เขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA) หมายถึงข้อใด

ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area – AFTA) เป็นข้อตกลงที่ทำขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2535 เป็นความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าอาเซียน เพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรีฯให้เสร็จภายใน 15 ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าอาเซียนในตลาดโลก โดยสมาชิกจะค่อยๆลดภาษีสินค้าทุกรายการให้เหลือ 0-5% ภายในปี พ.ศ. 2553 จากนั้นก็จะยกเลิกเครื่องกีดขวางทางการค้าทั้งหลายที่ไม่ใช่ภาษีให้หมดไปด้วย เช่น การจำกัดโควต้านำเข้า เป็นต้น ข้อตกลงนี้จะครอบคลุมสินค้าทุกชนิด ยกเว้นสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิตและศิลปะ อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกต้องให้สิทธิประโยชน์ทางศุลกากรแก่กันแบบต่างตอบแทน หมายความว่าการที่ได้สิทธิประโยชน์จากการลดภาษีของประเทศอื่นสำหรับสินค้าชนิดใด ประเทศสมาชิกนั้นต้องประกาศลดภาษีสำหรับสินค้าชนิดเดียวกัน

ผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์อะไร? อาเซียนจะกลายเป็นตลาดที่สำคัญของไทย อุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์อย่างยิ่งคืออุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ได้ประโยชน์จากการใช้วัตถุดิบในอาเซียน การแบ่งงานกันผลิตชิ้นส่วนที่แต่ละประเทศสมาชิกมีความได้เปรียบจะส่งผลให้อุตสาหกรรมของไทยสามารถพัฒนาตัวเองเป็นศูนย์กลางการผลิตในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้

เกษตรกรไทยได้ประโยชน์ด้วยหรือไม่? ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงในการเปิดเสรีทางการค้าในสินค้าเกษตร ซึ่งมีสินค้าผูกพันตามข้อตกลงจำนวน 23 รายการ ได้แก่ น้ำนมดิบ/นมปรุงแต่ง นมผงขาดมันเนย ลำไยแห้ง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กระเทียม หอมหัวใหญ่ เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง พริกไทย ข้าว เมล็ดถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง ชา เมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูป ไหมดิบ น้ำตาล และใบยาสูบ

สินค้าเกษตรไทยต้องเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในการแข่งขันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  การเปิดเสรีทางการค้าทำให้การผลิตสินค้าทางการเกษตรเป็นการผลิตเชิงพาณิชย์ มีการลงทุนโดยกลุ่มทุนการเกษตรคราวละมากๆ แต่เกษตรกรไทยมีพื้นที่จำกัด ขาดเทคโนโลยีทางการเกษตรที่จะช่วยพัฒนาผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพ หรือให้ทัดเทียมกับมาตรฐานโลก ทำให้ไปแข่งขันในตลาดต่างประเทศไม่ได้ ประกอบกับถูกมาตรการกีดกันทางการค้าสำหรับสินค้าด้อยคุณภาพ ทำให้เกษตรกรไทยไม่พร้อมจะแข่งขันในระดับโลก และในขณะเดียวกันก็จะทำให้สินค้าเกษตรจากต่างประเทศที่มีต้นทุนต่ำกว่าประเทศไทยไหลเข้ามาในประเทศ ผู้บริโภคจะเลือกซื้อสินค้าที่มีราคาถูกกว่าทำให้สินค้าเกษตรไทยขายไม่ได้ เมื่อเกษตรกรไทยไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรเพื่อแข่งขันในประเทศตนเองไม่ได้ เกษตรกรไทยก็อาจจะต้องสูญเสียอาชีพไปในที่สุด

ผู้บริโภคได้อะไร? ประชาชนที่เป็นผู้บริโภคก็อาจจะซื้อสินค้าราคาถูกลงในระยะแรก แต่เมื่อเกษตรกรรายย่อยล่มสลายก็จะเกิดการผูกขาดทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น ผู้บริโภคก็จะต้องซื้อสินค้าและอาหารราคาแพงตลอดไป

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะรับมืออย่างไร? อาจกล่าวว่าเป็นความโชคดีก็ได้ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะไปเจรจาขอเลื่อน AFTA ภาคการบริการการท่องเที่ยวออกไปอีกเป็น พ.ศ. 2558 เนื่องจากต้องการเวลาในการพัฒนาบุคคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยให้มีความพร้อมและมีศักยภาพเพียงพอในการแข่งขัน ในด้านผู้ประกอบการจะเป็นกังวลเรื่องการลงทุนว่าเมื่อต่างชาติมีความพร้อมด้านเงินลงทุนมากกว่าก็จะเข้ามาตีตลาดได้ แต่ธุรกิจนำเที่ยวไทยที่ไม่มีความพร้อมด้านเงินลงทุนจำนวนมากก็จะแข่งขันด้านการตลาดไม่ได้ นอกจากนี้การเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานในอาเซียน ในปี 2558 จะทำให้บุคลากรของไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะยังมีจุดอ่อนทางด้านภาษาและไอที กลุ่มแรงงานที่เพิ่งจบการศึกษาก็จะหางานทำได้ยากขึ้น เพราะจะมีแรงงานต่างชาติเข้ามาทำงานเพราะความได้เปรียบด้านภาษา อย่างไรก็ตามกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาได้จัดหลักสูตรการฝึกอบรมด้านบุคลากรด้านการท่องเที่ยวมากถึง 242 หลักสูตรเพื่อรับมือกับปัญหาด้านแรงงานที่จะมีขึ้น หลักสูตรเพื่อพัฒนาบุคลากรทั้งหมดนี้ต้องนำเสนอให้ที่ประชุมอาเซียนพิจารณาและรับรองหลักสูตรเพื่อให้เกิดการยอมรับก่อนนำไปใช้ ปัจจุบันหลักสูตรที่ทำเสร็จแล้วคือ หลักสูตรพนักงานต้อนรับในโรงแรมที่ได้เปิดทดลองใช้และพัฒนาให้ดีขึ้น และได้รับความร่วมมือจากกระทรวงแรงงานเพื่อการออกใบรับประกันการผ่านงาน ผู้ผ่านการอบรมสามารถนำประกาศนียบัตรนี้ไปสมัครทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ทั้ง 10 ประเทศ (หลังจากกลุ่มอาเซียนเซ็นยอมรับในหลักสูตรอบรมมาตรฐานแล้ว)

การเปิดเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) มีทั้งประโยชน์และอุปสรรคต่อคนไทยในทุกภาคส่วนทั้งในฐานะผู้ผลิต ผู้ขาย ผู้ให้บริการ และผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร และภาคการท่องเที่ยว ผู้ที่เกี่ยวข้องควรจะต้องศึกษารายละเอียดและข้อตกลงต่างๆเพื่อเตรียมตัวรับมือกับปัญหาที่คาดได้ว่าจะเกิดขึ้น รวมทั้งคว้าโอกาสที่จะมาถึง ก็จะดีกว่าการวิพากษ์วิจารณ์หรือวิตกกังวลจนเกินไป

เขตการค้าเสรี (FTA) นั้น คือ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศต่างๆ เพื่อให้มีการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกันในอัตราที่น้อยที่สุด หรือ ในอัตราร้อยละ 0 ซึ่งประเทศที่มีการรวมกลุ่มเขตการค้าเสรีนั้นจะได้เปรียบทางการค้ามากกว่าประเทศที่อยู่นอกกลุ่มในเรื่องของอัตราภาษี โดยการเปิดเสรีทางการค้านั้น ไม่เพียงแต่เฉพาะด้านสินค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงด้านบริการและการลงทุนด้วย เช่น เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกา (Free Trade Area of the Americas) เขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เป็นต้น ทั้งนี้อาเซียนได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศในภูมิภาคเช่นกัน เพื่อเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของอาเซียน ทั้งด้านการผลิตและอำนาจในการต่อรองในเวทีระดับประเทศ เหล่าผู้นำอาเซียนจึงได้มีมติเห็นชอบในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยได้ลงนามในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน ใน ค.ศ.1992 อันเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนนับแต่นั้นมาถึงปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมา

ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยกเว้นประเทศไทยและประเทศสิงคโปร์มีรากฐานทางเศรษฐกิจที่ยึดโยงกับเจ้าอาณานิคมเดิมของตนอยู่ กล่าวคือ กิจการในประเทศเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นของชาวต่างชาติและประกอบกับตลาดภายในประเทศที่ยังคงพึ่งพาสินค้านำเข้าจากต่างประเทศเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะสินค้าอุปโภคและบริโภค ซึ่งส่วนใหญ่จะมีราคาแพงและส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาค ประชาชนจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบตกอยู่ในความยากจนที่เกิดจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าอาณานิคมมากกว่าพลเมือง จนเมื่อได้มีการตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียนขึ้น ใน ค.ศ.1967 อาเซียนได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีความพยายามในการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจภายในภูมิภาค โดยได้เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบอุตสาหกรรม แต่อย่างไรก็ดี ในระยะแรกๆ อาเซียนไม่ได้ดำเนินการทางด้านเศรษฐกิจเท่าที่ควรเนื่องจากความมั่นคงและการเมืองในภูมิภาคยังไม่มีเสถียรภาพนัก ดังนั้นในค.ศ.1967-1975 จึงไม่มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจใดของอาเซียนออกมาเป็นรูปธรรม นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจจึงเป็นเพียงแค่เป้าหมายที่แสดงถึงความร่วมมือภายในภูมิภาคเท่านั้น

แนวทางการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียนปรากฏเป็นรูปธรรม จากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 23-24 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1976 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย โดยได้มีการทำความตกลงทางด้านเศรษฐกิจ คือ การให้สิทธิพิเศษทางการค้าอาเซียน ( The ASEAN Preferential Trading Arrangements: PTA) ซึ่งให้สิทธิพิเศษทางด้านภาษี โดยการลดอากรภาษีขาเข้าให้แก่ประเทศสมาชิก นับเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ เพราะหลังจากนั้น ก็ได้มีโครงการต่างๆมากมาย เช่น โครงการอุตสาหกรรมอาเซียน (AIP) โครงการแบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (AIC) โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมอาเซียน (AIIV) เป็นต้น จนมาถึง แนวความคิดในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 3 ที่ เมืองมะนิลา ในการประชุมครั้งนี้ มีการหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน แต่ประเทศอินโดนีเซีย ได้คัดค้านการจัดตั้งดังกล่าวจึงทำให้ข้อเสนอนี้ตกไป แต่อย่างไรก็ดี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 27-29 มกราคม ค.ศ.1992 ที่ประเทศสิงคโปร์ นายอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีไทยในขณะนั้น ได้เสนอเรื่องการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนอีกครั้ง ในครั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบกับแนวความคิดดังกล่าว จึงได้มีการลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนขึ้น อย่างเป็นทางการ

เป้าหมายและวัตถุประสงค์

เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) เกิดจากความต้องการร่วมมือทางการค้าจากประเทศต่างๆในอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ และเพิ่มอำนาจในการต่อรองทางด้านเศรษฐกิจในเวทีโลก พร้อมกันนี้อาเซียนยังมีความต้องการที่จะดึงดูดประเทศต่างๆให้เข้ามาลงทุน เพื่อความเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องภายในภูมิภาค โดย AFTA นั้น จะทำให้การค้าขายสินค้าในอาเซียนเป็นไปอย่างเสรี มีการคิดอัตราภาษีระหว่างกันในระดับที่ต่ำ และปราศจากข้อกำหนดทางการค้า อันจะส่งผลให้ประเทศสมาชิกจะมีต้นทุนการผลิตสินค้าที่ลดลง อีกทั้งเป็นการเพิ่มปริมาณทางด้านการค้าในภูมิภาคให้มีมากขึ้น ทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและมั่นคง  

กรอบการดำเนินงาน

อาเซียนดำเนินการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) โดยมุ่งเน้นไปที่การขจัดอุปสรรคทางการค้าทั้งหลายภายในภูมิภาค ทั้งในด้านภาษีและเครื่องกีดขวางทางการค้าต่างๆที่มิใช่ภาษี ยกตัวอย่างเช่น การจำกัดโควต้าการนำเข้า เป็นต้น โดยจะยกเว้นแต่เพียงสินค้าที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ศีลธรรม ชีวิต และศิลปะ เท่านั้น ซึ่งมาตรการที่สำคัญที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้นมาตรการทางภาษี โดยอาเซียนมีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในค.ศ.2002 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2010 สำหรับประเทศ ASEAN 6 (ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศบรูไน) ยกเว้น สินค้าอ่อนไหว (SL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทมันฝรั่ง กาแฟของประเทศไทย หรือ กลุ่มสินค้าประเภท กาแฟ ชา ของประเทศบรูไน เป็นต้น โดยสินค้าประเภทนี้กำหนดให้ต้องลดภาษีเหลือ 0-5% ภายใน ค.ศ.2010 และยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี และยกเว้นรายการสินค้าอ่อนไหวสูง (HSL) เช่น กลุ่มสินค้าประเภทข้าวของมาเลเซีย ที่จะต้องลดภาษีจากร้อยละ 40 ให้เหลือร้อยละ 20 ในค.ศ.2010 สำหรับกลุ่มประเทศ CLMV (ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมาร์ และประเทศกัมพูชา) นั้น ได้มีเป้าหมายในการลดภาษีในบัญชีลดภาษี (IL) ให้เหลือ ร้อยละ 0-5 ภายใน ค.ศ.2010 และตั้งเป้าให้เหลือร้อยละ 0 ภายใน ค.ศ.2015 ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว (SL) และสินค้าอ่อนไหวสูง (HSL) เช่นเดียวกัน โดยการกำหนดมาตรการดังกล่าวก็เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ที่มุ่งเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน และเป้าหมายในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจอาเซียนกับเศรษฐกิจโลกด้วย โดยในปัจจุบันอาเซียนได้ดำเนินการทำเขตการค้าเสรีกับประเทศต่างๆ นอกอาเซียนแล้ว ยกตัวอย่างเช่น เขตการค้าเสรีอาเซียนจีน (ACFTA) เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) เป็นต้น

ความท้าทาย

เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) นับเป็นส่วนผสมที่สำคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยเฉพาะในเรื่องการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ทำการเปิดเสรีการขนส่งสินค้า ด้านการให้บริการ ด้านการลงทุน ด้านการเคลื่อนย้ายทุน และการเคลื่อนย้ายแรงงานเคลื่อนย้ายอย่างอิสระ AFTA จะทำให้ตลาดของอาเซียนนั้นใหญ่ขึ้น และศักยภาพทางเศรษฐกิจของอาเซียนก็จะมีมากขึ้นตามไปด้วย โดยผลพวงดังกล่าวทำให้การค้าขายของประเทศสมาชิกมีมากขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่นในประเทศไทย ก่อนที่จะมี AFTA ประเทศไทยขาดดุลการค้ากับประเทศอาเซียน โดยมีสัดส่วนการส่งออกเพียงร้อยละ 12 จากการส่งออกทั้งหมดเท่านั้น แต่ภายหลังจากได้มีการจัดตั้ง AFTA ขึ้น ประเทศไทยก็ได้เปรียบดุลการค้ามาโดยตลอด ซึ่งใน ค.ศ.2007 ประเทศไทยมีสัดส่วนการส่งออกในอาเซียนถึง ร้อยละ 21

แม้ AFTA จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น แต่ก็ยังมีข้อกังวลอยู่ไม่น้อย เช่น ปัญหาการเป็นคู่แข่งทางการค้า โดยส่วนใหญ่สินค้าของอาเซียนนั้นจะเป็นสินค้าเกษตรกรรมซึ่งเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ข้าว เนื้อสัตว์ เป็นต้น ทำให้ไม่สามารถเปิดการค้าเสรีได้อย่างแท้จริง หรือในเรื่องปัญหาการขาดอำนาจการบังคับใช้กฎระเบียบ เช่น กรณีของอินโดนีเซีย ที่ไม่ยอมปฏิบัติตามบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียน (ACD) เป็นต้น ซึ่งหากอาเซียนมีกลไกที่สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเป็นระบบ และมีการจัดการปัญหาที่ดี AFTA จะเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่จะทำให้ เศรษฐกิจของอาเซียนนั้นเจริญเติบโตและแข็งแกร่ง ทัดเทียมกับเศรษฐกิจในภูมิภาคอื่นเลยทีเดียว

อาฟตา หมายถึงข้อใด

เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA)

เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA มีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

1. AFTA มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในฐานะที่เป็นฐานการผลิต ที่สำคัญเพื่อป้อนสินค้าสู่ตลาดโลก โดยอาศัยการเปิดเสรีด้านการค้าและการลดภาษีและอุปสรรค ข้อกีดขวางทางการค้าที่มิใช่ภาษี รวมทั้งการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีศุลกากรเพื่อเอื้ออำนวย ต่อการค้าเสรี

เขตการค้าเสรี มีอะไรบ้าง

ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย – ออสเตรเลีย (TAFTA).
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย - นิวซีแลนด์ (TNZCEP).
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น (JTEPA).
ความตกลงการค้าเสรีไทย - อินเดีย (TIFTA).
ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย – เปรู (TPFTA).
ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ชิลี (TCFTA).
เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA).

ประเทศใดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีกับอาเซียนแล้ว

ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดทำ FTA กับ 8 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ บาห์เรน เปรู และ 2 กลุ่มเศรษฐกิจ ASEAN และ BIMSTEC โดยเหตุผลสำคัญเพื่อรักษาสถานภาพและศักยภาพในการส่งออกของไทยโดยการขยายโอกาสในการส่งออกและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของสินค้าไทยทั้งในตลาดสำคัญในปัจจุบัน (เช่น ...