ผู้คำประกันที่ทำงานประจำต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

การค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน เป็นการยืนยันต่อนายจ้างว่า บุคคลที่กำลังจะเข้าทำงานนั้น เป็นคนดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่คิดคดโกง ไม่ทุจริต และหากมีความเสียหายเกิดขึ้นเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่การงานดังกล่าว ผู้ค้ำประกันยินดีชดใช้ค่าเสียหายแทนบุคคลนั้น

สาเหตุที่ทำให้ผู้ค้ำประกันตัดสินใจการค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน มีหลายกรณีครับ เช่น เป็นเพื่อน เป็นญาติ เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา เป็นพี่น้องร่วมบิดาหรือมารดา ฯลฯ บางกรณีผู้ค้ำประกันไม่ได้รู้จักกับผู้ที่จะเข้าทำงานเลยครับ แต่ถูกขอร้องจากคนสนิท จึงปฏิเสธไม่ได้ ต้องลงนามในสัญญาค้ำประกันการทำงานตามระเบียบ บางคนรู้จักกันมาเป็น 10 ปี รู้จักนิสัยใจคอกันมาอย่างดี แต่การรู้จักกันมานานไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันว่าในอนาคตคนคนนั้น จะเป็นคนดีตลอดไปนะครับ เพราะความเกรงใจแท้ๆ จึงมิอาจปฏิเสธได้ ส่วนค่าตอบแทนไม่ต้องพูดถึง มีเพียงแค่คำขอบคุณจากใจเท่านั้นครับ

สิ่งแรกที่คุณควรจะรู้ คือ งานประเภทใดบ้างที่นายจ้างสามารถเรียกเงินประกันหรือรับหลักประกันการทำงานได้ ซึ่งตามกฎหมายมีเพียงงานบางประเภทเท่านั้นนะครับ ไม่ใช่ว่านายจ้างจะสามารถเรียกเงินประกันหรือรับหลักประกันในงานทุกประเภท ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ปี 2541 มาตรา 10 ประกอบกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้งานดังต่อไปนี้นายจ้างสามารถเรียกหลักประกัน เพื่อประกันความเสียหายหรือการค้ำประกันโดยบุคคลได้

(1) งานสมุห์บัญชี
(2) งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน
(3) งานควบคุมหรือรับผิดชอบเกี่ยวกับวัตถุมีค่า คือ เพชร พลอย เงิน ทองคำ ทองคำขาวและไข่มุก
(4) งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้าง หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง
(5) งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน
(6) งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ
(7) งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคลังสินค้า ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่าทรัพย์ ให้เช่าซื้อ ให้กู้ยืม รับฝากทรัพย์ รับจำนอง รับจำนำ รับประกันภัย รับโอนหรือรับจัดส่งเงินหรือการธนาคาร ทั้งนี้ เฉพาะลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการที่ว่านั้น

หากเป็นลักษณะงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ข้างต้นนั้น นายจ้างไม่สามารถเรียกหลักประกัน เพื่อประกันความเสียหาย หรือการค้ำประกันโดยบุคคลได้ครับ

ทั้งนี้ แม้นายจ้างจะมีสิทธิ์เรียกหลักประกันหรือรับหลักประกัน หรือจัดให้มีบุคคลค้ำประกันได้ก็ตาม นายจ้างสามารถเรียกหลักประกันเงินสด หลักประกันอื่นๆ หรือกำหนดให้บุคคลค้ำประกัน ได้ไม่เกิน 60 เท่า ของอัตราค่าจ้างรายวัน โดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับเท่านั้นครับ จะเรียกเอามากกว่านี้ไม่ได้ครับ

ผู้คำประกันที่ทำงานประจำต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

กรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ปี 2541 มาตรา 10 ข้างต้น โดยเรียกหลักประกันหรือรับหลักประกันในงานที่นอกเหนือจากที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด หรือเรียกหลักประกันมากกว่า 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวัน นายจ้างจะมีความผิดตามมาตรา 144 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ปัญหาที่พบมาก คือ มีการทำสัญญาค้ำประกันการทำงานก่อน ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันฯ มีผลใช้บังคับ วันที่ 4 กรกฎาคม 2551 แบบนี้ความรับผิดของผู้ค้ำประกันจะเป็นอย่างไร ในกรณีนี้ให้พิจารณาว่า ลูกจ้างนั้นได้กระทำความผิดก่อนหรือหลังวันที่ประกาศกระทรวงแรงงานมีผลบังคับใช้ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าสัญญาค้ำประกันการทำงานนั้น จะจัดทำขึ้นมาเมื่อใด

กรณีที่ลูกจ้างได้กระทำความผิด "ก่อน" วันที่ประกาศกระทรวงแรงงานมีผลบังคับใช้ วันที่ 4 กรกฎาคม 2551 กรณีนี้ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบต่อนายจ้างตามวงเงินความรับผิดที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกันการทำงาน เทียบเคียง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10743/2557

ตอนนี้ที่ลูกจ้างได้กระทำความผิด "หลัง" วันที่ประกาศกระทรวงแรงงานมีผลบังคับใช้ วันที่ 4 กรกฎาคม 2551 ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดเพียงเงินไม่เกิน 60 เท่า ของอัตราค่าจ้างรายวัน โดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับครับ แม้ว่าในสัญญาค้ำประกันการทำงานจะระบุวงเงินค้ำประกันไว้เท่าใดก็ตาม

สิ่งที่ผู้ค้ำประกันการทำงานควรระวัง เมื่อลูกจ้างได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างแล้ว ผู้ค้ำประกันไม่ควรไปลงนามรับสภาพหนี้กับนายจ้าง ซึ่งจะก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้อง นอกเหนือจากสัญญาค้ำประกันการทำงานครับ การลงนามในสัญญารับสภาพหนี้ อาจจะมีผลให้นายจ้างสามารถใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบเต็มจำนวนตามที่ลูกจ้างได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้างครับ

สำหรับท่านที่มีคำถาม ข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องกฎหมาย และต้องการความช่วยเหลือ หรือมีเรื่องราวดีๆ อยากแบ่งปันประสบการณ์ เมลมาหาผมได้ที่ “คุยกับคนดัง” [email protected] ได้เลยครับ

การค้ำประกันบุคคลเข้าทำงาน เป็นการยืนยันต่อนายจ้างว่า บุคคลที่กำลังจะเข้าทำงานนั้น เป็นคนดี มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ไม่โกง ไม่ทุจริต แต่หากมีความเสียหายเกิดขึ้นเกี่ยวกับตำแหน่งหน้าที่การงานดังกล่าว ผู้ค้ำประกันยินดีชดใช้ค่าเสียหายแทนบุคคลนั้น

งานประเภทใดบ้างที่ นายจ้างสามารถเรียกเงินประกันหรือรับหลักประกันการทำงานได้ ซึ่งตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ปี 2541 มาตรา 10 ประกอบกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้งานดังต่อไปนี้นายจ้างสามารถเรียกหลักประกัน เพื่อประกันความเสียหายหรือการค้ำประกันโดยบุคคลได้

(1) งานสมุห์บัญชี
(2) งานพนักงานเก็บหรือจ่ายเงิน
(3) งานควบคุมหรือรับผิดชอบเกี่ยวกับวัตถุมีค่า คือ เพชร พลอย เงิน ทองคำ ทองคำขาว และไข่มุก
(4) งานเฝ้าหรือดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของนายจ้าง หรือที่อยู่ในความรับผิดชอบของนายจ้าง
(5) งานติดตามหรือเร่งรัดหนี้สิน
(6) งานควบคุมหรือรับผิดชอบยานพาหนะ
(7) งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการคลังสินค้า ซื้อขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่าทรัพย์ ให้เช่าซื้อ ให้กู้ยืม รับฝากทรัพย์ รับจำนอง รับจำนำ รับประกันภัย รับโอนหรือรับจัดส่งเงินหรือการธนาคาร ทั้งนี้ เฉพาะลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ควบคุมเงินหรือทรัพย์สินเพื่อการที่ว่านั้น

ผู้คำประกันที่ทำงานประจำต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

หากเป็นลักษณะงานที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ข้างต้นนั้น นายจ้างไม่สามารถเรียกหลักประกัน เพื่อประกันความเสียหาย หรือการค้ำประกันโดยบุคคลได้ครับ

ทั้งนี้ แม้นายจ้างจะมีสิทธิ์เรียกหลักประกันหรือรับหลักประกัน หรือจัดให้มีบุคคลค้ำประกันได้ก็ตาม นายจ้างสามารถเรียกหลักประกันเงินสด หลักประกันอื่นๆ หรือกำหนดให้บุคคลค้ำประกัน ได้ไม่เกิน 60 เท่า ของอัตราค่าจ้างรายวัน โดยเฉลี่ยที่ลูกจ้างได้รับเท่านั้นครับ จะเรียกเอามากกว่านี้ไม่ได้ครับ

ประการสำคัญ หากสัญญาค้ำประกันทำงาน กำหนดให้ผู้ค้ำรับผิดชดใช้ค่าเสียหายโดยไม่จำกัดวงเงิน จะมีผลอย่างไร

ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 354/2561

สัญญาค้ำประกันการทำงานของลูกจ้าง โดยกำหนดให้คนค้ำประกันยอมรับผิดชดใช้หนี้สินและความเสียหายแก่ผู้ว่าจ้างหรือนายจ้าง กรณีที่ลูกจ้างได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง นั้น เป็นการกำหนดความรับผิดของผู้ค้ำประกันโดยไม่จำกัดวงเงิน จึงเป็นการที่นายจ้างเรียกหรือรับหลักประกันโดยการค้ำด้วยบุคคลเป็นวงเงินเกินกว่า 60 เท่าของอัตราค่าจ้างรายวัน อันเป็นการฝ่าฝืน ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเรียกหรือรับหลักประกันการทำงานหรือหลักประกันความเสียหายในการทำงานจากลูกจ้าง พ.ศ.2551 ออกตาม มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ สัญญาค้ำประกันจึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 นายจ้างจึงไม่อาจนำ สัญญาค้ำประกันมาฟ้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชดเชยความเสียหายได้

จากคำพิพากษาฎีกาฉบับดังกล่าว แม้ว่าผู้ค้ำประกันจะไม่ต้องรับผิด หากสัญญาค้ำประกันมิได้จำกัดวงเงินค้ำประกันไว้ แต่สิ่งที่ผู้ค้ำประกันการทำงานควรระวัง เมื่อลูกจ้างได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างแล้ว ผู้ค้ำประกันไม่ควรไปลงนามรับสภาพหนี้กับนายจ้าง ซึ่งจะก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้อง นอกเหนือจากสัญญาค้ำประกันการทำงานครับ การลงนามในสัญญารับสภาพหนี้ อาจจะมีผลให้นายจ้างสามารถใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันรับผิดชอบเต็มจำนวนตามที่ลูกจ้างได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อนายจ้างครับ