จรรยาบรรณวิชาชีพมีลักษณะอย่างไร

ที่มาข้อมูล : สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (๒๕๕๐). สารานุกรมวิชาชีพครู เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ พรรษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

--------------------------------------------

     จรรยาบรรณวิชาชีพสัมพันธ์โดยตรงกับพฤติกรรมหรือการประพฤติปฏิบัติและการตัดสินใจในการประกอบการวิชาชีพของบุคคล ไม่ว่าจะเป็น วิศวกร นักการศึกษา ผู้จัดการธุรกิจ ผู้มีอาชีพให้คำปรึกษา นักวิจัย ผู้มีอาชีพทางการสอน นักเขียน และอื่นๆ จรรยาบรรณของวิชาชีพเป็นได้ทั้งที่เป็นจรรยาบรรณเพื่อการประพฤติปฏิบัติเป็นรายบุคคล เป็นกลุ่มบุคคล รวมทั้งที่เป็นพฤติกรรมในรูปแบบขององค์กรอีกด้วย ซึ่งจรรยาบรรณมีความสำคัญที่เป็นเสมือนไฟส่องสว่างที่นำทางให้กับผู้ปฏิบัติงานในวิชาชีพปัจจุบัน และรวมทั้งผู้ที่กำลังจะเข้าทำงานในวิชาชีพด้วยเพราะการยึดมั่นและปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ย่อมก่อให้เกิดความก้าวหน้า ความมั่นคง และความสุขในการประกอบอาชีพนั้น

     จรรยาบรรณวิชาชีพมีความสำคัญต่อการกำหนดอุดมคติและความรับผิดชอบที่จะต้องประพฤติปฏิบัติในวิชาชีพ เพราะจะมีผลต่อการปกป้องวิชาชีพของผู้ประกอบการอาชีพ และเพื่อให้ผู้เป็นลูกค้าหรือผู้รับบริการจากผู้ประกอบวิชาชีพได้มีความเชื่อมั่นในการให้บริการ ซึ่งเป็นการทำให้ภาพลักษณ์ของวิชาชีพเป็นที่ยอมรับและทำให้ผู้ประกอบอาชีพมีความก้าวหน้าขึ้น รวมทั้งจะทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพ มีแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพเพื่อให้เป็นที่ยอมรับของผู้รับบริการและสังคม ตลอดจนทำให้ผู้ปฏิบัติการวิชาชีพได้มีความตระหนักในความสำคัญของวิชาชีพ มีมโนธรรมที่จะพัฒนาและรักษาคุณภาพของการปฏิบัติงานอาชีพอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้นจรรยาบรรณวิชาชีพยังช่วยเป็นบรรทัดฐานในการตัดสินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งช่วยการตัดสิน หรือพิจารณาข้อร้องเรียนต่างๆ ที่ผู้ปฏิบัติการอาชีพไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ของวิชาชีพอีกด้วย

     สำหรับจรรยาบรรณวิชาชีพการศึกษา ย่อมมีความสำคัญต่อระบบการศึกษาของแต่ละประเทศ จึงต้องมีกำหนดไว้ เช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จรรยาบรรณวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาของประเทศไทย คุรุสภาได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ถึงกับมีการกำหนดไว้ชัดเจนในพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ มาตรา ๒๕ ข้อ (๒) และ (๓) ว่าคณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพมีอำนาจและหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา รวมทั้งส่งเสริม พัฒนา และเสนอแนะคณะกรรมการคุรุสภากำหนดมาตรฐานและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ, พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา ๒๕๔๖ : ๑๘)

     จรรยาบรรณวิชาชีพ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติของบุคคลที่มีการควบคุมดูแลเมื่อประกอบอาชีพ ซึ่งจรรยาบรรณวิชาชีพ จะถูกสร้างขึ้นมาเป็นแนวบรรทัดฐานจากประสบการณ์ และเพื่อให้เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ เป็นเบื้องต้น เพื่อต่อไปจะได้ถือเป็นแนวปฏิบัติอย่างเข้มงวดของแต่ละวิชาชีพ เช่น การควบคุมวิชาชีพทางการแพทย์ ทนายความ หรือวิศวกรรม เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิชาชีพจะมีลักษณะพิเศษหรือมีเอกลักษณ์ของวิชาชีพของตน ดังนั้นจรรยาบรรณของแต่และวิชาชีพสามารถมีรายละเอียดของจรรยาบรรณวิชาชีพต่างกัน แต่ที่มักมีลักษณะคล้ายคลึงกันก็คือมักมีข้อกำหนดที่เป็นข้อปฏิบัติที่ต้องควบคุมอย่างเคร่งครัดกับข้อปฏิบัติที่ถือเป็นวินัยของวิชาชีพ ซึ่งทั้งสองประการนี้จะต้องพิจารณาให้เป็นไปตามหลักสากลที่มีอยู่และถือปฏิบัติกันอยู่ด้วย อย่างไรก็ตามในบางวัฒนธรรมและบางประเทศอาจไม่เห็นด้วยกับจรรยาบรรณหรือวินัยของการอาชีพเดียวกันของประเทศอื่นก็ได้ ดังตัวอย่างเช่น การฉวยโอกาสใช้ไปรแกรมคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์นั้น ในบางสังคมอาจเห็นเป็นโอกาสที่ใช้ความฉลาดเหนือกว่า ที่ไม่ถือเป็นการผิดจรรยาบรรณ ขณะที่ในอีกสังคมหรือวัฒนธรรมอื่นเห็นว่า มีความผิดที่ยอมรับไม่ได้ เช่นนี้เป็นต้น ดังนั้น มาตรฐานวิชาชีพก็ดี เจตคติต่อวิชาชีพก็ดี และการประพฤติปฏิบัติก็ตาม ย่อมขึ้นกับการมองไปข้างหน้าตามแนวความคิดความเชื่อของแต่ละวัฒนธรรมด้วย

     สำหรับจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษานั้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า วิชาชีพทางการศึกษาเป็นวิชาชีพที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงไม่ยิ่งหย่อนกว่าอาชีพอื่น ทั้งนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องมีความรับผิดชอบสูง เพราะมีผลกระทบต่อผู้รับบริการและสาธารณชนมาก จึงต้องมีการควบคุมการประกอบวิชาชีพเป็นพิเศษ เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้รับบริการและสาธารณชน โดยผู้ประกอบวิชาชีพต้องประกอบวิชาชีพด้วยวิธีการแห่งปัญญา ได้รับการศึกษา อบรมมาอย่างเพียงพอ มีอิสระในการใช้วิชาชีพตามมาตรฐานวิชาชีพและมีจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งต้องมีสถาบันวิชาชีพหรือองค์กรวิชาชีพ เป็นแหล่งกลางในการสร้างสรรค์จรรโลงวิชาชีพ

     จรรยาบรรณวิชาชีพเกี่ยวข้องกับความหลากหลายของปัญหาที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติการทางวิชาชีพ เช่น การปฏิบัติที่ไม่ซื่อสัตย์ต่อการอาชีพ การไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่เป็นความลับของวิชาชีพ การละเมิดโดยเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ความไม่เป็นกลางในการวิเคราะห์ข้อมูลและให้คำปรึกษาในการวิชาชีพ การให้เหตุผลหรือชี้แจงเหตุผลในการวิชาชีพไม่ถูกต้องและไม่โปร่งใส การแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้งเชิงของผลประโยชน์ที่ก่อให้เกิดภาพลบต่อวิชาชีพ การละเมิดเอกสิทธิ์หรือขโมยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ เป็นต้น ปัญหาต่างๆ ดังยกมาเป็นตัวอย่างนี้ ย่อมก่อให้เกิดแนวคิดว่า วิชาชีพใดที่ต้องบริการต่อสังคมที่ถือเป็นวิชาชีพชั้นสูงนั้น จำเป็นต้องมีจรรยาบรรณของวิชาชีพนั้นๆ เพื่อเป็นแสงสว่างนำทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพได้ประพฤติปฏิบัติอันจะเป็นประโยชน์ต่อตนและต่อวิชาชีพ ให้เป็นที่เชื่อถือและยอมรับได้ ทั้งที่เคยเป็นมาในอดีต ที่เป็นอยู่ปัจจุบันและที่ควรจะเป็นในอนาคต

     สำหรับวิชาชีพทางการศึกษานั้น นอกจากจะเป็นวิชาชีพชั้นสูงประเภทหนึ่งเช่นเดียวกับวิชาชีพชั้นสูงอื่นๆ ดังกล่าว เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก ทนายความ พยาบาล สัตวแพทย์ และอื่นๆ ซึ่งถือเป็นการประกอบวิชาชีพเพื่อบริการต่อสาธารณชนตามบริบทของวิชาชีพนั้นๆ แล้ว ยังต้องมีบทบาทสำคัญต่อสังคมและความเจริญก้าวหน้าของประเทศดังต่อไปนี้ (สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา, มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา, ๒๕๔๔ : ๑)

  • สร้างพลเมืองดีของประเทศ โดยการให้การศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะทำให้ประชาชนเป็นพลเมืองดีตามที่ประเทศต้องการ
  • พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อสนองตอบการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และของประเทศ
  • สืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง เพื่อการรักษาความเป็นชาติไว้อย่างมั่นคงยาวนาน

     เนื่องจากวิชาชีพชั้นสูงมีความคิดความเชื่อสอดคล้องกันในการที่จะต้องมีจรรยาบรรณของวิชาชีพเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติ และเพื่อคงไว้ซึ่งวิชาชีพที่มีมาตรฐานสูงของการอาชีพ จึงมีการกำหนดจรรยาบรรณวิชาชีพของตนตามแต่ละสาขาวิชาชีพ และตามแต่ละสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ดังตัวอย่างที่สมาคมวิชาชีพวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ของสหรัฐอเมริกา (Association for Computing Machinery. ACM) ได้กำหนดวิชาชีพของตนประกอบด้วยหลักใหญ่ๆ ๔ ประการดังต่อไปนี้ (ACM : Software Engineering Code of Ethics and Professional Practice, available at file://G:\EngineeringCodeofEthics6.htm)

๒. จรรยาบรรณต่อลูกค้าและนายจ้าง

๔. จรรยาบรรณในการใช้ดุลพินิจในวิชาชีพวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

๕. จรรยาบรรณในการบริหารจัดการ

6. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

๗. จรรยาบรรณต่อเพื่อนร่วมงาน

     ส่วนพื้นฐานและแนวคิดด้านจรรยาบรรณวิชาชีพทางการศึกษา ก็มีความหลากหลายไปตามขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมของแต่ละประเทศแต่ละสังคม และท้องถิ่นเช่นกัน ดังเช่น คณะกรรมการมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของรัฐ Kentucky กำหนดจรรยาบรรณของตนไว้ด้วยหลักจรรยาบรรณใหญ่ ๓ ประการคือ (KY: Education Professional Standards Board-Character and Fitness & Educator, available at, file ://L : \ProfEhics3htm.

จรรยาบรรณมีลักษณะอย่างไร

จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพ นั้นๆ ต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม 1. ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกําหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริม เกียรติคุณ ชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้

จรรยาบรรณวิชาชีพ มีอะไร บ้าง

จรรยาบรรณในการประกอบอาชีพ.
1.1 มีสัจจะ คือ มีความจิงใจในอาชีพของตน.
1.2 มีเมตตากรุณา.
1.3 ไม่มุ่งผลกำไรเพียงอย่างเดียว.
2.1 เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตย.
2.2 ยึดมั่นในหลักศาสนา.
2.3 ตั้งใจอบรมสั่งสอนศิษย์ ถ่ายทอดวิชาความรู้ โดยไม่บิดเบียนหรือปกปิดอำพราง.
2.4 สุภาพเรียบร้อย.
3.1 มีเมตตาจิตใจผู้ป่วยโดยไม่แบ่งชั่นวรรณะ.

จรรยาบรรณวิชาชีพมีความสําคัญอย่างไร

1) จรรยาบรรณจะช่วยส่งเสริมจริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพและผู้ผลิต ให้มีความซื่อสัตย์สุจริต และ ยุติธรรม ทาให้เกิดความเชื่อถือในสังคม 2) จรรยาบรรณช่วยท าให้คนทางาน ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพและมีมาตรฐาน 3) จรรยาบรรณก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีและเป็นการสร้างความภักดีแก่ผู้บริโภค และ

การใช้ภาษาในวิชาชีพอย่างมีจรรยาบรรณมีลักษณะอย่างไร

2.หลักการใช้ภาษาไทย.
พูดข้อเท็จจริง.
ใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม.
มีการพัฒนาและอนุรักษ์ภาษาไทย.
เคารพกฏระเบียบของสังคมไทย.
ปฏิบัติตามบรรทัดฐานของสังคมไทย.
พูดเหมาะสมในงานอาชีพ.
มีความเสียสละ อดทน.
มีความสุจริตใจ จริงใจ.