โทรศัพท์ในอดีตมีลักษณะอย่างไร

ยุคที่ 6 4G ณ ตอนนี้เลย และถือว่าใหม่สำหรับคนไทย ในขณะที่ประเทศอื่น ใช้กันพักใหญ่ล่ะ เน้นไปที่ความเร็ว ของอินเทอร์เน็ต ความเสถียรของสมาร์ตโฟน แทบจะเป็นตัวช่วยในทุก ๆ อย่างของชีวิต อัปเดตชีวิตประจำวัน ตัวแจ้งเตือน การสื่อสารกับคนอื่น เรียกได้ว่าแทบขาดไม่ได้เลย

Show

วิวัฒนาการของโทรศัพท์ อนาคต อาจจะออกไปเที่ยว โดยที่ตัวอยู่บ้านก็ได้ หรืออาจจะไม่ต้องพกเครื่อง หรือเห็นเป็นหน้าจอ บนอากาศเลย ก็อาจจะเป็นไปได้ก็ได้

โทรศัพท์ในอดีตมีลักษณะอย่างไร

พูดถึง เทคโนโลยี โทรศัพท์ อดีต การใช้โทรศัพท์มือถือ เรายังจำได้ดีเลย มือถือเครื่องแรกในชีวิต ประมาณมัธยม1 คือโนเกีย 6230 สีเทาใส่เคสซะด้วย รับต่อมาจากพี่สาว จำเป็นต้องใช้ ให้คนขับรถ รับส่งโทรตามกลับบ้าน ใช้เสียงริงโทนเป็นเพลง Gee ยุคฮิตของ Girl generation จำได้ตอนนั้นเขินมาก ไม่กล้าให้ใครเห็น วัยใสฮ่า ๆ

กลับมานอนกดเล่นที่บ้าน กดไปกดมาไม่หยุด เพราะตื่นเต้นมีโทรศัพท์แล้ว รู้สึกโตขึ้นแล้ว เหมือนต้องรับผิดชอบมัน คิดแล้วก็ขำ และก็มียุค BlackBerry ที่เราเห็นเพื่อน ๆ ใช้กัน ซึ่งตัวเองไม่เคยใช้ แต่ได้เห็นมาบ้าง 555 ยุคแรกพินของวัยรุ่น ปุ่มและหน้าจออย่างเจ๋ง ห้อยพวงกุญแจยิ่งเท่ ส่วนเรายังคงใช้โนเกีย รุ่นใดสักรุ่นหนึ่งอยู่

นอกจาก ข้อดีของการพัฒนาโทรศัพท์ ก็ย่อมมีข้อเสีย

คุณกำลังเป็นแบบนี้ อยู่หรือเปล่า ?

  • รู้สึกใจร้อนขึ้น อดทนรออะไรไม่ค่อยได้
  • เห่อตามแฟชั่น รู้สึกว่าต้องตามเทรนด์ มือถือตกรุ่นไม่ได้
  • ขาดกาลเทศะ เพราะความเคยชิน กดมือถือขณะประชุม ขณะอยู่กับผู้อื่น หรืออยู่กับคนใกล้ตัว
  • ติดการกดมือถือ อยู่ตลอดเวลา หรือถือมือถือ ในมือตลอดเวลา แม้ไม่รู้จะกดอะไร
  • ทำให้มนุษยสัมพันธ์ กับคนใกล้ตัวน้อยลง พูดคุยกันน้อยลง
  • เคยเกิดอุบัติเหตุได้ ไม่ว่าจะตกบันได น้ำร้อนลวก รถชน เดินชนคนอื่น เป็นต้น เพราะการก้มหน้า กดมือถือในมือ
  • เคยเกิดโรคเหล่านี้ ทางร่างกาย เช่น โรคออฟฟิศซินโดรม ปวดข้อแขน ปวดมือ ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดตา นอนไม่พอ ปวดหัวไมเกรน สายตาเสีย เป็นต้น และคุณรู้ว่าต้นเหตุ นั้นก็มาจากมือถือ

โทรศัพท์ในอดีตมีลักษณะอย่างไร

เป็นอย่างไรบ้างคะ ข่าวไอที มือถือ ที่เรานำมาให้อ่านกัน นี่ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของที่มาโทรศัพท์มือถือ สู่สมาร์ตโฟนที่ทำได้มากกว่า มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ขึ้นอยู่กับผู้ใช้เอง นอกจากนี้เว็บไซต์ ข่าวไอที ยังมีหัวข้ออื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข่าวไอทีคอมพิวเตอร์ ข่าวดิจิทัล ข่าวเทคโนโลยี ฯลฯ ให้ได้ติดตามกันอีกด้วย @UFA-X10

เรียบเรียงโดย M.Varin

แนะแนวเรื่อง

ข่าวไอทีมือถือ​ ที่เราจะมาอัพเดทกันในปี​ 2022​ ว่าจะน่าสนใจขนาดไหนกัน​ ต้องมาตามไปกับเรา

อัพเดทมือถือน่าใช้ แนะนำอุปกรณ์ไอที แนะนำมือถือ ฟีเจอร์อุปกรณ์ไอทีต่างๆ เทคโนโลยีสำหรับคนรุ่นใหม่ ไอเทมไอทีต่างๆ สำหรับยุคนี้

ระบบโทรศัพท์ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้น มีวิวัฒนาการเรื่อยมา นับตั้งแต่เมื่อที่ Alexander Graham Bell เป็นผู้คิดค้นเครื่องโทรศัพท์ที่มีสายไฟฟ้าเชื่อมต่อระหว่าง 2 เครื่อง จวบจนปัจจุบันที่เครื่องโทรศัพท์เป็นแบบไร้สาย และไม่จำเป็นต้องมีเสาอากาศเนื่องจากระบบโทรศัพท์ยุคใหม่เป็นการเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า VoIP Phone

อย่างไรก็ตาม ระบบโทรศัพท์ VoIP Phone นั้น จะให้เสียงที่คมชัดหรือไม่นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ใช้ด้วย ซึ่งจะว่าไปแล้ว พัฒนาการของ VoIP Phone นั้น ขึ้นอยู่กับยุคสมัยของอินเตอร์เน็ตด้วยเช่นกัน เช่น หากสัญญาณอินเตอร์เน็ตแรงและเร็ว การใช้งานของระบบโทรศัพท์ย่อมคมชัดและมีประสิทธิภาพสูงตามไปด้วย

พัฒนาของอินเตอร์เน็ตในแต่ละยุคนั้น มีความเชื่อมโยงกับระบบโทรศัพท์และอุปกรณ์สื่อสารกันเหมือนเส้นขนาน เรามาดูกันว่า แต่ละยุคสมัยของเทคโนโลยีการสื่อสารนั้น มีความเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน

  • 1G ยุคของโทรศัพท์มือถือแบบอนาล็อก

ถือเป็นยุคแรกๆ ที่มีโทรศัพท์มือถือใช้บนโลกใบนี้ ในยุค 1G นั้น เครื่องโทรศัพท์ยังเป็นแบบปุ่มกดนูนๆ ที่มาพร้อมกับเสาอากาศขนาดใหญ่ ในยุคนั้นเครื่องโทรศัพท์ทำได้เพียงแค่การโทรเข้า-ออก และรับสายหรือที่เรียกว่าเป็นการสื่อสารแบบอนาล็อก โดยหลักการของการสื่อสารแบบอนาล็อกนั้น จะเป็นการส่งสัญญาณแบบ FDMA (Frequency Division Multiple Access) หรือแบ่งช่องความถี่เป็นแบบย่อยๆ หลายช่อง แล้วใช้สัญญาณวิทยุส่งคลื่นเสียงไปยังสถานีรับส่งสัญญาณ หนึ่งคลื่นความถี่จึงเท่ากับหนึ่งช่องสัญญาณ การใช้บริการระบบโทรศัพท์จึงใช้ได้เพียงช่องความถี่ที่ว่างอยู่เท่านั้น ในยุค 1G จึงไม่สามารถรับส่งข้อความใดๆ ได้ และไม่รองรับการใช้งานจำนวนมาก อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการดักฟังโทรศัพท์ได้ง่าย

  • 2G พัฒนาการส่งคลื่นเสียงแบบอนาล็อกไปเป็นดิจิทัล

ยุคนี้มีการพัฒนาจากแบบอนาล็อกมาเป็นดิจิทัล ซึ่งอาศัยการเข้ารหัสโดยส่งคลื่นเสียงมาทางคลื่นไมโครเวฟ ทำให้ปลอดภัยในการใช้งาน และช่วยเรื่องสัญญาณเสียงที่คมชัดมากขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีที่ผสมผสานระหว่าง FDMA กับ TDMA (Time Division Multiple Access) สามารถรองรับผู้ใช้งานในปริมาณมากขึ้น รวมทั้งส่งข้อความถึงกันได้มากกว่าแค่โทรเข้า-ออก และรับสาย อีกทั้งรูปลักษณ์ของโทรศัพท์ในยุคนี้ได้พัฒนาให้ดูทันสมัย มีน้ำหนักเบา และใช้งานง่ายขึ้น

  • 2.5G ยุคที่มีการกำเนิดเทคโนโลยีที่เรียกว่า GPRS

เป็นช่วงที่มีเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) เกิดขึ้น ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้มากกว่าแค่ข้อความ แต่เป็นการส่งภาพหรือข้อความในรูปแบบที่หลากหลายมากขึ้นหรือที่เรียกว่า MMS (Multimedia Messaging Service) หน้าจอเริ่มเป็นจอสี เสียงเรียกเข้าเริ่มพัฒนาเป็นแบบ MP3 และเริ่มเล่นอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็ว 115 kbps

  • 2.75G มีการพัฒนาจาก GPRS เป็น EDGE เพื่อก้าวเข้าสู่ยุค 3G

เป็นยุคของ EDGE (Enhanced Data Rates for Global Evolution) ซึ่งพัฒนาต่อมาจาก GPRS ในยุค 2.75G ผู้คนจึงสามารถเล่นอินเตอร์เน็ตบนมือถือได้ด้วยความเร็วที่มากขึ้นหรือสูงสุดที่ 180 kbps

  • 3G มีความสามารถในการเชื่อมต่อเครือข่าย 24 ชั่วโมง (Always on)

ถือเป็นยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก เช่น สามารถออนไลน์ผ่านมือถือได้ตลอดเวลา ในขณะที่ยุค 2G จะออนไลน์ได้เฉพาะเมื่อมีการ Log-in เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายเท่านั้น แต่ยุค 3G จะมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายตลอดเวลา แต่จะเสียค่าบริการเมื่อมีการใช้ข้อมูลผ่านเครือข่าย ต่างจากยุคก่อนหน้านี้ที่เมื่อ Log-in เข้าระบบจะเสียค่าบริการทันที โดยในยุคนี้ความเร็วของเครือข่ายจะสูงกว่าแบบเดิม เป็นยุคที่เริ่มมีการโทรผ่านอินเตอร์เน็ตได้ คุยแบบเห็นหน้าได้ ประชุมทางไกล ดูทีวีและวีดิโอออนไลน์ ตลอดจนเล่นเกมออนไลน์ได้

  • 4G มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลถึง 100 Mpbs 

ถือเป็นยุคที่มีการประมวลเอาคุณภาพของการสื่อสารยุค 1G-3G มาพัฒนาในเรื่องความเร็วของการรับส่งข้อมูล โดยจะอยู่ที่ 100 Mbps ทำให้สามารถใช้งานกับโทรศัพท์มือถือหรือแท็บเล็ตได้และสัญญาณไม่มีการกระตุก สามารถดูวีดิโอออนไลน์ได้อย่างคมชัด โทรทางไกลข้ามประเทศผ่านอินเตอร์เน็ตม Video Call และประชุมผ่านโทรศัพท์ได้ง่ายดาย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย อีกทั้งสามารถรองรับระบบโทรศัพท์ VoIP Phone ได้อย่างราบรื่น

  • 5G ระบบการสื่อสารไร้สาย รับส่งข้อมูลได้เร็วกว่า 4G ถึง 20 เท่า

สำหรับยุค 5G นั้น ถือเป็นการเข้าสู่การสื่อสารยุคใหม่ของทั่วโลก ปัจจุบันมีเพียงไม่กี่ประเทศที่เริ่มใช้ 5G ในเชิงพาณิชย์ อาทิ จีน เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และยุโรปบางประเทศ ส่วนในไทยได้ประมูลคลื่นความถี่กันเป็นที่เรียบร้อยในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ สิ่งที่เปลี่ยนไปเมื่อไทยเปิดใช้เครือข่าย 5G คือ ความเร็วสูงกว่า 4G อย่างมากหรือราวๆ 500 Mbps (หรือขั้นต่ำตั้งแต่ 1Gbps – มากกว่า 10 Gbps) สามารถรองรับเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูง อาทิ รถยนต์ไร้คนขับ หุ่นยนต์อัจฉริยะ ตลอดจนการผลักดันเมืองไปสู่การเป็น Smart City เป็นต้น