จาตุรงคสันนิบาต หมาย ถึง อะไร มี อะไร บ้าง

วันมาฆบูชา 2564 ตรงกับวันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต

วันมาฆบูชา (บาลี: มาฆปูชา; อักษรโรมัน: Magha Puja) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย "มาฆบูชา" ย่อมาจาก "มาฆปูรณมีบูชา" หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินอินเดีย หรือเดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือมีเดือน 8 สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน 3 หลัง (วันเพ็ญเดือน 4)

วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางศาสนาพุทธ เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,500 กว่าปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา คัมภีร์ปปัญจสูทนีระบุว่าครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 ประการ จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันจาตุรงคสันนิบาต" หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ 4

จาตุรงคสันนิบาต หมายถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 อย่างในวันเดียวกัน คือเกิดในสมัยพุทธกาลในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ซึ่งต่อมาถือกันว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า วันมาฆบูชา เหตุการณ์ 4 อย่าง คือ

• พระสงฆ์ 1,250 รูปที่พระพุทธองค์ได้ส่งไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาตามแว่นแคว้นต่างๆ ได้กลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าอย่างพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมาย

• พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เองทั้งสิ้น ซึ่งเรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา

• พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ คือผู้ได้อภิญญา 6 ข้อ

• วันที่พระสงฆ์ทั้งหมดมาชุมนุมกันนี้ตรงกับวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)

ซึ่งในโอกาสนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่เรียกว่าโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาอีกด้วย

เดิมนั้นไม่มีพิธีมาฆบูชาในประเทศพุทธเถรวาท จนมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระองค์ได้ทรงปรารภถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลในวันเพ็ญเดือน 3 ดังกล่าวว่า เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญยิ่ง ควรประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นที่ตั้งแห่งความศรัทธาเลื่อมใส

จึงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชกุศลมาฆบูชาขึ้น การประกอบพระราชพิธีคงคล้ายกับวันวิสาขบูชา คือ มีการบำเพ็ญพระราชกุศลต่าง ๆ และมีการพระราชทานจุดเทียนตามประทีปเป็นพุทธบูชาในวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระอารามหลวงต่าง ๆ เป็นต้น ในช่วงแรก พิธีมาฆบูชาคงเป็นการพระราชพิธีภายใน ยังไม่แพร่หลายทั่วไป ต่อมา ความนิยมจัดพิธีมาฆบูชาจึงได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักร

ปัจจุบัน วันมาฆบูชาได้รับการประกาศให้เป็นวันหยุดราชการในประเทศไทย โดยพุทธศาสนิกชนทั้งพระบรมวงศานุวงศ์ พระสงฆ์และประชาชนประกอบพิธีต่าง ๆ เช่น การตักบาตร การฟังพระธรรมเทศนา การเวียนเทียน เป็นต้น

เพื่อบูชารำลึกถึงพระรัตนตรัยและเหตุการณ์สำคัญดังกล่าวที่ถือได้ว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประทานโอวาทปาฏิโมกข์ ซึ่งกล่าวถึงหลักคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ได้แก่ การไม่ทำความชั่วทั้งปวง การบำเพ็ญความดีให้ถึงพร้อม และการทำจิตของตนให้ผ่องใส เพื่อเป็นหลักปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนทั้งมวล

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : www.tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

จาตุรงคสันนิบาต หมายถึงอะไร

หมวดหมู่ : คำไทยน่ารู้ Tags: จาตุรงคสันนิบาต วันมาฆบูชา โอวาทปาติโมกข์

จาตุรงคสันนิบาต หมายถึง การประชุมที่ประกอบด้วยองค์ 4

วันจาตุรงคสันนิบาต คืออีกชื่อเรียกหนึ่งของวันมาฆบูชา หรือ วันมาฆปูรณมีบูชา ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ตามปฏิทินจันทรคติของไทย อันเป็นวันที่เกิดสิ่งอัศจรรย์ขึ้น 4 อย่างในวันนี้ กล่าวคือ

1. เป็นวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง เดือน 3
2. พระสงฆ์สาวกจำนวน 1250 รูป ซึ่งจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่าง ๆ เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ เวฬุวันวนาราม กรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ อย่างพร้อมเพรียงกันโดยไม่ได้นัดหมาย
3. พระสงฆ์ทั้ง 1250 รูป เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา 6 ทั้งสิ้น และได้รับการบวชจากพระพุทธเจ้าโดยตรง (เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา)
4. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาที่ชื่อว่า โอวาทปาติโมกข์ อันเป็นพระคาถาสั้น ๆ แต่ถือว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา อันได้แก่ การทำความดี ละเว้นความชั่ว และการทำจิตใจให้บริสุทธิ์

ในวันจาตุรงคสันนิบาตนี้ พุทธศาสนิกชนจะนิยมเข้าวัดฟังธรรม ทำบุญตักบาตรในตอนเช้า แล้วเวียนเทียนรอบพระอุโบสถในตอนค่ำ ตลอดจนบำเพ็ญตนให้อยู่ในเขตบุญ ละเว้นความชั่วทั้งปวง ตลอดจนทำจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ ดังคำสอนในโอวาทปาติโมกข์ของพระพุทธองค์

-------------- advertisements --------------

-------------- advertisements --------------

Comments

จาตุรงคสันนิบาต หมาย ถึง อะไร มี อะไร บ้าง

วันจาตุรงคสันนิบาต หมายถึงวันใด ฟังแล้วก็คุ้น ๆ หู แต่ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไรว่าเป็นวันอะไร ไม่ต้องทำหน้าฉงนสนเท่ห์อีกต่อไป เพราะวันนี้ The Thaiger Thailand จะมาไขข้อข้องใจว่าวันจาตุรงคสันนิบาต คือวันใดในทางพุทธศาสนากันแน่ ใช่วันเดียวกับวันมาฆบูชาหรือไม่ และถ้าใช่ทำไมถึงต้องเรียกว่าวันจาตุรงคสันนิบาต แล้วคำดังกล่าวแปลว่าอะไร ถ้าอยากรู้คำตอบก็เลื่อนอ่านส่วนถัดไปกันได้เลย

จาตุรงคสันนิบาต หมาย ถึง อะไร มี อะไร บ้าง

วันจาตุรงคสันนิบาต หมายถึงวันใด ทำไมถึงเป็นวันที่องค์ประชุมมหัศจรรย์ครบทั้ง 4 ประการ

อย่างที่ได้เขียนไว้ในหัวข้อว่า วันจาตุรงคสันนิบาต คือวันที่มีการเกิดขึ้นขององค์ประชุมครบ 4 อย่าง…ว่าแต่ใคร ประชุมอะไร ที่ไหน อย่างไร ทำไมต้องประชุม เดี๋ยวเราจะเล่าให้ฟังเอง

จาตุรงคสันนิบาต หมาย ถึง อะไร มี อะไร บ้าง

วันจาตุรงคสันนิบาต แปลว่าอะไร

เราสามารถแยกคำศัพท์ “จาตุรงคสันนิบาต” ได้เป็น 3 ส่วน ดังนี้

  • จาตุร = 4
  • องค์ = ส่วน
  • สันนิบาต = ประชุม

เมื่อรวมกันแล้ว จาตุรงคสันนิบาต จึงแปลได้ว่า การประชุมครบ 4 ส่วน

ดังนั้น วันจาตุรงคสันนิบาต จึงหมายถึง วันที่มีการประชุมพร้อมกันทั้ง 4 องค์ประกอบ

วันจาตุรงคสันนิบาต ตรงกับวันใด

ขอเล่าย้อนกลับไปก่อนจะเกิดวันวันจาตุรงคสันนิบาตกันสักเล็กน้อย ราว ๆ 9 เดือน หลังจากที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็ทรงนำพระธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้นมาเผยแพร่เทศนาสั่งสอนเหล่าพระภิกษุผู้เป็นสาวกทั้งหลาย อีกทั้งยังเป็นการวางแบบแผนหรือพระวินัยให้สาวกได้ปฏิบัติตามเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยอีกด้วย

พระธรรมเทศนาที่ได้ใช้สอนพระสาวกเรียกว่า “โอวาทปาติโมกข์” ซึ่งนับว่าเป็นแก่นแท้ หรือ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา โดยการแสดงพระธรรมเทศนา หรือ การแสดงโอวาทปาติโมกข์ ครั้งแรกหลังจากตรัสรู้ได้ 9 เดือนเนี่ย ก็ตรงกับวันเพ็ญเดือน 3 พอดี (เดือนมาฆะ) หรือ เป็นวันที่พระจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) และที่สำคัญคือ เป็นวันที่ตรงกับ “วันศิวาราตรี” ของศาสนาพราหมณ์ด้วย

ด้วยเหตุที่ว่าบรรดาพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าล้วนแล้วแต่เคยนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน พอมาถึงวันศิวาราตรี ที่ปกติจะต้องพากันไปบูชาพระศิวะ บัดนี้นับถือพระพุทธองค์เป็นสรณะจึงเกิดความคิดที่ว่าควรจะเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแทน พระสงฆ์สาวกทั้งหมด 1,250 รูป จึงต่างเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน กรุงราชคฤห์ โดยไม่ได้นัดหมายกันล่วงหน้า (เพียงแต่ใจตรงกัน)

แต่ก็มีบางข้อเท็จจริงมาแย้งว่าพระศิวะเพิ่งจะเป็นที่นิยมบูชาของศาสนาพราหมณ์หลังยุคพุทธกาล ประมาณปี พ.ศ. 800 (หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน 800 ปี) ซึ่งถ้าข้อมูลนี้เป็นเรื่องจริงก็นับว่าเป็นเรื่องราวความอภินิหารอย่างหนึ่งที่คนทั้ง 1,250 คน จะเดินทางมาเข้าร่วมประชุมพร้อมกัน ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน แต่ไม่มีการนัดหมายกันไว้ล่วงหน้า

และที่น่ามหัศจรรย์มากไปกว่านั้นคือ การที่พระสงฆ์ทั้ง 1,250 รูป ล้วนแล้วแต่เป็นพระสงฆ์ที่บรรลุอรหันต์แล้ว และยังเป็น “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” (พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยพระองค์เอง) อีกด้วย ดังนั้นอาจสรุปความอัศจรรย์ของวันนี้ได้ว่า

  1. เป็นวันพระจันทร์เต็มดวงในวันเพ็ญเดือนมาฆะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
  2. เป็นวันที่พระสงฆ์สาวก 1,250 รูป เดินทางมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยไม่ได้นัดหมายกัน
  3. พระสงฆ์ทั้ง 1,250 รูป ล้วนแล้วแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น (ผู้ทรงอภิญญา 6)
  4. พระสงฆ์ทั้ง 1,250 รูป ล้วนแล้วแต่เป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา (พระพุทธเจ้าบวชให้)

เหตุการณ์สำคัญทั้ง 4 เหตุการณ์ เกิดขึ้นพร้อมกัน ในวันเดียวกัน เวลาเดียวกัน และไม่เคยมีการวางแผนกันไว้ล่วงหน้ามาก่อน จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นวันที่เต็มไปด้วยความมหัศจรรย์และเหตุบังเอิญสำคัญ 4 อย่าง ทำให้วันนี้ถูกเรียกว่าเป็น “วันจาตุรงคสันนิบาต”

จาตุรงคสันนิบาต หมาย ถึง อะไร มี อะไร บ้าง

แล้วทำไมถึงเรียก วันจาตุรงคสันนิบาต ว่าวันมาฆบูชา

จริง ๆ แล้วคำว่า “มาฆบูชา” นั้นย่อมาจากคำว่า “มาฆปูรณมีบูชา” ซึ่งหมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะ (ตามปฏิทินอินเดีย) หรือเดือน 3 (ตามปฏิทินไทย)

ซึ่งเราสามารถเรียกวันดังกล่าวว่า “วันมาฆบูชา” หรือ “วันจาตุรงคสันนิบาต” ก็ได้ทั้ง 2 แบบ เพราะทั้งสองนั้นเป็นวันเดียวกัน เพียงแต่วันจาตุรงคสันนิบาต เป็นการขยายความเพิ่มถึงความมหัศจรรย์ที่บังเกิดขึ้นในวันมาฆบูชา แต่ผู้คนส่วนใหญ่ก็นิยมเรียกกันว่า วันมาฆบูชา เพราะเป็นชื่อที่สั้นและกระชับมากกว่า

นอกจากนี้แล้วอีกความสำคัญหนึ่งของวันจาตุรงคสันนิบาต คือการที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนา “โอวาทปาติโมกข์” เป็นครั้งแรก ซึ่งการแสดงธรรมดังกล่าวนี้จะเกิดเพียงแค่ยุคสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ละ 1 ครั้งเท่านั้น (ยุคไหนมีพระพุทธเจ้า ยุคนั้นจะมีการแสดงโอวาทปาติโมกข์เกิดขึ้น)

จาตุรงคสันนิบาต หมาย ถึง อะไร มี อะไร บ้าง

นับว่าเป็นเรื่องราวที่มหัศจรรย์อย่างมากกับเหตุการณ์ทั้ง 4 อย่าง ที่เกิดขึ้นในวันจาตุรงคสันนิบาต หรือ วันมาฆบูชา ที่เรารู้จักกันดี สำหรับใครที่วางแผนไว้ว่าจะไปประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันนี้ ก็สามารถเดินทางไปที่วัดใกล้บ้านของท่านได้เลย หรือหากใครไม่สะดวก และเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของโรคโควิด-19 ทางกรมศาสนาก็ได้ออกเว็บไซต์สำหรับ เวียนเทียนออนไลน์ มาให้เราได้เข้าไปทำบุญกันด้วยนะ

เรื่อง : โมทนา ม่วงเตี้ย
บรรณาธิการ : ทศพล ถิรเจริญสกุล

อ้างอิง : 1 2 

  • ปฏิทิน วันพระ 2565 รวมวันพระตลอดทั้งปี
  • ปฏิทินวันพระเดือนกุมภาพันธ์ 2565
  • ทำนายฝัน ฝันเห็นพระสงฆ์ เลขเด็ด

📱 ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน The Thaiger 

👉 Google Play Store
👉 App Store

จาตุรงคสันนิบาต หมาย ถึง อะไร มี อะไร บ้าง

นักเขียนคอนเทนต์ที่ชื่นชอบเรื่องจิปาถะในชีวิตประจำวัน สนใจเรื่องสังคม สิ่งลี้ลับ ไลฟ์สไตล์ ในทุก ๆ แง่มุม ไม่ว่าจะเรื่องในกระแสหรือนอกกระแสก็อยากจะหยิบมาเขียนให้ทุกคนได้อ่าน ตั้งแต่หนึ่งข้อความไปจนถึงหน้ากระดาษ

จาตุรงคสันนิบาตมีความหมายว่าอะไร

ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย

วันจาตุรงคสันนิบาตมีความสําคัญอย่างไร

จาตุรงคสันนิบาต (อ่านว่า จาตุรงคะ-) แปลว่า การประชุมพร้อมกันแห่งองค์สี่ จาตุรงคสันนิบาต หมายถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 อย่างในวันเดียวกัน คือเกิดในสมัยพุทธกาลในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ซึ่งต่อมาถือกันว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า วันมาฆบูชา เหตุการณ์ 4 อย่าง คือ

วันไหนเรียกว่าวันจาตุรงคสันนิบาต

จาตุรงคสันนิบาต หมายถึงเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นพร้อมกัน 4 อย่างในวันเดียวกัน คือเกิดในสมัยพุทธกาลในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 ตอนที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ซึ่งต่อมาถือกันว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เรียกว่า วันมาฆบูชา เหตุการณ์ 4 อย่าง คือ

การประชุมครบองค์ 4 เรียกว่าอะไร

ฉะนั้นจาตุรงคสันนิบาตจึงหมายความว่า "การประชุมด้วยองค์ ๔" กล่าวคือมีเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นพร้อมกันในวันนี้ คือ 1. เป็นวันที่ พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า จำนวน ๑,๒๕๐ รูป มาประชุมพร้อมกันที่เวฬุวันวิหารในกรุงราชคฤห์ โดยมิได้นัดหมาย