สภาพการจ้างงานหมายถึงข้อใด

อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-สภาพการจ้าง มาตรา 5
-
           *สภาพการจ้าง มาตรา 5
 -
 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5           
           “สภาพการจ้าง” หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน กําหนดวันและเวลาทํางาน
 ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทํางาน
 -
           ข้อสังเกต
           1. สภาพการจ้าง คือ นิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อันเกี่ยวกับการ จ้างหรือ
 การทํางาน ได้แก่
                     - เงื่อนไขการจ้าง - เงื่อนไขการทํางาน - กําหนดวันและเวลาทํางาน
                     - กําหนดค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้าง
           2. กรณีถือเป็นสภาพการจ้าง เช่น
                     - ค่าจ้าง ดังนั้นการย้ายตําแหน่งโดยตําแหน่งใหม่ไม่ได้เงินประจํา ตําแหน่ง
 จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7106/2547)
                     - การที่นายจ้างจัดให้มีพยาบาลประจําเรือเพื่อความปลอดภัยในการ ทํางาน
 ของลูกจ้าง ซึ่งเป็นสวัสดิการถือเป็นสภาพการจ้าง
                     - การเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าครองชีพ เป็นการเรียกร้องเอาค่าจ้าง หรือผล
 ประโยชน์อันเกี่ยวกับการจ้าง เป็นการเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
           3. กรณีไม่ถือเป็นสภาพการจ้าง
                     - การจัดที่พักให้ลูกจ้าง - การจ่ายค่าเช่าบ้านให้
                     - บันทึกของลูกจ้างที่ยอมให้หักเงินค่าจ้างเป็นค่าบํารุง และค่าฌาปนกิจ
 เป็นข้อตกลงที่ไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างของนายจ้าง
 -
           - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา
 -
           - กรณีมิใช่สภาพการจ้าง
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2545 ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงาน ในเรื่องที่
 นายจ้างอนุญาตให้สหภาพแรงงานได้มีที่ทําการของสหภาพแรงงานอยู่ในบริเวณบริษัท นายจ้างเช่น
 เดิมต่อไปเป็นกรณีที่นายจ้างให้ความสะดวกเพื่อประโยชน์ของสหภาพแรงงาน โดยเฉพาะมิใช่เรื่อง
 อันเป็น “สภาพการจ้าง” จึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2543 สัญญาจ้างกําหนดให้จําเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงิน
 ดอลลาร์สหรัฐโดยไม่มีข้อตกลงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนไว้ ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงิน ไทยจึง
 ต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนของทางราชการในวันถึงกําหนดจ่ายค่าจ้าง ตาม ประกาศ กระทรวง
 มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 27 วรรคสอง เมื่ออัตรา แลกเปลี่ยนในวันที่ 24 ตุลาคม
 2540 ซึ่งเป็นวันจ่ายค่าจ้างกําหนดให้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 38.40 บาท จําเลยจะประกาศกําหน
 ดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่โดยกําหนดให้ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 26 บาท ไม่ได้ เพราะสัญญาจ้างใน
 ส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง เป็นสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5
 การที่จําเลยประกาศ กําหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่นี้ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่
 เป็นคุณ แก่โจทก์เมื่อโจทก์มิได้ให้ความยินยอม ประกาศของจําเลยที่กําหนดอัตราแลกเปลี่ยน เงินขึ้น
 ใหม่จึงไม่มีผลใช้บังคับ
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7920/2543 โจทก์เป็นลูกจ้างของจําเลย แม้ไม่ปรากฏว่าได้มีการ
 ตกลงทําสัญญาจ้างเป็นหนังสือก็ตาม แต่ข้อตกลงการจ้างก็มีลักษณะเป็นสภาพการจ้าง ตาม พ.ร.บ.
 แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5 แล้ว นอกจากนี้ยังมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างระหว่างจําเลย
 กับผู้แทนสหภาพแรงงานระบุว่าสภาพการจ้างอื่นที่ไม่ใช่ เรื่องผลต่างค่าจ้างขั้นต่ำกับเรื่องการปรับค่า
 จ้างประจําปีและโบนัสทั้งสองฝ่ายตกลง ให้คงเดิมด้วย ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผล
 ผูกพันโจทก์ และจําเลยตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 19 วรรคสองแล้ว
           แม้จําเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะมีอํานาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไปทํางานใน ตําแหน่งใดได้
 ก็ตาม แต่การสั่งดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. แรงงาน สัมพันธ์ฯ มาตรา 20
 การที่จําเลยย้ายโจทก์จากตําแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องไปเป็นพนักงาน ธรรมดาในแผนกตัดเม็ด
 กระสวยซึ่งเป็นการย้ายโจทก์ไปทํางานในตําแหน่งที่ต่ำกว่าเดิม ทั้งต้องทํางานเป็นกะหมุนเวียนสับ
 เปลี่ยนเวลาเข้าทํางานและออกจากงานตลอดเวลา ไม่มีเวลาทํางานที่แน่นอนเช่นเดิม จึงเป็นการ
 เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณ แก่โจทก์ยิ่งกว่า คําสั่งของจําเลยที่ให้ย้ายโจทก์ไปทํางานที่
 แผนกตัดเม็ดกระสวยจึงเป็น คําสั่งที่ไม่ชอบ
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8003/2543 ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกําหนดไว้แต่เพียงว่า จ่าย
 โบนัสปีละ 2 ครั้ง งวดมิถุนายนและธันวาคมเท่านั้น ส่วนจะจ่ายโบนัสให้แก่ลูกจ้าง จํานวนเท่าใดไม่
 ได้กําหนดไว้ ที่นายจ้างจ่ายโบนัสให้ลูกจ้างปีละ 4.5 ของเงินเดือน ตลอดมา (ระหว่างปี 2534 ถึง 2539
 ซึ่งมีกําไร) ไม่เป็นสภาพการจ้างอันมีผลผูกพันให้ นายจ้างต้องจ่ายโบนัสให้จํานวนดังกล่าวตลอดไป
 การที่นายจ้างจ่ายโบนัสให้ลูกจ้าง ในปี 2541 (ระหว่างปี 2540 2541 ซึ่งขาดทุน) เท่ากับเงินเดือน 1
 เดือน จึงเป็นการ ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างแล้ว
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2532 ข้อตกลงที่ให้นายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้างที่เป็นสมาชิก
 สหภาพแรงงานตามลายมือชื่อลูกจ้างซึ่งยินยอมให้หักค่าจ้างไม่เกินคนละ 75 บาท ต่อเดือนแล้วส่ง
 ให้ประธานหรือเหรัญญิกของสหภาพแรงงานเพื่อเป็นค่าบํารุงและ ค่าฌาปนกิจ ถือเป็นข้อตกลงอย่าง
 อื่นไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างของนายจ้างและลูกจ้าง อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทํางานแต่อย่างใด
 บันทึกข้อตกลงในเรื่องการหักค่าจ้าง ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ใน
 บังคับของพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 และมาตรา 12 ที่นายจ้างจะต้อง
 ปฏิบัติตาม
 -
 - กรณีเป็นสภาพการจ้าง
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9488/2551 การที่จําเลยจ่ายเงินรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้า
 ดีเด่นประจําเดือนแก่ลูกจ้างเป็นประจําตลอดมาทุกเดือน นับแต่ปี 2541 จนถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2545
 เงินรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้างานดีเด่น ประจําเดือนจึงเป็นประโยชน์อื่นของลูกจ้างอันเกี่ยว
 กับการจ้างงานหรือการทํางานและเป็นสภาพการจ้าง ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5
 แม้ว่าเรื่องของการจ่ายเงินรางวัล พนักงานดีเด่นและหัวหน้าดีเด่นประจําเดือน เป็นสภาพการจ้างอื่น
 ใดที่ไม่อยู่ในข้อ เรียกร้องตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แต่ก็เป็นสภาพการจ้างที่ปฏิบัติ
 สืบกันมาจึงเป็นสภาพการจ้างที่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุให้ต้องคงไว้เช่นเดิม และ ยังเป็นข้อ
 ตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายการยกเลิกรางวัลพนักงานดีเด่น และหัวหน้างานดีเด่นประจํา
 เดือนเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับ ความยินยอมจากลูกจ้างและเป็นการเปลี่ยน
 แปลงที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นการ ไม่ชอบ
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2543 ประกาศว่าด้วยการให้เงินบําเหน็จแก่เจ้าหน้าที่เป็นข้อ
 ตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีผลผูกพันให้จําเลยต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่จําเลยประกาศ ใช้
 เป็นต้นไป แม้ต่อมาในปี 2540 จําเลยจะประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน โดย มีบทเฉพาะการ
 ว่าพนักงานที่ครบเกษียณอายุแล้วจะได้รับเงินที่จําเลยจ่ายสมทบให้ พร้อมผลประโยชน์จากกองทุน
 สํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากคํานวณแล้วยอดเงินที่จะได้รับเมื่อ รวมค่าชดเชยแล้วได้น้อยกว่าเงินบําเหน็จ
 ที่ได้กําหนดไว้ในประกาศเดิม และมิใช่เป็น ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นคุณยิ่งกว่า เมื่อ
 โจทก์ไม่ได้ตกลงยินยอมให้จําเลย แก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องการให้เงินบําเหน็จ ข้อบังคับเกี่ยวกับ
 การทํางานจึงไม่มีผล ผูกพันโจทก์
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2543 การที่จําเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้มีพยาบาลประจําเรือ
 อันเป็นการกําหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทํางานของพนักงานก็เป็นการจัดสวัสดิการ ซึ่งเป็น
 สภาพการจ้าง ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ ก็ไม่ได้บังคับให้ต้อง ทําข้อตกลงเป็น
 หนังสือ แม้จําเลยกระทําแต่ฝ่ายเดียวและไม่ได้ทําเป็นหนังสือก็ถือได้ว่า เป็นสภาพการจ้างโดยปริยาย
 แล้ว จําเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม แต่การจัดพยาบาล ประจําเรือดังกล่าวเป็นสวัสดิการที่จําเลยจัดให้
 แก่พนักงานนอกเหนือที่กฎหมายกําหนด ไว้ เมื่อจําเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานเกี่ยว
 กับสิทธิและหน้าที่ในการบริหาร กิจการของจําเลยและเกี่ยวกับสวัสดิการและผลประโยชน์อื่น
 จําเลยย่อมอาศัยระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานดังกล่าวเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสวัสดิการที่ได้
 ให้แก่พนักงานนั้นได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการในการรักษาพยาบาลที่จําเลยจัดให้ใหม่นี้ มิได้
 ทําให้พนักงานของจําเลยได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลน้อยลงกว่าเดิม จําเลย จึงมี
 อํานาจกระทําได้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานข้างต้น
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790-5822/2543 แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานของจําเลย
 จะกําหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนก็ตาม แต่การที่จําเลยจ่าย ค่าจ้างให้แก่
 ลูกจ้างก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เป็นประจําตลอดมาย่อมถือได้ว่าจําเลย ตกลงกับลูกจ้างให้มีการ
 เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกําหนดการ จ่ายค่าจ้างโดยปริยาย การที่โจทก์
 ได้รับการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า ณ วันสิ้นเดือน จึงมิใช่เป็นการบอกกล่าวเมื่อถึงหรือก่อนถึง
 กําหนดจ่ายสินจ้าง อันจะมีผลเป็นการเลิกจ้าง โดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อถึงกําหนดจ่ายสินจ้างใน
 คราวถัดไป
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2530 การจัดที่พักให้ลูกจ้างหรือการจ่ายค่าเช่าบ้านให้แก่
 ลูกจ้าง นั้น เป็นสวัสดิการอย่างหนึ่ง สวัสดิการประเภทนี้มิใช่สวัสดิการที่กฎหมายคุ้มครอง แรงงาน
 ฉบับหนึ่งฉบับใดบังคับให้นายจ้างต้องจัดให้แก่ลูกจ้าง จึงเป็นไปตามข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการ
 จ้างของสถานประกอบการแต่ละราย
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2524 ลูกจ้างเรียกร้องให้ผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าครองชีพ เป็นการ
 เรียกร้องเอาค่าจ้างหรือผลประโยชน์อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทํางาน ถือว่าเป็นการ เรียกร้องเกี่ยว
 กับสภาพการจ้าง
 -