A action ใน pdca หมายถึง ข้อใด

การใชั PDCA เพื่อทำ Action plan

PDCA คือวงจรบริหารสี่ขั้นตอนที่ประกอบไปด้วย Plan (การวางแผน) Do (ปฏิบัติ) Check (ตรวจสอบ) และ Action (การดำเนินการ)วงจรการบริหารงานคุณภาพใช้ในการควบคุมและพัฒนากระบวนการหรือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่องPDCA ทั้งสี่ขั้นตอนเป็นกระบวนการที่สามารถทำซ้ำได้
เพื่อให้องค์กรสามารถบริหารความเปลี่ยนแปลงได้อย่างประสบความสำเร็จ

  • A action ใน pdca หมายถึง ข้อใด

    4 ขั้นตอนของการทำ PDCA

    1. Plan หรือ การวางแผน

    ขั้นตอนแรกคือตั้งเป้าหมายและการวางแผนงานว่าเราจะปรับปรุงแผนงานอะไร (what) ปรับปรุงอย่างไร (how) ใครเป็นผู้รับผิดชอบ (who) ต้องทำเมื่อไหร่ (when) ที่สำคัญที่สุดคือการกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการจะได้ (outcome) ว่าจะมีหน้าตาเป็นอย่างไรและกำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสม (KPI)

    จากนั้นทำให้ออกมาเป็นแผนการดำเนินงาน (Action plan)

    2. Do หรือ การปฏิบัติ

    ขั้นตอนนี้คือการลงมือปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานที่ทำไว้ในข้อ 1 เนื่องจากการปรับปรุงกระบวนการนั้นยังใหม่อยู่ อาจจะปรับปรุงแล้วประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ได้ เราจึงแนะนำว่าในขั้นตอนนี้อาจจะเริ่มปฏิบัติจากคนกลุ่มเล็กหรือเป็นโปรเจ็คเล็กๆก่อน เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายไปทั้งบริษัท

    3. Check หรือ การตรวจสอบ

    จากการปฏิบัติตามแผนการดำเนินงานแล้ว ขั้นตอนถัดไปคือการประเมินว่าได้ตามแผนที่วางไว้ว่าเป็นไปตามความคาดหวังหรือไม่ โดยใช้ตัวชีวัดที่กำหนดไว้มาตรวจสอบ ในการตรวจสอบจะมีทั้งส่วนที่เป็นไปตามแผนและไม่เป็นไปตามแผน ผู้ตรวจสอบควรรู้ว่า ถ้าเป็นไปตามแผน ปัจจัยอะไรที่ทำให้สำเร็จ ไม่ใช่ว่าสำเร็จเพราะฟลุ๊ค ในทางกลับกัน หากไม่เป็นไปตามแผนก็ต้องหาสาเหตุด้วยว่าทำไมถึงไม่สำเร็จ

    4. Act หรือ การปรับปรุง

    จากผลลัพธ์ที่ได้จากการตรวจสอบ ทีมงานจะต้องนำผลลัพธ์นั้นมาเข้าสู่กระบวนการปรับปรุงอย่างเหมาะสม วิเคราะห์ว่าปัจจัยใดที่ทำให้ไม่สำเร็จในแผนการที่ตั้งมาตอนแรก เมื่อปรับปรุงแผนการดำเนินงานเสร็จ เราก็จะกลับเข้าสู่วงจรการทำ PDCA แบบนี้วนไปเรื่อยๆ

    พอทำครบหลูปแบบนี้ไปเรื่อยๆ มันก็จะกลายเป็นการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement)

    จากที่ได้เกริ่นในเบื้องต้นว่า PDCA เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการคุณภาพ (QM) การทำ QM ยังมีเครื่องมืออีกมากมายที่จะช่วยพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพการจัดการซัพพลายเชนระดับสากล ด้าน Logistics ได้มีการสอนการทำ QM อย่างละเอียดด้วย

    PDCA เป็นวิธีการจัดการที่เรียบง่ายและวนซ้ำสำหรับทดสอบการเปลี่ยนแปลงกระบวนการหรือวิธีแก้ไขปัญหา และผลักดันให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เช่นเดียวกับกระบวนการและวิธีการควบคุมคุณภาพที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ในปัจจุบัน วงจรนี้เกิดขึ้นจากวิธีการผลิตในศตวรรษที่ 20 ความเรียบง่ายและความสำเร็จที่ทำซ้ำได้อย่างง่ายดายของ PDCA ทำให้หลายวงการที่ไม่ใช่อุตสาหกรรมการผลิตได้นำวงจรนี้ไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ทีม หรือทั้งองค์กร

    PDCA มาจากไหน

    PDCA มาจาก "Shewhart Cycle" ของ W. Edwards Deming ซึ่งมีการตั้งชื่อตาม Walter Shewhart นักสถิติที่ผู้คนต่างเรียกว่าเป็นบิดาแห่งการควบคุมคุณภาพสมัยใหม่ Deming เป็นวิศวกรและศาสตราจารย์ชาวอเมริกันซึ่งเป็นที่รู้จักดีเกี่ยวกับการทำงานของเขาในญี่ปุ่น โดยที่แนวคิดของเขามีอิทธิพลต่อกระบวนการอุตสาหกรรมหลังสงครามและการฟื้นฟูประเทศ อันที่จริงแล้ว มีการใช้คำว่า PDCA เป็นครั้งแรกในการบรรยายของเขาซึ่งได้ปรับปรุงวงจร Shewhart ให้เป็น “Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ตรวจสอบ), Act (ดำเนินการ)” ที่จริงแล้ว Deming ต้องการใช้คำว่า “Study” (ศึกษา) มากกว่า “Check” (ตรวจสอบ) ซึ่งจะกลายเป็นคำว่า Plan-Do-Study-Act หรือวงจร PDSA เนื่องจากคำนี้ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ผลลัพธ์มากกว่าเพียงแค่ตรวจสอบสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไป

    อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันนี้ วิธีการดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อวงจร PDCA เนื่องจากได้รับการออกแบบมาให้ดำเนินการและทำซ้ำได้หลายครั้ง การออกแบบและตรรกะสามารถดังกล่าวจะเห็นได้จากแนวทางการจัดการคุณภาพจากการผลิตอื่นๆ ในแง่ของเวลา เช่น การผลิตแบบ Lean, Kaizen และ Six Sigma

    วงจร PDCA ใช้ได้ผลอย่างไร

    วงจร PDCA มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ตรวจสอบ), Act (ดำเนินการ) กระบวนการนี้จะดำเนินการในลักษณะเชิงเส้นโดยที่การเสร็จสิ้นวงจรหนึ่งจะเชื่อมโยงกับการเริ่มต้นวงจรถัดไป

    • Plan (วางแผน): ทำความเข้าใจสถานะปัจจุบันของคุณและสถานะที่ต้องการ หรืออาจอธิบายง่ายๆ ได้ว่า จุดประสงค์ของระยะการวางแผนคือการกำหนดเป้าหมาย วิธีการบรรลุเป้าหมาย และวิธีการวัดความก้าวหน้าไปสู่เป้าหมายนั้นๆ โดยปกติแล้วนี่เป็นขั้นตอนที่คลุมเครือซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณพยายามทำ และแต่ละทีมก็มีวิธีใช้ PDCA ในลักษณะที่แตกต่างกัน บางทีมอาจแบ่งออกเป็นขั้นตอนระดับกลางหลายขั้นตอน ซึ่งกระบวนการอื่นๆ อย่าง DMAIC ก็ได้ทำไปแล้ว

      ถ้าคุณต้องการแสวงหาประโยชน์เพิ่มจากโอกาส การวางแผนของคุณควรมุ่งเน้นไปที่กระบวนการหรือการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อพุ่งเป้าไปที่โอกาสนั้น ถ้าคุณกำลังต้องการที่จะแก้ปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการ อาจจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์หาต้นเหตุที่แท้จริงก่อนที่จะดำเนินการวางแผน ลองศึกษาวิธีวิเคราะห์หาต้นเหตุที่แท้จริงเพื่อช่วยในการระบุและดำเนินการกับปัญหา ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม การใช้ข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลก่อนเกิดกระบวนการหรือการวิเคราะห์จากวงจร PDCA ก่อนหน้า ก็จะช่วยให้คุณกำหนดแผนปฏิบัติการหรือสมมติฐานได้

    • Do (ปฏิบัติ): เมื่อคุณมีแผนปฏิบัติการหรือวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้แล้ว ให้ลองทดสอบดู ขั้นตอน Do (ปฏิบัติ) คือเวลาที่คุณจะทดสอบการเปลี่ยนแปลงที่เสนอในเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม ควรมองขั้นตอนนี้ว่าเป็นการทดลอง ไม่ใช่จุดที่คุณใช้การแก้ไขปัญหาหรือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการอย่างสมบูรณ์ ดังนั้นจึงควรดำเนินการระยะนี้ในระดับเล็กในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ และการดำเนินการนี้ไม่ควรได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกหรือไปขัดขวางกระบวนการและการดำเนินงานอื่นๆ ของทีมหรือองค์กรของคุณ แน่นอนว่าประเด็นทั้งหมดของระยะนี้คือการเก็บรวบรวมข้อมูลดิบและข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบจากการทดสอบ เนื่องจากจะเป็นการระบุถึงกระบวนการในขั้นตอนต่อไป

    • Check (ตรวจสอบ): หลังจากการทดสอบนำร่องเสร็จสมบูรณ์ คุณต้องตรวจสอบว่าการเปลี่ยนแปลงหรือวิธีแก้ไขปัญหาที่คุณเสนอได้ผลตามที่ตั้งใจหรือไม่ ระยะ Check (ตรวจสอบ) เป็นระยะที่คุณวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากระยะ Do (ปฏิบัติ) และเปรียบเทียบกับเป้าหมายและจุดมุ่งหมายเดิมของคุณ แนวทางการทดสอบที่คุณใช้ควรได้รับการประเมินเพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในวิธีการที่กำหนดไว้ในระยะ Plan (วางแผน) หรือไม่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการ โดยรวมแล้ว จุดประสงค์ของขั้นตอนนี้คือการประเมินความสำเร็จของคุณและสิ่งที่ควรนำไปใช้กับกระบวนการในขั้นตอนต่อไป อันที่จริงแล้ว คุณอาจเลือกที่จะทำการทดสอบอื่น โดยทำซ้ำระยะ Do (ปฏิบัติ) และ Check (ตรวจสอบ) จนกว่าคุณจะพบวิธีแก้ไขปัญหาที่น่าพอใจที่จะนำไปใช้ในระยะ Act (ดำเนินการ)

    • Act (ดำเนินการ): เมื่อถึงจุดสิ้นสุดวงจร คุณและทีมของคุณควรได้ระบุการเปลี่ยนแปลงที่เสนอจากกระบวนการเพื่อการนำไปใช้ อย่างไรก็ตาม เราเรียกวงจร PDCA ว่าวงจร เพราะไม่ว่าคุณจะนำการเปลี่ยนแปลงใดๆ มาใช้ในระยะ Act (ดำเนินการ) แต่การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ใช่จุดสิ้นสุดของกระบวนการของคุณ ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับการปรับปรุง กระบวนการหรือปัญหาที่ได้รับการแก้ไขของคุณ ควรเป็นบรรทัดฐานใหม่สำหรับการวนซ้ำวงจร PDCA

    โดยปกติแล้วทีมและผู้ปฏิบัติงาน PDCA จะค้นหาว่าเครื่องมือใดใช้งานได้ดีที่สุดสำหรับตนเองในแต่ละระยะ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าคุณจะระดมความคิดในระยะ Plan (วางแผน) หรือรวบรวมข้อมูลของคุณในขั้นตอน Check (ตรวจสอบ) Dropbox Paper ก็สามารถช่วยคุณจัดการกระบวนการได้ทุกส่วน เอกสารการวางแผนโครงการที่ใช้ร่วมกันจะช่วยให้คุณกำหนดโครงร่างกระบวนการได้ ส่วนเครื่องมือสำหรับการทำงานร่วมกันก็จะช่วยให้ทีมของคุณมีส่วนร่วมและทำตามแผนงานได้เมื่อคุณดำเนินวงจร PDCA ซ้ำ และแน่นอนว่าเอกสารทั้งหมดของคุณเป็นไฟล์ที่แบ่งปันผ่านพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของ Dropbox ได้อย่างง่ายดาย

    เพราะเหตุใดคุณจึงควรใช้ PDCA

    หัวใจสำคัญของ PDCA คือการให้แนวทางที่เป็นมาตรฐานและหลักคิดนำทางสำหรับสมาชิกในทีมและพนักงานในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงการทำงานของตนอย่างต่อเนื่อง แต่อาจกล่าวได้ว่าเป็นแนวทางการจัดการและการควบคุมคุณภาพหลายวิธี ซึ่งล้วนแล้วแต่มีระดับความซับซ้อนและจำนวนเรื่องราวความสำเร็จที่แตกต่างกันออกไป แล้วอะไรที่ทำให้ PDCA มีความพิเศษเมื่อเทียบกับวิธีอื่นๆ

    เหตุผลหลักคือ PDCA หรือ Plan (วางแผน), Do (ปฏิบัติ), Check (ตรวจสอบ), Act (ดำเนินการ) เป็นกระบวนการที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา และใช้งานง่ายสำหรับให้คนเลือกและนำไปใช้ในการทำงานของตน ซึ่งไม่เพียงทำให้มีการนำมาใช้อย่างยาวนานในโลกของการทำงานเท่านั้น แต่ยังแพร่หลายไปในวงการต่างๆ และในความคิดของผู้คนอีกด้วย ในขณะที่ยังคงต้องได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานของคุณในระดับหนึ่งเพื่อให้ใช้ได้ผลเป็นทีมได้ แต่ความเรียบง่ายของ PDCA ทำให้มีการหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรและกระบวนการโดยรวมของคุณได้อย่างง่ายดาย

    เนื่องด้วยลักษณะที่เป็นวงจรและเป็นการวนซ้ำ PDCA ยังช่วยให้คุณสามารถแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีกในอนาคตด้วย วงจรดังกล่าวได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้คุณระบุข้อผิดพลาดและสาเหตุที่แท้จริงเมื่อคุณปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการซ้ำแล้วซ้ำอีก เมื่อคุณทดสอบและนำวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ไปใช้ได้สำเร็จ ก็จะเป็นการสร้างข้อมูลและประสบการณ์ในการทำความเข้าใจกระบวนการอีกด้วย ณ จุดนี้ PDCA เป็นมากกว่าแนวทางการแก้ปัญหา เนื่องจากสามารถเพิ่มข้อมูลที่มีคุณค่าซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่างๆ ในทีมหรือในองค์กรของคุณได้

    PDCA เป็นกลยุทธ์ที่ปรับเปลี่ยนได้สูง บางคนอาจกำหนดให้เอกสารหรือขั้นตอนบางอย่างเสร็จสมบูรณ์ในระยะ Plan (วางแผน) เพื่อให้แน่ใจว่าตนเองพร้อมที่จะดำเนินการในระยะที่เหลือของวงจร อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่จำเป็นต้องมีการกำหนดหรือวางแผนก็ขึ้นอยู่กับตัวคุณและทีมของคุณ ซึ่งต้องช่วยให้กระบวนการที่เหลือดำเนินไปได้ ในทางกลับกัน ความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้นี้ก็ทำให้ PDCA สามารถปรับขยายได้ด้วย เนื่องจากสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับทุกสถานการณ์และสำหรับทีมงานทุกขนาดได้ แม้ว่าจะเป็นทีมที่มีคนเดียวก็ตาม

    คุณควรใช้ PDCA เมื่อใด

    ในขณะที่แนวทางการแก้ไขปัญหาและการจัดการบางอย่างอาจใช้เวลาและทรัพยากรมากในการนำมาปรับใช้ แต่ความสามารถในการปรับเปลี่ยนได้ของ PDCA ทำให้แทบไม่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรเลย ถ้าคุณกำลังต้องการปรับปรุงกระบวนการทำงานของคุณเองหรือของทีมอย่างต่อเนื่อง PDCA เป็นตัวเลือกที่ดี อย่างไรก็ตาม แนวทางตามระเบียบวิธีและหลักการแบบค่อยเป็นค่อยไปของ PDCA ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทีละน้อย ดังนั้นจึงอาจไม่ใช่วิธีการที่เหมาะสม ถ้าองค์กรของคุณกำลังจัดการกับปัญหาเร่งด่วนเกี่ยวกับกระบวนการหรือเหตุฉุกเฉิน ในทำนองเดียวกัน ถ้าคุณต้องการได้ประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่รวดเร็ว PDCA อาจไม่ตอบสนองในสิ่งที่คุณต้องการ จุดแข็งของ PDCA คือความสามารถในการระบุปัญหาอย่างต่อเนื่อง จากนั้นปรับแต่งและค้นหาวิธีการที่ดีที่สุด จึงไม่น่าจะแก้ปัญหาได้อย่างสมบูรณ์หรือได้ประสิทธิภาพหลังจากการทำซ้ำเพียงครั้งเดียว

    การปรับแต่งอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

    หัวใจสำคัญของ PDCA คือหลักคิดเกี่ยวกับแนวทางในการจัดการกับสถานการณ์ ก่อนอื่น คุณต้องระบุสถานการณ์และกำหนดเป้าหมาย จากนั้นให้ทดสอบแนวทางต่างๆ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายเหล่านั้น ทบทวนความสำเร็จของแนวทางดังกล่าว และปรับพฤติกรรมของคุณให้เหมาะสมก่อนที่จะดำเนินการต่อโดยใช้สิ่งที่ได้ผล ถ้าทีมหรือองค์กรของคุณไม่สามารถใช้ PDCA ได้โดยตรงในสถานการณ์จริง แนวทางนี้ยังคงมีหลักการนำทางที่จะช่วยให้คุณเข้าใจและจัดการกับสถานการณ์ใดๆ ที่คุณเจอในที่ทำงานและที่อื่นๆ ได้

    แม้ว่า PDCA จะใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน แต่ก็ยังคงเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความแม่นยำและความชำนาญเพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม การปรับใช้แล้วยึดถือปฏิบัติตามแนวทางนี้สามารถเปลี่ยนวิธีการทำงานของคุณและทีมโดยมีผลลัพธ์ที่วัดได้ ซึ่งคุณจะเห็นเมื่อเวลาผ่านไปและเมื่อเกิดการวนซ้ำ การส่งเสริมให้ใช้ PDCA ภายในทีมและองค์กรของคุณโดยการนำมาใช้อย่างประสบความสำเร็จจะสามารถช่วยให้เพื่อนร่วมงานของคุณทุกคนมีทัศนคติในการแก้ปัญหาและการคิดเชิงวิพากษ์

    การปรับปรุงแก้ไข หมายถึงข้อใด

    (v) adjust, See also: fine-tune, Syn. ปรับปรุงแก้ไข, Example: ประเทศไทยจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายล้มละลายเสียใหม่, Thai Definition: การทำส่วนที่เสียให้ดีขึ้นอย่างเดิม แล้วดัดแปลงให้ดีขึ้น

    การแก้ปัญหาด้วยระบบ PDCA คือข้อใด

    PDCA ย่อมาจาก Plan-Do-Check-Act หรือ วางแผน-ปฏิบัติ-ตรวจสอบ- ปรับปรุง PDCA เป็นเครื่องมือที่ใช้เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาและทำให้เกิดการพัฒนาปรับปรุงให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement – CI) และทำวนลูปแบบนี้ไปเรื่อยๆจนเป็นวงจร (cycle)

    ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน (Check) หมายถึงข้อใด

    3.Check (ตรวจสอบการปฏิบัติตามแผน) หมายถึง การประเมินแผน อาจประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของ การดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถ ทำได้เอง โดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบแผนการดำเนินงานนั้น ๆ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเอง โดยไม่ ...

    คำว่า 1E หมายถึงอะไร

    หลักการ 4M 1E เป็นกลุ่มปัจจัย (Factors) เพื่อนาไปสู่การแยกแยะสาเหตุต่าง ๆ ซึ่ง 4M 1E นี้มาจาก M – Man คนงาน พนักงานหรือบุคลากรทั้งจากภายในและภายนอก M – Machine เครื่องจักรหรืออุปกรณ์อานวยความสะดวก M – Material ผลิตภัณฑ์บริการ วัตถุดิบหรืออะไหล่อุปกรณ์อื่น ๆ M – Method กระบวนการท างาน E – Environment อากาศ สถานที่ความ ...