะทำให้งานนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ นั่นคือตัวบุคคล

                2)กรที่จะตั้งระเบียบแบบแผนขององค์การไว้ โดยไม่พิจารณาถึงตัวบุคคลซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติเลยย่อมไม่ได้ผลเสมอไป เพราะผู้ปฏิบัติงานเป็นมนุษย์ ย่อมต้องมีความรู้สึกมีอารมณ์ และมีความนึกคิดเป็นส่วนตัว ดังนั้นในการบริหารงานจึงต้องนำทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์มาช่วย

               3)แนวความเชื่อพื้นฐาน

 - คนเป็นสิ่งมีชีวิตจิตใจ ขวัญ กำลังใจและความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน

- ขวัญเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน เงินไม่ใช่สิ่งล่อใจที่สำคัญเพียงอย่างเดียว รางวัลทางใจมีผลต่อการทำงานสูง

        -ปริมาณการทำงานของคนไม่ได้ขึ้นอยู่กับสภาพทางกายภาพเพียงอย่างเดียว ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมด้วย

        - รางวัลทางใจมีผลต่อการทำงานมากกว่าทางเศรษฐทรัพย์ โดยเฉพาะพนักงานชั้นสูง

        -การแบ่งแยกการทำงานตามลักษณะเฉพาะ มิได้มีผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเสมอไป

        - อิทธิพลของกลุ่มมีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินงานของหน่วยงาน

 3. ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยต์ ( Sigmunnd Freud )

     ฟรอยต์ เชื่อว่าธรรมชาติของมนุษย์ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

       1) จิต แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ

- จิตไร้สำนึก( Unconscious )

- จิตใต้สำนึก ( Subconscious )

-จิตใต้สำนึก ( Conscious )

        2) แรงขับพื้นฐาน มี 3 ชนิด คือ

- แรงขับที่จะดำรงชีวิตอยู่

- แรงขับที่จะทำลาย

 - แรงขับทางเพศ

        ฟรอยต์ แบ่งโครงสร้างทางจิตของบุคลิกภาพออกเป็น 3 ระบบ คือ

        Id    - เป็นความต้องการที่จะแสวงหาความสุขความสบายให้กับตนเองไม่ว่าด้วยวิธีการใด ๆ

        Ego - เป็นความต้องการใช้เหตุผลและศีลธรรมเข้ามาร่วมพิจารณาเกี่ยวกับการกระทำต่าง ๆ ของคนเรา

        Super ego   - ได้แก่ มโนธรรม วัฒนธรรม ประเพณี รวมถึงความเสียสละต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตเพื่อให้ตนเองสงบสุข

 4. ทฤษฎีของมาสโลว์ (Abraham Maslow )

       มาสโลว์แบ่งลำดับความต้องการของมนุษย์ เป็น 5ขั้น

                              1.ความต้องการด้านร่างกาย ( อาหาร ที่อยู่ อาศัย ยารักษาโรค การพักผ่อน ) 85 %

                                2.ความต้องการความปลอดภัย ( ความปลอดภัยทางด้านร่างกาย - ความปลอดภัยทางด้านเศรษฐกิจหรือองค์กร ) 70 %

                              3.ความต้องการทางสังคม ( ความรัก ความเป็นเจ้าของ ความปรารถนาที่จะมีเพื่อนพ้อง มีสถานภาพทางสังคมสูงขึ้น ) 50 %

                                4.ความต้องการทางเกียรติยศ ชื่อเสียง การยกย่องนับถือ ( ความเด่นในสังคม ความสำเร็จ ความรู้ความสามารถ ) 40 %

                              5.ความต้องการที่จะได้รับความสำเร็จตามความนึกคิด ( เป็นขั้นสูงสุด ) 10 %

 5. ทฤษฎีการจูงใจของ เฮอร์เบิร์ก (Frederick Herzberg )

         เฟรเดอริก เฮอร์เบิร์ก ได้สร้างทฤษฎีขึ้นมาเพื่อลบล้างความเชื่อที่ว่า เงิน เป็นเพียงสิ่งเดียวที่กระตุ้นให้คนอยากทำงาน สิ่งที่เป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนอยากทำงาน ได้แก่

                1.องค์ประกอบที่กระตุ้นให้เกิดความพอใจในการทำงาน

                              1)ความสำเร็จของงาน

                              2)การได้รับการยกย่อง

                              3)ลักษณะของงานท้าทายความสามารถ

                               4)ความรับผิดชอบ

                              5)ความเจริญเติบโตและความก้าวหน้า

              2.องค์ประกอบที่ป้องกันความไม่พึงพอใจในการทำงาน

                             1)สภาพการทำงาน

                             2)นโยบายของสถานที่ทำงาน

                             3)ความมั่นคงของที่ทำงาน

                             4)สถานภาพของตำแหน่งงาน เงินเดือนและค่าตอบแทน

                             5)ความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง

6. ทฤษฎี X และ Y ของดักลาส แมคเกรเกอร์

            ทฤษฎี X เชื่อว่า มนุษย์มีความเกียจคร้าน และต้องการหลีกเลี่ยงการทำงาน ไม่รับผิดชอบ ไม่มีความทะเยอทะยาน ชอบให้มีการสั่งการ ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ผู้บริหารที่มองผู้ใต้บังคับบัญชาของตนเป็นบุคคลที่อยู่ในกลุ่มนี้ จะบริหารงานแบบอัตตาธิปไตย หรือ เผด็จการ ตัดสินใจเองทุกอย่าง ควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด

            ทฤษฎี Y เป็นการมองมนุษย์ในแง่ดี มนุษย์เราไม่เพียงแต่มีความรับผิดชอบเท่านั้น แต่ยังแสวงหาการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิด ทักษะการทำงาน ตลอดจนความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน มนุษย์ต้องการสั่งการและควบคุมตนเอง เต็มใจที่จะปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาขององค์กรได้ ผู้บริหารคนใดที่เชื่อว่าผู้ใต้บังคับบัญชาของตนอยู่ในกลุ่มนี้ ก็จะมีแนวทางในการบริหารงานแบบประชาธิปไตย มีการมอบหมายอำนาจหน้าที่ และเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้ทำงานอย่างอิสระ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ

7. ทฤษฎีหน้าต่าง 4บาน ของ โจฮารี ( Johari Window )

         1)ส่วนที่เราเองรู้ คนอื่นก็รู้ เรียกว่า บริเวณเปิดเผย ( พฤติกรรม เจตนาหรือบุคลิกลักษณะที่ทั้งตนเองและผู้อื่นเข้าใจร่วมกัน )

         2)ส่วนที่ตัวเราเองรู้ แต่คนอื่นไม่รู้ เรียกว่า บริเวณซ่อนเร้น ( พฤติกรรมที่ตนเองรู้ดีแต่เก็บซ่อนไว้ไม่เปิดเผยให้ผู้อื่นรู้ )

        3)ส่วนที่ตัวเราเองไม่รู้ แต่คนอื่นรู้ เรียกว่า บริเวณจุดบอด ( พฤติกรรมที่ตนเองแสดงออกโดยไม่รู้ตัว แต่ผู้อื่นสังเกตเห็นและรับรู้ได้ )

       4)ส่วนที่ตัวเราเองไม่รู้ คนอื่นก็ไม่รู้ เรียกว่า บริเวณอวิชชา ( พฤติกรรมหรือความรู้สึกที่กระทำไปโดยทั้งตนเองและผู้อื่นไม่รู้

 8. การรู้จักตนเองและเรียนรู้ผู้อื่นตามหลักจิตวิทยาของThomas Harris

        1. คนที่ไม่เห็นคุณค่าในตัวเอง ( I’m not OK you are OK )

        2.คนที่มองโลกในแง่ร้าย ( I’m not OK you are not OK )

        3. คนที่มองตัวเองดีเลิศ ( I’m OK you are not OK )

        4. คนที่มองทุกคนล้วนแต่พึ่งพาอาศัยกันได้ ( I’m OK you are OK )

 9. ทฤษฎี 3 มิติ ของ เร็ดดิน

        โดยธรรมชาติของมนุษย์มีลักษณะผู้นำพื้นฐานอยู่ในตัว 4 แบบ คือ

        1. แบบมุ่งเกณฑ์ (Separated)เป็นแบบอนุรักษ์นิยม ยึดตนเองเป็นที่ตั้ง เจ้าระเบียบ ไม่อยากทำงานร่วมกับผู้อื่น

        2.แบบมุ่งงาน (Dedicated)ยึดถืองานเป็นหลัก ขยัน ใจกล้า มีความคิดริเริ่ม ชอบกำหนดงานให้ผู้อื่น ไม่เอาใครไม่มีเพื่อน

        3.แบบมุ่งสัมพันธ์ (Related) เน้นมนุษย์สัมพันธ์เป็นหลักในการทำงาน เอาใจคนทุกระดับเป็นกันเองกับทุกคนเน้นคนมากกว่างาน

        4. แบบมุ่งประสาน (Integrated)เป็นแบบให้ความสำคัญกับคนและงานไปพร้อมกัน มีศิลปะในการจูงใจ เป็นผู้นำแบบอุดมคติ

มนุษยสัมพันธ์กับการพัฒนาบุคลิกภาพ

ทฤษฎีการสร้างมนุษยสัมพันธ์  มีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบคือ เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ( 2520 : 227 )

1. ให้มนุษย์มีความสุข ( Happy )
2. ให้การยอมรับแก่เพื่อมนุษย์ ( Acceptable )
3. ให้เพื่อนมนุษย์ได้รับประโยชน์ร่วมกัน ( Productivity )

จากแนวความคิดดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้ว่า ทุกชีวิตที่เกิดขึ้นมาและกำลังดำเนินอยู่ แม้ว่าทุกคน จะมีความแตกต่างกันแต่ทุกคนเป็นมนุษย์เหมือนกันต่างก็ต้องการให้ตัวเอง มีความสุขปราศจากโรคภัยเบียดเบียน มีร่างกายที่สะอาดและงามตามที่ธรรมชาติกำหนด มนุษย์ทุกคนมีความต้องการสิ่งต่างๆที่จะอำนวยความสะดวกสบายให้แก่บุคคล ดังเช่น แนวความคิดของมาสโลว์ เมื่อความต้องการลำดับต้นๆได้รับการตอบสนองแล้ว มนุษย์ก็จะต้องการสิ่งอื่นๆอีกจนไปถึงขั้นสุดท้ายก็เพื่อจะรู้ว่าแท้จริงแล้วในความเป็นมนุษย์นี่เราต้องการ และปรารถนาอะไร ในการอยู่ร่วมกันกับคนอื่นๆ บุคคลยังต้องการการยอมรับและต้องการให้ เพื่อนมนุษย์ได้รับประโยชน์ร่วมกัน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ดังนั้นมนุษย์ปฏิเสธการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มไม่ได้และเพื่อ ให้เป็นที่รัก ของคนอื่นเราทุกคนก็ต้องพัฒนาตน

แนวทางหนึ่งที่สามารถพัฒนาตนได้คือ การสร้างความมีมนุษยสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาบุคลิกภาพ ซึ่งมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้ คือ

1. การจะสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นให้ดีได้สิ่งสำคัญคือ เราต้องสำรวจตัวเราเองก่อน ว่าเรามีจุดดีจุดด้อยอย่างไร แล้วจึงพัฒนาตน
                2. ศึกษาจากตำรา เอกสาร สื่อต่างๆ ที่ทำให้เราเห็นตัวแบบในการแสดงบุคลิกภาพแล้ว ฝึกหัดการเป็นคนช่างสังเกต จะทำให้เราเกิดการเรียนรู้และแสดงพฤติกรรมได้ถูกต้องตาม กาลเทศะ
                3. พยายามปรับปรุงบุคลิกภาพของตนอยู่เสมอ ตั้งแต่เส้นผม จนถึงปลายเท้าเราต้องดี รักษาความสะอาดของร่างกาย เสื้อผ้าอาภรณ์ให้ดี รู้จักแต่งตัวตามยุคตามสมัย ไม่เชยจนเกินไปและไม่ล้ำยุคล้ำแฟชั่นจนดูไม่ดีนัก
                4. ฝึกพูดจาให้เป็น พูดอย่างสร้างสรรค์ สื่อความชัดเจนตรงไปตรงมา จริงใจ ในคำพูด ควรอ่อนน้อม ไม่แข็งจนเกินไป ไม่ใช้อำนาจในคำพูดแม้ว่าเราจะมีอำนาจก็ตาม
                5. หัดเป็นผู้กระทำสิ่งใดๆ ให้ผู้อื่นบ้าง เช่น รู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ให้การยอมรับนับถือ ให้เกียรติ รู้จักเคารพผู้อาวุโสกว่า รู้จักการ อ่อนน้อม ถ่อมตน เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่เอาเปรียบคนอื่นเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การมีบุคลิกภาพแบบประชาธิปไตย บ้างครั้ง เป็นผู้นำได้ บางครั้งก็เป็นผู้ตามได้ ทำตัวให้คงที่คงวา มีความมั่นคงทางอารมณ์เป็นต้น
                6. ให้ตระหนักเสมอว่าเราอยู่ตัวคนเดียวในโลกไม่ได้เราต้องสัมพันธ์กับคนอื่น เมื่อจะต้องอยู่รวมกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือคนในสังคมอื่นๆเช่นที่สถาบันการศึกษา ที่ทำงาน เราจะต้องปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างดี ให้เกียรติกันและกัน สิ่งที่เราปฏิบัติให้กับผู้อื่นเราก็จะได้สิ่งนั้นคืนเช่นกัน แต่ถ้าเผอิญเราไม่ได้สิ่งดีๆตอบก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะเลิกยึดถือแนวปฏิบัติให้ยอมรับว่ามนุษย์มีความแตกต่างกัน ถูกอบรมเลี้ยงดูมาไม่เหมือนกัน เราทำอะไรกับใครไม่จำเป็นต้องหวังสิ่งที่จะกลับมา เช่น เราทำดี ก็ให้รู้ว่าเราต้องการที่จะทำดี แต่ไม่ได้หมายความว่าดีนั้นต้องสนองเรา จงทำตัวเหมือนงูที่ลอกคราบแล้วทิ้งคราบมันฉันใด ความดีก็เช่นกัน ทำแล้วเรารู้สึกภูมิใจ สุขใจนั่นคือสิ่งที่เราได้แล้วส่วนใครจะเห็นหรือไม่เห็นไม่ใช่สาระ
                7. การสร้างความสัมพันธ์โดยใช้หลักศาสนาก็ทำให้บุคคลอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมี ความสุขได้ เช่น หลักธรรมในเรื่องสังคหวัตถุ 4 ก็จะอธิบายเรื่อง การแบ่งปัน การให้ความช่วยเหลือคนอื่น การพูดจริง การพูดไพเราะน่าฟัง การปฏิบัติตนให้มีค่า มีประโยชน์ต่อคนอื่น และมีความเสมอต้นเสมอปลายในการปฏิบัติตน นอกจากนี้ก็มีเรื่องทิศ 6 ที่อธิบายเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ว่าแต่ละคนควรจะ ปฏิบัติตนอย่างไรหรือแม้กระทั่งหลักธรรมในเรื่องสัปปุริสธรรม 7 ประการอันได้แก่คุณธรรมหรือแนวทางการปฏิบัติของคนดีที่พึงปฏิบัติ
                8. การศึกษาแนวความคิดทางจิตวิทยากลุ่มต่างๆ ทฤษฎีต่างๆ ก็จะเป็นแนวทางให้ตัวเรา บุคคลพัฒนา และปรับปรุงบุคลิกภาพ ของตนเองได้ เช่น ในทางจิตวิทยาอธิบายเรื่องการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ต้องรู้จักยอมรับนับถือ มีความจริงใจ รู้จักเปิดเผยตนเอง รู้จักการสร้างสัมพันธภาพในขณะนั้น และรู้จักที่จะเผชิญหน้ากับคนอื่น ทำตัวให้เข้ากับใครง่ายๆ เป็นต้น
                9. การให้ความร่วมมือกับคนอื่น ๆ ในการสร้างมนุษยสัมพันธ์ไม่ใช่สร้างวันสองวันแต่เป็น การสร้างความสัมพันธ์ที่ยาวนาน และแบบของพฤติกรรมเราเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม ของสังคม เราเป็นคนมือไม่นิ่งช่วยเหลือคนอื่นอย่างเต็มใจ สิ่งเหล่านี้จะเป็น เสน่ห์ให้ใครๆ ก็รัก ใครๆ ก็ปรารถนาที่จะช่วยหรือเกื้อกูล เพราะรู้จักให้ความช่วยเหลือผู้อื่นเสมอๆ
                10. ฝึกเป็นคนตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่องานที่ทำ เรียกว่า รักษาคำพูดรักษาเวลา มีความกระตือรือร้นในงานที่ทำ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทำงานสนุกอารมณ์ดี

ถ้าบุคคลมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับคนอื่น ก็จะเกิดการพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองได้พัฒนาขึ้นและในเรื่องนี้จะช่วยให้ บุคคลสามารถ ทำงานและอยู่ร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข การเริ่มทำงานทุกงานทั้งภาครัฐและเอกชน ความรู้เรื่องมนุษยสัมพันธ์สามารถจะช่วยให้ บุคคลสามารถทำงานได้อย่าง มั่นใจจาก พระบรมราโชวาทในเรื่องงาน

"การทำงานยากลำบากกว่าการเรียนยิ่งนัก การเรียนนั้นเรียนตามหลักสูตรหรือเรียนวิชาต่างๆ ตามที่ทางมหาวิทยาลัยจัดหลักสูตรให้ แต่สำหรับการทำงานไม่มีหลักสูตรวางไว้ ผู้ทำงานต้องศึกษาระบบงานเอง และจะต้องใช้ ความคิดริเริ่ม และความคิดพิจารณา ด้วยตนเองในอันที่จะกระทำสิ่งใด อย่างไรเมื่อใด หากไม่รู้จักพิจารณาให้ถูกช่อง ถูกโอกาส ถึงมีวิชาความรู้อยู่กับตัวมากเพียงใด ก็ไม่เป็นผลแก่งานและแก่ตัวผู้ทำงานนัก ดังนั้นผู้ที่เริ่มจะทำงานใหม่ ควรศึกษางาน ที่จะต้องทำให้ถ่องแท้ มีมนุษยสัมพันธ์กับ บุคคลในองค์กรให้ได้ทั้งที่ต่ำกว่าเรา เสมอเราหรือเหนือกว่าเราให้ได้"

พระบรมราโชวาท โดยสรุปนี้ให้กับบัณฑิตใหม่ที่กำลังจะก้าวไปสู่ตลาดแรงงานก้าวไปสู่อาชีพ เพื่อสร้างตัว สร้างฐานะ การศึกษาที่หลายท่านร่ำเรียนมาจะมาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้และรายได้ที่ได้มาโดยหยาดเหงื่อของเรา มันจะสร้างความภูมิใจให้กับตัวเรา แต่มีหลายคนที่เมื่อเข้าสู่ระบบงานแล้วไม่สามารถทำงานตามที่ตนมีความรู้ความสามารถให้ประสบความสำเร็จตามที่ตั้งไว้

เทคนิควิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการสร้างมิตร

เทคนิควิธีการสร้างมนุษยสัมพันธ์ สามารถทำได้ง่ายๆ มีดังนี้
                1.
ยิ้มแย้ม หมายถึง เราจงยิ้มแย้มเข้าไว้ ยิ้มอย่างจริงใจ ยิ้มทุกที่ ยิ้มให้กับทุกคน
                2.
แจ่มใส หมายถึง การที่เรามีอารมณ์ที่แจ่มใส สดใส ใครอยู่ใกล้ก็รู้สึกอบอุ่นมีความสุข
                3.
ตั้งใจสนทนา หมายถึง เราจงตั้งใจสนทนา เป็นผู้ฟังมากๆ ยิ่งฟังมากก็จะรู้มาก
                4.
เจรจาไพเราะ หมายถึง เราจงเจรจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะเสนาะโสต คำพูดที่รื่นหูจะมีแต่คนนิยมชมชอบ ไม่มีใครชอบคนพูดตะคอก พูดเสียดสี
                5.
สงเคราะห์เกื้อกูล หมายถึงเราจงให้การสงเคราะห์เกื้อกูลแก่ผู้ที่เราเกี่ยวข้องเช่นให้ความช่วยเหลือจัดหาสิ่งของมาฝากบ้างตามสมควร

ศิลปะการเข้าถึงบุคคลเพื่อสร้างความคิดร่วม
                เนื่องจากมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่อยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ มนุษย์จึงต้องสัมพันธ์ กันทั้งด้านชีวิตส่วนตัว ทำงานสร้างสรรค์ร่วมกันการสร้างมนุษยสัมพันธ์เพื่อความคิดร่วมกันในการดำเนินภารกิจในชีวิตประจำวัน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น โดยใช้ศิลปะใน การเข้าถึงบุคคลดังนี้

                1. เคารพในความเป็นมนุษย์ของทุกคน โดยไม่มีชั้นวรรณะปฏิบัติต่อกันในลักษณะของคนกับคนบุคคลอื่นคือมนุษย์ร่วมโลกและสังคมเดียวกันกับเรา มีเกียรติ มีค่าและมีสิทธิเท่าเทียมกับเรา เราจึงควรให้เกียรติเกรงใจและไม่ล้ำสิทธิของผู้อื่น
                2.
การมองโลกในแง่ดีและมองแต่ส่วนดีของผู้อื่นจะทำให้เกิดทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆและบุคคลที่อยู่แวดล้อมตัวเรา ไว้วางใจและเชื่อมั่นในบุคคลอื่นซึ่งจะง่ายแก่การขอความร่วมมือ
                3.
ถามความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของบุคคลอื่น แม้ว่าความคิดเห็นนั้นอาจจะขัดหรือตรงกันข้ามกับความคิดเห็นของเราโดยเปิดโอกาสให้มีการอภิปราย ซักถามและเสนอแนะซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้สึกภาคภูมิใจว่ามีบทบาทสำคัญมีส่วนร่วมในผลสำเร็จขององค์การด้วย
                4.
ชี้แจงนโยบาย แผนงานและปัญหาต่าง ๆให้เป็นที่เข้าใจอย่างชัดเจนและทันต่อเหตุการณ์ หากสิ่งใดไม่สามารถปฏิบัติได้ก็ให้อธิบายให้ฟังด้วยเหตุผลจนเข้าใจตลอดจนสนับสนุนให้บุคคลอื่นมีบทบาทร่วมในการกำหนดนโยบายวางแผนและตัดสินในเกี่ยวกับการแก้ปัญหา เป้าหมายและการดำเนินการขององค์การ
                5.
การรักษาและสนใจเรื่องเกี่ยวกับ ผลประโยชน์ของผู้ร่วมงาน และส่วนรวมมากกว่าผล
ประโยชน์ของตนเอง เช่น การขอปรับวุฒิ เลื่อนขั้น เงินพิเศษ เป็นต้น
                6.
ใจกว้าง เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เอาใจใส่ต่อความทุกข์ส่วนตัวและในด้านการทำงานของบุคคลอื่นร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยเมื่อมีทุกข์ก็ช่วยเหลือให้กำลังใจและคำปรึกษาแนะนำแนวทางและวิธีแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบเท่าที่จะทำได้อย่างเห็นใจ จริงใจและเสมอต้นเสมอปลาย
                7.
ให้ความยุติธรรมและปฏิบัติต่อทุกคนอย่างเสมอภาคในทุกๆด้านไม่ลำเอียงหรือแสดงว่ารักใครเกลียดใครเป็นพิเศษตำหนิหรือลงโทษผู้กระทำผิด และสนับสนุนยกย่อง ชมเชยและให้เกียรติผู้ที่ทำความดีตลอดจนแสดงความยินดีเมื่อผู้อื่นประสบความสำเร็จไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใครก็ตาม
                8.
เอาใจใส่และสนองความต้องการของบุคคลอื่นทั้งในด้านวัตถุและจิตใจเท่าที่จะทำได้โดยพยามยามผสมผสานความต้องการของสมาชิกแต่ละคนให้สอดคล้องกับความต้องการและเป้าหมายขององค์การ เพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันภายในองค์การความจงรักภักดีต่อองค์การ และความสามัคคีก็จะเกิดขึ้น
                9.
แสดงจุดร่วม สงวนจุดต่าง พยายามพูดกันในสิ่งที่สามารถตกลงกันได้ส่วนสิ่งที่ขัดแย้งกันไม่ควรจะกล่าวถึงหากมีการแก้ไขปรับปรุงก็ควรแก้ไขปรับปรุงที่ตัวเราเองก่อนที่จะขอให้ผู้อื่นแก้ไขเปลี่ยนแปลง
                10.
มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลอื่น และเข้ากับบุคคลอื่นได้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อจะได้รับความสนับสนุนร่วมมือในกิจกรรมต่าง ๆ ของชีวิตตลอดจนการสร้างบรรยากาศในการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นให้เป็นไปในทางที่เกิดความสัมพันธ์ที่ดีตลอดเวลา รู้จักทักทายยิ้มแย้มแจ่มใส สนุกสนานร่างเริง สดชื่น กระฉับกระเฉงพูดกับบุคคลอื่นด้วยถ้อยคำที่เป็นมิตร นุ่มนวล สุภาพ อ่อนโยน และถ้อยคำที่ก่อให้เกิดความรู้สึกร่วมกัน เช่น "พวกเรา" และให้เกียรติกันควรงดเว้นการเป็นนักวิชาการบ้างในบางขณะ หาเรื่องสนุกสนาน มาพูดคุยหลีกเลี่ยงการโต้เถียง และอาจเห็นคล้อยตามในเรื่องที่ไม่สลักสำคัญอย่านินทาว่าร้าย วิพากษ์วิจารณ์บุคคลอื่นโดยไม่จำเป็นในกรณีที่ต้องออกคำสั่งให้ผู้อื่น ปฏิบัติตามก็ควรจะเป็นคำสั่งที่อ่อนโยนละมุนละม่อมและถามความรู้สึกก่อนที่จะออกคำสั่งก็จะได้รับการปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ

ประโยชน์ของมนุษยสัมพันธ์

มนุษยสัมพันธ์เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการทำงาน และการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมเพราะช่วยให้มนุษย์เรียนรู้ที่จะยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นและปรับตัวปรับใจให้ร่วมสังคมและร่วมกิจกรรมกันอย่างสันติสุข มนุษยสัมพันธ์เป็นเสมือนมนต์ขลัง ช่วยลดความเกลียดชังแม้ศัตรูผู้มีผลประโยชน์ขัดกับเราก็จะกลับกลายไปในรูปเห็นอกเห็นใจเป็นมิตรภาพ เรื่องร้ายกลายเป็นดีได้ไม่ว่าจะติดต่อสัมพันธ์กันในทางการงานหรือส่วนตัวก็จะเกิดผลดีมีประโยชน์ต่องานอาชีพและการดำเนินชีวิต อุปสรรค ความยุ่งยาก จะเรียบร้อยราบรื่นการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีนั้นจะช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมในแง่ประโยชน์ต่อตนเองบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนจะก่อให้เกิดความเข้าใจและความเห็นใจซึ่งกันและกันช่วยเหลือกันสามารถสมาคมกับบุคคลในระดับต่างๆได้ดี ประสบความสำเร็จในการศึกษาและการประกอบกิจกรรมหรือการอาชีพ

 ในแง่ส่วนรวม การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยสร้างความสามัคคีกลมเกลียวขึ้นในหมู่คณะร่วมใจกันทำงาน ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีโดยปราศจากข้อขัดแย้งสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและในที่สุดจะช่วยพัฒนาให้สังคมและประเทศชาติเจริญก้าวหน้าทางสังคม จะทำให้คนงานมีกำลังใจทำงานมีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่นกับองค์การที่ตนทำงานอยู่การมีความรู้สึกเป็นเจ้าของความเป็นกันเอง การทำงานด้วยความสมัครใจก็จะเกิดขึ้น ทำให้เกิดความสามัคคีเป็นปึกแผ่นขึ้นในองค์การและมุ่งทำงานโดยมีจุดประสงค์หรือความมุ่งหมายเดียวกันอย่างเหนียวแน่น สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารกับผู้ใช้แรงงานถ้าจะเน้นถึงประโยชน์ในแง่ของการบริหารงานมนุษยสัมพันธ์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้หัวหน้างานประสบความสำเร็จและเจริญก้าวหน้าหัวหน้างานควรจะต้องใส่ใจกับศิลปะของการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในหน่วยงานทำความเข้าใจกับธรรมชาติของคนโดยเฉพาะในเรื่องความต้องการของมนุษย์และการจูงใจ ซึ่งปัจจุบันก็มีแนวคิดใหม่ๆที่ท้าทายให้ผู้บริหารได้นำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงาน หัวใจของมนุษยสัมพันธ์ในการบริหารงานด้วยในการสร้างมนุษยสัมพันธ์หัวหน้างานจะต้องใช้วิธีการหลายวิธีเพราะผู้ร่วมงานมีความแตกต่างกันมาก การประยุกต์หลักการและวิธีการต่างๆอย่างระมัดระวัง จะช่วยหัวหน้างานสามารถหาทางเลือกที่จะนำไปสู่ความสำเร็จได้มากขึ้นนอกจากนี้แล้วมนุษยสัมพันธ์ยังสามารถให้ประโยชน์ดังนี้คือ ทำให้เกิดความรู้จักคุ้นเคย ยอมรับนับถือกันในหมู่สมาชิกซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพลังกลุ่ม และช่วยให้การคบหาสมาคม เป็นไปโดยราบรื่นทำให้เกิดความเข้าใจอันดี และอยู่ร่วมกันได้ด้วยความสามัคคีทำให้บรรยากาศในการทำงานราบรื่น สามารถร่วมงานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพทำให้การติดต่อสื่อสารถึงกันง่าย และเป็นผลดีทำให้เกิดความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันและให้ความร่วมมือในการทำงานและทำให้ปัญหาความขัดแย้งลดน้อยลงบริหารงานได้ง่ายขึ้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อกันได้ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในสังคม

มนุษยสัมพันธ์ในส่วนที่มนุษย์จะอยู่ร่วมกันในสังคมมีดังนี้ คือ การมีความสัมพันธ์กันโดยการรวมกลุ่มในการผลิตและการอำนวยบริการเป็นการรวมพลังของกลุ่มบุคคล เพื่อให้ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้นซึ่งบุคคลคนเดียวทำได้ยากต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจของบุคคลหลายคนจึงจะกระทำได้ ความสัมพันธ์ที่กระทำต่อเนื่องกันมาจนเป็นที่ยอมรับจะกลายเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและเกิดความรู้สึกที่เรียกว่า มีมนุษยสัมพันธ์การทำให้เกิดความสำเร็จ มนุษยสัมพันธ์เป็นส่วนสำคัญที่ให้มนุษย์อยู่ร่วมกันช่วยกันประกอบกิจการงานนำเอาความสามารถของแต่ละบุคคลในกลุ่มมาใช้ในการดำเนินการร่วมกันเพื่อความสำเร็จของงานโดยอาศัยมนุษยสัมพันธ์เป็นเครื่องยึดโยงให้มนุษย์มีความเข้าใจและร่วมมือกันทำงาน อันเป็นผลทำให้มีความสำเร็จของงานเกิดขึ้นการทำให้มีความมั่นคง ความสำคัญของมนุษยสัมพันธ์ คือการสร้างให้มีความมั่นคงในครอบครัว ในสังคมและในประเทศชาติซึ่งเป็นกลุ่มสังคมขนาดใหญ่ขึ้นๆตามลำดับ จนถึงสังคมโลก ความรู้จักอภัยและชนะใจผู้อื่น สร้างความแช่มชื่นในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพได้รับผลตอบแทน ทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ และจิตใจคนในสังคมเป็นการสร้างความมั่งคั่งและมั่นคงให้แก่สังคมและการทำให้มีความสามัคคีความสัมพันธ์อันดีในกลุ่มของบุคคลก่อให้เกิดสามัคคีธรรมและความร่วมมือร่วมใจในการทำงานของหมู่คณะปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความสามัคคี คือ ความเข้าใจระหว่างกันและกันของบุคคลในกลุ่ม อันได้แก่ มนุษยสัมพันธ์นั่นเอง ดังนั้นมนุษยสัมพันธ์จึงมีความสามัคคีในการสร้างให้มี ความสามัคคีในหมู่คณะ

บรรณานุกรม

ฐานิกา บุษมงคล. (2558).  ความหมาย และความสำคัญของมนุษย์สัมพันธ์. (ออนไลน์).แหล่งที่มา :  http://thethanika.blogspot.com/2010/09/blog-post_24.html. 10 มีนาคม 2558.

พรรณทิวา วรรณพฤกษ์.  (2558).  ประโยชน์ของมนุษย์สัมพันธ์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.l3nr.org/posts/376807.  10มีนาคม 2558

พวงรัตน์  เกษรแพทย์. (2557).  ศษ 461 : การบริหารและการจัดการการศึกษา.  กรุงเทพฯ:  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ลักขนา  สริวัฒน์.  (2556).  มนุษยสัมพันธ์.  พิมพ์ครั้งที่1.  กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์โอ.เอส.พริ้นติ้งส์ เฮ้าส์.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์.  (2558).  มนุษยสัมพันธ์กับการพัฒนาบุคลิกภาพ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/HR_Self_Develop.htm.  10มีนาคม 2558

สมชาติ ปรึกไธสง.  (2558).  ทฤษฎีแห่งมนุษย์สัมพันธ์. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://krusomchart05.blogspot.com/2011/03/blog-post_21.html.  10มีนาคม 2558

นางสาววรพรรณ  ไกรนุกูล รหัสนิสิต 54105010127

ผู้จัดทำ