การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์สากล นิยม ใช้เกณฑ์ ใด

สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อาจใช้หลักเกณฑ์การแบ่งตามเทคโนโลยีการทำเครื่องมือเครื่องใช้ โดยแบ่งเป็นยุคหินกับยุคโลหะ หรือแบ่งตามลักษณะการดำรงชีวิตของมนุษย์ โดยแบ่งเป็นยุคล่าสัตว์ ที่มนุษย์รู้จักเก็บหาอาหาร ล่าสัตว์ป่า ยังไม่มีการตั้งถิ่นฐานที่ถาวร ยุคสังคมเกษตรกรรม มนุษย์รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มีการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่รวมกัน                เป็นชุมชน และยุคสังคมเมือง ชุมชนพัฒนาไปเป็นเมืองที่มีจำนวนประชากรมากขึ้น มีการจัดระเบียบการปกครอง               เป็นต้น

สมัยประวัติศาสตร์ จะใช้หลักเกณฑ์การแบ่งเมื่อมนุษย์รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ         ซึ่งอาจบันทึกลงบนกระดูก ไม้ไผ่ แผ่นดินเหนียว ศิลา เป็นต้น

2. การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ตามแบบสากล มีกี่สมัย และแต่ละสมัยเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใด

การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ ตามแบบสากลมี 4 สมัย ได้แก่

1)  ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ เริ่มตั้งแต่การประดิษฐ์ตัวอักษรของชาวซูเมเรียเมื่อ 3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราชจนถึงกรุงโรมของจักรวรรดิโรมันตะวันตกถูกพวกอนารยชนตีแตกใน ค.ศ. 476              

2) ประวัติศาสตร์สมัยกลาง เริ่มภายหลังกรุงโรมแตก ค.ศ. 476 จนถึงพวกเติร์กตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลของจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออกแตกใน ค.ศ. 1453

3) ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มภายหลังกรุงคอนสแตนติโนเปิลแตก จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2                 ใน ค.ศ.1945

4) ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน             

3. การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ตามแบบสากลและแบบไทย เหมือนหรือต่างกันอย่างไรบ้าง

การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ของไทยจะแตกต่างจากแบบสากลเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย โดยสากลจะแบ่งออกเป็นสมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และสมัยปัจจุบันร่วมสมัย ส่วนไทยจะแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ออกหลายแบบ เช่น แบ่งตามอาณาจักร เช่น สมัยทวารวดี สมัยละโว้ สมัยศรีวิชัย แบ่งตามราชธานี เช่น สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา  แบ่งตามราชวงศ์ เช่น สมัยราชวงศ์พระร่วง สมัยราชวงศ์อู่ทอง สมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ แบ่งตามรัชกาล เช่น สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยรัชกาลที่ 1 แบ่งตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น สมัยสมบูรณา ญาสิทธิราชย์ เป็นต้น

กรณีตัวอย่างที่ 1

                ครั้นศักราช ๘๙๑ ปีฉลูศก ญ วันอาทิตย์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘ ขุนวรวงศาธิราชเจ้าแผ่นดิน คิดกันกับแม่อยู่หัว     ศรีสุดาจันทร์ให้เอาพระยอดฟ้าไปประหารชีวิตเสีย ณ วัดโคกพระยา แต่พระศรีศิลป์น้องชาย  พระชนม์ได้เจ็ดพรรษานั้นเลี้ยงไว้ สมเด็จพระยอดฟ้าอยู่ในราชสมบัติปีกับสองเดือน


1. จากกรณีตัวอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยใด        สมัยกรุงศรีอยุธยา

2. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นศักราชใด      จุลศักราช                              

3. เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด       วันอาทิตย์ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน  ๘  ปีฉลูเอกศก จุลศักราช ๘๙๑             

กรณีตัวอย่างที่ 2

                        “...ภายหลังมานับถอยหลังขึ้นไปในรัตนโกสินทร์ศก ๘๕ มีจีนคนหนึ่งชื่อเจ๊กฮง จัดตั้งโรงรับจำนำขึ้นโรงหนึ่งที่    ริมประตูผีนี้เอง...

1. จากกรณีตัวอย่างเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยใด        สมัยกรุงรัตนโกสินทร์        

2. เหตุการณ์ดังกล่าวเป็นศักราชใด      รัตนโกสินทร์ศก

3. เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อใด       รัตนโกสินทร์ศก ๘๕          

กรณีตัวอย่างที่ 3

                เมื่อก่อนลายสือไทนี้ บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทนี้  ลายสือไทนี้      จึ่งมีเพื่อพ่อขุนผู้นั้นใส่ไว้

การแบ่งสมัยประวัติศาสตร์แบบสากลใช้เกณฑ์ใด

สามารถแบ่งออกเป็น ๒ สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และ สมัยประวัติศาสตร์ ส าหรับสิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการก าหนดอายุ คือ “ตัวอักษร” ดังนั้นแล้ว ในแต่ละสังคมหรือแหล่งอารยธรรม ต่าง ๆ ในโลก จึงเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับว่า สังคมหรืออารยธรรมใดสามารถประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ได้ก่อน

สิ่งใดที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ยุค โดยใช้ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง โดยสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเรื่องราวเป็นตัวอักษร จัดเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ส่วนสมัยที่มีการบันทึกเรื่องราวเป็นลายลักษณ์อักษรแล้วจะจัดเป็นสมัยประวัติศาสตร์ ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ยุค โดยใช้ตัวอักษรเป็นเกณฑ์ในการแบ่ง โดยสมัยที่ยัง ...

ข้อใดคือเกณฑ์ที่สากลใช้แบ่งสมัยก่อนประวัติศาสตร์กับสมัยประวัติศาสตร์

ตามหลักสากล ยุคประวัติศาสตร์จะเริ่มนับตรงที่มนุษย์เริ่มมีการจดบันทึกเหตุการณ์อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนก่อนหน้านั้นก็จะเรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ใช้หลักเกณฑ์ใดในการแบ่ง

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งออกเป็น ๒ สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และ สมัยประวัติศาสตร์ สำหรับสิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดอายุคือ “ตัวอักษร” ดังนั้นแล้ว ในแต่ละ สังคมหรือแหล่งอารยธรรมต่าง ๆ ในโลก จึงเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับว่าสังคมหรือ อารยธรรมใดสามารถประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ได้ก่อน