เปลี่ยนม.33เป็นม.39ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

วิธีสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ผ่านช่องทางออนไลน์สำนักงานประกันสังคม เช็กเลยมีเงื่อนไขอะไรบ้าง

ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจเป็นบุคคลที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมโดยได้รับการคุ้มครอง 6 กรณี ดังนี้

  • กรณีเจ็บป่วย
  • กรณีทุพพลภาพ
  • กรณีคลอดบุตร
  • กรณีตาย
  • กรณีสงเคราะห์บุตร
  • กรณีชราภาพ

ปัจจุบันสำนักงานประกันสังคม อำนวยความสะดวกให้กับประชาชนได้ด้วยการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 ผ่านระบบออนไลน์โดยมีเอกสาร-วิธีการดังนี้

หลักฐานการสมัครมาตรา 39

  • แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
  • บัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

วิธีการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แบบออนไลน์

1. ดาวน์โหลดเอกสาร แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20)
2. แนบบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่มีเลขบัตรประชาชนและรูปถ่ายที่ราชการออกให้ พร้อมสำเนา
3. ส่งแบบคำขอและเอกสารการสมัครมาตรา 39 ผ่านช่องทางที่สะดวก

  • สมัครทางสำนักงานประกันสังคมใกล้บ้าน
  • สมัครทางไปรษณีย์ระบบลงทะเบียน
  • สมัครทางโทรสาร (FAX)
  • สมัครทางออนไลน์ผ่านระบบอีเมลล์
  • สมัครทางออนไลน์ผ่านระบบไลน์

4. ตรวจสอบผลการสมัครมาตรา 39 อย่างใกล้ชิด

เงินสมทบที่ต้องนำส่ง

  • เดือนละ 432 บาท โดยเป็นเงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน คิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (9% x 4,800 = 432)

วิธีจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาตรา 39

  1. จ่ายที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา พร้อมแบบส่งเงินสมทบฯ (สปส. 1-11)
  2. หักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์มี 6 ธนาคาร ดังนี้
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
    • ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)

หมายเหตุ

  • กรณีหักผ่านบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ขอรับหนังสือยินยอมให้หักเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคารของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้ที่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาที่เปิดบัญชี หรือ สำนักงานประกันสังคมทุกแห่งที่สะดวก (ยกเว้นสำนักงานใหญ่)
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ปรับลดค่าธรรมเนียมรายการละ 5 บาท (เดิมคิดค่าธรรมเนียม 10 บาท)

จ่ายด้วยเงินสดที่

  1. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  2. ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  3. ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน)
  4. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส 7- ELEVEN ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท สามารถจ่ายเงินสมทบได้ทุกสาขา
  5. จ่ายเป็นธนาณัติ ณ ที่ทำการไปรษณีย์ พร้อมแบบส่งเงินสมทบ สปส. 1-11 ถึงสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา (กรณีจ่ายผ่านธนาณัติ แนะนำให้สอบถามเจ้าหน้าที่ด้วยว่า สั่งจ่าย ตู้ ป.ณ. ใด)
  6. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์ไปรษณีย์ได้ทุกสาขาทั่วประเทศ จะมีค่าธรรมเนียมรายการละ 10 บาท
  7. จ่ายผ่านเคาน์เตอร์เพย์สบายที่มีสัญลักษณ์ "แจ๋ว" ทุกสาขาทั่วประเทศ จะมีค่าธรรมเนียม 10 บาท

หน้าที่ของผู้ประกันตนตามมาตรา 39

  1. ต้องนำส่งเงินสมทบภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน หากเกินกำหนดต้องเสียเงินเพิ่ม ในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน
  2. แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงให้สำนักงานประกันสังคมดังนี้
    • กรณีเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน ตามแบบแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่ติดต่อ (สปส. 1-34)
    • กรณีเปลี่ยนชื่อตัว - ชื่อสกุล หรือแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ต้องแจ้งทันทีพร้อมแนบสำเนาหลักฐาน
    • กรณีประสงค์ลาออกหรือกลับเข้าทำงานและมีสถานะเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรทันทีตามแบบแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 39 (สปส.1-21)

เหตุที่ทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 สิ้นสภาพการเป็นผู้ประกันตน

  • ตาย
  • กลับเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33
  • ลาออก
  • ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน (สิ้นสภาพตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่ส่งเงินสมทบ)
  • ภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน (สิ้นสภาพในเดือนที่ส่งเงินสมทบไม่ครบ 9 เดือน)

หมายเหตุ

สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้เข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ทำงานในสถานประกอบการ/นายจ้างใหม่) นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจสามารถดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนได้ภาย ใน 30 วันนับแต่วันที่เข้าทำงาน โดยผู้ประกันตนไม่ต้องไปดำเนินการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (สปส.1-21) แต่อย่างใด

ยกเว้น กรณีผู้ประกันตนตามมาตรา 39 มีการค้างชำระเงินสมทบจะต้องไปดำเนินการแจ้งการลาออก (สปส.1-21) ด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขา ที่สมัครไว้

กระทู้คำถาม

ประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม

คือจะไปทำประกันสังคม ม.39 ต้องใช้เอกสารอะไรบ้างค่ะ ต้องมีเอกสารจากทางที่ทำงานเก่าไหม... ถ้ามีจะเป็นเอกสารประมาณไหน ขอบคุณค่ะ

0

0

เปลี่ยนม.33เป็นม.39ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

สมาชิกหมายเลข 3992738

กำลังโหลดข้อมูล...

แสดงความคิดเห็น

คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ

เข้าสู่ระบบ

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ

++ ไปทำประกันตน มาตรา 39 นาน ไหมครับ / มอบอำนาจให้คนอื่นไปทำแทนได้หรือเปล่า

ไม่ค่อยสะดวกไปทำเอง ไม่ทราบว่า ใช้เวลานานไหมครับ แล้วใช้เอกสารหลักฐานอะไรนอกเหนือจาก บัตร ปชช. ทะเบียนบ้านไหมครับ แล้วก็ถ้าจะมอบอำนาจให้คนอื่นไปทำแทน ได้ไหมครับ ขอบคุณครับ

Sir Isaac

เจ้าของธุรกิจ

มนุษย์เงินเดือน

การเงิน

การส่งเงินประกันสังคม กรณีที่เราเลิกทำงานแล้ว (ส่งตัวเอง)

กรณีที่เราลาออกจากพนักงานบริษัท เราส่งขั้นสูงสุด เป็นเวลา 24 ปี แล้ว แต่เราลาออกจากงาน เพื่อไปทำธุรกิจส่วนตัว ตอนนี้อายุ 47 ปี เราสามารถส่งประกันตนเองไปเรื่อย ๆ ได้ถึงอายุเท่าไหร่ค่ะ เพื่อที่จะเอาสิท

Green-apple

ประกันสังคม

ประกันสุขภาพ

ทรัพยากรบุคคล

กฎหมายแรงงาน

พนักงานบริษัท

บริษัทยื่นประกันสังคมครั้งแรก ใช้เอกสารอะไรและมีขั้นตอนการยื่นอย่างไร (PLEASE)

พอดี จะยื่นสังคมของบริษัทเปิดใหม่ ลองอ่านดูในอินเตอร์เนตเเล้วแต่ยังไม่ชัวร์ เลยขอความรู้จากกูรู ในพันทิป เพื่อเพิ่มความมั่นใจกิกิ ตามหัวข้อกระทู้เลยจ้ะ - ใช้เอกสารอะไร - ใช้แบบ ประกันสังคม อะไรบ้าง (ท

สมาชิกหมายเลข 2256262

มนุษย์เงินเดือน

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

ภาษีนิติบุคคล

บัญชี

เจ้าของธุรกิจ

ประกันสังคมมาตรา33 กับมาตรา39ต่างกันอย่างไรค่ะ

ประกันสังคมมาตรา33 กับมาตรา39 ต่างกันอย่างไรค่ะ มาตรา39สิทธิในการรักษาโรคหรือสิทธิอื่นๆ เหมือนมาตรา33ทุกประการรึเปล่าค่ะ หรือลดหย่อนกว่า แล้วถ้าเราทำงานประจำอยู่ ได้ประกันสังคมมาตรา33มาได้9ปี แล้วเราจ

สมาชิกหมายเลข 1288831

ประกันสังคม

ทำประกันสังคม กี่เดือนถึงจะได้บัตร

ผมสมัครทำงานบริษัทแห่งหนึ่ง เค้าให้สมัครประกันสังคมตั้งแต่วันแรกที่เริ่มมาทำงาน (เค้าให้สมัครเลย ทำงานวันแรก ยังไม่ได้ผ่านโปร) ตอนนี้ผมทำงานมา 4 เดือนกว่าๆ แล้ว ผมยังไม่ได้บัตรประกันสังคมเลย (ผมจ่ายทุ

สมาชิกหมายเลข 1450751

มนุษย์เงินเดือน

พนักงานบริษัท

บริษัทสำนักงานวุฒิปราชญ์กฎหมายและบัญชีจำกัด

Eบริษัทสำนักงานวุฒิปราชญ์กฎหมายและบัญชีจำกัดช่วงนื้กระทู้ทวงหนี้ค้าเก่านานๆของทรู เยอะดีจังเลยคับ   เอาจิงๆก็ไม่แฟร์นะ เพราะตูไม่เคยใช้ ว่างมากมั้ง ส่งเอกสารมาทั่ว        &nbs

สมาชิกหมายเลข 7254866

เงินสงเคราะห์บุตรไม่เข้า

เราคลอดบุตรวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 วันที่ 4 สิงหาคม ไปยื่นเอกสารรับเงินสงเคราะห์บุตร จนถึงวันนี้ 6 ตุลาคม เงินสงเคราะห์บุตรยังเข้า มีใครเป็นแบบนี้ไหมคะเเล้วต้องทำยังไงต่อ

สมาชิกหมายเลข 6685324

เปลี่ยน ม.33 เป็น ม.39 รออัพเดตสถานะกี่วันคะ

สวัสดีค่ะ พอดีลาออกจากงานวันที่ 20 มีนาคม 2565 ค่ะ เพิ่งไปยื่นเรื่องเปลี่ยนจาก ม.33 เป็น ม.39 มาเมื่อวาน คือ วันที่ 12 กันยายน 2565 ค่ะ วันนี้เลยลองเข้าเช็คสถานะในระบบดู กลับขึ้นสถานะว่า "ไม่เป็น

สมาชิกหมายเลข 4909250

ต่อประกันสุภาพของวิริยะไม่ได้ เพราะเป็นโควิด ต้องยื่นเรื่องใหม่หมด ทำยังไงดี

เราเพิ่งมีจดหมายมาส่งเรื่องต่อประกันปีหน้า เพราะประกันเราจะหมดช่วงเดือนพฤศจิกายน แต่เราจะเปลี่ยนแผนเพิ่มลดOPD ซึ่งแผนกต่ออายุโทรไปไม่มีคนรับสาย บางวันเรารอเกินครึ่งชม เรากดให้โทรกลับแต่ไม่โทร เราตามเร

สมาชิกหมายเลข 5017200

ขอปรึกษาเรื่องหมายเลขผู้ป่วยโรงพยาบาล รามาฯ

แฟนผมจะไปรักษาหลอดอาหารตามสิทธิ์ประกันสังคม โรงพยาบาลเกษมราษฏ์ส่งต่อไปที่โรงพยาบาลศิริราช แต่แฟนผมเคยรักษาเคสนี้ที่โรงพยาบาลรามาฯเมื่อ20กว่าปีก่อนแล้วไม่ได้รักษาต่อพึ่งมาเริ่มรักษาใหม่ ทางศิริราชขอให้

สมาชิกหมายเลข 4041463

อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  ประกันสังคม สำนักงานประกันสังคม

ยื่นเรื่องม.39ใช้เอกสารอะไรบ้าง

(1) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มสมัครประกันสังคม มาตรา 39 (แบบ สปส.1-20) ผ่านช่องทางออนไลน์ (2) พิมพ์แบบสมัครประกันสังคม มาตรา 39 พร้อมกรอกข้อมูลส่วนตัว และข้อมูลอื่น ๆ รวมทั้งเซ็นเอกสารให้เรียบร้อย (3) แนบหลักฐานประกอบการสมัคร ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรอื่นที่มีรูปถ่าย ซึ่งทางราชการออกให้พร้อมสำเนา

เปลี่ยนม.33เป็นม.39ทำไง

คุณสมบัติของผู้สมัคร .39 นำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วันที่ลาออกจากงาน ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทน กรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

เปลี่ยน จาก ม 33 เป็น ม.39 ออนไลน์ ทำยังไง

วิธีการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 แบบออนไลน์.
ดาวน์โหลดเอกสาร แบบขอเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 (สปส.1-20).
แนบบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นที่มีเลขบัตรประชาชนและรูปถ่ายที่ราชการออกให้ พร้อมสำเนา.
ส่งแบบคำขอและเอกสารการสมัครมาตรา 39 ผ่านช่องทางที่สะดวก ... .
ตรวจสอบผลการสมัครมาตรา 39 อย่างใกล้ชิด.

สมัคร ม.39 ที่ไหนได้บ้าง

Voluntary Insurance (M 39).
ต้องยื่นใบสมัครตามแบบคำขอเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (แบบ สปส. 1-20) ด้วยตนเอง ภายใน 6 เดือน นับแต่วันออกจากงาน.
สถานที่ยื่นใบสมัคร กรุงเทพฯ ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ภูมิภาค ยื่นได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสำนักงานประกันสังคมจังหวัดสาขา.