การว่างงานแอบแฝง หมายถึงข้อใด

เห็นโปรไฟล์แบบนี้แล้วอดไม่ได้ที่จะนึกถึงสารพัดบัณฑิตในไทยที่เรียนจบมาสูงกว่าการงานที่ตัดสินใจทำหาเลี้ยงชีพ (overqualification) บางคนจบแพทยศาสตร์แต่ผันตัวมาเป็นไลฟ์โค้ช จบวิศวกรรมศาสตร์แต่อยากมาทำเกษตรกรรมธรรมชาติ จบบัญชีแต่ทิ้งวิชาชีพมาเปิดร้านกาแฟ จบสถาปัตยกรรมศาสตร์แต่อยากเป็นนักวาดการ์ตูนอิสระ ฯลฯ นำมาซึ่งความคิดเห็นหลากหลาย บางคนก็ชื่นชมในความสามารถรอบด้านของบัณฑิตจบใหม่ที่หยิบจับงานไม่ตรงสายก็ยังประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง บ้างก็บ่นเสียดายความรู้ที่เรียนมาซึ่งน่าจะเอาไปทำประโยชน์หากทำงานตรงสาย ส่วนคนอีกจำนวนไม่น้อยก็บอกว่าเป็นการตัดสินใจส่วนบุคคลคนอื่นไม่ควรไปเสนอหน้า

หากพิจารณาในเชิงนโยบายจะไม่เอี่ยวก็คงไม่ได้ เพราะการตัดสินใจดังกล่าวเข้าข่ายนิยามของสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่าการว่างงานแฝง (underemployment) ที่อาจทำให้เศรษฐกิจพัฒนาไปไม่สุดทางเนื่องจากการจัดสรรทรัพยากรมนุษย์ไม่เหมาะสมกับงานทำให้ศักยภาพในตัวคนเหล่านั้นไม่สามารถ ‘เปล่งประกาย’ ได้อย่างเต็มที่

 

ในทางเศรษฐศาสตร์ เรามีเส้นในจินตนาการที่เรียกว่าเส้นเป็นไปได้ในการผลิต (Production Possibilities Frontier) ซึ่งสะท้อนการจัดสรรทรัพยากรในสังคม ไม่ว่าจะเป็นทุนทรัพย์หรือทุนมนุษย์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพสูงสุด การจัดสรรคนไม่ตรงกับงานก็ทำให้ผลผลิตจากเศรษฐกิจที่สมมติว่าควรจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้ 100,000 บาทต่อคนต่อเดือน การใช้คนไม่ตรงกับงานอาจทำให้กำลังการผลิตหดหายเหลือเพียง 90,000 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นต้น

สถานการณ์นี้ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อีกทั้งยังเป็นอีกหนึ่งในเทรนด์โลกที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่วิกฤติซับไพรม์โดยเฉพาะในหมู่ประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย ผู้เขียนจึงขอใช้โอกาสที่หัวหน้าฮงกำลังดังเขียนถึงสักหน่อยเพราะในประเทศไทยซึ่งมีตัวเลขอัตราว่างงานต่ำเป็นอันดับต้นๆ ของโลกอาจซุกปัญหา ‘การว่างงานแฝง’ มโหฬารไว้อยู่ใต้พรมก็เป็นได้

 

 

การว่างงานแฝงคืออะไร?

ผมเชื่อว่าเราทุกคนรู้จักอัตราการว่างงาน (ถ้าไม่รู้จักให้ลองไปอ่านบทความนี้นะครับ) ซึ่งแปลแบบกำปั้นทุบดินว่าคนไม่มีงานทำ แต่เมื่อพูดถึงการว่างงานแฝงหลายคนอาจจะเกาหัวว่าหมายถึงอะไร มีงานทำก็มีงานทำ ตกงานก็ตกงาน ทำไมจะต้องมาแฝงเฝิงอะไรด้วย!

สาเหตุที่ต้องเรียกว่า การว่างงานแฝง ก็เพราะคนเหล่านี้ยังจัดเป็นผู้มีงานทำ แต่มีความพิเศษที่ว่าคนเหล่านี้มีงานทำก็จริงแต่ยังทำงานไม่เต็มศักยภาพ โดยอาจเป็นปัญหาจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติตามนิยามขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization)

การว่างงานแฝงยังแบ่งออกเป็นการว่างงานแฝงที่เกี่ยวข้องกับเวลาการทำงาน (time-related underemployment) และการว่างงานแฝงที่เกี่ยวข้องกับความสามารถ (skill-related underemployment) แม้ชื่อจะฟังดูยุ่งยากแต่ความจริงแล้วสามารถอธิบายเป็นภาษาคนได้ง่ายนิดเดียว

การว่างงานแฝงแบบแรกวัดจากชั่วโมงการทำงาน หากเรายึดแนวทางของสหรัฐอเมริกาที่ตีความการทำงาน ‘เต็มเวลา’ ว่าเท่ากับ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หากใครชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ต่ำกว่านั้นก็ถือว่าทำงานไม่เต็มศักยภาพและอาจจัดให้อยู่ในกลุ่มที่อยู่ในภาวะว่างงานแฝงได้

การว่างงานแฝงลักษณะนี้สามารถวัดได้อย่างตรงไปตรงมาซึ่งประเทศไทยเองก็มีการเปิดเผยข้อมูลทางสถิติที่เราสามารถหยิบมาคำนวณได้สบายๆ จากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้เขียนนำมาสรุปเป็นตารางด้านล่างซึ่งจะเห็นว่าคนที่มีชั่วโมงทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์นั้นมีสัดส่วนสูงถึง 18 เปอร์เซ็นต์ตามสถิติล่าสุด แต่ถ้าหากขยับเกณฑ์เป็น 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ผู้ที่อาจเข้าข่ายว่างงานแฝงอาจสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว

 

เวลาทำงานต่อสัปดาห์จำนวน (พันคน)เปอร์เซ็นต์เปอร์เซ็นต์สะสม0 ชั่วโมง586.191.5%1.5%1-9 ชั่วโมง232.050.6%2.1%10-19 ชั่วโมง1,043.342.7%4.8%20-29 ชั่วโมง2,681.026.9%11.7%30-34 ชั่วโมง2,441.36.3%18.0%35-39 ชั่วโมง4,921.2812.7%30.7%40-49 ชั่วโมง20,595.6953.1%83.8%50-59 ชั่วโมง4,137.4110.7%94.5%60-69 ชั่วโมง1,348.53.5%98.0%70-79 ชั่วโมง600.251.5%99.5%80-89 ชั่วโมง146.770.4%99.9%90 ชั่วโมงขึ้นไป27.780.1%100.0%รวมทั้งหมด38,761.58

ข้อมูลเดือนธันวาคม พ.ศ.2563 จากเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

ส่วนการว่างงานแฝงแบบที่สองอาจวัดได้ยากกว่าเพราะเป็นเรื่องของทักษะความสามารถ กล่าวคือทักษะความรู้ที่มีนั้นเกินกว่างานที่ทำ การว่างงานแฝงแบบนี้วัดได้ยากซึ่งนักเศรษฐศาสตร์มักจะนิยมใช้ค่าแทนคือระดับการศึกษา เช่น เรียนจบปริญญาโทแต่มาทำงานที่คนจบมัธยมปลายก็ทำได้ อย่างไรก็ดีตัวชี้วัดดังกล่าวก็ยังไม่สะท้อนความเป็นจริงนัก เพราะบางคนอาจมีทักษะในด้านอื่นสูงกว่าด้านที่เรียนมา เช่นตัวผมเองที่ถึงจบการเงินและบัญชีมาแต่ก็ไม่เคยทำงานตรงสายแถมยังรู้สึกถนัดกับการขีดๆ เขียนๆ มากกว่าเดบิตเครดิต

น่าเสียดายที่งานวิจัยด้านการว่างงานแฝงในระดับมหภาคยังไม่ได้รับความนิยมมากนักเพราะเหล่าผู้เชี่ยวชาญมักจะให้ความสนใจกับอัตราว่างงานที่สามารถวัดได้อย่างตรงไปตรงมามากกว่า ดังนั้นผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมของการว่างงานแฝงจึงเป็นคาดเดาทางทฤษฎีเท่านั้น

โชคดีที่งานวิจัยในระดับปัจเจกชนนั้นมีอยู่พอสมควรโดยการศึกษาพบว่าการว่างงานแฝงจะส่งผลโดยตรงต่อสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่อคนที่ตกอยู่ในภาวะดังกล่าว พวกเขาเหล่านั้นนอกจากจะไม่ค่อยก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ยังพบว่าส่วนใหญ่รู้สึกไม่พอใจกับงานที่ทำ ชีวิตไม่มีความสุข และรู้สึกอยากลาออกตลอดเวลา หลายคนตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า ขาดความมั่นใจ ไม่อยากเข้าสังคม และถึงขั้นมีความคิดฆ่าตัวตาย

 

แต่ไม่ใช่แรงงานทุกคนที่ตกอยู่ในภาวะว่างงานแฝงจะต้องเผชิญกับภาระทางใจในย่อหน้าข้างต้นนะครับ เพราะคนที่จะเผชิญกลุ่มอาการเหล่านี้คือคนที่ตกอยู่ในภาวะดังกล่าวโดยไม่สมัครใจ

 

 

โครงสร้างที่กดทับให้ทำงานไม่เต็มที่

ในแง่เวลาการทำงาน กลุ่มผู้ว่างงานแฝงโดยไม่สมัครใจคือเหล่าพนักงานพาร์ทไทม์ที่ทำงานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้แต่ก็ยังไม่ถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พวกเขาเหล่านี้กระเสือกกระสนหางานพร้อมกับความหวังที่ว่าวันหนึ่งจะได้ทำงานเต็มเวลา แต่การรับพนักงานประจำหนึ่งคนถือเป็นเรื่องใหญ่ที่นายจ้างต้องคิดให้ถี่ถ้วน ทั้งเรื่องเงินเดือน เส้นทางการเติบโต และสวัสดิการ ท่ามกลางสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอนพร้อมทั้งความช่วยเหลือจากภาครัฐที่ล่าช้าและไม่ทั่วถึง นายจ้างส่วนใหญ่มักจะชะลอการจ้างพนักงานประจำไปก่อนและเน้นจ้างแบบชั่วครั้งชั่วคราวเพื่อลดความเสี่ยงของบริษัท

หนึ่งเทรนด์ที่น่ากังวลคือนายจ้างยุคดิจิทัลที่อยู่ในรูปแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็นแอพฯ เรียกรถหรือส่งอาหาร บริษัทเหล่านี้เรียกไรเดอร์อย่างดิบดีว่าเป็น ‘พาร์ตเนอร์’ แต่เนื้อในเขียนย้ำนักหนาว่าคนเหล่านี้ไม่ใช่พนักงานของบริษัท เหล่าไรเดอร์จึงต้องแบกความเสี่ยงที่จะต้องนั่งแกร่วไถโทรศัพท์เป็นชั่วโมงแต่ไม่มีทั้งออร์เดอร์และรายได้ กลายเป็นคนที่ออกมาทำงานแต่ไม่มีงานให้ทำ ขณะที่แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ไม่ต้องเสียเงินค่าสวัสดิการสักบาทให้กับแรงงานกลุ่มนี้เลย

ในแง่ของทักษะ กลุ่มผู้ว่างงานแฝงโดยไม่สมัครใจคือเหล่าแรงงานที่มักจะเรียนจบมาสูงแต่ได้งานทำที่ไม่ตรงกับความรู้ที่เรียนมาหรือไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะมากมายอะไร ส่วนใหญ่มักเกิดจากความไม่สอดคล้องกันระหว่างสิ่งที่ตลาดแรงงานต้องการกับทักษะที่มหาวิทยาลัยมอบให้ สุดท้ายเหล่าบัณฑิตจบใหม่ก็จำต้องเลือกระหว่างเดินเตะฝุ่นกับสมัครงานที่ใครๆ ก็ทำได้ เช่น พนักงานขาย หรือพนักงานบริการลูกค้า

เทรนด์ที่น่าจับตาคือช่องว่างระหว่างความต้องการของตลาดแรงงานกับทักษะของบัณฑิตที่ผลิตจากรั้วมหาวิทยาลัยดูจะถ่างกว้างขึ้นเรื่อยๆ ตราบใดที่เรายังให้ความสำคัญกับการผลิตบัณฑิตโดยเน้นปริมาณมากกว่าคุณภาพ พร้อมกับค่านิยมผิดๆ ที่ว่าทุกคนควรจะเรียนมหาวิทยาลัยหากมีโอกาส แต่กลับมองอาชีวศึกษาเป็นทางเลือกที่ด้อยกว่าทั้งที่ความจริงแล้วทักษะจากสายอาชีพอาจเป็นที่ต้องการในตลาดมากกว่าสายสามัญด้วยซ้ำ

ปัญหาสำหรับเหล่าผู้ว่างงานแฝงประเภทแรกคือเรื่องรายได้และความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ส่วนประเภทหลังคือปัญหาทางใจจากการตั้งคำถามกับตัวเองทุกวันว่าจะลำบากเรียนมหาวิทยาลัยทำไมตั้งสี่ปี แต่ทั้งสองปัญหานี้ต่างซ่อนอยู่ใต้พรมอัตราการว่างงานที่ต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ยิ่งสำหรับประเทศที่มีผู้นำยิ้มแก้มปริทุกครั้งที่ได้รับรางวัลประเทศที่มีความทุกข์ยากทางเศรษฐกิจน้อยที่สุดในโลกเพราะตัวเลขอัตราว่างงานต่ำจนน่าประหลาดใจ ผมเองก็ยังไม่มั่นใจว่า ‘ท่าน’ จะทราบไหมว่าตัวชี้วัดเชิงปริมาณไม่ได้บ่งบอกอะไรเกี่ยวกับ ‘คุณภาพ’ ของงานที่มีให้ทำ

 

ส่วนคำถามที่ว่าผู้ว่างงานแฝงโดยสมัครใจอย่างหัวหน้าฮงถือเป็นปัญหาหรือไม่นั้น ผมขอตอบตรงนี้เลยว่า ‘ไม่’

 

อ้าว! ก็ไหนเขียนย้ำนักย้ำหนาว่าการว่างงานแฝงจะส่งผลให้สูญเสียผลผลิตทางเศรษฐกิจ

ใช่ครับ เราอาจสูญเสียผลผลิตทางเศรษฐกิจไปบ้างก็จริง แต่เป้าหมายของเศรษฐศาสตร์ที่หลายคนมักหลงลืมไปคือการสร้าง ‘อรรถประโยชน์’ สูงสุดซึ่งแปลไทยเป็นไทยคือการทำให้ประชาชนคนในประเทศมีความพึงพอใจในชีวิตสูงที่สุดนั่นเอง แต่ความพึงพอใจนั้นวัดเชิงปริมาณได้ยาก นักเศรษฐศาสตร์ก็เลยหยิบรายได้มาเป็นค่าแทนโดยใช้สมมติฐานว่ายิ่งคนรวยเท่าไหร่ก็ยิ่งมีความสุขจากการบริโภคได้มากขึ้นเท่านั้น

 

ตราบใดที่หัวหน้าฮงไม่รู้สึกเป็นทุกข์กับการทำงานรับจ้างทั่วไป หรือวันหนึ่งคุณหมอยุนต้องลดเวลาทำการคลินิกลงครึ่งหนึ่งเพื่อเอาเวลามาดูแลลูก การตัดสินใจดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ดังนั้นแทนที่จะมองอย่างคับแคบว่าเขาหรือเธอจบอะไรมาและได้ทำงานตรงสายหรือเปล่า เราควรเปิดใจให้กว้างและเชื่อมั่นว่าพวกเขาตัดสินใจมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตัวเองแล้ว

 

 

อ้างอิงข้อมูลจาก

A Review Paper on Visible and Invisible Underemployment

”I Have a Job, But . . .”: A Review of Underemployment

Under-employment: A crisis hangover, or something more?

 

 

You might also like

การว่างงานแอบแฝง หมายถึงข้อใด

อยู่ลำพังอย่างไม่พัง 7 งานเขียนและถ้อยแถลงเพื่อเรียนรู้การอยู่คนเดียว

13 October 2021

การว่างงานแอบแฝง หมายถึงข้อใด

‘Twenty Five, Twenty One’ บาดแผลวิกฤติเศรษฐกิจกับชีวิตวัยรุ่นยุค 90s

25 March 2022

การว่างงานแอบแฝง หมายถึงข้อใด

วันนี้มีลมพัดบ้างไหม? คิดถึงและสวมกอดผู้จากไป ที่กลับมาในสายลม

23 November 2022

การว่างงานแอบแฝง หมายถึงข้อใด

จักรวรรดิที่กำลังล่มสลาย และผู้นำที่ไม่ฟังคำเตือน ในซีรีส์ Foundation

3 October 2021

#bigfeatured#Hometown#Hometown Cha-Cha-Cha#korea#korean#series#ซีรีส์#ทำงาน#หัวหน้าฮง#เกาหลี#เศรษฐศาสตร์#แรงงาน#โฮมทาวน์ ชะชะช่า

การว่างงานหมายถึงข้อใด

การว่างงาน (Unemployment) หมายถึง ภาวการณ์ที่บุคคลในวัยแรงงานที่พร้อมจะทำงานแต่ไม่สามารถหางานทำได้ หรือเจ็บป่วย รองานใหม่ หางานที่เหมาะสมไม่ได้ บุคคลในวัยแรงงานจะพิจารณาผู้ที่มีอายุ 13 ปีขึ้นไป ส่วนแรงงานที่ไม่ได้อยู่ในวัยแรงงาน ได้แก่ นักเรียน นักศึกษา นักบวช ผู้ที่เกษียณอายุ ผู้เจ็บป่วยพิการทางร่างกายและสติปัญญา และ ...

ข้อใดคือความหมายของการว่างงานตามฤดู

การว่างงานตามฤดูกาล (Seasonal Unemployment) เป็นการว่างงานที่เกิดขึ้นตามแบบ แผนของภาวะฤดูกาล ถ้าหากโครงสร้างการผลิตค่อนข้างขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมหรือสาขาการ ผลิตใดก็ตามที่ได้รับผลกระทบจากภาวะฤดูกาลมาก การว่างงานอันเนื่องมาจากสาเหตุนี้ก็จะ

สาเหตุของการว่างงาน คือสาเหตุใด

สาเหตุของปัญหาว่างงานในประเทศอาจมีหลายประการ เช่น การขาดแคลนตลาดแรงงาน การขาดการวางแผนกำลังคนของประเทศ ความไม่สมดุลย์ระหว่างการผลิต ผู้สำเร็จการศึกษาทางวิชาชีพ ของสถาบันการศีกษาและความต้องการของตลาดแรงงาน ภาวะเงินเฟ้อ และปัญหาอื่น ๆ อีกมาก

การว่างงานมีอะไรบ้าง

การว่างงาน หมายถึง การที่บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ไม่ได้ทำงานใดๆ และพร้อมที่จะทำงาน แต่ไม่สามารถหางานทำได้ หรือเจ็บป่วย หรือรองานใหม่ บุคคลที่พร้อมที่จะทำงาน แต่ไม่สามารถหางานทำงาน คือ การว่างงานไม่สมัครใจ (involuntary unemployment) อัตราการว่างงาน = จำนวนแรงงานที่ว่างงาน ✕ 100. กำลังแรงงาน